วันศุกร์, มิถุนายน 21, 2567

ฝันร้ายของผมยังไม่จบ ผมอยากให้ฝันร้ายนี้จบลงได้แล้ว - ยาว… แต่ถ้าอ่านจบ จะเข้าใจคนที่ติดคุกการเมืองในระบอบปรสิต


Pommie Korphadee
18 hours ago ·

คืนก่อน…
ผมฝันว่าตัวเองได้ประกันตัว
ผมเดินออกจากเรือนจำไปกอดแม่ และแฟน แล้วเราก็เดินกลับบ้านด้วยกัน ผมได้ทำกับข้าวกับแฟน แล้วนั่งดูทีวีด้วยกัน ฝันคืนนั้นเหมือนจริงมากซะจนผมไม่เชื่อว่านี่จะเป็นแค่ความฝัน

แต่พอผมตื่นขึ้นมา ที่บนฝ้าเพดานต่ำข้างบนในห้องขัง ทำให้ผมพบความจริงว่า ผมกำลังหลอกตัวเองอยู่

ในทุกวันนี้… ชีวิตของผมเหมือนติดอยู่ในกล่อง จำนวนวันเดือนปีไม่มีความหมายสำหรับผมข้างในนี้ เพราะในทุก ๆ วันพุธ ผมจะรอแค่ญาติมาเยี่ยม และในทุก ๆ วันเวลาบ่ายสองโมงครึ่ง ผมจะรอจดหมายจากใครสักคนส่งเข้ามาหาผม

ชีวิตของผมเหมือนติดอยู่ในกล่อง ไปทางไหนก็เจอแต่กรอบ ผมทำสิ่งเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ในทุกวัน จนผมต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่าผมคือใครกันแน่
และคำตอบของทุกวันก็ค่อย ๆ สั้นลงทุกที กลายเป็นว่า
ผมกลัววันที่ตัวเองจะได้รับอิสรภาพเข้าแล้วจริง ๆ ว่าตัวเองจะสามารถเป็นคนเดิมได้อยู่ไหม??
.

ทุกวันเวลาบ่ายสองโมงครึ่ง

คงดี…
ถ้ามีคนเขียนจดหมายมาหาผมเยอะกว่านี้

ข้างในนี้..ผมช่างโดดเดี่ยว
เหงาเกินกว่าจะบรรยาย
สิ่งที่ทำให้ผมยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ก็คือครอบครัว… และคนรักของผม…ที่มาเยี่ยมผมในทุกวัน ส่วนเวลาที่เหลือผมแค่พยายามหายใจให้หนึ่งวันมาจบ ๆ ไป!

ตั้งแต่อยู่ในนี้มาร่วมหลายเดือน..
หน้ากระดาษจดหมายคงไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะเล่าทุกเรื่องให้ฟังได้ ความสุขที่เกิดขึ้นในคุกนี้ทำให้ผมรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องจริง แต่สิ่งที่แน่แท้คือในที่แห่งนี้คือโลกที่ทุกคนต้องเอาชีวิตรอด

ในทุกวัน ผมพยายามปรับตัว อดทนกับสิ่งที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้ #สัญญากับตัวเองว่าจะมีชีวิตรอดออกไป ทุก ๆ วันผมจะแอบไปนั่งคนเดียว ในเรือนจำของผม…มีท้องฟ้า นก ผีเสื้อ ก้อนเมฆ และเครื่องบิน #ผมคิดว่ามันน่าจะเป็นภาพเดียวกันกับที่ทุกคนเห็นข้างนอกนั่น …… และมันก็ทำให้ผมมีชีวิตอยู่ต่อได้ เพราะนี่เป็นอิสรภาพเดียวที่ผมจะเห็นได้เหมือนกันกับคนข้างนอก

#ผมคือขนุน
…….เด็กธรรมดาคนหนึ่ง….
ที่ทั้งเรียนไม่เก่ง เกเร และขี้เกียจเกินใคร ชีวิตผมไม่มีอะไรน่าสนใจเท่าไร ผมไม่เคยรู้จักคำว่าการเมือง จนกระทั่งโลกการศึกษาของผมนำพาให้ผมรู้จักกับคณะรัฐศาสตร์ ผมคงโชคดีที่คนรอบตัวผมไม่เคยคิดว่าผมเป็นคนโง่ ความเป็นกันเองของเพื่อน ๆ พี่ ๆ ที่ผมรู้จัก ทำให้ผมอยากเป็นคนที่เก่งขึ้น ดีขึ้น ผมอยากเข้าใจ จึงอ่าน ฟัง และเข้าร่วม จนเป็นขนุนในทุกวันนี้

เพราะผมคือขนุน ผมไม่อยากหลงลืมตัวเอง

มองความหวังที่แสนจะสว่างเสียจนตาจะบอด

การมีอยู่ของเราทุกวันนี้ที่อยากเล่าคือ ผมเริ่มไม่อยากใส่แว่นแล้ว

ผมไม่อยากเห็นอะไรไปมากกว่านี้ ผมเริ่มไม่อยากนอนเพราะเมื่อไรที่หลับตาลง ผมจะฝันถึงอิสรภาพที่ไม่มีจริง ผมไม่อยากขยับไปไหนเพราะจะได้ไม่มีเรื่องมีราวกับใครเพิ่ม ผมเริ่มไม่อยากกินเพราะเหตุผลของการมีชีวิตของผมยังเลือนราง

แต่ผมก็ขอบคุณความพยายามของทุกคน ทุกวันนี้ผมได้แต่จ้องมองความหวังที่แสนจะสว่าง เสียจนตาผมจะบอด เพราะได้แต่มองมัน แต่ไม่เคยเอื้อมไปถึง หรือสัมผัสมันได้เลย

มีบางคนเริ่มได้ออกไปแล้ว ผมเริ่มอิจฉาทุกคนที่ได้กลับไปมีชีวิต ได้อยู่กับคนที่รัก ได้มีอิสรภาพ แต่ตัวผมยังคงอยู่ในที่แห่งนี้ และกำลังจมดิ่งลงไปทุกวัน ไม่ว่าจะแลกด้วยอะไร ผมขอได้เป็นคนธรรมดาเหมือนเดิม ผมจะอยู่อย่างสงบในโลกที่แสนโหดร้ายแห่งนี้

.

ฝันร้ายของผมยังไม่จบ

ผมอยากให้ฝันร้ายนี้จบลงได้แล้ว

#3ปีก่อนเข้ามาข้างในนี้
ผมพยายามหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวหลายเรื่อง….
ปัจจัยสำคัญก็มาจากครอบครัวและคนรัก ผมอยากใช้เวลาที่เหลืออยู่ร่วมกับคนรักให้ได้มากที่สุด การที่ผมต้องมาติดอยู่ในคุกแบบนี้มีแต่จะทำให้ทุกอย่างพังลง ถ้าให้พูดอย่างรวบรัด ผมไม่ไหวอีกแล้ว

ผมกลัว กลัวความเหงา ความโดดเดี่ยว หรือแม้แต่การหลงลืมตัวตนของตัวเอง ผมพร้อมที่จะทำทุกอย่างด้วยความจริงใจ ในที่แห่งนี้ที่ผมอยู่ ไม่ใช่ทั้งบ้านที่อบอุ่น ไม่ใช่ห้องเรียนที่น่าค้นหา แต่คือดินแดนของศูนย์รวมทุกอย่างที่คนข้างนอกเกินจะจินตนาการถึงได้

เวลานี้ ไม่ใช่เวลาที่ผมอยากจะกล่าวโทษใคร แต่ผมอยากให้ทุกคนหันกลับมามองพวกเรา อย่าลืมการมีอยู่ของพวกเรา ในที่นี้เราเป็นเพียงแค่วัยรุ่นที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของประเทศ และมันไม่ใช่แค่พวกเราที่จะเข้ามาข้างในนี้ จะมีเพื่อนของเราอีกจำนวนมากที่จะมาอยู่ในนี้ ถ้าสังคมยังไม่ทำอะไร

ทุกวัน ทุกชั่วโมงที่ค่อย ๆ หมดไปส่งผลต่อพวกเราในวันข้างหน้า ผมได้แต่ตั้งคำถามว่า ในวันที่อิสรภาพเดินทางมาอย่างเชื่องช้าแบบนี้ ตัวเองจะเหลือเพียงตัวตนอันเปลือยเปล่า ไร้ซึ่งจิตวิญญาณและชีวิตเป็นแน่แท้ สิ่งเดียวที่จะเยียวยาผมได้ในตอนนี้คืออิสรภาพ

#ถึงทุกคน….
…… #สิ่งที่ควรทำมากที่สุดตอนนี้คือการพาพวกเราออกไป

ผู้ต้องขังทางการเมืองมีชีวิต จิตใจ และร่างกายที่ไม่ต่างจากผม พวกเราไม่มีใครอยากถูกทอดทิ้งเพียงลำพัง #เราต้องการเพียงแค่ขอชีวิตเราคืน #ขอทุกคนช่วยผมหยุดฝันร้ายนี้ด้วย

“ขนุน” สิรภพ พึ่งพุ่มพุทธ นักศึกษาที่กำลังต่อปริญญาโท วัย 23 ปี ถูกศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาจำคุกสองปี ในคดีมาตรา 112 จากการปราศรัย ชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎรประสงค์ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567
#โดยปัจจุบันเขาถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
และยังคงไม่ได้รับสิทธิประกันตัวเป็นระยะเวลาร่วม 87 วันแล้ว!!!
————
//ศาลยังไม่ได้พิพากษาถึงที่สุด แต่ไม่ได้ประกันตัวในคดีความผิดเกิดจากการเมือง ที่โดยเนื้อแท้ผู้กระทำความผิดไม่ได้เป็นอาชญากร หลัก presumption of innocence ในกระบวนการยุติธรรมไทยจึงโดนตั้งคำถามว่า..#ทำไมบางคนจึงได้สิทธิประกันตัวเร็วไว #แต่หลายคนยื่นเรื่องขอประกันตัวหลายรอบกลับไม่ได้
Pommie Korphadee

ศาลยังไม่ได้พิพากษาถึงที่สุด แต่ไม่ได้ประกันตัวในคดีความผิดเกิดจากการเมือง ที่โดยเนื้อแท้ผู้กระทำความผิดไม่ได้เป็นอาชญากร หลัก presumption of innocence ในกระบวนการยุติธรรมไทยจึงโดนตั้งคำถามว่าทำไมบางคนจึงได้สิทธิประกันตัวเร็วไว แต่หลายคนยื่นเรื่องขอประกันตัวหลายรอบกลับไม่ได้
...
ยาว… แต่ถ้าอ่านจบ จะเข้าใจคนที่ติดคุกการเมืองในระบอบปรสิต

(https://www.facebook.com/photo/?fbid=384747521251228&set=a.1250998482452624)


‘อานนท์’ ถูกคุมขังแล้ว 269 วัน: ศาลฎีกายัง #ยกคำร้อง กรณีอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวเห็นว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง - จำเลยอาจหลบหนี


