(ข้อมูลจากผู้อ่านไทยอีนิวส์ส่งมา)
แหล่งที่มา: https://www.matichonweekly.com/column/article_491862?fbclid=IwAR2YqZU00iDAANt2hP9uwOO4ibifvBVlzzsr6xcnO_CgjxI87iZ5pFu5Kmw_aem_AaAoKaG-3jMlZvPuKq-d38x2C490EW-YjZPWnuI9qtj1wnnfTHHljQqBiSVa1CCtf3c50d5oR7x_4Jgqi41IWzp3
ขออนุญาต ตัดมาเฉพาะตอนที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง กบฎบวรเดช หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เท่านั้น เนื้อเรื่องเต็มอ่านได้ตามลิงก์ (สำหรับเนื้อความก่อนหน้านั้น ที่ไม่ได้เอามาลงในเมลนี้ คือ.... เผยชีวิต กบฎบวรเดชในอินโดจีน อ่านได้จากลิงก์ด้านบน)
ความพยายาม
ลบประวัติศาสตร์บางประการ
หากท่านเป็นนักค้นคว้า เมื่อเข้าไปค้นเรื่องกบฏบวรเดช จากการป้อนชื่อหนังสืออนุสรณ์งานศพของหลวงโหมรอนราญ (ตุ๊ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา) เข้าไปในระบบฐานข้อมูลห้องสมุดแห่งหนึ่ง ท่านอาจจะประหลาดใจที่พบว่า มีความพยายามในการฉีกลายเนื้อความที่ปรากฏในหนังสืองานศพของเขาจากบุคคลที่ต้องการปิดบังเรื่องราวนั้นมิให้ผู้อ่านภายหลังทราบ
ทั้งนี้ ในหนังสือนี้ หลวงโหมฯ บันทึกสิ่งที่เขารู้เห็นสิ่งสำคัญภายหลังการปฏิวัติ 2475 จากมุมมองของฝ่ายปฎิปักษ์คณะราษฎรไว้
เรื่องราวนี้ถูกพบจาก มิตรข้าพเจ้าเคยเข้าไปทำสำเนาในห้องสมุดแห่งนั้น พบว่า หนังสืองานศพของหลวงโหมฯ ทั้ง 2 เล่ม ทั้งที่ให้บริการในชั้นปกติและห้องหนังสือหายาก มีบางหน้าที่ถูกฉีกทำลายออกไปจากหนังสือเล่มนี้
แม้นว่าข้าพเจ้าจะเคยอ่านหนังสือเล่มนี้ แต่ไม่เคยสังเกตว่าถึงปัญหาดังกล่าว และอะไรคือเหตุจูงใจของผู้ทำลายข้อความนี้ จนกระทั่งมิตรได้ตรวจสอบเนื้อหานั้นกับฉบับสมบูรณ์เล่มอื่นจากห้องสมุดส่วนตัว จึงทราบว่า เรื่องที่หายไปคือ การประชุมที่ไกลกังวลในคืน 24 มิถุนายน 2475 ที่มีชื่อบุคคลชั้นนำหลายคนร่วมประชุมการรับมือกับการปฏิวัติในครั้งนั้น
ทั้งนี้ บริบทของข้อความในหน้าใกล้เคียงกันก่อนหน้า 39 นั้น หลวงโหมฯ กำลังเล่าถึงการปฏิวัติ 2475 ว่า ในวันนั้น เขาไปตรวจราชการที่ชุมพรพร้อม พล.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกต รองเสนาบดีกลาโหมและคณะ พวกเขาทราบจากโทรเลขว่า เกิดการเปลี่ยนการปกครองที่พระนคร พวกเขามาประชุมที่ไกลกังวล ต่อมา เขาสอบถามพระองค์เจ้าอลงกตถึงรายชื่อผู้ที่เข้าประชุมการตอบโต้สถานการณ์
แต่ข้อความในหน้าที่ 39 ของหนังสือที่ระบุรายชื่อเหล่านั้นกลับถูกฉีกทำลายไป จึงเป็นที่ฉงนว่า มีข้อความนั้นสำคัญเพียงใดจึงต้องถูกฉีกทำลาย
