ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
December 24 at 1:53 AM ·
ในวาระที่มาตรา 112 ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้กับเหล่าผู้ตื่นรู้ ศูนย์ทนายฯ ชวนอ่านซีรีส์บทสัมภาษณ์สะท้อนหลากหลายเรื่องราวชีวิตของผู้อ่านแถลงการณ์ 3 ภาษา ที่การชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมันเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 – ผู้ชุมนุมกลุ่มแรกสุดของขบวนที่ไม่ได้ขึ้นปราศรัยหรือเป็นแกนนำ ทว่ากลับถูกตั้งข้อหาร้ายแรงอย่าง มาตรา 112 คู่กับมาตรา 116
ชวนสำรวจความฝัน ความหวัง และภาพสะท้อนความกล้าหาญของเหล่าคนธรรมดาสามัญที่ถูกตั้งข้อหาเพียงเพราะอาสาเป็นตัวกลางเพื่อสื่อสารกับฟากฟ้า ในวันที่ต้องเดินบนถนนสาย 112 โดยมีอนาคตข้างหน้าเป็นเดิมพัน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
.
สุธินี จ่างพิพัฒนวกิจ: “เพราะเราเชื่อว่าประเทศไทยยังดีกว่านี้ได้”
.
ภายหลังจากที่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศว่าจะใช้กฎหมายทุกมาตราเพื่อกำราบคนที่กล้าแสดงออกว่าคิดต่างจากรัฐ รวมไปถึงการเอามาตรา 112 ซึ่งเป็นกฎหมายความมั่นคงกลับมาใช้เพื่อเป็นอาวุธอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ไม่ใช่แค่แกนนำผู้ชุมนุมเท่านั้นที่ตกเป็นเป้าหมายของรัฐ แต่ยังรวมถึงคนธรรมดาทั่วไปที่เพียงต้องการแสดงจุดยืนของตัวเอง
.
“ฟ้า” สุธินี คือนิสิตปี 2 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนอนหนังสือนักอ่านที่ฝันอยากเป็นนักแปลวรรณกรรมเยาวชนเมื่อพ้นไปจากรั้วของมหาวิทยาลัย ชีวิตของเธอคงจะเดินต่อไปตามแผนการที่วางไว้ หากไม่ได้เข้าร่วมในการอ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมันที่ด้านหน้าสถานทูตเยอรมันเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 อนาคตที่เหมือนถูกขีดเป็นเส้นตรงต้องเจอตอกั้นขวางเมื่อฟ้าถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 “ดูหมิ่นกษัตริย์”
.
“วันนั้นเรานัดไปร่วมชุมนุมกับเพื่อน เพราะเห็นว่ามันมีม็อบที่หน้าสถานทูตเยอรมัน แล้วเราเองก็เรียนเยอรมันพอดี ตอนแรกคิดแค่ว่าจะไปชูป้ายเฉยๆ เพื่อยืนยันว่าเราควรจะตั้งคำถามต่อสถาบันหลักของชาติได้ และรัฐควรจะต้องหยุดใช้ความรุนแรงกับประชาชน ประมาณนั้น”
.
“เราบังเอิญไปเห็นทวิตเตอร์ของพี่คนหนึ่งว่าเขากำลังหาคนที่สามารถอ่านภาษาเยอรมันได้ อยากให้มาช่วยอ่านแถลงการณ์หน่อย ก็เลยเสนอตัวนาทีสุดท้าย เพราะคิดว่าเขาน่าจะไม่มีคนจริง ๆ เลยต้องมาหาทางออนไลน์ ด้วยความที่เราเรียนมาทางด้านนี้ พอจะอ่านได้ แล้วสิ่งที่ม็อบต้องการนำเสนอในวันนั้นก็คือการปฏิรูปสถาบันฯ เรามองว่าภาษาเยอรมันของเรากับมุมมองของม็อบมันเข้ากันก็เลยเสนอตัวไป เพราะคิดว่าตัวเองก็เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวครั้งนี้ด้วย”
.
“พอขึ้นไปอ่าน ลงมาก็รู้สึกโล่งว่าเราก็ทำได้ ก่อนที่จะขึ้นไป คนที่ประสานงานเขาก็บอกเราก่อนว่าให้เตรียมตัวรับแรงกระแทก แรงกดดันหน่อยนะ เพราะข้อความมันก็แรงอยู่ประมาณหนึ่ง แต่เราก็ตัดสินใจแล้วแหละว่าสุดท้าย ในเมื่อเราไปอยู่ตรงนั้นแล้ว ยังไงเราก็ต้องอ่าน”
.
หลังจากการชุมนุมวันนั้นจบลง แม้ว่าจะไม่ได้มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น แต่ชนวนข่าวลือเรื่องที่รัฐกำลังเล็งที่จะดำเนินคดีแกนนำผู้ชุมนุมในวันนั้นรวมไปถึงผู้อ่านแถลงการณ์ทั้ง 3 ภาษา กลับเริ่มโหมกระพือผ่านช่องทางออนไลน์ แม้จะเตรียมใจไว้บ้างว่าอาจจะต้องถูกรัฐเพ่งเล็งจากการแสดงออก แต่การที่ต้องถูกดำเนินคดีตามมาตรา 116 คู่ไปกับมาตรา 112 เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนธรรมดาอย่างเธอที่ไม่เคยออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองมาก่อน
.
“ตอนแรกที่รู้ข่าวลือจากอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ทางทวิตเตอร์ว่า ตำรวจจะออกหมายเรียกคนที่ไปอ่านแถลงการณ์ แล้วเราเห็นชื่อเราในเอกสารของตำรวจเป็นหญิงไทยไม่ทราบชื่อ เราก็อึ้งไปช่วงหนึ่งเลย รู้สึกว่า เห้ย นี่เราแค่ถามเองนะ มันต้องโดนถึงขนาดนี้เลยเหรอ ตอนนั้นเราไม่ได้คิดเลยว่ามันจะไปไกลถึง 112 แต่เราก็โชคดีที่มีคนติดต่อเข้ามาให้ความช่วยเหลือเยอะแยะ อย่างอาจารย์ เพื่อนๆ ที่ทักมาถามหลังจากที่รู้ข่าว ทนายจากศูนย์ทนายฯ ก็ทักมาว่าจะช่วยเรื่องคดี เราก็เลยรู้สึกสบายใจขึ้นบ้าง”
.
“เรารู้ก่อนล่วงหน้าว่าจะได้หมายแน่ ๆ แต่ไอ้ตอนที่ต้องรอกว่าที่หมายจะมาที่บ้าน มันเป็นการรอที่แบบตุ้มๆ ต่อมๆ แล้วคือพี่เดียร์ (รุ่นพี่ร่วมคณะ อีกหนึ่งผู้อ่านแถลงการณ์เป็นภาษาเยอรมันที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 เช่นเดียวกัน) ได้หมายก่อนเรา 3 - 4 วันแล้ว ของเราหมายพึ่งจะมาถึงวันก่อนที่จะไปรับทราบข้อกล่าวหา ซึ่งมันกระชั้นมาก แล้วคือบ้านเราอยู่ต่างจังหวัด ถ้ากลับบ้านก่อน ก็คงไม่ได้ไปรับทราบข้อกล่าวหาเมื่อวันที่วันที่ 9 ธันวาฯ”
.
ถึงจะยังกังวลกับกระบวนการในทางคดีที่ยังมาไม่ถึง แต่ฟ้ายืนยันว่าตอนนี้เธอยังมีกำลังใจดี และไม่ได้รู้สึกเสียใจกับการตัดสินใจในวันนั้นที่ด้านหน้าสถานทูต เพราะนั่นคือสิทธิเสรีภาพที่ชอบธรรมของบุคคลบุคคลหนึ่งที่เพียงแค่ต้องการแสดงความคิดเห็นของตัวเอง
.
“เราโชคดีที่มีอาจารย์และเพื่อนหลายๆ คนให้กำลังใจเรา เพราะทุกคนต่างก็มีอุดมการณ์เดียวกัน คือพวกเราเชื่อว่าคนไทยยังมีศักยภาพที่จะสามารถพัฒนาไปได้มากกว่านี้”
.
“ในส่วนของกระบวนการทางคดี เราทั้งกึ่งกังวลและไม่กังวล ที่กังวลก็ตรงผู้มีอำนาจในศาล เรากังวลเรื่องการถูกแทรกแซงในการพิจารณาคดี แต่พอเห็นกระบวนการของทนายแล้วก็รู้สึกสบายใจขึ้น เพราะมั่นใจว่าเขาจะช่วยเราเต็มที่”
.
“พอมองย้อนกลับไป เราไม่ได้รู้สึกเสียใจกับการตัดสินใจของตัวเองวันนั้น เพราะมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราออกไปพูดหรือหรือไม่พูดหรือเปล่า สุดท้ายไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ต่อให้ไม่ใช่เรา การแสดงออกว่าสงสัยหรือตั้งคำถามเกี่ยวกับสถาบันฯ หรืออะไรก็ตามที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับรัฐบาล มันแน่นอนว่าต้องถูกรัฐเพ่งเล็งอยู่แล้ว เราเชื่อว่าเรากับผู้ชุมนุมคนอื่น ๆ ก็แค่ใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น มันคือสิ่งที่เราทุกคนมีเหมือนกัน แล้วทำไมเราถึงจะไม่สามารถใช้สิทธิที่ชอบธรรมของเราได้?”
.
ในวันที่รัฐแจกคดี 112 ให้กับผู้ร่วมชุมนุมแบบปูพรม กระแสตอบโต้จากฝั่งประชาชนเองก็หนักหน่วงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ตั้งแต่การเคลื่อนไหวของเด็กนักเรียนในรั้วโรงเรียน ไปจนถึงการปราศรัยอย่างเผ็ดร้อนโดยผู้ปราศรัยหน้าใหม่ที่กล้าออกมาวิพากษ์วิจารณ์ข้อบกพร่องของตัวกฎหมายโบราณที่เหมือนจะเดินตามหลังโลกในทุกวันนี้ ฟ้ามองว่า ภาพการตื่นรู้ในวงกว้างอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนสะท้อนว่าสังคมได้ตระหนักแล้วว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริงของรัฐไทย และทุกคนต่างออกมาแสดงออกในส่วนของตัวเองเพื่อเป้าหมายสูงสุด นั่นก็คือการทำให้สังคมไทยและทุกองคาพยพทางการเมืองเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
.
“ประชาชนทุกวันนี้ไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน เพราะสื่อมันกว้างขวางขึ้นมาก ทุกคนเริ่มตระหนักถึงความอยุติธรรมของกฎหมายหรืออำนาจรัฐ เราเริ่มเห็นการเคลื่อนไหวที่ขอให้ยกเลิก 112 เพิ่มมากขึ้น ทั้งในโซเชี่ยลและในชีวิตจริงด้วย”
.
“สุดท้าย ในปลายทางของการต่อสู้ครั้งนี้ก็คือการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันฯ และทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง"
.
"เราทุกคนควรมีสิทธิมีเสียง มีอำนาจในการช่วยตัดสิน เราควรจะสามารถโหวต สามารถแสดงความคิดเห็นได้ นักการเมืองไม่ควรจะเป็นคนที่แค่เข้าไปนั่งในสภาแล้วไม่ทำอะไรเลย ตอนนี้ ส.ส. ส่วนใหญ่อยู่ฝ่ายรัฐบาล ซึ่งเขาก็ไม่ได้ทำงานตามตำแหน่งอย่างที่ควรจะเป็น เขาไม่ฟังว่าประชาชนต้องการอะไรบ้าง ไม่ได้เอาสิ่งที่ประชาชนเสนอไปพูดในสภา มีแต่ฝ่ายค้านที่เอาไปอภิปรายแล้วโดนตีตก เชื่อว่าคนในประเทศมีศักยภาพมากพอที่จะเข้าไปทำงานแทนในส่วนนั้น ขอแค่ให้ประเทศเราเป็นประชาธิปไตยก็พอ”
.
อ่านเนื้อหาฉบับเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/?p=24286
.....
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
18h ·
ในวาระที่มาตรา 112 ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้กับเหล่าผู้ตื่นรู้ ศูนย์ทนายฯ ชวนอ่านซีรีส์บทสัมภาษณ์สะท้อนหลากหลายเรื่องราวชีวิตของผู้อ่านแถลงการณ์ 3 ภาษา ที่การชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมันเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 – ผู้ชุมนุมกลุ่มแรกสุดของขบวนที่ไม่ได้ขึ้นปราศรัยหรือเป็นแกนนำ ทว่ากลับถูกตั้งข้อหาร้ายแรงอย่าง มาตรา 112 คู่กับมาตรา 116
ชวนสำรวจความฝัน ความหวัง และภาพสะท้อนความกล้าหาญของเหล่าคนธรรมดาสามัญที่ถูกตั้งข้อหาเพียงเพราะอาสาเป็นตัวกลางเพื่อสื่อสารกับฟากฟ้า ในวันที่ต้องเดินบนถนนสาย 112 โดยมีอนาคตข้างหน้าเป็นเดิมพัน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
.