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
10 hours ago
·
‘อานนท์’ ถูกคุมขังแล้ว 269 วัน: ศาลฎีกายัง #ยกคำร้อง กรณีอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวเห็นว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง - จำเลยอาจหลบหนี
.
เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ทนายความได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว #อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน ของศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ในคดี #มาตรา112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ​ จากกรณีโพสต์ 3 ข้อความในเฟซบุ๊ก ซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การบังคับใช้มาตรา 112 กับผู้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์และเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ หลังศาลอาญามีคำพิพากษาจำคุก 4 ปี
.
เหตุที่ยื่นคำร้องครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวอานนท์ ส่วนหนึ่งได้ระบุว่า “การกระทำที่จำเลยถูกฟ้องสร้างความเสียหายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ทนายยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวว่า การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงเนื้อหาแห่งคดีและเชื่อตามคำฟ้องโจทก์แล้วว่าการกระทำของจำเลยสร้างความเสียหายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งที่ยังมิได้ถูกพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิด ซึ่งขัดต่อหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงขอความเป็นธรรมในการวินิจฉัยต่อศาลฎีกา
.
ต่อมาวันที่ 20 มิ.ย. 2567 ศาลฎีกามีคำสั่งยกคำร้อง ระบุว่า ‘พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดี กรณีเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 4 ปี และให้นับโทษต่อหากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ มีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยอาจจะหลบหนี คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนั้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง’ เป็นผลทำให้อานนท์ยังคงถูกคุมขังในเรือนจำต่อไป
.
.
ทบทวนคดี: ถูก ‘แน่งน้อย’ แจ้งความ 112 จากการโพสต์ 3 ข้อความ อานนท์ยืนยันว่าวิจารณ์การใช้มาตรา 112 และสถาบันกษัตริย์โดยสุจริต ต่อมาศาลพิพากษาจำคุก 4 ปี และไม่อนุญาตให้ประกันตัวเรื่อยมา
.
ที่มาที่ไปของคดีนี้ สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2564 แน่งน้อย อัศวกิตติกร ขณะนั้นอยู่ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.) เป็นผู้แจ้งความกล่าวหาอานนท์ไว้ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) และอานนท์เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2564
.
15 พ.ย. 2564 พนักงานอัยการรมีคำสั่งฟ้องคดีนี้ โดยระบุว่า ข้อความทั้งหมดเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดูหมิ่น ทําให้รัชกาลที่ 10 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติ เสื่อมเสียชื่อเสียง ทรงถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง ทั้งยังเป็นการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของประเทศไทยและเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวไทย โดยอัยการยังระบุว่าโพสต์ดังกล่าวมีผู้กดไลค์ 1.2-1.3 หมื่นคน มีผู้แสดงความคิดเห็น 317-544 คน และมีผู้แชร์ 361-544 ครั้ง
.
ในการสืบพยานคดีนี้อานนท์ยืนยันว่าเป็นการโพสต์วิจารณ์การใช้มาตรา 112 และสถาบันกษัตริย์โดยสุจริต เพื่อให้สถาบันฯ ดำรงอยู่ในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างสง่างาม
.
ต่อมาวันที่ 17 ม.ค. 2567 ศาลอาญามีคำพิพากษาจำคุกอานนท์ 4 ปี โดยระบุว่า ข้อความทั้งสามของจำเลยแม้จะใช้คำว่า “ระบอบกษัตริย์” และ “สถาบันกษัตริย์” แต่สื่อถึงในหลวงรัชกาลที่ 10 มีจุดประสงค์ให้ประชาชนที่เห็นข้อความดังกล่าวเข้าใจผิดว่า ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงเบียดบังเอาทรัพย์สินของประเทศไปเป็นของตนเอง และทรงใช้จ่ายเงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย ซึ่งเป็นความเท็จ จาบจ้วงล่วงเกิน ทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ วันดังกล่าวทำให้อานนท์ถูกคุมขังในเรือนจำด้วยโทษจำคุกทั้งสิ้น 8 ปี (เนื่องจากก่อนหน้านี้มีคำพิพากษาคดีมาตรา 112 กรณีปราศรัยใน #ม็อบ14ตุลา63 ให้จำคุก 4 ปี)
.
ทนายยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัว: ขอความเป็นธรรมในการวินิจฉัย ระบุจำเลยต้องการปกป้องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่คำสั่งศาลอุทธรณ์ทำให้ความหมายของระบอบห่างไกลจากประชาธิปไตย หรือทำให้ประชาธิปไตยแยกห่างจากสถาบันกษัตริย์
.
หลังทนายความยื่นขอประกันตัวในคดีนี้เป็นครั้งที่ 3 ไปเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2567 ศาลอาญามีคำสั่งส่งให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาคำร้อง ซึ่งศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว การกระทำที่จำเลยถูกฟ้องสร้างความเสียหายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กรณีเป็นเรื่องร้ายแรง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกสี่ปีและให้นับโทษต่อ ประกอบกับศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์มาแล้ว และเหตุตามคำร้องไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง”
.
ต่อมาในวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ทนายความได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวอานนท์ต่อศาลฎีกา โดยสามารถสรุปเป็นใจความสำคัญได้ว่า
.
ประเด็นที่ 1 ในคดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหามาโดยตลอด เนื่องจากมิได้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้ว ซึ่งคดีนี้มีประเด็นต่อสู้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่จะเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้
.
การกระทำที่จำเลยถูกฟ้องเป็นเนื้อหาแห่งคดีที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องโจทก์จริงหรือไม่ มิใช่เหตุที่ศาลอุทธรณ์ต้องนำมาพิจารณาในการสั่งให้ประกันหรือไม่ให้ประกันตัว เพราะตามมาตรา 108/1 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้นมีเพียงห้าเหตุเท่านั้น
.
การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงเนื้อหาแห่งคดีและเชื่อตามคำฟ้องโจทก์แล้วว่าการกระทำของจำเลยสร้างความเสียหายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กรณีเป็นเรื่องร้ายแรง ทั้งที่ยังมิได้ถูกพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิด ซึ่งขัดต่อหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ตามมาตรา 29 แห่งรัฐธรรมนูญ​ พ.ศ.​ 2560 จำเลยต้องการปกป้องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่คำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวทำให้ความหมายของระบอบห่างไกลจากประชาธิปไตย หรือทำให้ประชาธิปไตยแยกห่างจากสถาบันกษัตริย์ จำเลยจึงขอความเป็นธรรมในการวินิจฉัยต่อศาลฎีกา
.
ประเด็นที่ 2 จำเลยประกอบอาชีพทนายความสิทธิมนุษยชน ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ถูกดำเนินคดีจากการใช้สิทธิและเสรีภาพจากการแสดงออกทางการเมืองหลายคดี ซึ่งขณะนี้ศาลอาญาได้มีคำสั่งไม่เบิกตัวจำเลยมาปฏิบัติหน้าที่ทนายความในคดีของ “ต้นไผ่” อีกทั้งจำเลยมีที่อยู่แน่นอน สามารถติดตามได้โดยง่าย การคุมขังไว้เป็นการกระทำเกินแก่เหตุและความจำเป็น อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ทนายความของจำเลยและเกิดความเสียหายของลูกความเป็นอย่างยิ่ง
.
ประเด็นที่ 3 ศาลอาญาเคยมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวจำเลยในระหว่างสอบสวนและระหว่างพิจารณา จำเลยไม่เคยกระทำผิดเงื่อนไขการประกันตัว และไม่เคยถูกเพิกถอนประกันตัวในคดีนี้แม้แต่ครั้งเดียว อีกทั้งศาลเคยอนุญาตให้จำเลยเดินทางไปประเทศเกาหลีใต้เพื่อรับรางวัลควังจูเพื่อสิทธิมนุษยชน และกลับมาประเทศไทยรายงานตัวต่อศาลตามกำหนดนัด จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าหากจำเลยได้รับการประกันตัวแล้วจะไปก่อเหตุหรือหลบหนีแต่อย่างใด อีกทั้งจำเลยมีบุตรผู้เยาว์จำนวน 2 คน และมีบิดามารดาซึ่งอยู่ในวัยชราที่ต้องส่งเสียเลี้ยงดูด้วย
.
ประเด็นที่ 4 จำเลยยังไม่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำผิด อีกทั้งการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้นมิได้เป็นเหตุผลเบ็ดเสร็จเพียงพอให้เชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี หากพิจารณาตามหลักสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และปฏิญญาสากลว่าด้วยวสิทธิมนุษยชนแล้ว การใช้ดุลพินิจคำสั่งให้จำเลยได้รับการประกันตัว จะทำให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยเป็นไปตามหลักความชอบด้วยกระบวนการทางกฎหมาย รวมถึงได้รับการยอมรับจากประเทศภาคีและสากล จะเป็นผลดีอย่างประเทศไทยเพราะเป็นการบังคับใช้กฎหมายภายในที่เป็นไปตามหลักสากล
.
.
ต่อมาในวันที่ 20 มิ.ย. 2567 ศาลฎีกามีคำสั่ง #ยกคำร้อง ระบุว่า ‘พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดี กรณีเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 4 ปี และให้นับโทษต่อหากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ มีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยอาจจะหลบหนี คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนั้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง’
.
ผลของคำสั่งศาลฎีกาในวันนี้ ยังคงทำให้อานนท์ยังถูกคุมขังระหว่างชั้นอุทธรณ์ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพต่อไป จนถึงวันนี้ (20 มิ.ย. 2567) เขาถูกคุมขังมาแล้ว ​269 วัน หรือเกือบ 9 เดือนแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นการถูกคุมขังต่อเนื่องที่ยาวนานที่สุดเท่าที่อานนท์เคยถูกคุมขังมา โดยอานนท์ต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้จำคุก 10 ปี 20 วัน หลังจากมีคำพิพากษาในคดีมาตรา 112 แล้วทั้งสิ้น 3 คดี และไม่ได้รับการประกันตัวเรื่อยมาแม้ทนายความจะยื่นประกันทั้งสามคดีรวมแล้วเป็นจำนวน 13 ครั้ง พร้อมยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาในคดีต่าง ๆ ต่อมา
.
.
อ่านข่าวบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/68094
.....


ชีวิตผกผันของเจ้านายผู้เป็น “กระดูกสันหลัง” ของ ร.๕” คนหนุ่มที่รุ่งโรจน์ที่สุดในสยาม ทำคุณประโยชน์ให้ชาติไว้มาก แต่เมื่อสิ้นพระชนม์ แม้แต่วังที่จะตั้งโกศให้สมพระเกียรติที่พอเหลืออยู่ ก็ยังไม่มี


เจาะเวลาหาอดีต
21 hours ago ·

ชีวิตผกผันของเจ้านายผู้เป็น “กระดูกสันหลัง” ของ ร.๕”
โดย: โรม บุนนาค

วิถึชีวิตของเจ้านายพระองค์หนึ่ง รุ่งโรจน์ยิ่งกว่าคนหนุ่มทุกคนในกรุงสยาม เป็นคนไทยคนแรกที่เข้ามหาวิทยาลัยของอังกฤษได้ และจบการศึกษาด้วยการกวาดรางวัลพิเศษมาหลายรางวัล จนนายกรัฐมนตรีอังกฤษผู้มาแจกถึงกับเอ่ยว่าแจกคนเดียวเสียเมื่อยมือ ได้รับโปรดเกล้าฯจาก ร.๕ ให้เป็นทูตไทยประจำยุโรปคนแรก และเป็นทูตคุม ๑๒ ประเทศถึงอเมริกา สร้างคุณงามความดีจนสมเด็จพระปิยมหาราชสถาปนาบรรดาศักดิ์จากหม่อมเจ้าขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และทรงล้อว่าเป็น “กระดูกสันหลัง” ของพระองค์ แต่แล้วชีวิตกลับผกผันอย่างไม่มีใครคาดคิด ต้องลี้ภัยไปบวชที่ลังกา แม้จะได้รับความศรัทธาจากผู้คนที่นั่นอย่างสูง ได้ขึ้นเป็นสังฆนายกนครโคลัมโบ และเป็นผู้ขอให้รัฐบาลอังกฤษนำพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่ขุดได้ที่อินเดียถวายให้ ร.๕ ซึ่งส่วน ๑ ในจำนวนนี้บรรจุอยู่ที่ภูเขาทองในปัจจุบัน แต่ก็ถูกห้ามเข้ามาเหยียบแผ่นดินไทย เมื่อเข้ามาได้ในสมัย ร.๖ ก็ถูกบังคับให้สึก ชีวิตฆราวาสที่เหลือแต่เพียงตัวเปล่าต้องร่อนเร่พเนจรจนทรงนิพนธ์ในชีวประวัติของพระองค์เองไว้ว่า “เที่ยวขอทานญาติมิตรจนเขาเบื่อระอา”

เจ้าของชีวิตที่เหมือนนิยายของเจ้านายพระองค์นี้ก็คือ นายพันเอกพิเศษ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม อธิบดีกรมช่างศิลป์ เมื่อประสูติมีบรรดาศักดิ์เป็นหม่อมเจ้า ขณะพระชนม์ ๑๗ ชันษาได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯไปทอดพระเนตรสุริยปราคาที่หว้ากอกับพระบิดาด้วย กรมขุนราชสีหวิกรมประชวรสิ้นพระชนม์ด้วยพิษไข้ป่าเช่นเดียวกับพระจอมเกล้าฯ ส่วนหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ก็ประชวรด้วยไข้ป่าเช่นเดียวกับเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ แต่ด้วยความเป็นคนหนุ่มแข็งแรงจึงทรงรอดชีวิตทั้งสองพระองค์

ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน เล่าไว้ว่า เมื่อครั้งที่พระบิดานำตัวหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ไปถวายตัวกับเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระองค์ทรงขันชื่อปฤษฎางค์ ที่แปลว่าหลัง จึงโปรดล้อว่า กระดูกสันหลัง พระองค์ปฤษฎางค์ทรงถือว่าเป็นมงคลที่ทรงล้อ และต่อมาก็ถือว่าท่านเป็นกระดูกสันหลังของพระเจ้าอยู่หัว และมักนำคำนี้ไปใช้เป็นนามปากกา

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงได้รับเลือกเป็นนักเรียนหลวงไปเรียนที่โรงเรียนราฟเฟิลล์ สิงคโปร์ พร้อมกับพระอนุชาในรัชกาลที่ ๕ อีกหลายองค์ จากนั้นได้เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ และสอบเข้าคิงส์คอลเลจของกรุงลอนดอนได้ แม้จะทรงเข้าเรียนหลังเพื่อนร่วมรุ่นไป ๑ เทอม แต่เมื่อจบการศึกษาในหลักสูตร ๓ ปี ได้รับประกาศนียบัตรวิศวกรรมโยธา พร้อมกับได้รับรางวัลพิเศษแบบกวาดเรียบคนเดียวมาอีกหลายรางวัล จนหนังสือพิมพ์ The Time นำไปลงข่าว และนายกรัฐมนตรีอังกฤษผู้มอบรางวัลถึงกับกล่าวสุนทรพจน์ในการมอบรางวัลว่า

“ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นการแสดงความรู้สึกออกมาอย่างมากมายเช่นบรรดานักศึกษาในที่ประชุมนี้มาก่อนเลย เมื่อท่านคณบดีประกาศให้สุภาพบุรุษหนุ่มคนหนึ่งขึ้นมาปรากฏกายบนเวที สุภาพบุรุษผู้ดั้นด้นมาจากประเทศอันไกลโพ้นอีกมุมหนึ่งของโลก เพื่อเข้ารับการศึกษาในประเทศนี้ และได้เห็นเพื่อนนักศึกษาพากันโห่ร้องแสดงความชื่นชมยินดีด้วยอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ในการที่สุภาพบุรุษผู้นี้ได้แสดงความสามารถอันน่าตื่นตะลึงด้วยการผูกขาดรางวัลต่างๆอย่างชนิดที่ไม่มีใครเทียบได้ ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าต้องยื่นมือออกไปหลายครั้งมาก เพื่อมอบรางวัลให้”

หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้นำรางวัลที่ได้รับมาถวายพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงชื่นชมยินดียิ่ง ได้พระราชทานเงินและเคริ่องราชอิสริยาภรณ์ให้เป็นกำลังใจ โปรดเกล้าฯให้เข้ารับราชการในด้านสำรวจคลองต่างๆเพื่อนำน้ำมาใช้ในการทำประปา

หม่อมเจ้าปฤษฎางค์รับราชการในช่วงนี้ได้ปีเศษ ก็ได้ขอพระบรมราชานุญาตไปเรียนต่อที่อังกฤษอีก ทั้งยังได้รับมอบหมายให้เข้าฝึกงานด้านโรงกษาปน์ด้วย ในระหว่างที่ศึกษาอยู่ในช่วงนี้ สยามเกิดกรณีพิพาทกับนายโทมัส ยอร์ช น็อกซ์ กงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย ถึงกับเรียกเรือรบอังกฤษเข้ามาจะปิดปากอ่าวไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯจึงทรงส่งราชทูตคณะหนึ่งไปยังราชสำนักอังกฤษเพื่ออธิบายให้ทราบความเป็นมาของเรื่องนี้ หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ขณะมีพระชนมายุได้ ๒๙ ชันษาได้รับแต่งตั้งให้เข้าร่วมกับคณะทูตชุดนี้เป็นตรีทูตและล่าม เมื่อการเจรจาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ยับยั้งเรือรบอังกฤษไว้ได้ ทั้งนายน็อกซ์ยังถูกเรียกตัวกลับไปอังกฤษ หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ยังได้รับหน้าที่เป็นตัวแทนทางด้านเจรจาความเมืองอีกหลายเรื่อง รวมทั้งยังได้รับมอบหมายให้ศึกษาระบบป้องกันชายทะเลและปากแม่น้ำที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยอีกด้วย