ต่อมา มิตรข้าพเจ้าตรวจสอบจากหนังสือที่เขามี จึงพบว่า ข้อความรายชื่อที่ถูกฉีกหายไปจากหน้า 39 ความว่า
“ในที่ประชุมมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธาน สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จกรมพระสวัสดิ์วัฒนพิศิษฐ์ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งเสด็จมาจากกรุงเทพฯ พล.อ.พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร เสนาบดีกระทรวงกลาโหม พล.อ.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกต รองเสนาบดีกระทรวงกลาโหม พล.ท.พระยาพิชัยสงคราม แม่ทัพกองทัพที่ 1 พล.ท.หม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล จรเรทหารบก พล.ต.พระยาอานุภาพไตรภพ ผู้บัญชากองพลที่ 3 นครราชสีมา”
นอกจากนี้ ในหนังสืองานศพเล่มนี้ หลวงโหมฯ ยังเล่าชีวิตส่วนตัวในอินโดจีนที่น่าสนใจ ไว้ว่า
“…การอยู่ในประเทศอินโดจีนนี้ผู้หญิงออกจะหาได้ง่ายมากเพราะคนญวนยากจน ละทิ้งขนบทำเนียบประเพณีเก่าๆ เสียมาก ยิ่งในเมืองไซ่ง่อนด้วยแล้วผู้หญิงราคาถูกมาก เวลาที่พวกเราไปอยู่จึงมักมีคนมาชวนให้มีเมีย และการขอเมียจากครอบครัวคนจนๆ ที่เมืองไซ่ง่อนนี้ คิดราคาดูแล้วการแต่งงานจะเสียเงินสัก 20-30 เหรียญ ซึ่งเทียบกับเงินไทยประมาณ 50 บาท ก็หาเมียสาวๆ ได้คนหนึ่ง
ตัวข้าพเจ้าเองนั้น เมื่อมาอยู่ในเมืองไซ่ง่อนคติเดิมที่ว่าจะไม่ยุ่งกับผู้หญิงที่ไม่คิดจะเลี้ยงเป็นลูกเป็นเมียก็เลิกไป มีคนแนะนำผู้หญิงมาให้บ่อยๆ และก็ไม่ต้องเลี้ยงดูกันนาน เขาได้เงินจากเรานิดๆ หน่อยๆ แล้วก็จากไป ผู้หญิงที่หาได้ง่ายๆ นั้น จึงมักจะมีโรคภัยไข้เจ็บมาปล่อยให้ผู้ชายเสมอ คราวหนึ่งข้าพเจ้าป่วยถึงกับเดินไม่ได้ ข้อเท้าและหัวเข่าบวมไปหมดเดินไม่ได้
แต่ข้าพเจ้าเป็นนักเที่ยวจึงคบกับเพื่อนที่เป็นพยาบาลตามโรงพยาบาลต่างๆ หลายคนมีโรคภัยไข้เจ็บ พวกเพื่อนๆ ก็มาช่วยฉีดยาให้ เสียเงินบ้าง ไม่เสียบ้าง เจ็บกันบ่อยๆ เต็มที แต่ขอชมเชยว่ายาของฝรั่งเศสรักษาโรคประเภทนี้ก้าวหน้ากว่ายาชนิดนี้ของชาติอื่นๆ มาก สมัยอยู่เมืองไทยต้องใช้ยาหม้อแผนโบราณบ้าง…เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ค่อยกลัวโรคภัยพวกนี้อย่างไรนัก และก็ไม่ค่อยเลือกผู้หญิง เพราะเขาไม่ถือขนบธรรมเนียมอะไรกัน…”
กล่าวอีกอย่างคือ วรรณกรรมในรูปความทรงจำของพวกเขาได้พรรณนาถึงความทุกข์ยากให้คนรุ่นหลังเรียนรู้ พร้อมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่มีคุณค่าทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องราวครั้งนั้นได้ดียิ่งขึ้น
ข้อมูลทรงคุณค่าเหล่านั้นอาจนำไปสู่ความพยายามที่จะลบเรื่องราวบางอย่างออกไปจากประวัติศาสตร์ไทยก็เป็นไปได้