อัครพล ตีบไธสง: “ถ้าไม่ได้แก้ไข ผมก็คงจะเสียใจในภายหลัง”
.
ชื่อของ “บ็อบ” อัครพล ไม่เคยเป็นชื่อที่อยู่ภายใต้การจับตามองของรัฐไทยมาก่อน จนกระทั่งเมื่อเขาเข้าร่วมในการชุมนุมเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 และขออาสาเป็นหนึ่งในผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมัน ผลจากการตัดสินใจในครั้งนั้นทำให้พนักงานองค์กรพัฒนาสังคมและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมรายนี้ถูกหมายหัวโดยรัฐไทยและถูกตั้งข้อหาร้ายแรงอย่างมาตรา 116 คู่กับมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา
.
ในอดีตก่อนหน้าที่จะเข้าร่วมในการชุมนุมของกลุ่ม #คณะราษฎร2563 บ็อบเล่าเรื่องราวพื้นหลังในชีวิตว่า ที่จริงแล้วตัวเขาเองไม่ได้เรียนจบทางด้านภาษาเยอรมันมาโดยตรง เพียงแต่ช่วงจังหวะหนึ่งในชีวิตวัยรุ่น ชายหนุ่มเคยใช้ชีวิตและเรียนที่ประเทศเยอรมันอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะกลับมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรังสิต
.
เขาเริ่มเข้าร่วมในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ในการชุมนุมที่จัดโดยกลุ่มเยาวชนปลดแอก เนื่องจากเห็นด้วยกับทิศทางการต่อสู้ และประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายลงเมื่อรัฐบาล คสช. เข้ามามีอำนาจ ซึ่งเป็นปัญหาที่เขาพบเจอโดยตรงจากการทำงาน จนกระทั่งในวันที่ 26 ตุลาคม เมื่อผู้จัดการชุมนุมประกาศว่าต้องการอาสาสมัครมาร่วมอ่านแถลงการณ์เป็นภาษาเยอรมัน เขาจึงขออาสาขึ้นไปเป็นคนส่งสารโดยที่ไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า
.
“ผมเพิ่งจะทราบวันนั้นเลยในที่ชุมนุมว่าจะมีการอ่านแถลงการณ์ 3 ภาษา ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ทางทีมงานของน้องแกนนำขึ้นมาประกาศว่าอยากได้คนมาช่วยอ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมัน พออ่านจบ ก็รู้สึกว่าตัวเองได้เป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารความเห็นทางการเมืองและความต้องการของเราในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ข้อเรียกร้อง”
.
“การที่ผมออกมาเข้าร่วมในการชุมนุม หลักๆ ก็คือรัฐบาลประยุทธ์ตั้งแต่ที่ยังเป็น คสช. ผมสัมผัสปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มันเริ่มเลวร้ายลงตั้งแต่ยุคนั้น ด้วยความที่ตัวเองทำงาน NGO สายสิ่งแวดล้อม ผมเห็นตัวกฎหมายต่าง ๆ ทั้งมาตรา 44 ทั้งการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่ซ้ำเติมปัญหาสิ่งแวดล้อมและลิดรอนสิทธิของชาวบ้าน ปริมาณมลพิษที่เพิ่มขึ้น กฎหมายเอื้อให้ตั้งโรงงานได้ง่ายขึ้น ผมก็เริ่มเห็นตั้งแต่ตอนนั้นแล้วว่า การที่ คสช. เข้ามามีอำนาจ มันกระทบกับงานด้านที่ทำ กระทบกับชุมชน เป็นการทำลายหลักการดี ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมและการปกป้องสุขภาพของประชาชน ผมเลยเริ่มออกมาชูสามนิ้วใส่ประยุทธ์บ้าง เพราะการที่เป็นรัฐแบบเผด็จการมันให้ระบบต่าง ๆ ล้าหลัง ทำให้กฎหมายถอยหลังลงย้อนกลับไป สิ่งแวดล้อมกับสิทธิของคนก็เสื่อมถอยลง”
.
แม้การอาสาของบ็อบในวันนั้นจะเป็นไปด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่เมื่อเลือกที่จะยืนฝั่งตรงข้ามกันกับรัฐก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกจับตามอง ชายหนุ่มวัย 33 ปีรายนี้ยอมรับว่าตัวเขาเองก็ทำใจไว้ในระดับหนึ่ง ในอดีต บ็อบเคยเข้าร่วมกับกลุ่ม กปปส. และมีส่วนร่วมในการ “ชัตดาวน์กรุงเทพฯ” สำหรับเขา หากไม่เลือกที่จะเสนอตัวออกไปพูดแทนมวลชนที่ด้านหน้าสถานทูต วันหนึ่งหากมองย้อนกลับไป ก็อาจจะเสียใจในภายหลัง
.
“ตอนที่ได้หมาย 116 ก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองจะไม่มีโอกาสโดน 112 เลย คิดว่าโอกาสที่จะโดนน่าจะน้อย แต่เข้าใจว่าเมื่อเราไปแตะสิ่งที่คนเขาไม่กล้าแตะ กรณีแบบนี้มันก็เกิดขึ้นได้ แล้วเราก็คาดการณ์อะไรไม่ได้ด้วย ก็เลยมองว่าในเมื่อมันมาถึงจุดนี้แล้ว สิ่งที่ผมอาจจะต้องเจอหรือสูญเสียไป หรือการต้องเจอกับบางอย่างที่ไม่ได้คาดหวัง มันก็ยังถือว่าน้อย เมื่อเทียบกับน้อง ๆ ทีมที่บุกเบิกเรื่องนี้มา ซึ่งตัวเองก็ไม่อยากจะมาเสียใจในภายหลัง"
.
“ในอดีต ผมเคยเข้าร่วมกับ กปปส. ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันมีส่วนที่ทำให้เกิดการรัฐประหาร ถ้าผมไม่ได้แก้ไข ไม่ออกมาสนับสนุน ก็คงเสียใจถ้าไม่ได้ทำ ผมก็เลยทำใจได้ในระดับหนึ่งกับผลการดำเนินคดีที่ตามมา”
.
ในกรณีการดำเนินคดีของบ็อบ แทนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเลือกใช้กระบวนการออกหมายเรียกตามขั้นตอน แต่กลับเลือกใช้วิธีการนอกกฎหมาย อีกทั้งยังมีการเดินทางไปติดต่อผู้ใหญ่บ้านที่บ้านเกิดของเขาโดยตรงเพื่อแจ้งเรื่องการดำเนินคดี สร้างความกังวลให้กับครอบครัวเป็นอย่างมาก แต่ยังดีทางที่ทำงานของชายหนุ่มยังเข้าใจและเคารพในสิทธิทางการเมืองของพนักงานในองค์กร
.
“ตอนแรกที่ได้หมาย 116 ผมเห็นว่ามีหมายเรียกไปยังทีมผู้ปราศรัยก่อน กับคนที่อ่านแถลงการณ์อังกฤษกับไทย ตอนนั้น เขายังไม่ออกหมายเรียกกลุ่มที่อ่านภาษาเยอรมัน แต่ผู้ปราศรัยที่เขาไปรับทราบข้อกล่าวหา เขาก็เห็นว่ามีชื่อของเราเหมือนกัน ไม่กี่วันต่อมา ตำรวจก็ติดต่อมาโดยตรง เขาบอกว่าต้องการอยากให้เรื่องมันเงียบ เรียกเข้าไปพบ ผมก็ลองปรึกษาทนาย เขาก็แนะนำให้เราทำตามขั้นตอน หลีกเลี่ยงวิธีการนอกกฎหมาย ตำรวจก็เลยออกหมายเรียกตามมา”
.
“มันเริ่มจากตำรวจไปหาผู้ใหญ่บ้านตามที่อยู่บัตรประชาชนของผมที่โคราชเพื่อสอบถาม ผู้ใหญ่บ้านเขาก็โทรหาเรา เพราะเป็นญาติกัน ทางนั้นเขาก็คิดว่าจะแจ้งที่บ้านของเราดีไหม เพราะกลัวจะตกใจ ส่วนตัวผมมองว่าการที่ตำรวจไปตามเราแบบนั้นก็เพื่อต้องการสร้างความกลัวให้กับครอบครัว เพื่อให้มาบีบเราอีกทีหนึ่ง ทางผู้ใหญ่บ้านก็เลยต้องมาบอกแม่ที่บ้านเรา เขาก็ตกใจว่าเราทำอะไรมา เพราะตำรวจมาเองด้วย การที่คนมีคดีความมันเป็นเรื่องใหญ่ เขาไม่ได้ห่วงเรื่องการเมืองหรืออะไร แต่เขาห่วงสวัสดิภาพของเรา เขาก็ปราม ไม่อยากให้เราไปม็อบอีก”
.
“เราก็ปลอบเขาว่าเรื่องงานมันไม่ได้กระทบ เขาอาจจะกังวลเรื่องงานเรา ว่าเจ้านายจะโอเคไหม? การโดนคดียังไงเขาก็ต้องห่วง ผมก็เลยให้ครอบครัวคุยกับหัวหน้าเลยว่าเขาเข้าใจนะ ทำงานได้เหมือนเดิม ผมโชคดีที่ทางที่ทำงานเขาเข้าใจเรื่องคดีและสิทธิทางการเมืองของเรา ขอลาได้เวลาถ้าต้องไปรายงานตัว ยังมีทนายจากศูนย์ทนายฯ ให้ความช่วยเหลือด้วยเต็มที่ ก็ทำให้เขาสบายใจขึ้นมาก”
.
ปัจจุบัน การดำเนินคดีมาตรา 112 มีความอะลุ่มอล่วยมากกว่าในอดีตที่มักจะออกหมายจับ แต่การบังคับใช้กฎหมายแบบปูพรมใส่ผู้ชุมนุมเองก็ได้สร้างความหวาดกลัวให้กับคนในสังคมจำนวนมาก บ็อบเองก็ยอมรับว่า ตัวเขายังรู้สึกกังวลกับกระบวนการที่กำลังจะมาถึง แต่ในเมื่อจำนวนผู้ต้องหายังเพิ่มขึ้นอยู่ทุกวัน สิ่งสำคัญในเวลานี้คือการต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
.
“เมื่อมันโดนแล้ว ก็คิดและกังวลบ้าง มาตรา 112 มันคือความไม่เป็นธรรม ถึงแม้ในสถานการณ์ปัจจุบันมันจะอะลุ่มอล่วย แต่มันก็เรียกผู้ต้องหาเยอะจนแทบไม่เหลือความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายแล้ว บางทีผมก็รู้สึกว่าอัยการอาจจะไม่รับฟ้องก็ได้ แต่ก็ไม่กล้าวางใจซะทีเดียว แต่ไม่อยากจะถึงขั้นลี้ภัย เพราะกรณีของเรายังถือว่าเบาเมื่อเทียบกับน้องแกนนำคนอื่น ๆ ”
.
“เอาจริง ๆ ผมยังไม่รู้ว่าตัวเองถึงเวลาแล้วจะรับได้แค่ไหน แต่สิ่งที่ทำให้เดินต่อไปได้คือ ความคิดที่ว่า นี่คือสิ่งที่เราเลือกแล้ว ภายนอกเราอาจจะดูเข้มแข็งเพราะตัวผมคิดโดยมีพื้นฐานว่า การออกไปอ่านแถลงการณ์มันคือสิ่งที่เราเลือกด้วยตัวเอง ผลที่ตามมาเราอาจจะคาดเดาไม่ได้ว่ามันจะรุนแรงแค่ไหน แต่ในเมื่อมันคือสิ่งที่เราเลือกก็ต้องจำยอม ถ้าต้องถูกขังขึ้นมาจริง ๆ ก็คงต้องปล่อยให้มันเป็นไป”
.
“มันก็น่ากลัวถ้าถึงขั้นต้องรับโทษ เพราะมันไม่ใช่แค่เราคนเดียวที่โดน แต่ยังรวมถึงคนอื่น ๆ ด้วย ตัวผมเองก็อาจต้องเป็นกำลังใจให้กับคนอื่น ๆ ไม่ใช่ว่าท้อแล้วจะไม่มีกำลังใจ”
.
อ่านเนื้อหาฉบับเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/24286
...
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
December 21 at 11:34 PM ·
ในวาระที่มาตรา 112 ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้กับเหล่าผู้ตื่นรู้ ศูนย์ทนายฯ ชวนอ่านซีรีส์บทสัมภาษณ์สะท้อนหลากหลายเรื่องราวชีวิตของผู้อ่านแถลงการณ์ 3 ภาษา ที่การชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมันเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 – ผู้ชุมนุมกลุ่มแรกสุดของขบวนที่ไม่ได้ขึ้นปราศรัยหรือเป็นแกนนำ ทว่ากลับถูกตั้งข้อหาร้ายแรงอย่าง มาตรา 112 คู่กับมาตรา 116
ชวนสำรวจความฝัน ความหวัง และภาพสะท้อนความกล้าหาญของเหล่าคนธรรมดาสามัญที่ถูกตั้งข้อหาเพียงเพราะอาสาเป็นตัวกลางเพื่อสื่อสารกับฟากฟ้า ในวันที่ต้องเดินบนถนนสาย 112 โดยมีอนาคตข้างหน้าเป็นเดิมพัน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รวิสรา เอกสกุล: “ถ้าไม่ใช่เรา ก็ต้องเป็นเพื่อนหรือน้องของเราที่โดน”
.