เมื่อสำเร็จการศึกษาและการฝึกงานในช่วงนี้แล้ว พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็กลับมาไทย แต่อยู่ได้ปีเดียวก็ต้องออกไปอีก โดยได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็นอัครราชทูตพิเศษ ไปเจริญสัมพันธไมตรีถวายของขวัญแด่เจ้าชายแห่งออสเตรีย และมกุฎราชกุมารแห่งปรัสเซีย ซึ่งอภิเษกสมรสในระยะเวลาใกล้ๆกัน ทั้งยังได้รับมอบหมายให้จัดซื้อเครื่องตกแต่งภายในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทที่กำลังสร้าง ซื้ออาวุธให้กรมทหารหน้า เลือกจ้างนายทหารออสเตรียเข้ามาฝึกทหารไทย ทั้งโปรดเกล้าฯให้นำพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ และบุตรหลานข้าราชการอีกหลายคนออกไปศึกษาที่อังกฤษด้วย

แต่เมื่อเสร็จงานต่างๆในครั้งนี้ เตรียมตัวจะกลับกรุงเทพฯ ก็ได้รับโทรเลขด่วนจากราชเลขาธิการว่า
“อย่าคิดกลับเลย เตรียมอยู่เถิด ได้ส่งพระราชสาส์น ข้าราชการผู้ช่วยออกไป ให้รับราชการเป็นเป็นอัครราชทูต ประจำราชสำนักแลสำนักรีปับลิกประเทศที่มีสัญญาทางพระราชไมตรีทุกประเทศแล้ว ให้ฟังหนังสือราชการ”

นั่นก็คือการเริ่มตั้งสถานทูตสยามขึ้นในกรุงลอนดอนเป็นแห่งแรก ซึ่งมีหน้าที่ดูแลประเทศต่างๆรวม ๑๒ ประเทศถึงอเมริกาด้วย ขณะที่หม่อมเจ้าปฤษฎางค์มีพระชนมายุ ๓๒ ชันษา และมีงานสำคัญในการเจรจาเรื่องภาษีสุรากับประเทศเหล่านี้ที่สยามเสียผลประโยชน์อยู่มาก ซึ่งหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ก็สามารถเจรจากับอังกฤษคู่ค้าสำคัญสำเร็จเป็นประเทศแรก ซึ่งจะทำให้ประเทศอื่นๆเป็นเรื่องง่ายไปด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงยินดีในผลงานของหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ยิ่งนัก ทรงโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ นำพระสุพรรณบัฏสถาปนาหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ไปพระราชทานถึงกรุงลอนดอน ต่อมาพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็ทำเรื่องนี้สำเร็จทั้ง ๑๒ ประเทศในเวลา ๒ ปี

เพื่อให้งานด้านต่างประเทศของสยามก้าวหน้าสำเร็จไปด้วยดียิ่งขึ้น และเป็นไปตามคำร้องขอของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ที่ให้กระทรวงกาต่างประเทศหาทางแบ่งงานของพระองค์ไปบ้าง จึงโปรดเกล้าฯให้กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ไปเป็นเอกอัคราชทูตกรุงลอนดอน และมีหน้าที่ดูแลอเมริกาด้วย ส่วนพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ไปเปิดสถานทูตสยามแห่งที่ ๒ ที่กรุงปารีส และดูแลประเทศในยุโรปรวม ๑๐ ประเทศ

ระหว่างที่รับหน้าที่ทูตสยามประจำยุโรปนี้ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้เข้าเฝ้าประมุขหลายประเทศ และเข้าสมาคมของประเทศในยุโรปอย่างโดดเด่น ทรงบริจาคเงินให้โรงพยาบาลต่างๆในหลายประเทศ จนทำให้พระจักพรรดินีของเยอรมันเชิญไปเข้าเฝ้า เพื่อจะขอบพระทัยที่ให้การสนับสนุนโรงพยาบาลในอุปถัมภ์ของพระนาง

เมื่อเทศบาลนครปารีสได้ตัดถนนสายใหม่ผ่านสถานทูตไทย ก็ทรงขอให้รัฐบาลฝรั่งเศสตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า “ถนนสยาม” หรือ “RUE de SIAM” ซึ่งยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
 
เมื่อครั้งที่ทูตพม่าเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อขอให้ช่วยขัดขวางอังกฤษที่ยึดพม่าไปครึ่งประเทศแล้ว โดยเสนอผลประโยชน์ให้ฝรั่งเศสด้วย แต่ความจริงฝรั่งเศสกับอังกฤษแบ่งเขตยึดครองเอเซียตะวันออกเฉียงใต้กันเรียบร้อยแล้ว จึงไม่กล้าก้าวก่ายในเรื่องนี้ แกล้งถ่วงเวลาไม่ให้ทูตพม่าเข้าพบประธานาธิบดี จนอังกฤษเข้ายึดพม่าได้หมดประเทศ ทูตพม่าเลยเคว้งหมดเงินค่าใช้จ่าย รอวันที่จะถูกไล่ออกจากโรงแรมไปนอนข้างถนน หัวหน้าคณะราชทูตพม่าจึงมาปรับทุกข์กับทูตสยาม พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงเห็นใจคณะราชทูตพม่า จึงช่วยเจรจาขอให้ทางฝรั่งเศสช่วยออกค่าใช้จ่ายส่งทูตพม่ากลับบ้านด้วย

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงรายงานเรื่องนี้มาทางกรุงเทพฯพร้อมด้วยข้อมูลลับที่ได้มาจากราชทูตพม่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯก็ทรงหวาดหวั่นกับการกระทำของอังกฤษอย่างที่กงสุลน็อกซ์เคยแสดงฤทธิ์เดชมาแล้ว จึงทรงมีพระอักษรถึงพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ให้ถวายความคิดเห็นว่าพระองค์ควรจะอย่างไรให้สยามปลอดภัยจากการล่าอาณานิคม

แต่แทนที่จะถวายความคิดเห็นจากประสบการณ์ที่ใกล้ชิดกับการเมืองยุโรปอย่างใกล้ชิด พระองค์เจ้าปฤษฎางค์กลับเรียกประชุมเจ้านายและข้าราชการในสถานทูตทั้ง ๒ ของยุโรป ร่วมกันร่างหนังสือถวายความเห็น

คณะผู้ถวายความเห็นคณะนี้ ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ๓ พระองค์ คือ

พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศวรฤทธิ์
พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤติธาดา
และพระองค์เจ้าปฤษฎางค์

พร้อมด้วยข้าราชการในคณะราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนและปารีสที่เป็นสามัญชนอีก ๗ คน ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า “คณะผู้ก่อการ ร.ศ.๑๐๓” โดยร่วมกันลงนามถวายคำกราบบังคมทูลเป็นลายลักษณ์อักษรต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๒๗

สรุปข้อความกราบบังคมทูลในครั้งนี้ก็คือ เสนอให้พระมหากษัตริย์ที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เปลี่ยนแปลงการปกครองมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ กระจายพระราชอำนาจไปให้ข้าราชการบริหารกรมกองโดยไม่ต้องรอพระราชานุญาต

เรื่องนี้ถ้าจะมองว่าเป็นการบังอาจ โทษก็ต้องหัวขาดประการเดียว แต่สมเด็จพระปิยมหาราชก็ไม่ได้ทรงแสดงว่ากริ้วแต่อย่างใด ทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบคำกราบบังคมทูลนี้อย่างยืดยาวเช่นกัน นอกจากขอบใจทุกคนที่เห็นการปกครองของประเทศอื่นแล้วระลึกถึงประเทศของตน ปรารถนาจะป้องกันอันตราย ทรงยอมรับความเห็นที่กล่าวมา แต่ทรงอธิบายให้ทราบว่าเหตุใดจึงยังไม่เหมาะที่จะทำในตอนนั้น

หลังจากนั้นไม่นาน ได้มีคำสั่งกระทรวงต่างประเทศ เรียกข้าราชการการสถานทูตทุกคน รวมทั้งเจ้านายทั้ง ๓ พระองค์กลับสยาม

เรื่องนี้จึงถูกนำไปวิพากษ์วิจารณ์กันว่า เป็นสาเหคุที่ทำให้พระองค์เจ้าปฤษฎางต์ประสบชะตากรรมพลิกผัน จากรุ่งโรจน์สูงสุดจนร่วงลงสู่ดิน

แต่หลักฐานที่ปรากฏ เจ้านายที่ถูกเรียกตัวกลับมานี้ต่างได้รับโปรดเกล้าฯเข้ารับราชการตำแหน่งสำคัญในยุคปฏิรูปกันทุกพระองค์ ส่วนสามัญชนเหล่านั้นก็ได้กลับไปประจำสถานทูตอีก สำหรับพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ที่กลับมาช้ากว่าคนในกลุ่ม เพราะได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยไปเข้าประชุมสหภาพสากลไปรษณีย์ที่กรุงเบอร์ลิน และติดต่อว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญไปรษณีย์ของเยอรมันให้เข้ามาช่วยวางรากฐานไปรษณีย์ไทย เมื่อกลับมาก็ได้รับโปรดเกล้าฯเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์และโทรเลข ซึ่งเป็นงานที่สำคัญของประเทศในยามนั้น ทั้งยังทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการจัดตั้งโรงพยาบาลศิริราช เป็นองคมนตรี และเป็นผู้ดูแลถวายการต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ ทั้งคาดหมายกันว่าตำแหน่งที่รอท่านอยู่ก็คือ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการที่กำลังจะตั้งขึ้น ซึ่งเป็นงานที่เหมาะสมกับที่ท่านเรียนมายิ่งกว่าใคร

ชีวิตของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์จึงไม่ได้ตกต่ำลงแต่อย่างไร ในช่วงนี้

แต่แล้วหลังจากนั้น ความพลิกผันก็เริ่มเกิดขึ้น เมื่อกรมขุนนริศรานุวัติวงษ์ สมเด็จครูผู้เป็นช่างใหญ่ของกรุงสยาม เข้ารับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ อีกทั้งบ้านพระราชทานที่กำลังก่อสร้างต่อเติมให้สมกับเป็นที่ประทับของพระองค์เจ้าก็ถูกระงับ เนื่องจากมีเหตุระแคะระคายเกิดขึ้น แต่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็ยังทรงได้รับมอบหมายงานสำคัญ

ในปี ๒๔๓๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ร่วมคณะสมเด็จพระอนุชา กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ขากลับเมื่อเรือมาถึงเซี่ยงไฮ้ กรมพระยาภาณุพันธุ์ฯทรงประชวร พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็ก่อเรื่องร้ายแรงขึ้น แทนที่จะอยู่เฝ้าไข้กลับเขียนหนังสือลาออกจากราชการและขอลาบวช วางไว้ในห้องบรรทมแล้วหายตัวไปโดยไม่บอกกล่าวใคร มีข่าวลือตามมาว่า มีผู้หญิงคนหนึ่งปลอมตัวเป็นชายหนีออกจากเมืองไทยพร้อมด้วยทรัพย์สินมีค่าของสามี ไปปรากฏตัวที่ฮ่องกง ต่อมามีผู้เห็นหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ไปปรากฏตัวกับผู้หญิงคนนี้ที่ไซ่ง่อน

ในหนังสือขอลาออกจากราชการและขอลาบวช ที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์วางไว้ในห้องบรรมของสมเด็จพระอนุชา กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หัวหน้าคณะราชทูตขณะเดินทางกลับจากญี่ปุ่นแวะที่นครเซี่ยงไฮ้ แล้วหายตัวไปอย่างลึกลับนั้น ได้อ้างว่าทรงท้อแท้ที่จะรับราชการต่อไป จากนั้นทรงไปปรากฏตัวที่ไซ่ง่อนกับหญิงสูงศักดิ์คนหนึ่งที่ปลอมตัวเป็นชาย ก่อนที่จะไปทำงานกับองค์นโรดมที่กรุงพนมเปญ แต่ทำได้แค่ ๖ เดือน ก็ถูกฝรั่งเศสบีบเขมรให้ออกเพราะกลัวว่าจะสร้างเรื่องหนีมาเป็นสายลับให้ไทยซึ่งกำลังมีกรณีพิพาทเขตแดนกัน พระองค์เจ้าปฤษฎางค์จึงต้องหาอาชีพใหม่เลี้ยงชีวิตโดยไปทำงานตามวิชาชีพที่เรียนมาคือวิศวกร รับจ้างทำงานให้อังกฤษที่รัฐเประในมลายู

ท่านต้องเรร่อนในช่วงนี้ถึง ๕ ปีจึงไปบวชที่ลังกา ซึ่งเป็นเรื่องตื่นเต้นของชาวพุทธในลังกามาก และเปรียบกันว่าท่านเป็นเหมือนเจ้าชายสิทธัตถะที่สละฐานันดรมาแสวงหาธรรมะ ได้ฉายาว่า พระชินวรวงศ์

ในระหว่างที่ทรงผนวช พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็ยังระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่เสมอ พยายามผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มศาสนิกชนทั่วโลก เพื่อให้สถาบันกษัตริย์สยามซึ่งเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวของโลกที่นับถือศาสนาพุทธ เป็นประมุขสูงสุดของชาวพุทธ เช่นเดียวกับโป๊ปของชาวคาทอลิก แต่ก็เป็นงานยาก เพราะในลังกาที่มีพุทธถึง ๓ นิกายใหญ่ คือ นิกายสยามวงศ์ อมรปุระนิกาย (พม่า) และรามัญวงศ์นิกาย ก็ยังรวมกันไม่ได้