แหล่งที่มา: https://www.matichonweekly.com/column/article_491862?fbclid=IwAR2YqZU00iDAANt2hP9uwOO4ibifvBVlzzsr6xcnO_CgjxI87iZ5pFu5Kmw_aem_AaAoKaG-3jMlZvPuKq-d38x2C490EW-YjZPWnuI9qtj1wnnfTHHljQqBiSVa1CCtf3c50d5oR7x_4Jgqi41IWzp3
ขออนุญาต ตัดมาเฉพาะตอนที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง กบฎบวรเดช หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เท่านั้น เนื้อเรื่องเต็มอ่านได้ตามลิงก์ (สำหรับเนื้อความก่อนหน้านั้น ที่ไม่ได้เอามาลงในเมลนี้ คือ.... เผยชีวิต กบฎบวรเดชในอินโดจีน อ่านได้จากลิงก์ด้านบน)
ความพยายาม
ลบประวัติศาสตร์บางประการ
หากท่านเป็นนักค้นคว้า เมื่อเข้าไปค้นเรื่องกบฏบวรเดช จากการป้อนชื่อหนังสืออนุสรณ์งานศพของหลวงโหมรอนราญ (ตุ๊ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา) เข้าไปในระบบฐานข้อมูลห้องสมุดแห่งหนึ่ง ท่านอาจจะประหลาดใจที่พบว่า มีความพยายามในการฉีกลายเนื้อความที่ปรากฏในหนังสืองานศพของเขาจากบุคคลที่ต้องการปิดบังเรื่องราวนั้นมิให้ผู้อ่านภายหลังทราบ
ทั้งนี้ ในหนังสือนี้ หลวงโหมฯ บันทึกสิ่งที่เขารู้เห็นสิ่งสำคัญภายหลังการปฏิวัติ 2475 จากมุมมองของฝ่ายปฎิปักษ์คณะราษฎรไว้
เรื่องราวนี้ถูกพบจาก มิตรข้าพเจ้าเคยเข้าไปทำสำเนาในห้องสมุดแห่งนั้น พบว่า หนังสืองานศพของหลวงโหมฯ ทั้ง 2 เล่ม ทั้งที่ให้บริการในชั้นปกติและห้องหนังสือหายาก มีบางหน้าที่ถูกฉีกทำลายออกไปจากหนังสือเล่มนี้
แม้นว่าข้าพเจ้าจะเคยอ่านหนังสือเล่มนี้ แต่ไม่เคยสังเกตว่าถึงปัญหาดังกล่าว และอะไรคือเหตุจูงใจของผู้ทำลายข้อความนี้ จนกระทั่งมิตรได้ตรวจสอบเนื้อหานั้นกับฉบับสมบูรณ์เล่มอื่นจากห้องสมุดส่วนตัว จึงทราบว่า เรื่องที่หายไปคือ การประชุมที่ไกลกังวลในคืน 24 มิถุนายน 2475 ที่มีชื่อบุคคลชั้นนำหลายคนร่วมประชุมการรับมือกับการปฏิวัติในครั้งนั้น
ทั้งนี้ บริบทของข้อความในหน้าใกล้เคียงกันก่อนหน้า 39 นั้น หลวงโหมฯ กำลังเล่าถึงการปฏิวัติ 2475 ว่า ในวันนั้น เขาไปตรวจราชการที่ชุมพรพร้อม พล.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกต รองเสนาบดีกลาโหมและคณะ พวกเขาทราบจากโทรเลขว่า เกิดการเปลี่ยนการปกครองที่พระนคร พวกเขามาประชุมที่ไกลกังวล ต่อมา เขาสอบถามพระองค์เจ้าอลงกตถึงรายชื่อผู้ที่เข้าประชุมการตอบโต้สถานการณ์
แต่ข้อความในหน้าที่ 39 ของหนังสือที่ระบุรายชื่อเหล่านั้นกลับถูกฉีกทำลายไป จึงเป็นที่ฉงนว่า มีข้อความนั้นสำคัญเพียงใดจึงต้องถูกฉีกทำลาย
ต่อมา มิตรข้าพเจ้าตรวจสอบจากหนังสือที่เขามี จึงพบว่า ข้อความรายชื่อที่ถูกฉีกหายไปจากหน้า 39 ความว่า