“เดียร์” รวิสรา คือหนึ่งในผู้อ่านแถลงการณ์เป็นภาษาเยอรมันทั้งหมด 6 คน และเป็นคนกลุ่มที่สองที่ร่วมในการชุมนุมที่ด้านหน้าสถานทูตเยอรมันและได้รับหมายเรียกให้เข้าไปรับทราบ 2 ข้อกล่าวหาคือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และมาตรา 116 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563
.
อดีตบัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายนี้สะท้อนว่า ในอดีตก่อนหน้าที่จะอาสาออกไปอ่านแถลงการณ์เพื่อแสดงจุดยืน เธอไม่เคยออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างจริงจัง นอกเหนือจากการเข้าร่วมในการชุมนุมของกลุ่ม #คณะราษฎร2563 การตัดสินใจเฉพาะหน้าในวันนั้นเริ่มต้นจากที่เห็นประกาศบนทวิตเตอร์ว่าทางผู้จัดการชุมนุมกำลังต้องการอาสาสมัครเพื่อออกมาอ่านแถลงการณ์เป็นภาษาเยอรมัน เธอจึงเสนอตัวเองอย่างไม่ลังเล
.
“เราไม่ได้รู้มาก่อนว่าจะมีการอ่านแถลงการณ์ เพิ่งจะรู้ก็เมื่อตอนไปถึงม็อบ พอลองทักไปทางต้นทวิตที่เขาประกาศหา เขาก็ช่วยประสานงานให้จนได้เบอร์ติดต่อมา พอโทรไป ทางนั้นก็บอกให้เราเดินไปที่ด้านหน้าของม็อบเพื่อเตรียมตัว”
.
“การที่เราตัดสินใจอาสาไปก็เพราะเรารู้ว่ามันเป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้ และเราเองอยากที่จะมีส่วนช่วยในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ให้มากที่สุด ก่อนหน้านั้น เรามองว่าแค่การไปร่วมม็อบก็ถือว่าเราเป็นหนึ่งในพลังที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่ในครั้งนี้พอมันเป็นภาษาเยอรมัน มันเป็นสิ่งที่เราถนัดและเชี่ยวชาญมานานมาก เลยรู้สึกว่า ถ้าเราจะสามารถใช้ความรู้ของเราเพื่อส่งสารให้กับใครต่ออีกหลายคน เราก็เต็มใจ และยินดีที่จะช่วย”
.
ถึงแม้การแสดงออกดังกล่าวจะเป็นไปด้วยเจตนาที่ดี อย่างไรก็ตาม เมื่อเลือกยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับรัฐ ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกการกระทำล้วนตามมาพร้อมกับผลลัพธ์ - ทั้งที่คาดเดาได้และคาดเดาไม่ได้ เดียร์สะท้อนความรู้สึกว่า ถึงจะเตรียมใจไว้แล้วบ้างส่วนหนึ่ง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็เรียกได้ว่ามีจุดที่เหนือไปจากความคาดหมาย
.
“ตั้งแต่ก่อนที่จะขึ้นไปอ่านแถลงการณ์ น้องที่เป็นคนประสานงานเขาก็ถามเราว่า เราพร้อมที่จะรับความเสี่ยงไหม? พอลองคำนวณดูแล้ว เราตอบตัวเองได้ว่าเราพร้อม จังหวะที่ขึ้นไปและลงมาแล้ว เราไม่ได้คิดว่ามันจะมีอะไรที่ไม่ดีเกิดขึ้น เพราะเหมือนทุกคนที่ขึ้นไปยืนอ่านตรงนั้นไม่มีใครรู้จักกันมาก่อน ทุกคนเป็นแค่คนธรรมดาที่ไปม็อบ ไม่มีใครเตรียมใจว่าจะมีโอกาสได้ขึ้นไปอ่านแถลงการณ์ พวกเราเป็นแค่คนธรรมดาที่ไม่เคยเคลื่อนไหว รัฐก็ไม่น่าจะมาเพ่งเล็งที่เราเท่าแกนนำ อย่างแย่ที่สุดที่สุดที่ประเมินไว้ตอนนั้นก็อาจจะแค่ถูกคุกคามโดยคนที่เขาไม่ชอบใจ แต่ถามว่าในใจพร้อมรับความเสี่ยงที่มากกว่านั้นไหม เราก็คิดว่า ถ้ามันจะมีอะไรที่ไม่ดีเกิดขึ้นจริง เราก็พร้อมทำใจยอมรับ”
.
“เราเริ่มเครียดตั้งแต่ตอนที่มีข่าวลือว่ามีคำสั่งให้ดำเนินคดีคนที่ออกไปอ่านแถลงการณ์ทั้ง 3 ภาษา จนตอนหลังมีข่าวว่ารัฐจะเอา 112 กลับมาใช้ เราก็ไม่ได้เครียดอะไรมากแล้ว เริ่มทำใจไว้ระดับหนึ่ง พอเราเห็นกลุ่มแรกที่ได้หมาย 112 ก่อนเรา ก็คิดว่าตัวเองก็ไม่น่ารอด ก็ได้แต่นั่งรอว่าเมื่อไหร่หมาย 112 จะมา พอมันมาแล้วก็ โอเค เครียดอยู่แค่ประมาณ 4 - 5 วัน พอถึงเวลามันก็เริ่มปลง จะมาก็มา รอ แต่ใจก็พร้อมที่จะสู้ เราโชคดีที่พ่อแม่เข้าใจด้วย เขารู้เรื่องข่าวลือพร้อมกันกับเราก็เลยพร้อมซัพพอร์ตในทุกด้าน”
.
ถึงจะยังกังวลในเรื่องของกระบวนการทางคดี แต่ในเวลานี้ เดียร์ยืนยันว่าเธอยังมีกำลังใจดี และถึงแม้การตัดสินใจในวันนั้น ณ ที่ด้านหน้าของสถานทูตเยอรมันจะเป็นต้นเหตุให้เธอถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในข้อหาร้ายแรงที่อาจเปลี่ยนชีวิตและความฝันต่อนาคตแบบพลิกฝ่ามือ แต่ถ้าย้อนกลับไปได้ เดียร์ยืนยันว่าเธอก็จะยังคงทำแบบเดิม
.
“ต้องบอกว่ากำลังใจกับสภาพจิตใจของเราดีมากตอนนี้ พยายามไม่คิดอะไรเยอะ อยากที่จะสนุกกับช่วงเวลานี้ก่อนแล้วในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นยังไง เราก็พร้อมที่จะสู้ เพื่อนรอบตัวเรา พอเขารู้ข่าว ทุกคนก็ทักมา พร้อมที่จะช่วยเหลือ ทุกคนรู้สึกเดือดร้อนแทนเรามาก ๆ ก็รู้สึกดีตรงที่ว่าเหมือนไม่ได้กำลังสู้อยู่คนเดียว”
.
“เราวางแผนว่าจะไปเรียนต่อ อยากจะลองขอทุนไปเรียนด้านการศึกษาเกี่ยวกับสื่อสารมวลชน เพราะอยากกลับมาช่วยพัฒนาวงการสื่อฯ ไทย อย่างในช่วงเวลานี้ มันสะท้อนให้เห็นมีความบกพร่องอยู่ในสื่อเยอะมาก สื่อดี ๆ ถูกปิดกั้น สื่อใหญ่ๆ ก็เลือกข่าวที่จะนำเสนอ เลยคิดว่าอยากจะเข้าไปแก้ไขตรงนั้น เพราะอย่างคุณยายคุณป้าเราที่อยู่ที่บ้าน เขาก็แทบไม่รู้เลยว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้างในสังคมตอนนี้”
.
“ถ้าโดนตัดสินว่าผิดจริงและต้องถูกขัง เราก็อาจจะหมดสิทธิขอทุน เพราะทุนกำหนดว่าต้องเรียนจบมาไม่เกิน 5 ปี ตอนนี้เราก็เรียนจบมา 2 ปีแล้ว แพลนชีวิตของเราก็อาจต้องเปลี่ยนต้องเลื่อน ไม่รู้เหมือนกันว่าสุดท้ายพอรับโทษเสร็จ ชีวิตมันจะเป็นยังไงต่อไป โอกาสในการทำงานของเราก็น่าจะลดลง เพราะด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นและด้วยความที่เป็นคนมีคดีติดตัว”
.
“เวลาคิดย้อนกลับไป ถามว่าเราเคยเสียใจไหมกับการที่ออกไปพูดวันนั้น แน่นอนว่ามีคิดบ้าง เพราะถ้าวันนั้นเราไม่ได้ไปชุมนุม ชีวิตของเราอาจจะสบายกว่านี้ก็ได้ คงได้ทำตามแผนการในอนาคตที่วางไว้ แต่พอทบทวนกับตัวเองจริง ๆ เออ ถ้าเราย้อนเวลากลับไปได้จริง ๆ ล่ะ เราจะยังทำอยู่ไหม? เราคิดว่าเราก็คงจะทำเหมือนเดิม เพราะในประเทศไทยมันมีแค่ไม่กี่คนที่ใช้ภาษาเยอรมันได้ ส่วนใหญ่ก็เป็นรุ่นพี่เรา รุ่นน้องเรา เพื่อนเรา ต่อให้มันไม่ใช่เรา ยังไงก็ต้องเป็นคนใกล้ตัวเราอยู่ดี ยังไงมันก็ต้องมีใครซักคนที่โดน ต่อให้ไม่ใช่เราก็ต้องเป็นคนที่เรารู้จัก”
.
“ถ้าจำเป็นต้องรับโทษ เราก็ทำใจยอมรับได้ ไม่ว่าชีวิตจะเป็นยังไงต่อ เราเชื่อว่าเราก็คงหาทางไปต่อของเราได้ตามที่วางแผนไว้”
.
อ่านเนื้อหาฉบับเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/?p=24286
.....
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
December 22 at 11:23 PM ·
ในวาระที่มาตรา 112 ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้กับเหล่าผู้ตื่นรู้ ศูนย์ทนายฯ ชวนอ่านซีรีส์บทสัมภาษณ์สะท้อนหลากหลายเรื่องราวชีวิตของผู้อ่านแถลงการณ์ 3 ภาษา ที่การชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมันเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 – ผู้ชุมนุมกลุ่มแรกสุดของขบวนที่ไม่ได้ขึ้นปราศรัยหรือเป็นแกนนำ ทว่ากลับถูกตั้งข้อหาร้ายแรงอย่าง มาตรา 112 คู่กับมาตรา 116
ชวนสำรวจความฝัน ความหวัง และภาพสะท้อนความกล้าหาญของเหล่าคนธรรมดาสามัญที่ถูกตั้งข้อหาเพียงเพราะอาสาเป็นตัวกลางเพื่อสื่อสารกับฟากฟ้า ในวันที่ต้องเดินบนถนนสาย 112 โดยมีอนาคตข้างหน้าเป็นเดิมพัน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
.
เบนจา อะปัญ: “เมื่อกฎหมายถูกทำให้ปราศจากความศักดิ์สิทธิ์”
.
หนึ่งในสมาชิกของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมที่ได้ขึ้นอ่านแถลงการณ์ภาษาไทยที่ด้านหน้าของสถานทูตเยอรมันคือ เบนจา อะปัญ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ผันตัวจากเยาวชนที่สนใจในประเด็นเรื่องสิทธิและการเมืองตั้งแต่สมัยอยู่ในรั้วโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สู่การเป็นนักเคลื่อนไหวอย่างเต็มตัวเมื่อเริ่มต้นก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ในช่วงจังหวะเดียวกันกับที่มีการจัดตั้งแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม – พื้นที่ที่เปิดโอกาสให้เธอได้ทำตามความเชื่อและแนวคิดทางการเมืองร่วมกับเพื่อนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน
.
ในวันที่ 26 ตุลาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีการชุมนุม ด้วยความที่ทางผู้จัดการชุมนุมเองไม่ได้กำหนดล่วงหน้าว่าจะให้ใครขึ้นมาเป็นคนอ่านแถลงการณ์เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เบนจาที่เข้าร่วมชุมนุมในวันนั้นจึงขออาสาขึ้นมาเป็นหนึ่งในคนที่อ่านแถลงการณ์ภาษาไทย การตัดสินใจหน้างานในครั้งนั้นกลายเป็นต้นเหตุให้เธอถูกดำเนินคดีแรกในชีวิตคือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ก่อนจะถูกแจ้งข้อหาเพิ่มคือมาตรา 112
.
