วันพุธ, พฤศจิกายน 01, 2560

ขอคารวะ... รำลึก 11 ปี ลุงนวมทอง ผ่าน Democracy After Death หนัง ประชาธิปไตยหลังความตาย ลุงนวมทอง ไพรวัลย์







Democracy After Death ภาพยนตร์ที่แทบไม่มีการกล่าวถึง


ต้นเดือนตุลาคม 2559 มีข่าวเล็กๆ ว่า ในงานรำลึก 40 ปี 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งบังเอิญว่าเป็นการครบรอบ 10 ปี รัฐประหาร คมช. 2549 ด้วยนั้น มีการนำภาพยนตร์เรื่อง “Democracy After Death : A Tragedy of Uncle Nuamthong Praiwan” มาฉายในงานด้วยโดยไม่ได้มีการโปรโมทนัก หลังการฉายในครั้งนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีการฉายหรือเผยแพร่ภาพยนตร์เรื่องนี้ในที่ไหนอีก มีเพียงกระแสข่าวว่าคณะกรรมการผู้จัดงานถูกเตือนจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงว่าเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์อาจเข้าข่ายละเมิดกฎหมายอาญา ม.112

ล่าสุด ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกฉายอีกครั้งที่งาน Screening of THAI Political Film จัดโดย กลุ่ม ASEAN’s friend ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2559 ที่มหาวิทยาลัย Songkunghoe University ประเทศเกาหลีใต้ และไม่นานมานี้ก็มีการเผยแพร่หนังเรื่องนี้สู่สาธารณะในเวอร์ชั่น “เซ็นเซอร์” ปรากฏบนยูทูบ ซึ่งตัดบางฉากออกไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

รูปแบบการนำเสนอของภาพยนตร์เรื่องนี้รวมหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน ไม่ว่า อะนิเมชัน การแสดง กระทั่งฟุตเทจข่าวจริงๆ จำนวนมาก โดยรวมแล้วอาจเรียกได้ว่ามันเป็นภาพยนตร์สารคดีการเมืองที่มีสีสันและสมบูรณ์ที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย เพราะนอกจากมีเนื้อหารำลึกถึงการต่อสู้และการตายของ ‘นวมทอง ไพรวัลย์’ คนขับแท็กซี่สูงวัยที่ขับรถพุ่งชนรถถังเพื่อประท้วงการรัฐประหารปี 2549 และท้ายที่สุดผูกคอตายเพื่อยืนยันว่าผู้ยอมสละชีพเพื่อต่อต้านรัฐประหารมีจริงแล้ว มันยังได้ย้อนทวนไปถึงจุดเริ่มต้นความขัดแย้งในเหตุการณ์ปี 2549 ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์การเมืองที่ยาวนานต่อเนื่องมาถึงสิบปีโดยที่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะยุติ

ภาพความรุนแรง ความโหดร้าย ความเกรี้ยวกราด และความสิ้นหวังซึมเซา ถูกฉายยาวนานชั่วโมงครึ่ง ในตอนท้ายก็เหมือนภาพยนตร์ทั่วไปที่ต้องระบุเครดิตฝ่ายต่างๆ คำว่า “Anonymous” ปรากฏซ้ำแล้วซ้ำเล่า มีเพียงชื่อของผู้กำกับเท่านั้นที่โดดเด่น “เนติ วิเชียรแสน” เขาคือผู้กำกับหนังโฆษณาที่ต้องหลบหนีออกจากประเทศไทยเพราะการโพสต์ความเห็นในเว็บบอร์ดการเมืองแห่งหนึ่ง โดย DSI ได้จับกุมเขาและแจ้งว่าภาพและข้อความของเขานั้นเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ชื่อจริงผู้คนอาจไม่รู้จัก แต่หากเรียกเขาใหม่ในนามแฝงว่า “ปรวย” หรือ Pruay Saltihead ผู้เป็นคอการเมืองที่ชอบท่องโลกอินเทอร์เน็ตในช่วงปี 2549 เป็นต้นมาน่าจะรู้จักเขาเป็นอย่างดี

ที่มา 

บันทึกชีวิต"นวมทอง ไพรวัลย์" 9 ปีที่"ประชาธิปไตย"สิ้นใจ

Jom Voice (Published on Oct 31, 2015)




https://www.youtube.com/watch?v=arR1TnG1hUQ