ต่อมาในปี ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ทรงแวะลังกาซึ่งเป็นเส้นทางผ่าน พระชินวรวงศ์คิดว่าเป็นโอกาสดีที่อาจจะได้เข้าเฝ้า ทางกรุงเทพฯได้ส่งพระยาพิพัฒโกษา (เซเลสติโน ซาเวียร์) ชาวโปรตุเกสที่เกิดในไทยและเคยรับราชการที่สถานทูตปารีส ไปเตรียมการรับเสด็จ มีข่าวว่าพระเจ้าอยู่หัวมีพระกระแสรับสั่งจะให้พระชินวรวงศ์กลับไปช่วยสมณกิจในกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส พระยาพิพัฒน์ฯได้ไปแสดงความยินดีและปวารณาจะกลับมาเรี่ยรายเงินเจ้านายและญาติมิตรส่งไปถวายเป็นค่าเดินทางให้พระชินวรวงศ์ พระชินวรวงศ์ได้เข้าช่วยอย่างเต็มที่จัดงานรับเสด็จได้อย่างยิ่งใหญ่

แต่ในรายการเสด็จไปชมพระเขี้ยวแก้วที่เมืองแคนดี เจ้าหน้าที่ของลังกาไม่ยอมให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงสัมผัสพระเขี้ยวแก้ว อ้างว่าคนที่สัมผัสได้ต้องเป็นพระเท่านั้น แต่ความจริงหลายคนรวมทั้งกรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หรือคนต่างศาสนาอย่างชาวอังกฤษก็เคยสัมผัสมาแล้ว ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯซึ่งมีพระราชประสงค์จะตรวจดูว่าพระเขี้ยวแก้วนั้นเป็นของจริงหรือไม่ ทรงกริ้วเป็นอันมาก งานรับเสด็จก็เลยกร่อยไป พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้เสด็จไปที่วัดทีปทุตตมารามที่พระชินวรวงศ์เป็นเจ้าอาวาส

รุ่งขึ้นในปี ๒๔๔๑ ชาวอังกฤษที่ไปทำไร่ในอินเดีย ขุดพบผะอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นจำนวนมาก พระชินวรวงศ์ทราบข่าวก็รีบไปที่นั่นทันที และเสนอต่อผู้สำเร็จราชการอังกฤษในอินเดียให้ถวายพระบรมสารีริกธาตุนี้ต่อพระมหากษัตริย์สยาม ซึ่งเป็นองค์เอกอัครราชูปถัมภ์ศาสนาพุทธ ทางรัฐบาลอังกฤษก็เห็นชอบด้วย จึงให้สถานทูตที่กรุงเทพฯติดต่อกับรัฐบาลสยามโดยตรง ฝ่ายสยามได้ส่งพระยาสุขุมนัยวินิต ซึ่งต่อมาก็คือเจ้าพระยายมราช เป็นผู้ไปรับ

ความดีความชอบของพระชินวรวงศ์ในช่วงนี้ เป็นเหมือนปิดทองหลังพระไม่มีใครเห็นแล้วยังเจอกรรมซัดยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อมีเรื่องลับเรื่องหนึ่งที่ท่านเปิดเผยเองมาถูกเปิดที่กรุงเทพฯ

เมื่อพระยาสุขุมนัยวินิตอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาถึงกรุงเทพฯ ได้รายงานต่อสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ว่าระหว่างที่ได้พบพระชินวรวงศ์ที่กัลกัตตานั้น พระชินวรวงศ์ได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้แอบหยิบพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระเศียรไว้ ๑ ชิ้นโดยไม่ได้บอกให้เจ้าของที่ขุดรู้ หากอังกฤษไม่ยอมถวาย ท่านก็มีทูลเกล้าฯถวายเมือนกัน พระยาสุขุมนัยวินิตก่อนที่จะเข้ารับราชการนั้นเคยบวชเป็นพระชั้นมหาที่เคร่งครัดพระธรรมวินัย จึงถือว่าพระชินวรวงศ์ลักทรัพย์ต้องอาบัติขั้นปาราชิก ขาดจากความเป็นพระแล้ว

คณะสงฆ์ทางกรุงเทพฯก็ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องร้ายแรงเช่นกัน กระทรวงการต่างประเทศจึงมีโทรเลขไปถึงอัครราชทูตไทยประจำกรุงโคลัมโบ ห้ามพระชินวรวงศ์เดินทางเข้าไทยหากยังอยู่ในเพศบรรพชิต ทำให้พระชินวรวงศ์ต้องเลิกล้มแผนการเดินทางกลับ และหมดอาลัยกับทางโลก มุ่งแต่ทางธรรม ธุดงค์ไปที่เกาะร้างแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ทิ้งศพผีตายโหงและที่นำงูมาปล่อย เพราะชาวลังกาไม่ฆ่างู ภาพที่ท่านนั่งทำสมาธิท่ามกลางกองกระดูก ทำให้เรื่องราวของพระชินวรวงศ์ได้รับความสนใจจากคนทั่วไปเป็นจำนวนมาก มีผู้คนหลั่งไหลไปนมัสการ ทำให้ท้องถิ่นนั้นเจริญขึ้นทันตา มีโรงเรียนสำหรับเด็กที่อยู่ห่างไกลเกิดขึ้น มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสมากมายหลายชาติจากยุโรปมาขอบวชเป็นศิษย์ ผู้สำเร็จราชการอังกฤษก็เลื่อมใสมาช่วยสร้างสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดได้จากอินเดียครั้งนั้น อีกทั้งชาวโคลัมโบยังแห่กันมาขอให้ท่านกลับไปที่วัดทีปทุตตมารามที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส พระชินวรวงศ์เลยต้องกลับโคลัมโบ และพัฒนาวัดจนเป็นที่สงบร่มรื่น กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ผู้โดยสารเรือเดินสมุทรที่แวะลังกาต้องไปชม ส่วนตัวท่านก็ได้รับการสถาปนาจากคณะสงฆ์ลังกาให้มีสมณศักดิ์เป็น เถระนายกแห่งนครโคลัมโบ ทรงสร้างโรงเรียนขึ้นในวัด และบุคคลสำคัญของอังกฤษที่เดินทางมาเมืองหลวงของลังกา จะต้องไปปลูกต้นไม้เป็นที่ระลึกไว้ที่วัดนี้

ปัจจุบันมีเจ้านายไทย ๔ พระองค์ไปทรงปลูกต้นไม้ไว้ที่วัดทีปทีปทุตตมาราม คือ รัชกาลที่ ๘ ในปี ๒๔๘๒ รัชกาลที่ ๙ ในปี ๒๔๙๓ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ในปี ๒๕๔๒ และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในปี ๒๕๕๖

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จประพาสยุโรปในครั้งที่ ๒ และแวะกรุงโคลัมโบ ผู้สำเร็จราชการอังกฤษซึ่งชื่นชมพระชินวรวงศ์มาก ได้กราบทูลว่าจะขอนำพระชินวรวงศ์เข้าเฝ้า แต่พระเจ้าอยู่หัวรู้ทันทรงตอบว่า คนไทยทุกคนสามารถจะเข้าเฝ้าพระองค์ได้อยู่แล้ว โดยไม่ต้องให้ผู้สำเร็จราชการอังกฤษนำเข้าเฝ้า พระชินวรวงศ์ที่เตรียมจะเชิญเสด็จพระเจ้าอยู่หัวไปวางศิลาฤกษ์พระสถูปที่จะสร้างขึ้นที่วัด ก็เลยไม่กล้าเข้าเฝ้า

ชีวิตของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ที่ยังทรงมีเยื่อใยอยากจะกลับสยาม ก็ถูกปิดสนิทไปอีกเรื่องด้วยปาราชิก

และไม่ใช่แค่เรื่องที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญและเรื่องแอบหยิบพระสารีรีกธาตุไว้เท่านั้น เรื่องมัวหมองของท่านยังมีเกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่งด้วย ซึ่งเป็นพี่สะใภ้ของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของท่าน

ผู้หญิงสูงศักดิ์ผู้นี้ เรียกกันในคำเล่าลือนินทาว่า “พี่ศรี” เป็นภรรยาของพระยาสุนทรบุรี เจ้าเมืองสุพรรณบุรี พี่ชายของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เมื่อพระยาสุนทรบุรีถึงแก่กรรม ได้ค้างเงินภาษีที่เก็บส่งรัฐบาลยังไม่ครบ ระบบการปกครองในสมัยนั้นเจ้าเมืองมีหน้าที่ต้องเก็บภาษี หากใครไม่ส่งหรือส่งขาดก็ถือว่าเป็นหนี้หลวง และความรับผิดชอบนี้ตกมาถึงภรรยาด้วย พี่ศรีจึงต้องรับภาระนี้ด้วยความทุกข์ใจ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพี่ศรีอย่างใกล้ชิด จนถูกนินทาว่ามีความสัมพันธ์ล้ำลึกเกินกว่าพี่สะใภ้ของเพื่อนรัก ได้เป็นคู่ปรับทุกข์อย่างใกล้ชิด กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงยกเงินก้อนนี้ให้พี่ศรีแล้ว แต่ก็ไม่มีลายลักษณ์อักษร ทั้งพี่ศรียังจะได้รับความอุปการะให้เข้าไปอยู่ในวังหลวงด้วย แต่พี่ศรีรักที่จะมีชีวิตอิสระมากกว่าไม่ยอมเข้าไปอยู่ในวัง ซึ่งถือได้ว่าขัดพระกระแสรับสั่ง เมื่อเจ้าพระยาสุศักดิ์นำทัพไปปราบฮ่อ พี่ศรีได้แอบขนสมบัติมีค่าของพระยาสุนทรบุรีที่เก็บไว้ที่บ้านเจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ ซึ่งอยู่ในรั้วเดียวกับบ้านพี่ศรี หนีออกนอกประเทศไป และเชื่อกันว่าหญิงที่แต่งตัวเป็นชายไปปรากฏตัวที่ไซ่ง่อนกับพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ก็คือพี่ศรี อีกทั้งในพระประวัติที่ทรงนิพนธ์ขึ้นในวัยชรา กล่าวว่าพระองค์ได้แต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ปีนัง ก็เชื่อว่าเป็นพี่ศรีอีกเช่นกัน

ความจริงพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงมีชายาอยู่แล้ว โดยได้แต่งงานกับหม่อมตลับเมื่อมีพระชนม์ ๑๙ ชันษา แต่ขณะข้าวใหม่ปลามันได้เดือนเดียวก็ถูกส่งไปเรียนที่สิงคโปร์ ๖ เดือน กลับได้ไม่เท่าไหร่ก็ถูกส่งไปเรียนที่อังกฤษอีก ๓ ปี แม้ตอนที่ท่านไปเป็นทูตที่ยุโรปก็ไม่ได้เอาหม่อมไปด้วย เมื่อท่านเป็นหนุ่มสังคมอยู่ในยุโรป กระทรวงต่างประเทศเกรงว่าท่านจะไปติดพันแหม่ม ซึ่งเป็นเรื่องต้องห้ามในสมัยรัชกาลที่ ๕ แม้พระราชโอรส พระอนุชาที่ส่งไปเรียนเมืองนอก ก็ยังทรงกำชับเรื่องนี้ทุกพระองค์ เกรงว่าจะส่งผลเสียมาถึงประเทศได้ จึงได้พาหม่อมตลับไปส่งให้ถึงสถานทูตเพื่อจะยับยั้งเรื่องติดพันแหม่ม แต่ก็ไม่ได้ผล เพราะข้าวใหม่ปลามันของคู่นี้กลายเป็นข้าวบูดไปแล้ว

หลังจากพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ล่องหนจากคณะทูตที่เซี่ยงไฮ้ไปแล้ว ทางกรุงเทพฯได้มีหนังสือเวียนไปถึงเจ้าเมืองชายแดน มีความบางตอนที่พอจะบ่งบอกเรื่องนี้ได้ชัดขึ้นว่า

...พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ซึ่งรับราชการเป็นไดเรกเตอร์ เยอเนอราล อยู่ในกรมไปรษณีย์และโทรเลขประจุบันนี้ มีความรักใคร่กับสีภรรยาพระยาสุนทรสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณบุรีมาหลายปีแล้ว แต่มีความกระดาก ครั้น ณ เดือนกรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กราบถวายบังคมลาไปประพาศเมืองยี่ปุ่น พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ตามเสด็จไปด้วย ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์เสด็จกลับจากเมืองฮ่องกง พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็หาตามเสด็จกลับมาไม่ หลบหนีอยู่ในเมืองฮ่องกง ฝ่ายสีนั้นก็เก็บเอาทรัพย์สมบัติของพระยาสุรศักดิ์มนตรีผู้น้องพระยาสุพรรณ ที่ให้เก็บรักษาไว้หนีออกไปอยู่เมืองฮ่องกง ครั้นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกลับเข้ามาถึงจึงทราบว่า พระองค์เจ้าปฤษฎางค์กับสีคิดอ่านพากันหนีไปอยู่ด้วยกัน ครั้นได้ตรวจดูราชการในกรมไปรษณีย์ก็ไม่มีเหตุผิดร้ายฉกรรจ์อันใด นอกจากพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เอาเงินหลวงในกรมไปรษณีย์แลโทรเลขไปใช้เองประมาณร้อยชั่งเศษ กับพระองค์เจ้าปฤษฎางค์แลสีเป็นหนี้ไทยแลฝรั่งในกรุงเทพมหานครรุงรังอยู่หลายราย เห็นจะเป็นเพราะเหล่านี้จึ่งพากันหลบหลีกหนีหายออกไปอยู่นอกพระราชอาณาเขตร แต่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้รับราชการเป็นทูตอยู่ในประเทศยุโรปหลายปีมีความชอบในราชการ จึงทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้งให้เป็นพระองค์เจ้า ภายหลังฟั่นเฟือนหลงไหลผู้หญิงละครฝรั่ง ความทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระราชวิตกจะทำให้เป็นที่ขึ้นชื่อขายหน้าราชทูตฝ่ายสยาม จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เรียกกลับเข้ามา ณ กรุงเทพมหานคร ครั้นเข้ามาถึงกรุงเทพมหานครก็ยังทรงพระมหากรุณาชุบเลี้ยงให้มีตำแหน่งรับราชการฉลองพระเดชพระคุณ และมีเบี้ยหวัด เงินเดือนเป็นผลประโยชน์อยู่ถึงปีละแปดสิบชั่งเศษ ยังไม่มีความกตัญญูคิดถึงพระเดชพระคุณ กลับกลายเป็นไปตามจริตเดิมที่ฟั่นเฟือนหลงไหล เห็นว่าจะหลบเหลื่อมเข้ามาในปลายแดนพระราชอาณาเขตร ฤๅหัวเมืองไกลๆ ที่ไม่ทราบความแล้ว ก็จะอวดลวงล่อเอาเงินทอง ฤๅอ้างเอาพระนามไปขึ้นให้เป็นที่เสียราชการ จึ่งแจ้งความมาให้ใต้เท้าทราบไว้ เพื่อว่าจะได้ข่าวคราวที่แปลกประหลาดฤๅจะมีเหตุอย่างไร ใต้เท้าจะได้คิดอ่านแก้ไขจัดการไม่ให้เป็นที่เสื่อมเสียเพระเกียรติยศได้...