“ตอนที่ขึ้นไปอ่าน เราไม่ได้อ่านด้วยความรู้สึกกลัวว่าจะถูกรัฐเพ่งเล็ง แต่มันเป็นการอ่านที่เต็มไปด้วยอารมณ์โกรธมากกว่า เพราะว่าสถานการณ์ในตอนนั้นคือการที่พวกเราตั้งคำถามกับสถาบันฯ แต่สิ่งที่ประชาชนได้รับกลับมาคือการถูกดำเนินคดี พออ่านปุ๊ป มันก็เลยมีอารมณ์ร่วมไปในทางโกรธ ตั้งคำถาม ผสมกับความโมโห”
.
“เราประเมินไว้แล้วว่ารัฐต้องจับตาดูเราทุกคนอยู่ เขาน่าจะมีข้อมูลของนักเคลื่อนไหวในมืออยู่แล้วด้วยซ้ำ แค่รอให้ใครสักคนออกมาเคลื่อนไหว แล้วรอจังหวะเพื่อจัดการด้วยกฎหมาย ความสุ่มเสี่ยงที่จะโดนมาตรา 112 คือสิ่งที่เราประเมินไว้แต่แรก ถึงแม้รัฐจะมีนโยบายพักการใช้มาตรา 112 ถึงจะยังไม่ใช้ในตอนนั้น แต่เราก็มองว่า ถ้าวันหนึ่งเขาจะหยิบมาใช้ ยังไงเราก็น่าจะโดน”
.
ส่วนตัวของเบนจาเอง ถึงแม้จะทำใจไว้ส่วนหนึ่ง พร้อมยอมที่จะแลกอิสรภาพและความฝันเพื่อการต่อสู้ในครั้งนี้จนกว่าจะสุดปลายทาง แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการถูกดำเนินคดีในข้อหาร้ายแรงส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อครอบครัวของเธออย่างไม่อาจเลี่ยงได้
.
“ตอนได้หมาย 112 ตำรวจเอาหมายไปให้เซ็นต์ถึงที่บ้าน พ่อเราเสียแล้ว แม่ก็ไม่ค่อยได้อยู่บ้านซักเท่าไหร่ เพราะต้องออกไปทำงาน คนที่อยู่บ้านรับหมายก็คือป้ากับยาย ซึ่งเขากลัวกันมาก เพราะเขาไม่เคยเจออะไรแบบนี้ เขาเป็นแค่ชาวบ้านธรรมดาที่ทำงานในชุมชน แล้ววันหนึ่งญาติตัวเองต้องมาโดนหมายดูหมิ่นกษัตริย์ฯ”
.
“มันไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน เพราะตอนได้หมาย 116 คือถูกส่งไปรษณีย์มา ตำรวจไม่ได้มาเอง แม่เราก็เครียดนะ อาจจะเครียดกว่าเราอีก เรายังพอโอเค ชิลได้ แต่ก็เข้าใจตามประสาผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ลงมาทำการเมือง หรือไม่ได้อยู่ในวงการการเมือง เขาคงมองด้วยคำถามว่าหมายพวกนี้จะทำให้เราหมดอนาคตหรือเปล่า? แล้วถ้าติดคุกขึ้นมาจะทำยังไง? อนาคตจะยังมีอยู่ไหม? แล้วจะทำงานอะไร? เขาจะมองในเชิงอนาคตของเราซะส่วนใหญ่ เราก็พยายามสื่อสารว่าหมายนี้มันไม่ได้แฟร์อยู่แล้ว คดีนี้มันไม่ได้แฟร์ที่จะเกิดขึ้นแต่แรก แต่ในอนาคตเราประเมินว่าคดีมันน่าจะยังจัดการ”
.
“การมาทำตรงนี้ แน่นอนว่าต้องมีความเสี่ยง ถ้าวันหนึ่งเขาจะเอาเราเข้าคุก เราก็คงต้องเข้าคุก เราคุยกับเพื่อนว่า ถ้าวันหนึ่งมันเกิดเหตุการณ์แบบนั้นจะทำยังไง? ก็คงต้องปล่อยให้มันเป็นไป ถึงแม้จะไม่อยากให้มันเกิดขึ้นก็ตาม ความฝันของเราที่อยากจะไปเรียนเมืองนอกแล้วกลับมาเป็นอาจารย์ที่ไทยก็อาจต้องล่าช้าออกไป”
.
จากสถิติของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ปัจจุบัน มีผู้ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการแสดงออกทางการเมืองแล้วถึง 33 ราย ใน 20 คดี (ข้อมูล ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2563) และตัวเลขดังกล่าวดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน สำหรับนักศึกษาปีหนึ่งรายนี้ เธอมองว่าการที่รัฐหยิบกฎหมายมาตรานี้กลับมาใช้อีกครั้งคือภาพสะท้อนว่ารัฐไม่เคยคิดที่จะรับฟังประชาชนเลย และเลือกที่จะใช้กฎหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว แต่ในมุมกลับ ยิ่งมาตรานี้ถูกนำกลับมาใช้มากเท่าไหร่ มันกลับยิ่งถูกลดทอนความศักดิ์สิทธิ์ลงมากเท่านั้น
.
“เราพูดเสมอว่ามาตรา 112 มันไม่เป็นธรรม ไม่แฟร์ เนื่องจากการตีความและหยิบมาใช้มันก็ไม่ได้มีมาตรฐาน ซึ่งผู้ชุมนุมเองก็เรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันฯ รวมถึงขอให้ยกเลิกการใช้มาตรา 112 อย่างอังกฤษก็ไม่มีใครที่วิจารณ์ควีนแล้วถูกดำเนินคดี พอรัฐทำแบบนี้มันสะท้อนให้เห็นเลยว่าเขาไม่ฟังเรา เขาไม่สนใจด้วยซ้ำว่าเราเรียกร้องอะไร จะใช้แต่กฎหมายเพื่อขู่เราอย่างเดียว ทั้งที่โลกมันไปถึงไหนต่อไหนแล้ว”
.
“112 ที่ผ่านมามันเคยน่ากลัวมาก มีกรณีที่ออกหมายจับเลย ไม่ได้เป็นหมายเรียกเหมือนตอนนี้ คือถ้าโดนคุณก็ต้องตัดสินใจเลยว่าจะลี้ภัยหรือจะทำยังไงกับชีวิตต่อไป แต่ด้วยความที่สถานการณ์ปัจจุบัน คนไม่ได้กลัวการใช้กฎหมายตัวนี้เท่าเมื่อก่อน การใช้มาตรา 112 ช่วงเดือนที่ผ่านมาแบบเพิ่มทีเป็นสิบยี่สิบคน กลายเป็นสิ่งที่ลดทอนความศักดิ์สิทธิ์และความน่ากลัวในตัวของกฎหมายเอง แล้วถ้ามีคนต้องถูกขังคุกเพราะกฎหมายตัวนี้จริง เราเชื่อว่ามันจะกลายเป็นเชื้อเพลิงที่สร้างความโกรธให้กับคนในสังคมมากขึ้นไปอีก”
.
.
อ่านเนื้อหาฉบับเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/?p=24286
.....
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
December 25 at 1:13 AM ·
ในวาระที่มาตรา 112 ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้กับเหล่าผู้ตื่นรู้ ศูนย์ทนายฯ ชวนอ่านซีรีส์บทสัมภาษณ์สะท้อนหลากหลายเรื่องราวชีวิตของผู้อ่านแถลงการณ์ 3 ภาษา ที่การชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมันเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 – ผู้ชุมนุมกลุ่มแรกสุดของขบวนที่ไม่ได้ขึ้นปราศรัยหรือเป็นแกนนำ ทว่ากลับถูกตั้งข้อหาร้ายแรงอย่าง มาตรา 112 คู่กับมาตรา 116
ชวนสำรวจความฝัน ความหวัง และภาพสะท้อนความกล้าหาญของเหล่าคนธรรมดาสามัญที่ถูกตั้งข้อหาเพียงเพราะอาสาเป็นตัวกลางเพื่อสื่อสารกับฟากฟ้า ในวันที่ต้องเดินบนถนนสาย 112 โดยมีอนาคตข้างหน้าเป็นเดิมพัน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
.
ชลธิศ โชติสวัสดิ์: “เราต้องการความกล้าหาญเพื่อส่งต่อการต่อสู้ให้คนรุ่นต่อไป”
.
.
อีกเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น “เอฟ” ชลธิศ จะกลายเป็นบัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทว่าในช่วงจังหวะที่เหมือนจะเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อคาบเกี่ยวกับอนาคตและชีวิต เขาได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาคดี “หมิ่นฯ กษัตริย์” จากการขึ้นอ่านแถลงการณ์ภาษาไทยในการชุมนุมที่ด้านหน้าสถานทูตเยอรมัน
.
ย้อนกลับไปสมัยเมื่ออยู่ปี 1 ระหว่างที่สังคมไทยในเวลานั้นยังอยู่ภายใต้การชี้นำของ คสช. เอฟเริ่มบทบาทการเป็นนักเคลื่อนไหวร่วมกับมิตรสหาย หนึ่งในนั้นคือ “เพนกวิน” พริษฐ์ ผลักดันประเด็นทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย พวกเขาเคยร่วมกันต่อสู้เพื่อเรียกร้องสวัสดิการที่เท่าเทียมให้กับนักศึกษาในมหาลัย ในส่วนของการเคลื่อนไหวนอกรั้วสถานศึกษา เอฟเองยังทำหน้าที่เป็นเลขาธิการของ สนท. (สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย) ต่อมาเมื่อหมดวาระจึงได้เข้าร่วมกับกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมในฐานะนักวิชาการซึ่งเป็นฝ่ายมันสมองของกลุ่ม
.
เช่นเดียวกับผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 รายอื่น ๆ เอฟเป็นหนึ่งในผู้ร่วมชุมนุมที่อาสาขึ้นไปอ่านแถลงการณ์เป็นภาษาไทย โดยได้มีการแบ่งเนื้อหาเป็นท่อนๆ เพื่อให้ผู้อ่านแต่ละคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงออก สำหรับชายหนุ่ม เขาเข้าใจดีว่าการตัดสินใจในครั้งนั้นจะทำให้ต้องตกเป็นเป้าถูกรัฐจับตา แต่เขาก็ยังเลือกที่จะขออาสา นั่นก็เพราะต้องการจะเป็นตัวแทนของเพื่อน ๆ นักเคลื่อนไหวหลายคนที่ยังถูกจองจำอยู่ในคุก ณ เวลานั้น
.
“ที่ตัดสินใจไปยืนอยู่ตรงนั้นเพราะผมอยากจะพูดแทนเพื่อน ๆ ที่ถูกจับขัง ในฐานะที่ตัวเองก็ร่วมในขบวนการเคลื่อนไหวของคณะราษฯ 63 เลยอยากช่วยเพื่อนออกมาให้ได้ หรืออย่างน้อยที่สุด อยากจะใช้ความกล้าหาญในการส่งเสียงไปถึงผู้มีอำนาจว่าประชาชนไม่ยอมอีกแล้ว”
.
“หลังอ่านแถลงการณ์จบ ความรู้สึกที่ตามมามันไม่ใช่ความกลัว เพราะการถูกดำเนินคดีมันไม่ควรเป็นราคาที่เราต้องจ่ายแต่แรก แต่ก็เตรียมใจไว้ว่ารัฐจะต้องจัดการเราแน่ ๆ ไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง เพราะเชื่อว่ายังไงก็ต้องถูกจับตามองอยู่ การที่ผมขอขึ้นไปอ่าน อีกส่วนก็เพราะไม่อยากให้การต่อสู้ของเพื่อนๆ มันหายไป อยากให้ประเด็นมันคงอยู่ สมมติว่าถ้ามันเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา อย่างน้อยก็ขอให้การต่อสู้มันถูกส่งต่อไปยังคนกลุ่มถัดๆ เพื่อให้พวกเขาออกมาสู้ต่อได้”
.
คดีมาตรา 116 ควบมาตรา 112 ของเอฟเป็นคดีที่สองในชีวิตจากการเข้าร่วมในการชุมนุมทางการเมือง ก่อนหน้านี้ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์รายนี้ได้เดินทางไปยัง สน. สําราญราษฎร์ ร่วมกับมวลชนและเพื่อนผู้ต้องหาเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาที่มีมูลเหตุมาจากการเข้าร่วมในการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563
.
การที่ต้องเผชิญกับการดำเนินคดีที่ไม่เป็นธรรมถึงสองครั้ง ส่วนตัวแล้วเขาไม่ได้ประหลาดใจนัก ถ้าดูจากสภาวะบ้านเมืองในเวลานี้ ในส่วนของคดีมาตรา 112 เอฟยอมรับว่ามีบางส่วนในข้อความของแถลงการณ์ที่ค่อนข้างชัดตรงไปบ้าง แต่ก็ได้ทำใจยอมรับไว้ล่วงหน้ากับสิ่งที่อาจจะตามมา โชคยังดีที่ทางด้านครอบครัวเองก็คอยช่วยสนับสนุน แม้ว่าจะยังมีความกังวลอยู่บ้างก็ตาม
.