“ในที่ประชุมมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธาน สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จกรมพระสวัสดิ์วัฒนพิศิษฐ์ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งเสด็จมาจากกรุงเทพฯ พล.อ.พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร เสนาบดีกระทรวงกลาโหม พล.อ.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกต รองเสนาบดีกระทรวงกลาโหม พล.ท.พระยาพิชัยสงคราม แม่ทัพกองทัพที่ 1 พล.ท.หม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล จรเรทหารบก พล.ต.พระยาอานุภาพไตรภพ ผู้บัญชากองพลที่ 3 นครราชสีมา”
นอกจากนี้ ในหนังสืองานศพเล่มนี้ หลวงโหมฯ ยังเล่าชีวิตส่วนตัวในอินโดจีนที่น่าสนใจ ไว้ว่า
“…การอยู่ในประเทศอินโดจีนนี้ผู้หญิงออกจะหาได้ง่ายมากเพราะคนญวนยากจน ละทิ้งขนบทำเนียบประเพณีเก่าๆ เสียมาก ยิ่งในเมืองไซ่ง่อนด้วยแล้วผู้หญิงราคาถูกมาก เวลาที่พวกเราไปอยู่จึงมักมีคนมาชวนให้มีเมีย และการขอเมียจากครอบครัวคนจนๆ ที่เมืองไซ่ง่อนนี้ คิดราคาดูแล้วการแต่งงานจะเสียเงินสัก 20-30 เหรียญ ซึ่งเทียบกับเงินไทยประมาณ 50 บาท ก็หาเมียสาวๆ ได้คนหนึ่ง
ตัวข้าพเจ้าเองนั้น เมื่อมาอยู่ในเมืองไซ่ง่อนคติเดิมที่ว่าจะไม่ยุ่งกับผู้หญิงที่ไม่คิดจะเลี้ยงเป็นลูกเป็นเมียก็เลิกไป มีคนแนะนำผู้หญิงมาให้บ่อยๆ และก็ไม่ต้องเลี้ยงดูกันนาน เขาได้เงินจากเรานิดๆ หน่อยๆ แล้วก็จากไป ผู้หญิงที่หาได้ง่ายๆ นั้น จึงมักจะมีโรคภัยไข้เจ็บมาปล่อยให้ผู้ชายเสมอ คราวหนึ่งข้าพเจ้าป่วยถึงกับเดินไม่ได้ ข้อเท้าและหัวเข่าบวมไปหมดเดินไม่ได้
แต่ข้าพเจ้าเป็นนักเที่ยวจึงคบกับเพื่อนที่เป็นพยาบาลตามโรงพยาบาลต่างๆ หลายคนมีโรคภัยไข้เจ็บ พวกเพื่อนๆ ก็มาช่วยฉีดยาให้ เสียเงินบ้าง ไม่เสียบ้าง เจ็บกันบ่อยๆ เต็มที แต่ขอชมเชยว่ายาของฝรั่งเศสรักษาโรคประเภทนี้ก้าวหน้ากว่ายาชนิดนี้ของชาติอื่นๆ มาก สมัยอยู่เมืองไทยต้องใช้ยาหม้อแผนโบราณบ้าง…เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ค่อยกลัวโรคภัยพวกนี้อย่างไรนัก และก็ไม่ค่อยเลือกผู้หญิง เพราะเขาไม่ถือขนบธรรมเนียมอะไรกัน…”
กล่าวอีกอย่างคือ วรรณกรรมในรูปความทรงจำของพวกเขาได้พรรณนาถึงความทุกข์ยากให้คนรุ่นหลังเรียนรู้ พร้อมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่มีคุณค่าทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องราวครั้งนั้นได้ดียิ่งขึ้น
ข้อมูลทรงคุณค่าเหล่านั้นอาจนำไปสู่ความพยายามที่จะลบเรื่องราวบางอย่างออกไปจากประวัติศาสตร์ไทยก็เป็นไปได้