และเมื่อตอนที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ไปทำงานกับองค์นโรดมที่เขมร ทูตฝรั่งเศสได้ถามมาทางกรุงเทพฯว่าพระองค์มีความผิดอะไร กระทรวงการต่างประเทศก็ตอบไปอย่างไม่มีเยื่อใยว่า “เป็นบ้าแล้วหนีไปกับแม่ม่าย” (gone mad and ran away with a widow)

นอกจากเรื่องเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เรื่องแอบเม้มพระบรมสารีริกธาตุ และเรื่องผู้หญิงกับหนี้สินรุงรังนี้แล้ว เมื่อครั้งที่ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน นำเรื่องชีวิตลับของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์มาเขียนในเรือนไทยดอทคอม ยังมีความเห็นจากผู้อ่านที่เป็นแพทย์ว่า สาเหตุทั้งหมดนี้น่าจะมาจากท่านป่วยด้วยโรคทางจิตที่มีชื่อว่า Delusional Disorder หรือโรคจิตหลงผิดด้วย

เวบไซต์รามาแชลแนล กล่าวว่า โรคจิตหลงผิด คือ การมีความเชื่อหรือความคิดไม่ตรงกับความเป็นจริง เรียกว่า อาการหลงผิด (delusion) โดยอาการหลงผิดที่พบบ่อยที่สุดคือ ระแวงว่าตนถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกปองร้าย ผูกเรื่องเชื่อมโยงไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนใหญ่ไม่พบว่ามีประสาทหลอน เช่น หูแว่ว ผู้ป่วยมักจะยังคงทำหน้าที่ได้ตามปกติ ยกเว้นบางกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหลงผิด เช่น ถ้าหลงผิดว่าเพื่อนร่วมงานกลั่นแกล้งก็อาจจะขอลาออกจากที่ทำงาน ทั้งๆที่ยังทำงานด้านนั้นได้ตามปกติ สามารถพบได้ในคนที่มีความเครียดสูง ผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน มีฐานะไม่ดี ซึ่งสามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงอายุ ๑๘-๙๐ ปี และพบมากในคนอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป

ในปี ๒๔๕๓ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จสวรรคต พระชินวรวงศ์ทราบข่าวก็ถึงกับล้มทั้งยืน ขอเข้ามาถวายบังคมพระบรมศพ แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯจะทรงมีพระบรมราชานุญาตให้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักร์ได้ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถวายบังคมพระบรมศพหากไม่ลาเพศบรรพชิด ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์ต่างก็ไม่ยอมให้เข้าเฝ้าเช่นกัน พระชินวรวงศ์จึงต้องยอมจำนนนตามเงื่อนไข และได้รับพระเมตตาจากกรมหลวงดำราราชานุภาพนำขึ้นไปถวายบังคมพระบรมศพบนพระเมรุมาศ แต่เมื่อถวายพระเพลิงในตอนค่ำ เจ้าพนักงานห้ามไม่ให้ขึ้นบนพระเมรุ ต้องวางดอกไม้ธูปเทียนไว้บนพานทองที่ทางราชการจัดไว้ให้ข้างล่างเท่านั้น
ดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะพระบรมศพที่พระองค์ปฤษฎางค์นำไปวางนั้น มีกระดาษแผ่นหนึ่งพันไว้ มีข้อความในกระดาษว่า

“...เกิดชาติใดฉันใดขอให้เป็นข้าเจ้ากัน ขออย่าให้มีศัตรูมากีดกันระหว่างกลางเช่นชาตินี้เลย...”

เมื่อเสร็จสิ้นงานสำคัญที่มุ่งมั่นมาสยาม เพื่อถวายบังคมพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัวผู้มีพระคุณสูงสุดในชีวิตแล้ว พระองค์เจ้าปฤษฎางค์เข้าเฝ้ากรมหลวงเทวะวงศ์วโปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ขอให้ทรงอุปสมบทให้ใหม่แล้วส่งไปลังกา กรมหลวงเทวะวงศ์ฯเห็นสภาพพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ถึงกับน้ำพระเนตรคลอ ออกพระโอษฐ์ว่า “เสียแรงทรงพระกรุณาชุบเกล้าฯ แล้วยังหนีไปได้ อยู่ป่านนี้มิเป็นเสนาบดีแล้วหรือ” แต่เรื่องจะบวชให้ใหม่นั้นเลิกพูดได้ เพราะไม่สามารถจะทำได้เนื่องจากปาราชิกไปแล้ว

กรมหลวงเทวะวงศ์ฯได้ให้พระยายาพิพัฒน์โกษาซึ่งขึ้นเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างประเทศแล้ว ช่วยจัดหาที่อยู่ให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เป็นตึกอยู่ในซอยกัปตันบุช สี่พระยา เป็นที่อยู่และเปิดสอนภาษาอังกฤษ แต่ปรากฏว่ามีคนมาเรียนน้อยและเป็นย่านที่อยู่ของชาวต่างประเทศ ท่านจึงขอไปอยู่กับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเพื่อนเก่า แต่อยู่ได้ไม่กี่วันก็ขอย้ายออกอีก เพราะเกิดระแวงว่า

เจ้าพระยาสุรศักดิ์จะทำร้ายท่าน ต้องเร่ร่อนไปอาศัยบ้านอาศัยแพของคนที่เห็นใจให้อยู่อีกหลายแห่ง
พระบรมวงศานุวงศ์ต่างสงสารและมีพระเมตตาต่อพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ หลายท่านรับจะช่วยเรื่องที่อยู่และงาน แต่ก็ไปกันได้ไม่ตลอด ตอนที่พระชนม์ ๗๒ ชันษาแล้ว สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์ฯได้ทรงอนุเคราะห์ให้เข้าทำงานกับกระทรวงต่างประเทศอีก แต่จากเอกอัครราชทูต ๑๒ ประเทศ มาเป็นคนจดจดหมายเหตุเยียร์บุคของกระทรวง ทำได้ ๒ ปี กรมพระยาเทวะวงศ์ฯสิ้นพระชนม์ก็ถูกเลิกจ้างเนื่องจากประชวรบ่อย

พระยาอนุมานราชธนเล่าไว้ในหนังสือ “ฟื้นความหลัง” ว่า “ตอนหลังนี้ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์มีพระทัยฉุนเฉียว ทรงเกลียดไม่เลือกหน้าว่าใคร หน้าบ้านของท่านมีป้ายเขียนไว้ว่า “ห้ามหมา ห้ามคนเข้า”

คุณหญิงมณี สิริวรสาร เล่าถึงพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ไว้หนังสือ “ชีวิตเหมือนฝัน” ว่า “คนในซอยแพรกบ้านในนั้นรู้จักท่านดีทุกคน เพราะเป็นเจ้านายที่แปลกประหลาดพิสดารไม่ซ้ำแบบใครเลย ตอนเช้ามืดท่านมักเสด็จมาที่ระเบียงและร้องตะโกนคุยกับคุณพ่อเสียงดังลั่นข้ามฟากถนนมา ทำให้ผู้ที่เดินไปเดินมาอยู่บนถนนได้ยินเรื่องราวที่ท่านคุย ซึ่งเรื่องที่ตรัสนั้นล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองทั้งสิ้น ในเวลานั้นพระองค์เจ้าปฤษฎางค์มีพระชันษาเจ็ดสิบกว่าปีแล้ว แต่ท่านยังทรงว่องไง คล่องแคล่ว แข็งแรง เวลาเสด็จนอกวัง ทรงแต่งชุดสากลสีครีม สวมหมวกปานามา ไว้หนวดทรงแพะ และทรงถือไม้เท้า เวลาเสด็จไปไหนทุกคนต้องมองท่านด้วยความแปลกใจ เพราะท่านไม่เหมือนคนอื่น หน้าวังของท่านนั้นติดประกาศไว้หลายแผ่น เป็นข้อความเกี่ยวกับการเมืองทั้งสิ้น ทำให้คนต้องหยุดอ่านเสมอ….ผู้ที่ท่านประฌามส่วนมากเป็นเจ้านายชั้นสูงที่มีตำแหน่งเป็นเสนาบดีในสมัยนั้น แต่เพราะทรงพระชรามากแล้ว ใครๆก็คิดว่าทรงมีพระสติฟั่นเฟือน...”

ตอนอายุย่างเข้า ๗๘ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงนิพนธ์พระประวัติชีวิตของตัวเองแจกจ่ายแจกเป็นของชำร่วยแก่ญาติมิตร มีความตอนท้ายว่า

“ข้าพเจ้าก็มีร่างกายทุพพลภาพโรคภัยต่างๆก็ตามมาผะจญซ้ำเติม ป่วยไข้เรื่อยมาโดยความอัตคัดจนกาลบัดนี้ เป็นตุ๊กตาล้มลุกลงนอนอยู่บ้าง ลุกขึ้นเต้นรำตะกุยตะกายหาใส่ท้องบ้าง เที่ยวขอทานญาติมิตรจนเขาเบื่อระอาบ้าง ไปอยู่โรงพยาบาลบ้าง เรื่อยมาจนได้แพทย์สวรรค์มาช่วยให้ลุกขึ้นเต้นไปได้อีกครั้งหนึ่ง จึงได้เขียนประวัติตัวเอง ซึ่งแม้ตัวเองก็อดเห็นแปลกประหลาดไม่ได้...”

ในหนังสือนี้ท่านยังคงยืนยันว่าท่านไม่ได้ทำอะไรผิด ตั้งใจทำเพื่อชาติบ้านเมืองและพระมหากษัตริย์ แต่มีศัตรูมากมายที่คอยใส่ร้ายป้ายสี ทำให้คุณความดีของท่านกลับกลายเป็นความผิดไปหมด

เรื่องที่วิพากย์วิจารณ์กันมากว่าเป็นเหตุให้ชีวิตของท่านพลิกผันจากหน้ามือเป็นหลังมือ มาจากที่ท่านบังอาจเป็นตัวตั้งตัวตีเรียกร้องให้ลดพระราชอำนาจมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แม้พระเจ้าอยู่หัวอาจจะขุ่นเคืองเรื่องนี้ ก็คงไม่ใช่เพราะการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่ทรงขอความเห็นเป็นการส่วนพระองค์กับพระองค์ปฤษฎางค์ในฐานะที่เห็นบทบาทของมหาอำนาจนักล่าอาณานิตมอย่างใกล้ชิด แต่หม่อมเจ้าปฤษฎางค์กลับนำไปเป็นเรื่องเอิกเกริกผิดจากพระราชประสงค์ ก็น่าจะขุ่นเคืองได้ แต่ไม่ทรงถือเป็นเรื่องร้ายแรงแต่อย่างใด ที่เรียกกลับมาก็ปรากฏชัดว่าเนื่องจากไปติดพันแหม่มนางละคร แม้จะทรงส่งหม่อมตลับไปให้ถึงยุโรปแล้วก็ยังเอาไม่อยู่ จึงต้องเรียกกลับมาเพื่อไม่ให้เสียหายถึงชื่อเสียงประเทศ เมื่อกลับมาแล้วก็ไม่ได้ทรงลงโทษทัณฑ์แต่อย่างใด ให้รับหน้าที่ในงานสำคัญของการปฏิรูปประเทศ และเป็นองคมนตรี ที่สำคัญก็คือ ในปีพ.ศ.๒๔๓๒ ยังได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และเหรียญดุษฎีมาลา ศิลปวิทยา ที่พระราชทานเป็นครั้งแรกแต่เพียงองค์เดียวในปีนั้นด้วย

เรื่องเรียกร้องรัฐธรรมนูญจึงไม่น่าใช่สาเหตุทำให้ชีวิตของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์พลิกผัน