“แม้ว่ารัฐบาลจะพักการใช้ มาตรา 112 ไประยะหนึ่ง แต่ก็คิดว่าวันหนึ่งยังไงมาตรานี้มันก็น่าจะกลับมา พูดตามตรง ถ้าดูจากเนื้อหาในแถลงการณ์ ผมเองก็เตรียมใจไว้ว่ามันน่าจะโดนอะไรที่มากกว่าแค่ มาตรา 116”
.
“ทางด้านครอบครัว พ่อแม่เองเขาก็เตรียมใจไว้ล่วงหน้า แต่ก็ยังมีตกใจบ้างว่าการใช้กฎหมายมันไปถึงขั้นนั้นเลยหรือ พ่อของผม เขาเองก็เป็นเสื้อแดงเก่า เลยค่อนข้างสนับสนุนในการทำกิจกรรม ส่วนทางฝั่งแม่ เขาเองก็ยังกังวล แต่ก็ไม่ได้ห้ามเรื่องที่ออกมาเคลื่อนไหว แค่กลัวว่าลูกจะเป็นอะไรหรือเปล่า ผมเองพยายามคุยกับแม่มาตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา ซึ่งเขาก็เข้าใจว่าเรากำลังเจอกับอะไรอยู่ มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นเรื่องที่ไม่ชอบธรรมเสียด้วยซ้ำ”
.
ในอดีต รูปแบบการดำเนินคดีมาตรา 112 ในหลายคดี ตำรวจจะใช้วิธีออกหมายจับเลย ถึงแม้ในการดำเนินคดีแบบหว่านแหในครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ใช้วิธีออกหมายเรียกเช่นเดียวกับคดีทั่วไป แต่ในขั้นตอนของการพิจารณาคดีก็ยังคงมีความน่ากังวล หากวัดจากบรรทัดฐานการพิจารณาคดีในอดีตที่ผ่านมา ทว่าในวันนี้ ณ เวลานี้ เอฟยังคงมองโลกในแง่ดีอยู่ แม้ในปลายทางของการต่อสู้ซึ่งอาจจะทำให้เขาต้องสูญเสียช่วงเวลาชีวิตในวัยหนุ่มให้กับสถานคุมขัง ต้องเอาระยะเวลาในการไล่ตามความฝันมาเพื่อจ่ายเป็นราคาของอุดมการณ์ เขาเชื่อว่าการเดิมพันครั้งนี้มันคุ้มกับสิ่งที่ต้องแลก
.
“ส่วนตัวผมค่อนข้างกังวลกับการพิจารณาคดี ถ้าดูจากแนวบรรทัดฐานในช่วงที่ผ่านมาเกี่ยวกับคดีมาตรา 112 ยังไม่นับรวมเรื่องการออกหมายจับ แต่ในปลายทางก็ยังอยากมองโลกในแง่บวก อย่างน้อยที่สุดก็คิดว่า บทสรุปอาจจะไม่ร้ายแรงขนาดนั้น ถึงแม้ว่าตัวบทของกฎหมายตัวนี้จะร้ายแรงก็ตาม ผมว่าเราไม่มีทางรู้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นระหว่างทางหรือเปล่า แต่ก็ยังอยากที่จะมีความหวัง”
.
“ในอีกแง่หนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นในปลายทางของการพิจารณาคดี ไม่ว่าจะเป็นการติดคุกหรืออะไรก็ตาม ผมมองว่า อย่างน้อยที่สุด เรายังได้เป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ ที่อาจจะไม่ได้มีความสำคัญ แต่ก็ยังถือเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง และมันไม่ได้เป็นประโยชน์แค่กับคนในรุ่นเดียวกันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคนรุ่นต่อ ๆ ไป เป็นการส่งต่อเสียงที่คนในรุ่นนี้เคยพูดไว้ให้มันดังขึ้นเรื่อย ๆ พอคิดแบบนี้ก็เลยทำให้กำลังใจเรายังดีอยู่ เพราะเหมือนเรากำลังพยายามส่งต่อบางสิ่งให้กับคนในอนาคต”
.
“ตั้งแต่เด็กเลย ผมอยากเป็นอาจารย์หรือครูสอนหนังสือคน อันนี้เป็นปลายทางที่วางเอาไว้ โดยส่วนตัวผมเป็นคนที่ใคร่รู้ อยากเรียนรู้เรื่องความคิด ชอบสรรหาอะไรมาอ่านเรื่อย ๆ ด้วยพื้นฐานตรงนี้ ถึงอยากเอาความรู้ที่เรามีไปถกเถียงกับผู้คน นำเสนอความรู้ให้ผู้คน อยากสร้างเป็นพื้นที่ที่เปิดให้เกิดการถกเถียงเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในแวดวงวิชาการ”
.
“ถ้าต้องติดคุก ความฝันตรงนั้นก็อาจต้องช้าออกไปสักหน่อย แต่ผมมองว่ามันคุ้มค่าที่จะเสี่ยง มันมีความกล้าหาญอย่างหนึ่งที่คนไม่ค่อยมองเห็นก็คือ ความกล้าหาญในเชิงวิชาการ คือการที่เรากล้ายกเรื่องที่เคยเป็นเรื่องต้องห้ามอย่างเรื่องของสถาบันฯ ขึ้นมาพูดกันอย่างชัดเจนในแวดวงวิชาการ หรือแม้แต่การที่ประเด็นนี้ถูกนำมาพูดคุยถกเถียงกันบนท้องถนน การที่ต้องเสียเวลาในชีวิตเพื่อที่จะพูดความจริง แล้วทำให้ประเด็นต่าง ๆ ชัดเจนขึ้น ผมมองว่ามันเป็นเรื่องที่คุ้มค่า”
.
อ่านเนื้อหาฉบับเว็บไซต์; https://tlhr2014.com/archives/24286
.....
Thanapol Eawsakul
18h ·
9 ปีที่แล้วตอนเคลื่อนไหว แก้ 112
พวกฝ่ายขวาจะบอกว่า
"ถ้าปล่อยให้แก้ 112 เชื่อนพังแน่"
(เขื่อนภูมิพล)
แต่ตอนนี้ไม่ค่อยมีใครจะแก้ 112 แล้ว
เขาจะยกเลิกกันเลย
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
18h ·
ในวาระที่มาตรา 112 ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้กับเหล่าผู้ตื่นรู้ ศูนย์ทนายฯ ชวนอ่านซีรีส์บทสัมภาษณ์สะท้อนหลากหลายเรื่องราวชีวิตของผู้อ่านแถลงการณ์ 3 ภาษา ที่การชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมันเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 – ผู้ชุมนุมกลุ่มแรกสุดของขบวนที่ไม่ได้ขึ้นปราศรัยหรือเป็นแกนนำ ทว่ากลับถูกตั้งข้อหาร้ายแรงอย่าง มาตรา 112 คู่กับมาตรา 116
ชวนสำรวจความฝัน ความหวัง และภาพสะท้อนความกล้าหาญของเหล่าคนธรรมดาสามัญที่ถูกตั้งข้อหาเพียงเพราะอาสาเป็นตัวกลางเพื่อสื่อสารกับฟากฟ้า ในวันที่ต้องเดินบนถนนสาย 112 โดยมีอนาคตข้างหน้าเป็นเดิมพัน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
.
อัครพล ตีบไธสง: “ถ้าไม่ได้แก้ไข ผมก็คงจะเสียใจในภายหลัง”
.
ชื่อของ “บ็อบ” อัครพล ไม่เคยเป็นชื่อที่อยู่ภายใต้การจับตามองของรัฐไทยมาก่อน จนกระทั่งเมื่อเขาเข้าร่วมในการชุมนุมเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 และขออาสาเป็นหนึ่งในผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมัน ผลจากการตัดสินใจในครั้งนั้นทำให้พนักงานองค์กรพัฒนาสังคมและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมรายนี้ถูกหมายหัวโดยรัฐไทยและถูกตั้งข้อหาร้ายแรงอย่างมาตรา 116 คู่กับมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา
.
ในอดีตก่อนหน้าที่จะเข้าร่วมในการชุมนุมของกลุ่ม #คณะราษฎร2563 บ็อบเล่าเรื่องราวพื้นหลังในชีวิตว่า ที่จริงแล้วตัวเขาเองไม่ได้เรียนจบทางด้านภาษาเยอรมันมาโดยตรง เพียงแต่ช่วงจังหวะหนึ่งในชีวิตวัยรุ่น ชายหนุ่มเคยใช้ชีวิตและเรียนที่ประเทศเยอรมันอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะกลับมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรังสิต
.
เขาเริ่มเข้าร่วมในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ในการชุมนุมที่จัดโดยกลุ่มเยาวชนปลดแอก เนื่องจากเห็นด้วยกับทิศทางการต่อสู้ และประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายลงเมื่อรัฐบาล คสช. เข้ามามีอำนาจ ซึ่งเป็นปัญหาที่เขาพบเจอโดยตรงจากการทำงาน จนกระทั่งในวันที่ 26 ตุลาคม เมื่อผู้จัดการชุมนุมประกาศว่าต้องการอาสาสมัครมาร่วมอ่านแถลงการณ์เป็นภาษาเยอรมัน เขาจึงขออาสาขึ้นไปเป็นคนส่งสารโดยที่ไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า
.
“ผมเพิ่งจะทราบวันนั้นเลยในที่ชุมนุมว่าจะมีการอ่านแถลงการณ์ 3 ภาษา ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ทางทีมงานของน้องแกนนำขึ้นมาประกาศว่าอยากได้คนมาช่วยอ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมัน พออ่านจบ ก็รู้สึกว่าตัวเองได้เป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารความเห็นทางการเมืองและความต้องการของเราในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ข้อเรียกร้อง”
.
“การที่ผมออกมาเข้าร่วมในการชุมนุม หลักๆ ก็คือรัฐบาลประยุทธ์ตั้งแต่ที่ยังเป็น คสช. ผมสัมผัสปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มันเริ่มเลวร้ายลงตั้งแต่ยุคนั้น ด้วยความที่ตัวเองทำงาน NGO สายสิ่งแวดล้อม ผมเห็นตัวกฎหมายต่าง ๆ ทั้งมาตรา 44 ทั้งการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่ซ้ำเติมปัญหาสิ่งแวดล้อมและลิดรอนสิทธิของชาวบ้าน ปริมาณมลพิษที่เพิ่มขึ้น กฎหมายเอื้อให้ตั้งโรงงานได้ง่ายขึ้น ผมก็เริ่มเห็นตั้งแต่ตอนนั้นแล้วว่า การที่ คสช. เข้ามามีอำนาจ มันกระทบกับงานด้านที่ทำ กระทบกับชุมชน เป็นการทำลายหลักการดี ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมและการปกป้องสุขภาพของประชาชน ผมเลยเริ่มออกมาชูสามนิ้วใส่ประยุทธ์บ้าง เพราะการที่เป็นรัฐแบบเผด็จการมันให้ระบบต่าง ๆ ล้าหลัง ทำให้กฎหมายถอยหลังลงย้อนกลับไป สิ่งแวดล้อมกับสิทธิของคนก็เสื่อมถอยลง”
.
แม้การอาสาของบ็อบในวันนั้นจะเป็นไปด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่เมื่อเลือกที่จะยืนฝั่งตรงข้ามกันกับรัฐก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกจับตามอง ชายหนุ่มวัย 33 ปีรายนี้ยอมรับว่าตัวเขาเองก็ทำใจไว้ในระดับหนึ่ง ในอดีต บ็อบเคยเข้าร่วมกับกลุ่ม กปปส. และมีส่วนร่วมในการ “ชัตดาวน์กรุงเทพฯ” สำหรับเขา หากไม่เลือกที่จะเสนอตัวออกไปพูดแทนมวลชนที่ด้านหน้าสถานทูต วันหนึ่งหากมองย้อนกลับไป ก็อาจจะเสียใจในภายหลัง
.
“ตอนที่ได้หมาย 116 ก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองจะไม่มีโอกาสโดน 112 เลย คิดว่าโอกาสที่จะโดนน่าจะน้อย แต่เข้าใจว่าเมื่อเราไปแตะสิ่งที่คนเขาไม่กล้าแตะ กรณีแบบนี้มันก็เกิดขึ้นได้ แล้วเราก็คาดการณ์อะไรไม่ได้ด้วย ก็เลยมองว่าในเมื่อมันมาถึงจุดนี้แล้ว สิ่งที่ผมอาจจะต้องเจอหรือสูญเสียไป หรือการต้องเจอกับบางอย่างที่ไม่ได้คาดหวัง มันก็ยังถือว่าน้อย เมื่อเทียบกับน้อง ๆ ทีมที่บุกเบิกเรื่องนี้มา ซึ่งตัวเองก็ไม่อยากจะมาเสียใจในภายหลัง"
.
“ในอดีต ผมเคยเข้าร่วมกับ กปปส. ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันมีส่วนที่ทำให้เกิดการรัฐประหาร ถ้าผมไม่ได้แก้ไข ไม่ออกมาสนับสนุน ก็คงเสียใจถ้าไม่ได้ทำ ผมก็เลยทำใจได้ในระดับหนึ่งกับผลการดำเนินคดีที่ตามมา”
.
