วันศุกร์, ธันวาคม 25, 2563

บทความยาว อ่านแล้วจะรู้สึกสงสารแรงงานพม่าที่ตลาดกุ้ง



Prawais Prapanugool
December 22 at 7:37 PM ·

บทความส่งในไลน์ ยาวแต่อ่านแล้วให้รู้สึกสงสารแรงงานพม่าที่ตลาดกุ้ง
_________________________
Copyมาจากface book คุณบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ อนุกมธ.ตสร.สังคม วุฒิสภา

มันไม่ใช่แค่ปัญหาที่ตัวแรงงานข้ามชาติเท่านั้น แต่มาจากที่พวกเรากันเองนี่ล่ะ ที่หลับหูหลับตากันมาตลอด !!!!
ฉันอยากฉายภาพตลาดกุ้ง มหาชัย สมุทรสาคร ให้พวกเราเห็น เผื่อจะได้เข้าใจกันมากขึ้นว่า
แรงงานข้ามชาติไม่ได้อยากเป็นตัวแพร่เชื้อหรอก
พวกเขาและเธอไม่ได้อยากถูกคนไทยกระหน่ำด่าทั้งประเทศแบบนี้
เขาและเธอต่างก็แค่ปรารถนามาทำงาน มาเก็บเงิน อยากมีชีวิตดีๆแบบที่คนไทยมี
ไม่ต่างจากที่แรงงานไทยผีน้อยไปทำงานต่างประเทศหรอกค่ะ
แต่สถานที่ที่พวกเขาและเธออยู่
ทำงาน ใช้ชีวิต หลับนอน พักผ่อน พบปะพูดคุย มันไม่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19 ใดๆเลย
รัฐไทยรู้ไหม ก็รู้มาตลอดนั่นล่ะ !!!
ก็ที่นี่เป็นสถานที่ศึกษาดูงานประเด็นแรงงานข้ามชาติมาโดยตลอด
ใครๆก็มาที่นี่
ขนาดอองซานซูจีเดินทางมาเมืองไทยเมื่อปี 59 ก็ลงมาเยี่ยมแรงงานที่ตลาดนี้
มาดูก็กลับไป วนเวียนแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ดังนั้นเรื่องแบบนี้ “สองมือเล็กๆของพี่น้องแรงงานข้ามชาติ” จึงจัดการลำพังไม่ได้
หรือปล่อยให้ “สมพงษ์ สระแก้ว” และ “สุธาสินี แก้วเหล็กไหล” NGOs ที่ทำงานกับแรงงานข้ามชาติในสมุทรสาครก็ย่อมมิใช่
รวมถึงการทำงานของ “ผู้ว่าปู-วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี” ที่ทำขนาดไหน ก็ไม่มีทางเอาอยู่
เพราะมันไม่ใช่แค่เพียง “สวมหน้ากาก-กินร้อน-ช้อนกลาง-รักษาระยะห่าง-ปิดชุมชน-แจกข้าวแจกของ เพียงเท่านั้น”
แต่มันจำเป็นต้องการ “ตัวช่วย” มาช่วยคนพื้นที่จัดการมากกว่านี้ค่ะ
หลายคนอาจสงสัย ตลาดกุ้งอยู่ตรงไหน ?
หากใครเดินทางล่องใต้ไปทางถนนพระราม 2 ซ้ายมือเป็นทางเข้าตัวเมืองมหาชัย ขวามือคือ ตลาดกุ้ง
หรือหากขึ้นกรุงเทพ ตลาดกุ้งอยู่ตรงบริเวณหัวมุมซ้ายมือ ก่อนที่จะเลี้ยวไปเส้นกระทุ่มแบน
ที่นี่คือสถานที่ทำงานของพี่น้องแรงงานข้ามชาติจากพม่าที่ใหญ่และหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย รวมประมาณ 20,000 กว่าคนได้
ส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์มอญมากกว่า 70 % รองลงมาเป็นพี่น้องกะเหรี่ยง พม่า คะฉิ่น ปะโอ ลาว และกัมพูชา ดังนั้นที่นี่จึงใช้ภาษามอญ กะเหรี่ยง พม่า เป็นหลัก
ตัวเลขจดทะเบียนถูกกฎหมายที่มหาชัย รวม 233,071 คน แต่คาดว่าจะไม่จดทะเบียนอีกเท่าตัว รวมตัวเลขพี่น้องแรงงานข้ามชาติอย่างน้อยประมาณ 4 แสนคนแน่นอน
ในตลาดกุ้งจึงรู้กันดีในชื่อว่า “Little Burma” ที่นี่จะแบ่งพื้นที่เป็น 3 ประเภท คือ
1) บริเวณพื้นที่แกะกุ้ง ซึ่งจะแบ่งเป็นล็อคๆของแพปลาแต่ละเจ้าของ พี่น้องแรงงานจะมาทำงานแกะกุ้ง หลังจากที่รถแต่ละเจ้าจะนำมาส่ง พูดง่ายๆหากวันไหนกุ้งเยอะ นั่นหมายความว่างานและเงินก็จะเยอะตามไปด้วย พ่อค้าแม่ค้าจากจังหวัดใกล้เคียงจะมารับกุ้งจากที่นี่ไปขายต่อ เช่น กรุงเทพ สมุทรปราการ นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี
2) เป็นพื้นที่อาคารห้องเช่า และที่เตะตะกร้อ เตะบอล เด็กวิ่งเล่น ที่นี่คนงานแกะกุ้งและครอบครัว ญาติพี่น้องจะเช่าห้องอยู่รวมๆกัน
3) เป็นพื้นที่ร้านค้า ตั้งแต่ร้านขายของ ร้านอาหาร ร้านเสื้อผ้า ร้านดอกไม้ ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ ร้านตัดผม ร้านขายหมาก ร้านน้ำชา คลินิกรักษาโรค และอื่นๆอีกมากมาย
แรงงานในตลาดกุ้งมักเป็นกลุ่มที่มาจากการบอกต่อๆกันมา ของเครือข่ายครอบครัว ญาติพี่น้อง คนในหมู่บ้าน เพื่อน ว่าที่นี่เป็นแหล่งทำมาหากิน ดังนั้นแรงงานจะเดินทางจากชายแดนแล้วพุ่งตรงมาทำงานที่นี่เลย โดยมิได้มีการตั้งถิ่นฐานหรือทำงานในจังหวัดอื่นๆมาก่อน
หลายคนอยู่ที่นี่มาเกินสิบปี แต่อีกหลายคนก็เพิ่งมาได้ไม่ถึงปี นั่นแปลว่าที่นี่จึงมิใช่มีแต่คนวัยแรงงาน แต่ยังมีเด็ก วัยรุ่น และคนแก่อาศัยอยู่ร่วมด้วย
ปัญหาสำคัญที่ทำให้การระบาดของโควิดจึงกระจายเป็นวงกว้าง เป็นเพราะว่า
1) งานแกะกุ้ง เป็นงานที่ต้องใช้กำลังความสามารถแรงงานคนเท่านั้น ไม่สามารถใช้เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาทดแทนได้ เป็นงานที่ต้องใช้ความอดทนสูง ประกอบกับสภาพพื้นที่ทำงานเฉอะแฉะ มีกลิ่นเหม็นตลอดเวลาทำงาน และต้องเร่งทำงานแข่งขันกับเวลาเพื่อรักษาคุณภาพกุ้งก่อนส่งออกต่อไป ทำให้แรงงานต้องอยู่กับงานแบบนี้ไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงต่อวันเป็นอย่างน้อย
2) แรงงานเหล่านี้ต่างอาศัยรวมกันในห้องเช่าแออัด บางคนก็อาจไม่รู้จักกันมาก่อนแต่แนะนำกันมาปากต่อปาก เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และเหลือเงินไว้สำหรับจ่ายค่านายหน้าและค่าเอกสารอีกล้านแปดสารพัดอย่าง ไม่ต้องพูดว่าตั้งแต่โควิดมาเมื่อระลอกที่แล้ว แรงงานต้องจ่ายอะไร เท่าไหร่ อย่างไร นายหน้าอู้ฟู่เพียงใด
3) ห้องเช่าแต่ละห้อง เป็นส่วนหนึ่งของอาคารพาณิชย์สภาพทรุดโทรม สูง 4-5 ชั้นเรียงรายกันกว่า 30 คูหาตลอดความยาวสามช่วงตึก
4) การอยู่อย่างแออัด แม้จะไม่อยากเลือกก็จำต้องเลือก หลายคนไม่ได้ค่าจ้างตามที่ตกลง แต่ต้องจ่ายค่าต่างๆนานาจนไม่อยากจารนัย เส้นแบ่งระหว่างการละเมิดสิทธิแรงงานกับการค้ามนุษย์ เป็นเพียงเส้นบางๆที่ยากจะแยกออกจากกัน เหมือนด่านพรมแดนธรรมชาติที่แรงงานข้ามมานั่นล่ะ โดยที่รัฐไทยมิพักต้องรู้เห็นหรือปิดตาไปข้างหนึ่ง
5) ห้องเช่ามีขนาดพื้นที่ห้อง 10-15 ตารางเมตร ทั้งห้องน้ำในตัวและห้องน้ำรวม ห้องๆหนึ่งอยู่รวมกันอย่างน้อยสุดคือ 7-8 คน ไม่ต้องพูดถึงความหนาแน่นแออัด แต่ยังมาพร้อมกับปัญหาความไม่ถูกหลักอาชีวอนามัยทั้งห้องน้ำ ขยะ แสงสว่าง น้ำเสีย การระบายอากาศ กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ มีครบทุกอย่างให้ศึกษาและต้องจัดการทั้งนั้น แต่ก็นั่นล่ะ !!! มีคนมาดูงานที ก็ปลูกผักชีที ให้ดูงดงาม !!!!
จากที่กล่าวมาจึงเห็นแล้วว่า การระบาดของโควิดจึงไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่าย หากยังไม่สามารถจัดการสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมที่แรงงานข้ามชาติอาศัยอยู่นี้ และนี้ย่อมไม่ใช่การปล่อยให้แรงงานข้ามชาติต้องเผชิญเพียงลำพังท่ามกลางรั้วลวดหนามแนวชายแดนพระราม 2 แบบนี้ค่ะ
บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์
ค่ำคืน 20-12-63
...