เรื่องที่ทำให้ท่านตกสวรรค์จริงๆนั้น น่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหนี้สิน เมื่อกลับมาจากยุโรปนั้นท่านไม่มีบ้านอยู่ เพราะบ้านที่เคยอยู่หม่อมตลับก็ถวายคืนตอนไปยุโรปแล้ว บ้านใหม่ที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ในครั้งนี้ ความจริงก็เป็นตึกสองชั้นพอสมพระเกียรติแล้ว แต่ท่านทรงเห็นว่าเล็กไป จึงต่อเติมขึ้นป็น ๓ ชั้นก่อนจะเข้าอยู่ ค่าใช้จ่ายต่อเติมบ้านก็เป็นเงินไม่น้อย นอกจากท่านจะเอาเงินของกรมไปรษณีย์ไปใช้ผิดประเภทแล้ว ยังกู้หนี้ยืมสินไปทั่วทั้งไทยเทศ แต่รายที่ทำให้เป็นเรื่องก็คือทรงไปยืมเงินของพระราชอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ซึ่งประทานให้โดยไม่คิดดอกเบี้ย ท่านจึงอยากตอบแทนพระคุณโดยจะนำเจ้าปาน พระอนุชาของพระอัครชายา เข้าทำราชการ แต่ทรงเกรงว่าจะถูกครหาว่าเป็นการตอบแทนเงินยืม จึงทำอุบายให้พระอัครชายากราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวสั่งลงมา แต่พระเจ้าอยู่หัวเห็นว่าเรื่องดูไม่ชอบมาพากล จึงสอบถามกลับไป พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็ทรงทำหนังสือกราบบังคมทูลชี้แจง แต่เหตุที่อ้างนั้นกลับขัดแย้งกับที่เคยทำหนังสือไปถึงกรมพระสวัสดิโสภณ พระเจ้าอยู่หัวเลยทรงพิโรธเห็นว่าเป็นอุบายมาหลอกใช้พระองค์ จึงรับสั่งให้งดเงินเดือนพิเศษที่เคยจ่ายให้เป็นการส่วนพระองค์เป็นการดัดนิสัย พระเจ้าปฤษฎางค์ก็ยังทำหนังสือกราบบังคมทูลแก้ตัวอีก พระเจ้าอยู่หัวทรงถึงกับมีพระราชหัตถเลขาบริภาษพระองค์เจ้าปฤษฎางค์อย่างหนัก และทรงให้เวนคืนบ้านหลวงพระราชทานที่กำลังต่อเติมอยู่ เพราะเบียดบังเงินหลวงไปใช้ ทำให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์เห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงหมดความไว้วางพระทัยแล้ว ถึงกับหมดอาลัยตายอยากกับชีวิต ไม่อยากอยู่ในราชการต่อไป อีกทั้งเรื่องพี่ศรีก็ทำให้ท่านหมางใจกับเพื่อนรัก จึงไปซื้อปืนมาคิดจะฆ่าตัวตาย แต่เมื่อไปลาตายกับพี่ศรีเพื่อนร่วมทุกข์ พี่ศรีว่าถ้าท่านตายก็จะขอตายด้วยเพราะเหลือเพื่อนที่เห็นใจอยู่เพียงคนเดียวเหมือนกัน ท่านเลยเลิกคิดตาย และเมื่อพี่ศรีมีความผิดที่ขัดพระราชกระแสรับสั่งให้เข้าอยู่ในวังหลวง ตัดสินใจหนีออกไปต่างประเทศ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็เลยหนีไปด้วย

เรื่องทั้งหมดนี้ไม่มีใครทำให้ท่าน แต่เป็นเพราะท่านตัดสินใจผิดเองทั้งสิ้น ซึ่งอาจจะผิดเพราะโรคที่มีคุณหมอตั้งข้อสงสัยก็เป็นได้

ส่วนเรื่องพระบรมสารีริกธาตุนั้นก็เช่นกัน ที่ท่านทำลงไปก็ทรงคิดว่าเป็นวีรกรรมที่จะได้มีไว้ถวายพระเจ้าอยู่หัวถ้าอังกฤษไม่ถวาย แต่เมื่อไปเปิดเผยกับพระยาสุขุมนัยวินิต อดีตมหาเก่าที่เคร่งพระธรรมวินัย เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่มีใครอภัยโทษให้ได้ เพราะเป็นเรื่องร้ายแรงในพระวินัยสงฆ์

ความจริงพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็ทรงได้รับพระเมตตาจากพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมศานุวงศ์อย่างมาก ในตอนนั้นมีกฎมณเฑียรบาลระบุว่า หากเจ้านายพระองค์ใดหนีไปอยู่ต่างประเทศ ให้ถิอว่าเป็นกบฏ แต่ก็ไม่มีการลงโทษพระองค์ปฤษฎางค์ในข้อนี้ และเมื่อครั้งที่ท่ามาทำงานให้อังกฤษอยู่ที่รัฐเประ ได้ทรงมีหนังสือมาถึงพระพระยาทิพย์โกษา เจ้าเมืองภูเก็ต ว่าท่านจะมาเที่ยวภูเก็ต เจ้าเมืองเประเลยขอให้ท่านหาพันธุ์ไม้ผลไม้ดอกและกล้วยไม้ไปให้ด้วย แต่เผอิญท่านไม่สบายมาไม่ได้ จึงให้ “คุณศรี” มาหาพันธุ์ไม้ให้เจ้าเมืองเประแทน ขอให้พระยาทิพย์โกษาที่เป็นเองกับท่าน ช่วยหาพันธุ์ไม้ต่างๆนี้ด้วย เป็นช่องทางที่จะพึ่งพาอาศัยกันในวันหน้าหากมีธุระ

พระยาทิพย์โกษาจึงรีบโทรเลขถึงกรุงเทพฯทันทีว่าจะให้จับคุณหญิงศรีหรือไม่ กรมหมื่นเทวะวงศ์กับเจ้านายหลายพระองค์มีความเห็นตรงกันว่า เป็นเรื่องที่ไม่สมควร จะทำให้เป็นเรื่องอื้อฉาวเสื่อมเสียถึงพระเกียรติ
พระเจ้าอยู่หัวไปด้วย ส่วนกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเห็นว่า แม้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์เข้ามาเองก็ไม่ควรจับ ควรถือว่าเป็นคนบ้าไปแล้ว

แม้จะตกระกำลำบากและเจ็บป่วยเป็นประจำในบั้นปลายชีวิต แต่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็มีพระชนม์ยืนยาวได้ถึง ๘๔ ชันษา สิ้นพระชนม์ในวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๗๗ อยู่ดูเมืองไทยมีรัฐธรรมนูญได้ไม่ถึง ๒ ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพในรัชกาลที่ ๘ โดยพระศพของพระองค์ได้รับการบรรจุในโกศไม้สี่เหลี่ยมหุ้มผ้าขาว ยอดโกศเป็นรูปฉัตร ๓ ชั้นไม่มีเครื่องประกอบใดๆ ซึ่งกรมพระนริศรานุวัติวงศ์กราบทูลกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า

“...พระศพพระองค์เจ้าปริศฎางค์นั้น ไม่มีวังจะตั้งทำบุญ จึงไม่มีโอกาสที่จะใช้พระลองทอง คงได้ใช้แค่พระโกศหุ้มขาวเท่านั้น...”

นี่เป็นชีวิตของเจ้านายพระองค์หนึ่ง คนหนุ่มที่รุ่งโรจน์ที่สุดในสยาม ทำคุณประโยชน์ให้ชาติไว้มาก แต่เมื่อสิ้นพระชนม์ แม้แต่วังที่จะตั้งโกศให้สมพระเกียรติที่พอเหลืออยู่ ก็ยังไม่มี

(https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1006863770814914&id=100044739000097&ref=embed_post)


คนในกระบวนการยุติธรรม ทำลายความยุติธรรมเสียเอง..?

https://www.facebook.com/watch/?v=876498757643699&t=0

Jom Petchpradab was live.
8 hours ago·

คนในกระบวนการยุติธรรม ทำลายความยุติธรรมเสียเอง..?
วันที่ 18 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา คุณทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกอัยการสูงสุด สั่งฟ้องในข้อหา 112 และ พรบ.คอมพิวเตอร์ และศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยวงเงินประกัน 500,000 บาท ในวันเดียวกัน. ขณะที่วันเดียวกันนั้น เครือข่ายประชาชน และ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ก็ได้มีการขอยื่นประกันตัวผู้ต้องขังคดีการเมือง 12 คน ใน 9 คดี ทั้งมาตรา 112 และอื่นๆ เพื่อขอศาลทบทวนสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกดำเนินคดีการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่ศาลกลับไม่อนุญาติให้การประกันตัวเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา. นี่ก็จะเป็นอีกครั้งที่กระบวนการยุติธรรมไทย บังคับใช้กฎหมายและการพิจารณาคดีอย่างสองมาตรฐาน
ฟังการวิเคราะห์เรื่องนี้จาก คุณกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความของผู้ต้องหาทางการเมืองในคดี 112 จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข กลุ่ม 24 มิถุนาเพื่อประชาธิปไตย


คนในกระบวนการยุติธรรม พร้อมพลีทุกอย่าง กระโดดลงเหวไปพร้อมสังคมเก่า


ภัควดี วีระภาสพงษ์
19 hours ago·

จดหมายฉบับลงวันที่ 7 มิถุนายน 2567 (ได้รับ 19 มิ.ย.)
.
ถ้าบุ้งแอบอ่านจดหมายฉบับนี้อยู่ ขอให้รู้ว่าพวกเรานักโทษการเมืองยังคงระลึกถึงบุ้งเสมอ การโกนหัวตลอด 112 วัน เป็นเพียงการแสดงออกที่เล็กน้อยในการไว้ทุกข์ “อุดมการณ์” และความมุ่งหมายของบุ้ง และทุกๆชีวิตที่ต้องสูญเสียไปก่อนหน้านี้ คือสิ่งที่พวกเราต้องสานต่อ
.
7 มิถุนายน 2567 ถึงปราณและขาล ลูกรักทั้งสอง
.
ท่ามกลางคนในกระบวนการยุติธรรม ที่ถูกมอมเมาด้วยความคิดของสังคมเก่าที่ “ไม่เชื่อ” ว่าคนเราเท่ากัน อาการป่วยไข้ก็จะแสดงออกมาเรื่อยๆ ฉีกตำราทาฃนิติศาสตร์หรือแม้แต่อ้างความยุติธรรมแบบไทยๆ ขึ้นมาแทน ก็ยังมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ กัดกร่อนองค์กรและตัวเองไปเรื่อยๆ พร้อมพลีทุกอย่าง กระโดดลงเหวไปพร้อมกับสังคมเก่าที่พวกเขาถูกมอมเมาให้หวงแหน
.
แล้วถูกบันทึกโดยประวัติศาสตร์ ให้ลูกหลานได้จดจำ ในความวิปริตและอัปลักษณ์ ที่หากอยากรู้ว่าใครมีบทบาทอย่างไรในห้วงเวลาที่สังคมป่วยไข้บ้าง ก็ทำได้โดยง่ายแค่เซิร์ชชื่อและนามสกุลของคนนั้นใน Google เช่น อยากรู้ว่าใครคือ ตำรวจ อัยการ ศาล ที่มีส่วนทำให้บุ้งตาย ก็แค่ค้นใน Google ชื่อของคนแจ้งความ คนฟ้อง คนสั่งขัง คนไม่ให้ประกัน ก็จะปรากฏ
.
โลกสมัยใหม่ ทำให้การบิดเบือนและปกปิดความจริงทางประวัติศาสตร์ทำได้ยากขึ้น พวกเราคนรุ่นใหม่กำลังช่วยกันเขียนประวัติศาสตร์อย่างตั้งใจ
.
ปล.1 หวังว่าบุ้งจะไม่หลุดขำตอนเห็นพ่อถอดเสื้อประท้วงในศาล
ปล.2 ฝากความคิดถึงแม่และบรรดาลุงป้าน้าอาด้วย
.
รักและคิดถึงลูกทั้งสองคน
อานนท์ นำภา
.....

ภัควดี วีระภาสพงษ์
11 hours ago·

ไม่ใช่สองมาตรฐาน แต่ไม่มีมาตรฐาน!
/////
ล่าสุด เมื่อเวลา 14.49 น. วันที่ 20 มิถุนายน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า “ด่วน! ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องขอประกันตัวในคดี ม.112 ของ “อานนท์”, “จิรวัฒน์” และ “สิรภพ” สาม #ผู้ต้องขังทางการเมือง ที่ยื่นขอประกันตัวไปเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.67 ที่ผ่านมา”
และว่า “ระบุคำสั่ง เนื่องจากเหตุคดีมีอัตราโทษสูง หากอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวเกรงว่าจะหลบหนี”... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
 
(https://www.matichon.co.th/politics/news_4638597)


เรื่องของคุณตากับคุณยาย (ขอชีวิตที่ดีกว่านี้ได้มั้ย?)


วิถีชีวิต
6 days ago
·
อายุเป็นเพียงตัวเลข 2 ตายาย ขับแกร็บฟู้ด ช่วยกันทำมาหากิน สมาชิกเฟซบุ๊กรายหนึ่ง เจ้าของร้านซูชิที่หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้โพสต์ภาพลุงกับป้าคู่หนึ่ง ที่ทำอาชีพแกร็บมารับอาหารที่ร้าน โดยลุงเป็นคนหาลูกค้า ส่วนป้านั่งซ้อนท้ายช่วยสะพายกระเป๋าใส่อาหาร ความน่ารักของพี่ Grab วันนี้ มาเป็นคู่เลย “ลุงไม่อยากเป็นภาระลูกหลาน ยังมีแรงก็ทำไป ป้าแกอยู่บ้านคนเดียว กลัวแกเหงาชวนมาเป็นเพื่อน” ลุงแกบอกว่าอายุเป็นเพียงตัวเลข ขอบคุณเรื่องราวจาก: Phakhanut Blackbox
.....