ในกรณีการดำเนินคดีของบ็อบ แทนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเลือกใช้กระบวนการออกหมายเรียกตามขั้นตอน แต่กลับเลือกใช้วิธีการนอกกฎหมาย อีกทั้งยังมีการเดินทางไปติดต่อผู้ใหญ่บ้านที่บ้านเกิดของเขาโดยตรงเพื่อแจ้งเรื่องการดำเนินคดี สร้างความกังวลให้กับครอบครัวเป็นอย่างมาก แต่ยังดีทางที่ทำงานของชายหนุ่มยังเข้าใจและเคารพในสิทธิทางการเมืองของพนักงานในองค์กร
.
“ตอนแรกที่ได้หมาย 116 ผมเห็นว่ามีหมายเรียกไปยังทีมผู้ปราศรัยก่อน กับคนที่อ่านแถลงการณ์อังกฤษกับไทย ตอนนั้น เขายังไม่ออกหมายเรียกกลุ่มที่อ่านภาษาเยอรมัน แต่ผู้ปราศรัยที่เขาไปรับทราบข้อกล่าวหา เขาก็เห็นว่ามีชื่อของเราเหมือนกัน ไม่กี่วันต่อมา ตำรวจก็ติดต่อมาโดยตรง เขาบอกว่าต้องการอยากให้เรื่องมันเงียบ เรียกเข้าไปพบ ผมก็ลองปรึกษาทนาย เขาก็แนะนำให้เราทำตามขั้นตอน หลีกเลี่ยงวิธีการนอกกฎหมาย ตำรวจก็เลยออกหมายเรียกตามมา”
.
“มันเริ่มจากตำรวจไปหาผู้ใหญ่บ้านตามที่อยู่บัตรประชาชนของผมที่โคราชเพื่อสอบถาม ผู้ใหญ่บ้านเขาก็โทรหาเรา เพราะเป็นญาติกัน ทางนั้นเขาก็คิดว่าจะแจ้งที่บ้านของเราดีไหม เพราะกลัวจะตกใจ ส่วนตัวผมมองว่าการที่ตำรวจไปตามเราแบบนั้นก็เพื่อต้องการสร้างความกลัวให้กับครอบครัว เพื่อให้มาบีบเราอีกทีหนึ่ง ทางผู้ใหญ่บ้านก็เลยต้องมาบอกแม่ที่บ้านเรา เขาก็ตกใจว่าเราทำอะไรมา เพราะตำรวจมาเองด้วย การที่คนมีคดีความมันเป็นเรื่องใหญ่ เขาไม่ได้ห่วงเรื่องการเมืองหรืออะไร แต่เขาห่วงสวัสดิภาพของเรา เขาก็ปราม ไม่อยากให้เราไปม็อบอีก”
.
“เราก็ปลอบเขาว่าเรื่องงานมันไม่ได้กระทบ เขาอาจจะกังวลเรื่องงานเรา ว่าเจ้านายจะโอเคไหม? การโดนคดียังไงเขาก็ต้องห่วง ผมก็เลยให้ครอบครัวคุยกับหัวหน้าเลยว่าเขาเข้าใจนะ ทำงานได้เหมือนเดิม ผมโชคดีที่ทางที่ทำงานเขาเข้าใจเรื่องคดีและสิทธิทางการเมืองของเรา ขอลาได้เวลาถ้าต้องไปรายงานตัว ยังมีทนายจากศูนย์ทนายฯ ให้ความช่วยเหลือด้วยเต็มที่ ก็ทำให้เขาสบายใจขึ้นมาก”
.
ปัจจุบัน การดำเนินคดีมาตรา 112 มีความอะลุ่มอล่วยมากกว่าในอดีตที่มักจะออกหมายจับ แต่การบังคับใช้กฎหมายแบบปูพรมใส่ผู้ชุมนุมเองก็ได้สร้างความหวาดกลัวให้กับคนในสังคมจำนวนมาก บ็อบเองก็ยอมรับว่า ตัวเขายังรู้สึกกังวลกับกระบวนการที่กำลังจะมาถึง แต่ในเมื่อจำนวนผู้ต้องหายังเพิ่มขึ้นอยู่ทุกวัน สิ่งสำคัญในเวลานี้คือการต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
.
“เมื่อมันโดนแล้ว ก็คิดและกังวลบ้าง มาตรา 112 มันคือความไม่เป็นธรรม ถึงแม้ในสถานการณ์ปัจจุบันมันจะอะลุ่มอล่วย แต่มันก็เรียกผู้ต้องหาเยอะจนแทบไม่เหลือความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายแล้ว บางทีผมก็รู้สึกว่าอัยการอาจจะไม่รับฟ้องก็ได้ แต่ก็ไม่กล้าวางใจซะทีเดียว แต่ไม่อยากจะถึงขั้นลี้ภัย เพราะกรณีของเรายังถือว่าเบาเมื่อเทียบกับน้องแกนนำคนอื่น ๆ ”
.
“เอาจริง ๆ ผมยังไม่รู้ว่าตัวเองถึงเวลาแล้วจะรับได้แค่ไหน แต่สิ่งที่ทำให้เดินต่อไปได้คือ ความคิดที่ว่า นี่คือสิ่งที่เราเลือกแล้ว ภายนอกเราอาจจะดูเข้มแข็งเพราะตัวผมคิดโดยมีพื้นฐานว่า การออกไปอ่านแถลงการณ์มันคือสิ่งที่เราเลือกด้วยตัวเอง ผลที่ตามมาเราอาจจะคาดเดาไม่ได้ว่ามันจะรุนแรงแค่ไหน แต่ในเมื่อมันคือสิ่งที่เราเลือกก็ต้องจำยอม ถ้าต้องถูกขังขึ้นมาจริง ๆ ก็คงต้องปล่อยให้มันเป็นไป”
.
“มันก็น่ากลัวถ้าถึงขั้นต้องรับโทษ เพราะมันไม่ใช่แค่เราคนเดียวที่โดน แต่ยังรวมถึงคนอื่น ๆ ด้วย ตัวผมเองก็อาจต้องเป็นกำลังใจให้กับคนอื่น ๆ ไม่ใช่ว่าท้อแล้วจะไม่มีกำลังใจ”
.
อ่านเนื้อหาฉบับเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/24286
...
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
December 21 at 11:34 PM ·
ในวาระที่มาตรา 112 ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้กับเหล่าผู้ตื่นรู้ ศูนย์ทนายฯ ชวนอ่านซีรีส์บทสัมภาษณ์สะท้อนหลากหลายเรื่องราวชีวิตของผู้อ่านแถลงการณ์ 3 ภาษา ที่การชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมันเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 – ผู้ชุมนุมกลุ่มแรกสุดของขบวนที่ไม่ได้ขึ้นปราศรัยหรือเป็นแกนนำ ทว่ากลับถูกตั้งข้อหาร้ายแรงอย่าง มาตรา 112 คู่กับมาตรา 116
ชวนสำรวจความฝัน ความหวัง และภาพสะท้อนความกล้าหาญของเหล่าคนธรรมดาสามัญที่ถูกตั้งข้อหาเพียงเพราะอาสาเป็นตัวกลางเพื่อสื่อสารกับฟากฟ้า ในวันที่ต้องเดินบนถนนสาย 112 โดยมีอนาคตข้างหน้าเป็นเดิมพัน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รวิสรา เอกสกุล: “ถ้าไม่ใช่เรา ก็ต้องเป็นเพื่อนหรือน้องของเราที่โดน”
.
“เดียร์” รวิสรา คือหนึ่งในผู้อ่านแถลงการณ์เป็นภาษาเยอรมันทั้งหมด 6 คน และเป็นคนกลุ่มที่สองที่ร่วมในการชุมนุมที่ด้านหน้าสถานทูตเยอรมันและได้รับหมายเรียกให้เข้าไปรับทราบ 2 ข้อกล่าวหาคือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และมาตรา 116 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563
.
อดีตบัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายนี้สะท้อนว่า ในอดีตก่อนหน้าที่จะอาสาออกไปอ่านแถลงการณ์เพื่อแสดงจุดยืน เธอไม่เคยออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างจริงจัง นอกเหนือจากการเข้าร่วมในการชุมนุมของกลุ่ม #คณะราษฎร2563 การตัดสินใจเฉพาะหน้าในวันนั้นเริ่มต้นจากที่เห็นประกาศบนทวิตเตอร์ว่าทางผู้จัดการชุมนุมกำลังต้องการอาสาสมัครเพื่อออกมาอ่านแถลงการณ์เป็นภาษาเยอรมัน เธอจึงเสนอตัวเองอย่างไม่ลังเล
.
“เราไม่ได้รู้มาก่อนว่าจะมีการอ่านแถลงการณ์ เพิ่งจะรู้ก็เมื่อตอนไปถึงม็อบ พอลองทักไปทางต้นทวิตที่เขาประกาศหา เขาก็ช่วยประสานงานให้จนได้เบอร์ติดต่อมา พอโทรไป ทางนั้นก็บอกให้เราเดินไปที่ด้านหน้าของม็อบเพื่อเตรียมตัว”
.
“การที่เราตัดสินใจอาสาไปก็เพราะเรารู้ว่ามันเป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้ และเราเองอยากที่จะมีส่วนช่วยในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ให้มากที่สุด ก่อนหน้านั้น เรามองว่าแค่การไปร่วมม็อบก็ถือว่าเราเป็นหนึ่งในพลังที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่ในครั้งนี้พอมันเป็นภาษาเยอรมัน มันเป็นสิ่งที่เราถนัดและเชี่ยวชาญมานานมาก เลยรู้สึกว่า ถ้าเราจะสามารถใช้ความรู้ของเราเพื่อส่งสารให้กับใครต่ออีกหลายคน เราก็เต็มใจ และยินดีที่จะช่วย”
.
ถึงแม้การแสดงออกดังกล่าวจะเป็นไปด้วยเจตนาที่ดี อย่างไรก็ตาม เมื่อเลือกยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับรัฐ ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกการกระทำล้วนตามมาพร้อมกับผลลัพธ์ - ทั้งที่คาดเดาได้และคาดเดาไม่ได้ เดียร์สะท้อนความรู้สึกว่า ถึงจะเตรียมใจไว้แล้วบ้างส่วนหนึ่ง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็เรียกได้ว่ามีจุดที่เหนือไปจากความคาดหมาย
.
“ตั้งแต่ก่อนที่จะขึ้นไปอ่านแถลงการณ์ น้องที่เป็นคนประสานงานเขาก็ถามเราว่า เราพร้อมที่จะรับความเสี่ยงไหม? พอลองคำนวณดูแล้ว เราตอบตัวเองได้ว่าเราพร้อม จังหวะที่ขึ้นไปและลงมาแล้ว เราไม่ได้คิดว่ามันจะมีอะไรที่ไม่ดีเกิดขึ้น เพราะเหมือนทุกคนที่ขึ้นไปยืนอ่านตรงนั้นไม่มีใครรู้จักกันมาก่อน ทุกคนเป็นแค่คนธรรมดาที่ไปม็อบ ไม่มีใครเตรียมใจว่าจะมีโอกาสได้ขึ้นไปอ่านแถลงการณ์ พวกเราเป็นแค่คนธรรมดาที่ไม่เคยเคลื่อนไหว รัฐก็ไม่น่าจะมาเพ่งเล็งที่เราเท่าแกนนำ อย่างแย่ที่สุดที่สุดที่ประเมินไว้ตอนนั้นก็อาจจะแค่ถูกคุกคามโดยคนที่เขาไม่ชอบใจ แต่ถามว่าในใจพร้อมรับความเสี่ยงที่มากกว่านั้นไหม เราก็คิดว่า ถ้ามันจะมีอะไรที่ไม่ดีเกิดขึ้นจริง เราก็พร้อมทำใจยอมรับ”
.
“เราเริ่มเครียดตั้งแต่ตอนที่มีข่าวลือว่ามีคำสั่งให้ดำเนินคดีคนที่ออกไปอ่านแถลงการณ์ทั้ง 3 ภาษา จนตอนหลังมีข่าวว่ารัฐจะเอา 112 กลับมาใช้ เราก็ไม่ได้เครียดอะไรมากแล้ว เริ่มทำใจไว้ระดับหนึ่ง พอเราเห็นกลุ่มแรกที่ได้หมาย 112 ก่อนเรา ก็คิดว่าตัวเองก็ไม่น่ารอด ก็ได้แต่นั่งรอว่าเมื่อไหร่หมาย 112 จะมา พอมันมาแล้วก็ โอเค เครียดอยู่แค่ประมาณ 4 - 5 วัน พอถึงเวลามันก็เริ่มปลง จะมาก็มา รอ แต่ใจก็พร้อมที่จะสู้ เราโชคดีที่พ่อแม่เข้าใจด้วย เขารู้เรื่องข่าวลือพร้อมกันกับเราก็เลยพร้อมซัพพอร์ตในทุกด้าน”
.