Prawais Prapanugool
8h · 

เรื่องแรงงานต่างชาติ ปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย ไม่ได้เกิดจากผู้ประกอบการลักลอบนำเข้า หรือแรงงานลักลอบเข้าเมือง แต่มันเกิดจากรัฐไทยสร้างเงื่อนไขให้แรงงานสุจริตเข้าเมืองโดยถูกกฎหมายไม่ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อ...ให้ทหารรับจ๊อบกินหัวคิวนำเข้าแรงงานหัวละ 10,000 บาท

ปัญหาโควิดที่สมุทรสาคร ก็เกิดจากทหารนำเข้าแรงงานลักลอบเข้าเมือง แต่...พาเข้ามาแล้วมีการวัดอุณหภูมิ ปรากฏว่า มีหลายคนที่มีไข้ขึ้นสูงเข้าข่ายโควิด ทหารที่พาเข้ามาก็โทร.เข้ากรุงเทพ ก็ได้รับคำสั่งว่า...ให้พาเข้ามา---ซึ่งเจตนาก็เห็นได้ชัดว่า ต้องการให้เข้ามาเผยแพร่โควิด เพื่อสกัดม๊อบ

เผด็จการทหารแม่งไม่เคยแคร์ว่าจะมีประชาชนติดโควิดตายกี่ล้านคน ขอเพียงแค่แม่งอยู่ในอำนาจต่อ
#ประยุทธออกไป
#แก้ไขรัฐธรรมนูญ
#ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์