มาย
3 days ago·

อร่อยมาก ได้เยอะแถมราคาถูก อาหารคุณยายวัย83ปี
แกขายที่หน้า 7-11 ทุกวันเลย ไม่หยุด จะเริ่มออกมาตั้งแต่ตี4 เข็นรถมาขายคนเดี่ยว
ยายบอกทำแต่อาหาร ไม่ค่อยได้นอน ง่วงต้องแอบนอนกลางวันเอา
อาหารรสชาติเหมือนที่บ้านทำให้กิน ข้าวผัด ผัดมาม่า มีขนมหวานด้วยข้าวเหนียวสังขยา อร่อยมากก
อร่อย ได้เยอะ แถมราคาดีเลย พิกัด อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธาณ หน้าเซเว่น ซอย4 ฝากอุดหนุนยายด้วยนะคะ
เรื่องราวดีๆแบบนี้ต้องขอบคุณ ตามเหมียวมานี่


สรุปรวมรวมเมดเลย์ ธุรกิจจีนรุกไทย แทบทุกอุตสาหกรรม (คุณช่วยเติมได้นะ)


Pawoot Pom Pongvitayapanu
a day ago·

สรุปรวมรวมเมดเลย์ ธุรกิจจีนรุกไทย แทบทุกอุตสาหกรรม (คุณช่วยเติมได้นะ)
ภาคธุรกิจ
- การศึกษา ซื้อโรงเรียน มหาลัย
- ธุรกิจอสังหา (คอนโด-บ้าน-ที่ดิน)
- เกษตร สวนผลไม้ ล้ง
- รถยนต์ EV
- วัสดุก่อสร้าง
- ขนส่ง logistic
- อุตสาหกรรมหล็กมาตีตลาดเหล็กไทย
ปัจจัยพื้นฐาน
- อสังหา (บ้าน คอนโด ที่ดิน)
- การศึกษา (โรงเรียน มหาลัย)
โครงสร้างพื้นฐาน
- ขนส่ง
- การเงิน เงินทุน ประกัน
- Platform (E-Commerce)
การสนับสนุนจากภาครัฐ
- ภาษี 0% (FTA)
- สิทธิพิเศษ BOI, EEC
- ฟรี.! VISA (เดินทางมาง่าย)
กำลังสรุปสร้าง Framework ธุรกิจจีนในไทย เพื่อทำให้เราได้เห็นภาพในมุมกว้างที่ชัดเจนมากขึ้น
มาช่วยกันเติมให้หน่อยสิครับ อยากเห็นมุมมองจากหลายๆ มุมมองครับ
เข้าไปกรอกได้เลย ลิงค์อยู่ในคอมเมนต์..

Pawoot Pom Pongvitayapanu
ช่วยกันเติมๆ ได้เน้อออ
(https://docs.google.com/.../1JThFZ4Ya7L3k.../edit...)


(https://www.facebook.com/photo?fbid=10163906024982178&set=a.393312537177)


โรงงานปิด Code Red ของเศรษฐกิจไทย ?

https://www.facebook.com/reel/990752239222277


บริษัทที่ชนะการประมูลข้าว มูลค่ากว่า 286 ล้านบาท แต่บริษัทมีสินทรัพย์รวม 1.1 ล้านบาท .. มันยังไงอยู่นา... มีคนขอให้ดำเนินการตรวจสอบด้วย


Wasu Yuwanaboon
15 hours ago·

บริษัทที่ชนะการประมูลข้าว มูลค่ากว่า 286 ล้านบาท บริษัทมีสินทรัพย์รวม 1.1 ล้านบาท .. ดำเนินการตรวจสอบด้วยค่ะ




(https://www.facebook.com/wasu.yuwanaboon/posts/pfbid02zifdgbnBtKzDeBWqCoVpsygUdvNBFmBMGofa1p9XrAmjosnrck1sJ68vuJYCqXUAl)


ทีมคุณหนู aka เพื่อไทยอคาเดมี ที่เค้าเชื่อมั่นว่าจะปราดเปรื่องสุขุมนุ่มลึก

https://www.facebook.com/baitongpost/posts/7814019162013178?ref=embed_post

Atukkit Sawangsuk
8 hours ago·

ทีมเพื่อไทยอคาเดมี ที่เค้าเชื่อมั่นว่าจะปราดเปรื่องสุขุมนุ่มลึกเหมือนพันศักดิ์ พรี่อ้วน หมอมิ้ง หมอเลี้ยบ ในยุคต่อไป
อ้อ แต่คำว่า “เจ๊ง” นี่เขายืนยันว่า ไม่ได้เขียนสคริปต์ให้


ใบตองแห้ง สัมภาษณ์ อ.ธำรงศักดิ์ แกเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์สนุกมาก การช่วงชิงประวัติศาสตร์ 2475 นั้นมีมาตลอด 92 ปี


Atukkit Sawangsuk
16 hours ago·

สัมภาษณ์ อ.ธำรงศักดิ์ แกเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์สนุกมาก
การช่วงชิงประวัติศาสตร์ 2475 นั้นมีมาตลอด 92 ปี
ที่เราเห็นทหารไปอบรมครูสอนประวัติศาสตร์นั้น ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจหรอก เขาทำมาตลอดตั้งแต่หลัง 2490 โดยเฉพาะยุคสฤษดิ์ ถนอม แต่มาโดนตีโต้ในยุค 2510-20 เป็นต้นมา
จนทุกวันนี้ ประวัติศาสตร์ 2475 ของอนุรักษนิยมเสื่อมมนต์ขลัง ยัดเยียดไปก็ไม่มีเสน่ห์
เอาฮา ต้องพูดถึงคุณูปการของนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ในการรื้อฟื้นประวัติศาสตร์ 2475 ของฝ่ายประชาธิปไตยเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน
.....
ประชาธิปไตย2สี:ใบตองแห้งEP12 I ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ I 92 ปีช่วงชิงประวัติศาสตร์2475:Matichon TV

Jun 19, 2024 

ใบตองแห้ง EP.12 สนทนา รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 92 ปี เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475ประเด็น อำนาจนิยม บิดวิชาประวัติศาสตร์ 2475 : 92 ปีช่วงชิงวิชาประวัติศาสตร์ 2475

https://www.youtube.com/watch?v=82BnC4kiaaQ


Arms Scandal! เรือดำน้ำไทย-เครื่องจีน



Arms Scandal! เรือดำน้ำไทย-เครื่องจีน

มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14 - 20 มิถุนายน 2567
ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข
19 มิถุนายน พ.ศ.2567

“การคอร์รัปชั่นในธุรกิจอาวุธบางประเภทเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะในกรณีของเรือดำน้ำ… เรือดำน้ำมีราคาแพงมากๆ และมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ต้องการเรือดำน้ำจริงๆ เรือดำน้ำจึงเป็นอาวุธที่ดีที่สุดสำหรับการติดสินบนในการขาย”

The World Peace Foundation (2018)

องค์กรที่ติดตามเรื่อง “การคอร์รัปชั่นในธุรกิจอาวุธ” (arms trade corruption) พบว่า ธุรกิจนี้มีปัญหาในเรื่องของความโปร่งใสอย่างมาก เพราะมักจะพบว่าบริษัทผู้ผลิตอาวุธและ/หรือรัฐผู้ขายอาวุธมักจะใช้การดำเนินการที่ “ไม่ปกติ” เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในกระบวนการจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์ของรัฐผู้ซื้อ ที่ต้องนำเข้าอาวุธจากภายนอก

การดำเนินการที่ไม่ปกติเช่นนี้จึงเกิดปัญหาทั้งทางฝ่ายผู้ซื้อและฝ่ายผู้ขาย อีกทั้งความไม่ปกติที่เกิดในกระบวนการดังกล่าวเป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ยาก อาจเป็นเพราะเงื่อนไขทางการเมือง หรือเหตุผลในทางปฏิบัติที่ทำให้การตรวจสอบและติดตามเรื่องเหล่านี้เป็นไปได้ยากมาก

กระนั้น เรื่องราวดังกล่าวอาจถูกกล่าวหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นในสื่อ แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนก็ตาม และกลายเป็น “หัวข้อข่าว” ที่สังคมให้ความสนใจ จนทำให้การจัดซื้อที่เกิดขึ้นตกเป็น “เรื่องอื้อฉาวด้านอาวุธ” (arms scandal) ในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เรื่องอื้อฉาวด้านอาวุธเช่นนี้เกิดขึ้นในหลายประเทศ และมักจะเกิดกับประเทศกำลังพัฒนา อันทำให้ประเด็นนี้เป็นด้านลบของการพัฒนากองทัพในประเทศดังกล่าว ที่ต้องการจัดหายุทโธปกรณ์มูลค่าสูงเข้าประจำการ

ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น การจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีนเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจในกรณีนี้ เพราะเป็นการจัดซื้อที่มีปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ และการตัดสินใจสุดท้ายที่มีนัยสำคัญอย่างยิ่งคือ ปัญหาเครื่องยนต์ที่ไม่ตรงกับ “สเป๊ก” ในข้อตกลงการซื้อขาย (TOR)

เรื่องอื้อฉาว

การจัดซื้อจัดหาเรือดำน้ำของราชนาวีไทยกลายเป็นภาพสะท้อนของ “เรื่องอื้อฉาวด้านอาวุธ” (arms scandal) ใหญ่ และเป็นประเด็นที่ถูกจับตามองอย่างมาก

ไม่เพียงมีปัญหาจากความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อเท่านั้น หากแต่ยังมีปัญหาใหญ่ที่เกิดจากการผิดสัญญาของจีน เพราะทางการจีนโดยเงื่อนไขสัญญาไม่สามารถนำเอาเครื่องยนต์เยอรมันตามที่ตกลงไว้ มาใช้ในเรือดำน้ำที่กองทัพเรือไทยสั่งต่อได้

อันทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า รัฐบาลไทยโดยกระทรวงกลาโหมจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร

ประเด็นนี้ในอีกด้านถูกจับตาจากเวทีระหว่างประเทศอย่างมากว่า รัฐบาลไทยจะหาทางออกจากปัญหานี้ได้อย่างไร แต่หลายฝ่ายคาดมาก่อนแล้วว่า ในที่สุดกองทัพเรือและกระทรวงกลาโหมไทยจะยอมตามข้อเสนอที่จะเปลี่ยนจาก “เครื่องยนต์เยอรมัน” เป็น “เครื่องยนต์จีน” เพราะมีข่าวในลักษณะนี้มาโดยตลอด จนเป็นเสมือนการ “วัดใจ” ผู้นำทั้งพลเรือนและทหารเรือว่า พวกเขาจะยอมรับข้อเสนอของจีน ด้วยข้ออ้างจากทางฝ่ายจีนว่า จีนได้ทำการทดลองเครื่องยนต์นี้แล้ว

ซึ่งทำให้เกิดคำถามตามมาอีกประการว่า รัฐผู้ซื้อควรรับเงื่อนไขของรัฐผู้ขายอย่างไรหรือไม่ เพราะเครื่องยนต์น่าจะเป็นส่วนสำคัญของสัญญาซื้อขาย

หากประเด็น “สัญชาติของเครื่องยนต์” ไม่มีความสำคัญจริงแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องระบุให้เกิดความชัดเจนในเบื้องต้นว่าต้องเป็น “เครื่องยนต์เยอรมัน” การเปลี่ยนสัญชาติของเครื่องมีนัยเท่ากับ “การแก้ไขข้อตกลง” (คือเป็นการแก้ TOR) หรือไม่

แต่ก็มีการ “โยนหินถามทาง” มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างกระแสให้เกิดการยอมรับเครื่องยนต์จีนมาโดยตลอด เช่น การอ้างถึงการจัดซื้อของ ทร.ปากีสถาน ที่ยอมใช้เครื่องยนต์จากจีน

แต่ทุกคนย่อมทราบดีว่า ปากีสถานอยู่ในสถานะของรัฐที่ต้องพึ่งพาจีนอย่างมาก จึงพร้อมที่จะยอมรับข้อเสนอจากจีนในกรณีนี้

ดังนั้น สำหรับในกรณีของไทย ในที่สุดแล้วเรื่องก็จบลงอย่างไม่ผิดคาดเท่าใดนัก กระทรวงกลาโหมไทยตัดสินใจยุติปัญหา ด้วยคำตอบสุดท้ายคือ “เรือดำน้ำจีน-เครื่องจีน”… อันเป็นการยอมรับสินค้าที่ผิดเงื่อนไขสัญญาใน TOR ได้อย่างง่ายๆ จนทำให้เกิดคำถามว่า การตัดสินใจของนายสุทิน คลังแสง ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนั้น จะกลายเป็น “บรรทัดฐานใหม่” ของการเปลี่ยน TOR ในการจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์ที่มีมูลค่าสูง (สูงมาก) จากต่างประเทศของรัฐบาลไทยในอนาคตหรือไม่

เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนด้วยการจัดซื้อสินค้าชุดเดิม แต่มีการเปลี่ยนองค์ประกอบที่มีนัยสำคัญ ซึ่งในกรณีนี้คือเครื่องยนต์ จึงทำให้ “เรื่องอื้อฉาว” เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่มีความชัดเจนว่า เครื่องยนต์จีนจะมีประสิทธิภาพเท่ากับของเยอรมนีหรือไม่ (ในความหมายตรงๆ คือ ดีเท่ากันจริงหรือไม่?) และใครควรจะเป็นผู้ตอบคำถามดังกล่าว หรือเราจะยอมให้รัฐผู้ขายเป็นผู้ตอบ

ทางออก-ทางตัน?


