https://www.facebook.com/kasian.tejapira/posts/10224591726683522
...Atukkit Sawangsuk
6h ·
อันนี้ไม่รู้ว่าใครพูดนะ
แต่พูดแบบนี้ก็จบเห่ คนรุ่นใหม่ที่ปฏิเสธ "แนวคิดสุดโค่ง"
เท่ากับปฏิเสธคนรุ่นใหม่ ไม่รู้จะไปหาคนรุ่นใหม่ที่ไหนมานิยมเพื่อไทย
การแข่งขันเชิงนโยบายอะไร ที่ไม่ใช่การต่อสู้ในเชิงอุดมการณ์
ถ้าไม่มุ่งเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจ อย่างที่คนรุ่นใหม่เรียกร้องต้องการ
เพื่อไทยก็ไม่ต่างจากประยุทธ์ อาจจะบริหารเศรษฐกิจดีกว่า ใช้ประชานิยมเก่งกว่า ฉลาดกว่า แต่ถ้าปฏิเสธเรื่องปฏิรูปสถาบันก็ไม่สามารถปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูปการศึกษา ค่านิยม ความคิด วัฒนธรรม ฯลฯ ที่ฉุดประเทศไว้
...........................................
การปฏิรูปพรรคหนนี้ จึงมีเป้าหมายเพื่อกู้ภาพลักษณ์ "แกนนำฝ่ายประชาธิปไตย" เรียกศรัทธาคืนจากประชาชนอย่างน้อย 2 กลุ่มคือ
- คนเสื้อแดงที่เคยภักดีต่อแบรนด์ไทยรักไทย แต่เริ่มปันใจไปให้ "พรรคสีส้ม"
- คนรุ่นใหม่ที่รู้สึกว่าพรรคเพื่อไทยไม่ใช่ที่พึ่งที่หวัง ไม่สามารถส่งต่อข้อเรียกร้องบนท้องถนนเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยผ่านกลไกรัฐสภาได้ หลังจากที่พรรคเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำหนดเงื่อนไขห้ามแตะต้องหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์
อย่างไรก็ตามนักปฏิรูปพรรคเพื่อไทยระบุว่า มีคนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งที่เชิดชูประชาธิปไตย สนใจทำงานทางการเมือง แต่ปฏิเสธ "แนวคิดสุดโต่ง" จึงเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะเป็นพื้นที่รองรับศักยภาพของคนกลุ่มนี้ได้
สิ่งที่พวกเขาต้องทำคือการดึงเกมการเมืองกลับสู่การแข่งขันเชิงนโยบาย ซึ่งเป็นบทถนัดของพลพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่โดดลงไปช่วงชิงการต่อสู้ในเชิงอุดมการณ์ ซึ่งมีพรรคก้าวไกล/คณะก้าวหน้ายึดครองตลาดอยู่เพียงรายเดียว
หลังจากนั้นจึงชี้ชวนให้ "คนเคยรัก" และ "คนรุ่นใหม่" ในฐานะ "ลูกค้าการเมือง" เห็นใน 2 "จุดแข็ง" ของพรรคที่มีเหนือกว่าคู่แข่งขันทุกราย และสามารถสร้าง "อนาคตที่ดีกว่า" ได้ นั่นคือ
- มีตำนาน มีผลงาน/โครงการที่อยู่ในใจประชาชน ทำให้ 1 เสียงของประชา ชนที่แสดงออกในวันเลือกตั้งมีความหมาย เพราะทำให้เกิด "ประชาธิปไตยกินได้"
- มีพื้นที่การเมืองแข็งแกร่งในภาคเหนือและอีสาน
https://www.bbc.com/thai/thailand-55451474?at_campaign=64...