ถึงจะยังกังวลในเรื่องของกระบวนการทางคดี แต่ในเวลานี้ เดียร์ยืนยันว่าเธอยังมีกำลังใจดี และถึงแม้การตัดสินใจในวันนั้น ณ ที่ด้านหน้าของสถานทูตเยอรมันจะเป็นต้นเหตุให้เธอถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในข้อหาร้ายแรงที่อาจเปลี่ยนชีวิตและความฝันต่อนาคตแบบพลิกฝ่ามือ แต่ถ้าย้อนกลับไปได้ เดียร์ยืนยันว่าเธอก็จะยังคงทำแบบเดิม
.
“ต้องบอกว่ากำลังใจกับสภาพจิตใจของเราดีมากตอนนี้ พยายามไม่คิดอะไรเยอะ อยากที่จะสนุกกับช่วงเวลานี้ก่อนแล้วในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นยังไง เราก็พร้อมที่จะสู้ เพื่อนรอบตัวเรา พอเขารู้ข่าว ทุกคนก็ทักมา พร้อมที่จะช่วยเหลือ ทุกคนรู้สึกเดือดร้อนแทนเรามาก ๆ ก็รู้สึกดีตรงที่ว่าเหมือนไม่ได้กำลังสู้อยู่คนเดียว”
.
“เราวางแผนว่าจะไปเรียนต่อ อยากจะลองขอทุนไปเรียนด้านการศึกษาเกี่ยวกับสื่อสารมวลชน เพราะอยากกลับมาช่วยพัฒนาวงการสื่อฯ ไทย อย่างในช่วงเวลานี้ มันสะท้อนให้เห็นมีความบกพร่องอยู่ในสื่อเยอะมาก สื่อดี ๆ ถูกปิดกั้น สื่อใหญ่ๆ ก็เลือกข่าวที่จะนำเสนอ เลยคิดว่าอยากจะเข้าไปแก้ไขตรงนั้น เพราะอย่างคุณยายคุณป้าเราที่อยู่ที่บ้าน เขาก็แทบไม่รู้เลยว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้างในสังคมตอนนี้”
.
“ถ้าโดนตัดสินว่าผิดจริงและต้องถูกขัง เราก็อาจจะหมดสิทธิขอทุน เพราะทุนกำหนดว่าต้องเรียนจบมาไม่เกิน 5 ปี ตอนนี้เราก็เรียนจบมา 2 ปีแล้ว แพลนชีวิตของเราก็อาจต้องเปลี่ยนต้องเลื่อน ไม่รู้เหมือนกันว่าสุดท้ายพอรับโทษเสร็จ ชีวิตมันจะเป็นยังไงต่อไป โอกาสในการทำงานของเราก็น่าจะลดลง เพราะด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นและด้วยความที่เป็นคนมีคดีติดตัว”
.
“เวลาคิดย้อนกลับไป ถามว่าเราเคยเสียใจไหมกับการที่ออกไปพูดวันนั้น แน่นอนว่ามีคิดบ้าง เพราะถ้าวันนั้นเราไม่ได้ไปชุมนุม ชีวิตของเราอาจจะสบายกว่านี้ก็ได้ คงได้ทำตามแผนการในอนาคตที่วางไว้ แต่พอทบทวนกับตัวเองจริง ๆ เออ ถ้าเราย้อนเวลากลับไปได้จริง ๆ ล่ะ เราจะยังทำอยู่ไหม? เราคิดว่าเราก็คงจะทำเหมือนเดิม เพราะในประเทศไทยมันมีแค่ไม่กี่คนที่ใช้ภาษาเยอรมันได้ ส่วนใหญ่ก็เป็นรุ่นพี่เรา รุ่นน้องเรา เพื่อนเรา ต่อให้มันไม่ใช่เรา ยังไงก็ต้องเป็นคนใกล้ตัวเราอยู่ดี ยังไงมันก็ต้องมีใครซักคนที่โดน ต่อให้ไม่ใช่เราก็ต้องเป็นคนที่เรารู้จัก”
.
“ถ้าจำเป็นต้องรับโทษ เราก็ทำใจยอมรับได้ ไม่ว่าชีวิตจะเป็นยังไงต่อ เราเชื่อว่าเราก็คงหาทางไปต่อของเราได้ตามที่วางแผนไว้”
.
อ่านเนื้อหาฉบับเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/?p=24286
.....
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
December 22 at 11:23 PM ·
ในวาระที่มาตรา 112 ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้กับเหล่าผู้ตื่นรู้ ศูนย์ทนายฯ ชวนอ่านซีรีส์บทสัมภาษณ์สะท้อนหลากหลายเรื่องราวชีวิตของผู้อ่านแถลงการณ์ 3 ภาษา ที่การชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมันเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 – ผู้ชุมนุมกลุ่มแรกสุดของขบวนที่ไม่ได้ขึ้นปราศรัยหรือเป็นแกนนำ ทว่ากลับถูกตั้งข้อหาร้ายแรงอย่าง มาตรา 112 คู่กับมาตรา 116
ชวนสำรวจความฝัน ความหวัง และภาพสะท้อนความกล้าหาญของเหล่าคนธรรมดาสามัญที่ถูกตั้งข้อหาเพียงเพราะอาสาเป็นตัวกลางเพื่อสื่อสารกับฟากฟ้า ในวันที่ต้องเดินบนถนนสาย 112 โดยมีอนาคตข้างหน้าเป็นเดิมพัน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
.
เบนจา อะปัญ: “เมื่อกฎหมายถูกทำให้ปราศจากความศักดิ์สิทธิ์”
.
หนึ่งในสมาชิกของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมที่ได้ขึ้นอ่านแถลงการณ์ภาษาไทยที่ด้านหน้าของสถานทูตเยอรมันคือ เบนจา อะปัญ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ผันตัวจากเยาวชนที่สนใจในประเด็นเรื่องสิทธิและการเมืองตั้งแต่สมัยอยู่ในรั้วโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สู่การเป็นนักเคลื่อนไหวอย่างเต็มตัวเมื่อเริ่มต้นก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ในช่วงจังหวะเดียวกันกับที่มีการจัดตั้งแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม – พื้นที่ที่เปิดโอกาสให้เธอได้ทำตามความเชื่อและแนวคิดทางการเมืองร่วมกับเพื่อนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน
.
ในวันที่ 26 ตุลาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีการชุมนุม ด้วยความที่ทางผู้จัดการชุมนุมเองไม่ได้กำหนดล่วงหน้าว่าจะให้ใครขึ้นมาเป็นคนอ่านแถลงการณ์เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เบนจาที่เข้าร่วมชุมนุมในวันนั้นจึงขออาสาขึ้นมาเป็นหนึ่งในคนที่อ่านแถลงการณ์ภาษาไทย การตัดสินใจหน้างานในครั้งนั้นกลายเป็นต้นเหตุให้เธอถูกดำเนินคดีแรกในชีวิตคือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ก่อนจะถูกแจ้งข้อหาเพิ่มคือมาตรา 112
.
“ตอนที่ขึ้นไปอ่าน เราไม่ได้อ่านด้วยความรู้สึกกลัวว่าจะถูกรัฐเพ่งเล็ง แต่มันเป็นการอ่านที่เต็มไปด้วยอารมณ์โกรธมากกว่า เพราะว่าสถานการณ์ในตอนนั้นคือการที่พวกเราตั้งคำถามกับสถาบันฯ แต่สิ่งที่ประชาชนได้รับกลับมาคือการถูกดำเนินคดี พออ่านปุ๊ป มันก็เลยมีอารมณ์ร่วมไปในทางโกรธ ตั้งคำถาม ผสมกับความโมโห”
.
“เราประเมินไว้แล้วว่ารัฐต้องจับตาดูเราทุกคนอยู่ เขาน่าจะมีข้อมูลของนักเคลื่อนไหวในมืออยู่แล้วด้วยซ้ำ แค่รอให้ใครสักคนออกมาเคลื่อนไหว แล้วรอจังหวะเพื่อจัดการด้วยกฎหมาย ความสุ่มเสี่ยงที่จะโดนมาตรา 112 คือสิ่งที่เราประเมินไว้แต่แรก ถึงแม้รัฐจะมีนโยบายพักการใช้มาตรา 112 ถึงจะยังไม่ใช้ในตอนนั้น แต่เราก็มองว่า ถ้าวันหนึ่งเขาจะหยิบมาใช้ ยังไงเราก็น่าจะโดน”
.
ส่วนตัวของเบนจาเอง ถึงแม้จะทำใจไว้ส่วนหนึ่ง พร้อมยอมที่จะแลกอิสรภาพและความฝันเพื่อการต่อสู้ในครั้งนี้จนกว่าจะสุดปลายทาง แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการถูกดำเนินคดีในข้อหาร้ายแรงส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อครอบครัวของเธออย่างไม่อาจเลี่ยงได้
.
“ตอนได้หมาย 112 ตำรวจเอาหมายไปให้เซ็นต์ถึงที่บ้าน พ่อเราเสียแล้ว แม่ก็ไม่ค่อยได้อยู่บ้านซักเท่าไหร่ เพราะต้องออกไปทำงาน คนที่อยู่บ้านรับหมายก็คือป้ากับยาย ซึ่งเขากลัวกันมาก เพราะเขาไม่เคยเจออะไรแบบนี้ เขาเป็นแค่ชาวบ้านธรรมดาที่ทำงานในชุมชน แล้ววันหนึ่งญาติตัวเองต้องมาโดนหมายดูหมิ่นกษัตริย์ฯ”
.
“มันไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน เพราะตอนได้หมาย 116 คือถูกส่งไปรษณีย์มา ตำรวจไม่ได้มาเอง แม่เราก็เครียดนะ อาจจะเครียดกว่าเราอีก เรายังพอโอเค ชิลได้ แต่ก็เข้าใจตามประสาผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ลงมาทำการเมือง หรือไม่ได้อยู่ในวงการการเมือง เขาคงมองด้วยคำถามว่าหมายพวกนี้จะทำให้เราหมดอนาคตหรือเปล่า? แล้วถ้าติดคุกขึ้นมาจะทำยังไง? อนาคตจะยังมีอยู่ไหม? แล้วจะทำงานอะไร? เขาจะมองในเชิงอนาคตของเราซะส่วนใหญ่ เราก็พยายามสื่อสารว่าหมายนี้มันไม่ได้แฟร์อยู่แล้ว คดีนี้มันไม่ได้แฟร์ที่จะเกิดขึ้นแต่แรก แต่ในอนาคตเราประเมินว่าคดีมันน่าจะยังจัดการ”
.
“การมาทำตรงนี้ แน่นอนว่าต้องมีความเสี่ยง ถ้าวันหนึ่งเขาจะเอาเราเข้าคุก เราก็คงต้องเข้าคุก เราคุยกับเพื่อนว่า ถ้าวันหนึ่งมันเกิดเหตุการณ์แบบนั้นจะทำยังไง? ก็คงต้องปล่อยให้มันเป็นไป ถึงแม้จะไม่อยากให้มันเกิดขึ้นก็ตาม ความฝันของเราที่อยากจะไปเรียนเมืองนอกแล้วกลับมาเป็นอาจารย์ที่ไทยก็อาจต้องล่าช้าออกไป”
.
จากสถิติของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ปัจจุบัน มีผู้ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการแสดงออกทางการเมืองแล้วถึง 33 ราย ใน 20 คดี (ข้อมูล ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2563) และตัวเลขดังกล่าวดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน สำหรับนักศึกษาปีหนึ่งรายนี้ เธอมองว่าการที่รัฐหยิบกฎหมายมาตรานี้กลับมาใช้อีกครั้งคือภาพสะท้อนว่ารัฐไม่เคยคิดที่จะรับฟังประชาชนเลย และเลือกที่จะใช้กฎหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว แต่ในมุมกลับ ยิ่งมาตรานี้ถูกนำกลับมาใช้มากเท่าไหร่ มันกลับยิ่งถูกลดทอนความศักดิ์สิทธิ์ลงมากเท่านั้น
.
“เราพูดเสมอว่ามาตรา 112 มันไม่เป็นธรรม ไม่แฟร์ เนื่องจากการตีความและหยิบมาใช้มันก็ไม่ได้มีมาตรฐาน ซึ่งผู้ชุมนุมเองก็เรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันฯ รวมถึงขอให้ยกเลิกการใช้มาตรา 112 อย่างอังกฤษก็ไม่มีใครที่วิจารณ์ควีนแล้วถูกดำเนินคดี พอรัฐทำแบบนี้มันสะท้อนให้เห็นเลยว่าเขาไม่ฟังเรา เขาไม่สนใจด้วยซ้ำว่าเราเรียกร้องอะไร จะใช้แต่กฎหมายเพื่อขู่เราอย่างเดียว ทั้งที่โลกมันไปถึงไหนต่อไหนแล้ว”
.