หากย้อนกลับไปในช่วงต้นเมื่อการจัดตั้งรัฐบาลนั้น หลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการเรือดำน้ำจีน เริ่มมีความหวังว่าโครงการนี้น่าจะต้องยุติลง เพราะไม่เห็นประโยชน์และความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ที่จะเอาเรือดำน้ำจีนเข้ามาประจำการ

อีกทั้งท่าทีของรัฐมนตรีเองในระยะแรกที่เข้ามารับตำแหน่งก็ดูจะไปในแนวทาง “แลกเรือผิวน้ำ” น่าจะดีกว่า เนื่องจากโอกาสที่จะได้เครื่องยนต์เยอรมันภายใต้เงื่อนไขการเมืองโลกปัจจุบันนั้น เป็นไปไม่ได้เลย และไทยเองก็เคยมีปัญหาเช่นนี้มาแล้วในกรณีของรถถังยูเครน ที่ในข้อตกลงต้องใช้เครื่องเยอรมัน แต่ในที่สุดก็ไม่ได้

ต่อมาท่าทีและท่วงทำนองของกระทรวงกลาโหมไทยในการสัมภาษณ์เรื่องเรือดำน้ำดูจะเปลี่ยนไปอย่างมาก และสัญญาณของการเปลี่ยนเป็นเรือรบบนผิวน้ำค่อยๆ หายไป ซึ่งตอบได้ทันทีว่า กลุ่มผลประโยชน์ทั้งในและนอกกองทัพเรือที่แสวงประโยชน์กับเรือดำน้ำจีน ไม่มีทางยอมถอยอย่างแน่นอน

จนน่าสนใจที่จะตั้งคำถามในแบบสื่อมวลชนที่แสวงหาข้อมูลให้สังคมว่า ใครคือพ่อค้าอาวุธที่ขายเรือดำน้ำจีนให้แก่ราชนาวีไทย

การรับสัญญานี้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณภายในกองทัพเรืออย่างไรหรือไม่ และใครได้ประโยชน์ตอบแทนในการจัดซื้อครั้งนี้

หากมองในภาพรวม เราคงต้องยอมรับถึงสิ่งที่เป็นปัญหาด้านลบในนโยบายการทหารของไทยคือการมีบทบาทและอิทธิพลของ “กลุ่มพ่อค้าอาวุธ”… ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพวกเขามีอิทธิพลมากทั้งในทางการเมืองและในกองทัพ

โดยพ่อค้าอาวุธเหล่านี้มีความแนบแน่นกับผู้นำทหารระดับสูงเสมอ ดังตัวอย่างของประเทศกำลังพัฒนาได้ว่า สัมพันธภาพในแบบ 3 เหลี่ยมของ “ผู้ขายอาวุธ-ผู้นำทางการเมือง-ผู้นำทางทหาร” มีความแข็งแกร่งเป็นอย่างยิ่ง และมักจะส่งผลให้เกิดเรื่องอื้อฉาวในการจัดหายุทโธปกรณ์อยู่เสมอ

ในอีกด้าน จีนเองจำเป็นต้องแสดงบทบาทและกดดันในฐานะ “รัฐผู้ผลิตอาวุธทันสมัย” ที่ต้องยืนยันถึงประสิทธิภาพของอาวุธตน เพราะวันนี้จีนเองเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ ที่ขายอาวุธในตลาดโลก ฉะนั้น จีนจึงต้องการนำเสนอภาพลักษณ์ของอาวุธจีนที่มีประสิทธิภาพ การปฏิเสธเครื่องยนต์จีนย่อมส่งผลต่อภาพลักษณ์ดังกล่าว และอาจกระทบต่อการทำการตลาดในการขายอาวุธของจีน

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ในที่สุดกระทรวงกลาโหมไทยก็ตอบรับ “เรือดำน้ำจีน-เครื่องยนต์จีน” อย่างไม่น่าแปลกใจ โดยมีคำแก้ต่างจากรัฐมนตรีกลาโหมไทยใน 3 ประการหลัก คือ

1) การตอบรับนี้เป็นการดำเนินการตามความต้องการของกองทัพเรือ

2) เป็นการรักษาผลประโยชน์ของประเทศ

และ 3) เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แต่ข้อแก้ต่างนี้ทำให้เกิดคำถามบางประการตามมา ดังนี้

1) คำตอบดังกล่าวเท่ากับส่งสัญญาณว่า กระทรวงกลาโหมโดยนายสุทิน ไม่มียุทธศาสตร์อะไร จึงปล่อยให้การตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญเป็นเพียงการ “ตามน้ำ” ไปกับความต้องการอาวุธของฝ่ายทหาร โดยรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงไม่มีความสามารถเพียงพอที่ทำหน้าที่วินิจฉัยปัญหาได้จริง

การ “ลอยตามน้ำ” ไปกับกลุ่มอิทธิพลที่มีผลประโยชน์ทั้งในและนอกกองทัพเรือ จึงกลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด ดังจะเห็นถึงท่าทีในแบบ “กองทัพเรือเอาอย่างไร กระทรวงกลาโหมเอาอย่างนั้น”

2) คำตอบว่าการยืนยันที่จะซื้อเรือดำน้ำจีนที่มีเงื่อนไขผิดสัญญาเรื่องเครื่องยนต์เป็นผลประโยชน์ของประเทศไทยนั้น ดูจะเป็นการตอบคำถามในแบบโฆษณาชวนเชื่อเป็นอย่างยิ่ง และการนำเสนอง่ายๆ ว่า ซื้อแล้วจะเป็นประโยชน์แก่ไทย ดูจะเป็นเรื่องที่รับฟังได้ยาก แต่น่าสนใจว่า การซื้อนี้เป็นประโยชน์แก่ใคร…

ปัญหาเช่นนี้คงต้องเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการทหารของรัฐสภาเร่งตรวจสอบ และเปิดเผยข้อมูลให้สังคมได้รับรู้ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าการจัดซื้อเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทย เป็นหนึ่งใน “เรื่องอื้อฉาวด้านอาวุธ” ทั้งในและนอกประเทศไทย เพราะการผิดเงื่อนไขเครื่องยนต์เรือดำน้ำ ทำให้บริษัทอาวุธในเวทีโลกเฝ้าดูถึงการตัดสินใจของรัฐบาลว่า จะเลือกเดินทางใด เพื่อที่จะแสดงถึงการเป็น “ผู้ซื้อที่ฉลาด” (smart buyer) ของไทยในตลาดอาวุธระหว่างประเทศ

เนื่องจากตลาดอาวุธในปัจจุบันไม่ใช่ “ตลาดผูกขาด” แบบในอดีต

3) แน่นอนว่าการผิดสัญญาเรื่องเครื่องยนต์นั้น ไทยไม่อาจใช้วิธียกเลิกสัญญากับจีนได้ ซึ่งจะเป็นการ “หักหน้าจีน” อย่างชัดเจน และอาจไม่เป็นทางเลือกที่ดีในความสัมพันธ์ไทย-จีน ซึ่งคงไม่มีรัฐบาลไทยชุดใดกล้าที่จะทำเช่นนั้นด้วย

แต่การหาทางออก ต้องมิใช่ “การยอมศิโรราบ” กับจีนทั้งหมด เพราะไทยไม่ใช่ “รัฐผู้พึ่งพา” กับจีน

การยอมรับเครื่องยนต์จีนตามที่จีนเสนอมาอย่างง่ายๆ ทั้งที่เป็นการผิดเงื่อนไขสำคัญนั้น เท่ากับเป็นคำตอบในตัวเองถึงความไร้ประสิทธิภาพของรัฐมนตรีกลาโหมไทย และเป็นการยอมจำนนต่อจีนของราชนาวีไทย

4) การกระทำเช่นนี้ในอีกมุมหนึ่งที่ถูกตั้งคำถามถึงการมี “ประเด็นซ่อนเร้น” เนื่องจากการยอมรับเงื่อนไขของจีนครั้งนี้ ถูกมองว่ามีการแลกสิ่งต่างตอบแทนหรือไม่ โดยเฉพาะคำกล่าวที่ว่า มีการแลกเปลี่ยนทางการค้า และได้นำมาเป็นประเด็นประกอบการเจรจาเรื่องเรือดำน้ำ ซึ่งกระทรวงกลาโหมควรแถลงให้ชัดเจนในกรณีนี้

สามพลังธุรกิจอาวุธ

วันนี้เรือดำน้ำไทยกลายเป็นเรื่องอื้อฉาวที่เกิดตั้งแต่ต้นจนจบ และสะท้อนถึง “3 เหลี่ยมธุรกิจอาวุธ” ที่เป็นภาพสลัวๆ ของสังคมการเมืองไทยในการรวมพลังของ “พ่อค้า-นักการเมือง-ผู้นำทหาร” อีกทั้งยังเป็นภาพสะท้อนในอีกมุมหนึ่งถึงความสัมพันธ์ไทย-จีน ซึ่งปัญหาเกิดในภาวะที่จีนมีความเป็นรัฐมหาอำนาจใหญ่ที่กำลังขยายอิทธิพลในไทยและในเวทีโลกอย่างไม่หยุดยั้ง

แต่สำหรับทฤษฎีเปลี่ยนผ่านวิทยาของวิชารัฐศาสตร์แล้ว ผู้นำกลาโหมไทยปัจจุบันเป็นเพียงตัวแบบด้านลบของความเป็น “รัฐมนตรีกลาโหมพลเรือน” ในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองเท่านั้นเอง!

(https://www.matichonweekly.com/column/article_774137)


วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 20, 2567

‘ผู้ว่าแบ๊งค์ชาติ’ ย้ำเงินหมื่นดิจิทัล แจกได้แค่ ‘ผู้ถือบัตรสวัสดิการ’ ๑๕ ล้านคน ด้าน ‘คูมไหม’ แฉแม้งบชำระดอกเบี้ย กับบำนาญข้าราชการก็ยังขาดอยู่

ยังคงคืบหน้าแม้จะคืบคลานอย่างทาก โครงการ ดิจิตอลวอลเล็ต(ขออนุญาตเรียกตาม คูมไหมเพราะดูเหมือนเธอจะรู้เรื่องนี้มากกว่าใคร) สะท้อนได้จากความเห็นของ ผู้ว่าแบ๊งค์ชาติซึ่งยืนยันให้แจกแค่ ผู้ถือบัตรสวัสดิการ๑๕ ล้านคน

๑๘ มิถุนา ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวบลูมเบิร์กเรื่อง โครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล แจกเงินสดชาวไทยอายุ ๑๖ ปีขึ้นไป รายละ ๑ หมื่นบาทนั้น “ควรครอบคลุมผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพียง ๑๕ ล้านคนเท่านั้น”

นั่นเป็นการย้ำจุดยืนเดิมที่แบ๊งค์ชาติเคยแถลงไว้แล้ว ผู้ว่าฯ กล่าวกับบลูมเบิร์กว่า “หากต้องการทำโครงการนี้ ควรทำแบบเจาะจงเป้าหมายและทำแบบเล็กลงด้วย เราไม่เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องพยายามกระตุ้นการบริโภคไปทั่ว

ปัญหาอยู่ที่รัฐบาลเองยังไม่สามารถปักหมุดลงไปได้แน่นอน ว่าจะเอาเงินกว่าห้าแสนล้านบาทจากที่ไหนมาจ่ายสำหรับโครงการ ถึงอย่างนั้นรัฐบาลก็ยังกล่าวตลอดมาว่า สามารถบริหารจัดการงบประมาณปกติสำหรับปี ๖๗ และ ๖๘ ได้

ข้ออ้างที่ยังเป็นแต่นามธรรมอีกอย่างก็คือ จะสามารถจัดเก็บเงินภาษีอากรรายได้เข้ารัฐ มาถมได้อย่างเพียงพอ แต่คนที่มักออกมาให้ข้อมูลการคลังที่มีตัวเลขรูปธรรม สอดคล้องกับจุดยืนของแบ๊งค์ชาติอยู่เสมอ ก็คือ ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.ก้าวไกล

ในการอภิปรายงบประมาณ ๒๕๖๘ ของรัฐบาลเศรษฐาตอนหนึ่งว่า “สำนักหนี้สาธารณะได้มาชี้แจงในอนุกรรมการติดตามงบประมาณฯ ว่าปี ๖๘ นี้ได้งบชำระดอกเบี้ยขาดไปเกือบ ๙ หมื่นล้านบาท” ไม่เท่านั้นยังมีบำนาญข้าราชการที่ขาดไป ๓ หมื่น ๘ พันล้านบาท

“ทั้งๆ ที่ประกาศขึ้นเงินบำนาญข้าราชการ ที่บอกว่าให้ขั้นต่ำ ไม่ต่ำกว่า ๑ หมื่น ๑ พันบาททุกคน อย่างนี้จะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายให้กับข้าราชการบำนาญ” เธอต่อไปถึง งบรักษาพยาบาล “ปีนี้ดีขึ้นมาหน่อย ขาดแค่ ๖ พัน ๗ ร้อยล้าน ปีก่อนหน้าขาดถึง ๒ หมื่นกว่าล้าน

ค่าชดเชยผู้ประกอบการ ตามมาตรการสนับสนุนรถอีวี ก็ยังจ่ายไม่ครบอยู่ดี ปีนี้เป็นปีที่สองแล้วที่ตั้งงบฯ แต่ก็ยังขาดอยู่ ๑ หมื่น ๗ พันล้านบาท แล้วก็ยังมีกองทุนประชารัฐ ที่ช้อร์ตเงินอยู่ ๕ พันล้านบาท” เธอว่าอันนี้ก็จะเป็นปัญหาทันที

“ถ้าเราจำเป็นต้องใช้เงินทั้งหมดนี้ สัดส่วนของรายจ่ายลงทุนก็จะเปลี่ยนแปลงไปทันที และอาจจะลดต่ำลงกว่าเกณฑ์ที่ควรจะเป็น พรรคก้าวไกลเคยถูกกล่าวหาว่าเรามีนโยบายจะตัดบำนาญข้าราชการ คนที่ตัดจริงคือรัฐบาลนี้”

เมื่อต้นเดือน (มิถุนา) จึงเกิดข่าวลือดังลั่นว่ารัฐบาลยอมถอย เปลี่ยนแผนแจกเงินหมื่นดิจิทัล ไปเหลือแค่แจกแต่ประชากรในกลุ่มเปราะบาง ๑๔ ล้านคนเท่านั้น ร้อนถึง เผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลังต้องรีบปฏิเสธแก้ข่าวจ้าละหวั่น ว่านั่นแค่การแจกเบื้องต้น

(https://x.com/nationstoryth/status/1803356180502528004=15MTZieXRlcw และ https://www.facebook.com/ThaiPublica/posts/YiurP6kQgrx8) 

เขาว่าสถานการณ์สร้างวีรบุรุษ แต่นี่ ‘สถานี’ สร้าง ‘นางพญา’ อะ

พอพวก E และ I แบกส์ แห่ไปอยู่ เอ็นบีที(วี) กัน ลูกสาวนายใหญ่คนที่พ่อบอกว่า ได้รับดีเอ็นเอไปเต็มๆ ก็กลายเป็น นางพญา ไปโดยพลัน 

แต่กระนั้นใช่ว่าจะแค่โคมลอยนะ Thanapol Eawsakul เพิ่งให้ลายแทงว่าการอภิปรายงบประมาณของฝ่ายรัฐบาลเศรษฐาครั้งนี้ (ที่ ดนุพร ปุณณกันต์ ใช้ดีเอ็นเอเพื่อไทย ชกใต้เข็มขัดพรรคก้าวไกล) นั่น

มันมาจากการกำกับควบคุมโดยนางพญาของพรรค
อุ๊งอิ๊ง’ แพทองธาร เป็นคนจัดทัพด้วยน้ำมือตนเองทั้งสิ้น

(https://www.bangkokbiznews.com/politics/1131642)