“112 ที่ผ่านมามันเคยน่ากลัวมาก มีกรณีที่ออกหมายจับเลย ไม่ได้เป็นหมายเรียกเหมือนตอนนี้ คือถ้าโดนคุณก็ต้องตัดสินใจเลยว่าจะลี้ภัยหรือจะทำยังไงกับชีวิตต่อไป แต่ด้วยความที่สถานการณ์ปัจจุบัน คนไม่ได้กลัวการใช้กฎหมายตัวนี้เท่าเมื่อก่อน การใช้มาตรา 112 ช่วงเดือนที่ผ่านมาแบบเพิ่มทีเป็นสิบยี่สิบคน กลายเป็นสิ่งที่ลดทอนความศักดิ์สิทธิ์และความน่ากลัวในตัวของกฎหมายเอง แล้วถ้ามีคนต้องถูกขังคุกเพราะกฎหมายตัวนี้จริง เราเชื่อว่ามันจะกลายเป็นเชื้อเพลิงที่สร้างความโกรธให้กับคนในสังคมมากขึ้นไปอีก”
.
.
อ่านเนื้อหาฉบับเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/?p=24286
.....
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
December 25 at 1:13 AM ·
ในวาระที่มาตรา 112 ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้กับเหล่าผู้ตื่นรู้ ศูนย์ทนายฯ ชวนอ่านซีรีส์บทสัมภาษณ์สะท้อนหลากหลายเรื่องราวชีวิตของผู้อ่านแถลงการณ์ 3 ภาษา ที่การชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมันเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 – ผู้ชุมนุมกลุ่มแรกสุดของขบวนที่ไม่ได้ขึ้นปราศรัยหรือเป็นแกนนำ ทว่ากลับถูกตั้งข้อหาร้ายแรงอย่าง มาตรา 112 คู่กับมาตรา 116
ชวนสำรวจความฝัน ความหวัง และภาพสะท้อนความกล้าหาญของเหล่าคนธรรมดาสามัญที่ถูกตั้งข้อหาเพียงเพราะอาสาเป็นตัวกลางเพื่อสื่อสารกับฟากฟ้า ในวันที่ต้องเดินบนถนนสาย 112 โดยมีอนาคตข้างหน้าเป็นเดิมพัน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
.
ชลธิศ โชติสวัสดิ์: “เราต้องการความกล้าหาญเพื่อส่งต่อการต่อสู้ให้คนรุ่นต่อไป”
.
.
อีกเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น “เอฟ” ชลธิศ จะกลายเป็นบัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทว่าในช่วงจังหวะที่เหมือนจะเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อคาบเกี่ยวกับอนาคตและชีวิต เขาได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาคดี “หมิ่นฯ กษัตริย์” จากการขึ้นอ่านแถลงการณ์ภาษาไทยในการชุมนุมที่ด้านหน้าสถานทูตเยอรมัน
.
ย้อนกลับไปสมัยเมื่ออยู่ปี 1 ระหว่างที่สังคมไทยในเวลานั้นยังอยู่ภายใต้การชี้นำของ คสช. เอฟเริ่มบทบาทการเป็นนักเคลื่อนไหวร่วมกับมิตรสหาย หนึ่งในนั้นคือ “เพนกวิน” พริษฐ์ ผลักดันประเด็นทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย พวกเขาเคยร่วมกันต่อสู้เพื่อเรียกร้องสวัสดิการที่เท่าเทียมให้กับนักศึกษาในมหาลัย ในส่วนของการเคลื่อนไหวนอกรั้วสถานศึกษา เอฟเองยังทำหน้าที่เป็นเลขาธิการของ สนท. (สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย) ต่อมาเมื่อหมดวาระจึงได้เข้าร่วมกับกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมในฐานะนักวิชาการซึ่งเป็นฝ่ายมันสมองของกลุ่ม
.
เช่นเดียวกับผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 รายอื่น ๆ เอฟเป็นหนึ่งในผู้ร่วมชุมนุมที่อาสาขึ้นไปอ่านแถลงการณ์เป็นภาษาไทย โดยได้มีการแบ่งเนื้อหาเป็นท่อนๆ เพื่อให้ผู้อ่านแต่ละคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงออก สำหรับชายหนุ่ม เขาเข้าใจดีว่าการตัดสินใจในครั้งนั้นจะทำให้ต้องตกเป็นเป้าถูกรัฐจับตา แต่เขาก็ยังเลือกที่จะขออาสา นั่นก็เพราะต้องการจะเป็นตัวแทนของเพื่อน ๆ นักเคลื่อนไหวหลายคนที่ยังถูกจองจำอยู่ในคุก ณ เวลานั้น
.
“ที่ตัดสินใจไปยืนอยู่ตรงนั้นเพราะผมอยากจะพูดแทนเพื่อน ๆ ที่ถูกจับขัง ในฐานะที่ตัวเองก็ร่วมในขบวนการเคลื่อนไหวของคณะราษฯ 63 เลยอยากช่วยเพื่อนออกมาให้ได้ หรืออย่างน้อยที่สุด อยากจะใช้ความกล้าหาญในการส่งเสียงไปถึงผู้มีอำนาจว่าประชาชนไม่ยอมอีกแล้ว”
.
“หลังอ่านแถลงการณ์จบ ความรู้สึกที่ตามมามันไม่ใช่ความกลัว เพราะการถูกดำเนินคดีมันไม่ควรเป็นราคาที่เราต้องจ่ายแต่แรก แต่ก็เตรียมใจไว้ว่ารัฐจะต้องจัดการเราแน่ ๆ ไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง เพราะเชื่อว่ายังไงก็ต้องถูกจับตามองอยู่ การที่ผมขอขึ้นไปอ่าน อีกส่วนก็เพราะไม่อยากให้การต่อสู้ของเพื่อนๆ มันหายไป อยากให้ประเด็นมันคงอยู่ สมมติว่าถ้ามันเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา อย่างน้อยก็ขอให้การต่อสู้มันถูกส่งต่อไปยังคนกลุ่มถัดๆ เพื่อให้พวกเขาออกมาสู้ต่อได้”
.
คดีมาตรา 116 ควบมาตรา 112 ของเอฟเป็นคดีที่สองในชีวิตจากการเข้าร่วมในการชุมนุมทางการเมือง ก่อนหน้านี้ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์รายนี้ได้เดินทางไปยัง สน. สําราญราษฎร์ ร่วมกับมวลชนและเพื่อนผู้ต้องหาเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาที่มีมูลเหตุมาจากการเข้าร่วมในการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563
.
การที่ต้องเผชิญกับการดำเนินคดีที่ไม่เป็นธรรมถึงสองครั้ง ส่วนตัวแล้วเขาไม่ได้ประหลาดใจนัก ถ้าดูจากสภาวะบ้านเมืองในเวลานี้ ในส่วนของคดีมาตรา 112 เอฟยอมรับว่ามีบางส่วนในข้อความของแถลงการณ์ที่ค่อนข้างชัดตรงไปบ้าง แต่ก็ได้ทำใจยอมรับไว้ล่วงหน้ากับสิ่งที่อาจจะตามมา โชคยังดีที่ทางด้านครอบครัวเองก็คอยช่วยสนับสนุน แม้ว่าจะยังมีความกังวลอยู่บ้างก็ตาม
.
“แม้ว่ารัฐบาลจะพักการใช้ มาตรา 112 ไประยะหนึ่ง แต่ก็คิดว่าวันหนึ่งยังไงมาตรานี้มันก็น่าจะกลับมา พูดตามตรง ถ้าดูจากเนื้อหาในแถลงการณ์ ผมเองก็เตรียมใจไว้ว่ามันน่าจะโดนอะไรที่มากกว่าแค่ มาตรา 116”
.
“ทางด้านครอบครัว พ่อแม่เองเขาก็เตรียมใจไว้ล่วงหน้า แต่ก็ยังมีตกใจบ้างว่าการใช้กฎหมายมันไปถึงขั้นนั้นเลยหรือ พ่อของผม เขาเองก็เป็นเสื้อแดงเก่า เลยค่อนข้างสนับสนุนในการทำกิจกรรม ส่วนทางฝั่งแม่ เขาเองก็ยังกังวล แต่ก็ไม่ได้ห้ามเรื่องที่ออกมาเคลื่อนไหว แค่กลัวว่าลูกจะเป็นอะไรหรือเปล่า ผมเองพยายามคุยกับแม่มาตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา ซึ่งเขาก็เข้าใจว่าเรากำลังเจอกับอะไรอยู่ มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นเรื่องที่ไม่ชอบธรรมเสียด้วยซ้ำ”
.
ในอดีต รูปแบบการดำเนินคดีมาตรา 112 ในหลายคดี ตำรวจจะใช้วิธีออกหมายจับเลย ถึงแม้ในการดำเนินคดีแบบหว่านแหในครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ใช้วิธีออกหมายเรียกเช่นเดียวกับคดีทั่วไป แต่ในขั้นตอนของการพิจารณาคดีก็ยังคงมีความน่ากังวล หากวัดจากบรรทัดฐานการพิจารณาคดีในอดีตที่ผ่านมา ทว่าในวันนี้ ณ เวลานี้ เอฟยังคงมองโลกในแง่ดีอยู่ แม้ในปลายทางของการต่อสู้ซึ่งอาจจะทำให้เขาต้องสูญเสียช่วงเวลาชีวิตในวัยหนุ่มให้กับสถานคุมขัง ต้องเอาระยะเวลาในการไล่ตามความฝันมาเพื่อจ่ายเป็นราคาของอุดมการณ์ เขาเชื่อว่าการเดิมพันครั้งนี้มันคุ้มกับสิ่งที่ต้องแลก
.
“ส่วนตัวผมค่อนข้างกังวลกับการพิจารณาคดี ถ้าดูจากแนวบรรทัดฐานในช่วงที่ผ่านมาเกี่ยวกับคดีมาตรา 112 ยังไม่นับรวมเรื่องการออกหมายจับ แต่ในปลายทางก็ยังอยากมองโลกในแง่บวก อย่างน้อยที่สุดก็คิดว่า บทสรุปอาจจะไม่ร้ายแรงขนาดนั้น ถึงแม้ว่าตัวบทของกฎหมายตัวนี้จะร้ายแรงก็ตาม ผมว่าเราไม่มีทางรู้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นระหว่างทางหรือเปล่า แต่ก็ยังอยากที่จะมีความหวัง”
.
“ในอีกแง่หนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นในปลายทางของการพิจารณาคดี ไม่ว่าจะเป็นการติดคุกหรืออะไรก็ตาม ผมมองว่า อย่างน้อยที่สุด เรายังได้เป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ ที่อาจจะไม่ได้มีความสำคัญ แต่ก็ยังถือเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง และมันไม่ได้เป็นประโยชน์แค่กับคนในรุ่นเดียวกันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคนรุ่นต่อ ๆ ไป เป็นการส่งต่อเสียงที่คนในรุ่นนี้เคยพูดไว้ให้มันดังขึ้นเรื่อย ๆ พอคิดแบบนี้ก็เลยทำให้กำลังใจเรายังดีอยู่ เพราะเหมือนเรากำลังพยายามส่งต่อบางสิ่งให้กับคนในอนาคต”
.
“ตั้งแต่เด็กเลย ผมอยากเป็นอาจารย์หรือครูสอนหนังสือคน อันนี้เป็นปลายทางที่วางเอาไว้ โดยส่วนตัวผมเป็นคนที่ใคร่รู้ อยากเรียนรู้เรื่องความคิด ชอบสรรหาอะไรมาอ่านเรื่อย ๆ ด้วยพื้นฐานตรงนี้ ถึงอยากเอาความรู้ที่เรามีไปถกเถียงกับผู้คน นำเสนอความรู้ให้ผู้คน อยากสร้างเป็นพื้นที่ที่เปิดให้เกิดการถกเถียงเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในแวดวงวิชาการ”
.
“ถ้าต้องติดคุก ความฝันตรงนั้นก็อาจต้องช้าออกไปสักหน่อย แต่ผมมองว่ามันคุ้มค่าที่จะเสี่ยง มันมีความกล้าหาญอย่างหนึ่งที่คนไม่ค่อยมองเห็นก็คือ ความกล้าหาญในเชิงวิชาการ คือการที่เรากล้ายกเรื่องที่เคยเป็นเรื่องต้องห้ามอย่างเรื่องของสถาบันฯ ขึ้นมาพูดกันอย่างชัดเจนในแวดวงวิชาการ หรือแม้แต่การที่ประเด็นนี้ถูกนำมาพูดคุยถกเถียงกันบนท้องถนน การที่ต้องเสียเวลาในชีวิตเพื่อที่จะพูดความจริง แล้วทำให้ประเด็นต่าง ๆ ชัดเจนขึ้น ผมมองว่ามันเป็นเรื่องที่คุ้มค่า”
.
อ่านเนื้อหาฉบับเว็บไซต์; https://tlhr2014.com/archives/24286
.....
Thanapol Eawsakul
18h ·
9 ปีที่แล้วตอนเคลื่อนไหว แก้ 112
พวกฝ่ายขวาจะบอกว่า
"ถ้าปล่อยให้แก้ 112 เชื่อนพังแน่"
(เขื่อนภูมิพล)
แต่ตอนนี้ไม่ค่อยมีใครจะแก้ 112 แล้ว
เขาจะยกเลิกกันเลย