วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 22, 2567
อาจารย์ยุติ พูดถึง ระบบนิติรัฐที่พึงเป็นของชาติเรา
Trai Ngoc Cam
18h ·
คิดอยู่นานว่าจะเขียนเรื่องนี้ดีไหม แต่คิดว่าเป็นประโยชน์กับสาธารณะ จึงเห็นว่าน่าจะเล่าไว้
อย่างที่เพื่อนๆ หลายคนคงรู้แล้วว่า เมื่อวานอัยการสั่งฟ้องคดี 112 ผม ผมจึงถูกนำตัวไปศาล แล้วไป “ห้องเวรชี้“
ในห้องนี้ ทนายและญาติไม่สามารถเข้าไปได้ ขั้นตอนดูจะเป็นงานธุรการของเจ้าหน้าที่ศาล ยังดีที่ขณะนี่ศาล (อาจไม่ทุกที่) ยอมให้โทรออกไปหาทนายได้ ติดต่อญาติได้ ญาติส่งข้าวส่งน้ำให้ได้ ไม่งั้นหิวตาย
เพราะกระบวนการทั้งหมดใช้เวลาเกือบ 6 ชั่วโมง ผมรอดมาได้เพราะหนังสือที่เพื่อนอาจารย์คนหนึ่งให้ยืมไปนั่งอ่านระหว่างรอ ซึ่งก็อ่านไปได้ตั้ง 100 หน้า
แต่หลังจากห้องเวรชี้ ก่อนจะได้ “ปล่อยตัวชั่วคราว” (แปลว่าเราผิดแล้วเหรอ ถึงได้ปล่อยชั่วคราว คำนี้ก็เป็นคำที่แย่และควรปรับแก้) จะต้องผ่านขั้น “คุ้มครองสิทธิ์”
โดยหลักการแล้ว เป็นการชี้แจงสิทธิ์ของศาลต่อจำเลย ถ้าไม่มีทนาย ก็จะแต่งตั้งทนายให้
แต่ๆๆ สิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องเข้าใจคือ
ในขั้นนี้ ผู้ต้องหาจะรู้สึกได้ทันทีว่า “เราถูกถือว่ากระทำผิดไปแล้ว” ตามสำนวนสั่งฟ้องของอัยการ ทั้งที่ในสำนวนนั้น ยังไม่มีคำให้การของผู้ต้องหาเลย
คือผู้ต้องหายังไม่ได้โต้แย้งคำกล่าวหาอะไรเลย ยังไม่ได้แต่งทนายด้วย แต่ผู้พิพากษา (มีท่าทีที่ชวนให้รู้สึกได้ว่า) พยายาม “หว่านล้อม” ให้รับสารภาพได้อย่างไร
ในขั้นตอนนี้ ผู้ต้องหาจึงต้องมีความมั่นใจด้วยตนเองว่า เราคือผู้บริสุทธิ์ อย่างหนักแน่น
ต้องปกป้องสิทธิ์ของเราเอง ด้วยตนเอง อย่างเข้มแข็ง ในกระบวนการที่เรียกว่า “คุ้มครองสิทธิ์” ไม่เช่นนั้น เราจะหมดโอกาสที่จะยืนยันความบริสุทธิ์ของเราไปในทันที
แม้จะยังไม่มีทนายก็ตาม
เรื่องนี้ควรจัดการให้เป็นหลักวิชาการและเรียกร้องต่อกระบวนการยุติธรรมให้เคารพสิทธิ์ของผู้ต้องหาอย่างยิ่ง (เห็นข่าวว่าเคยมีการสัมมนาเรื่องนี้ที่นิติศาสตร์ มธ แต่คิดว่ายังไม่ชัดเจนพอว่าขั้นตอนนี้มีปัญหาอย่างไร)
ผมจะไม่เล่ารายละเอียดที่นี้ แต่จะบอกเพื่อนๆ ว่า มันอันตรายมากหากปล่อยให้กระบวนการนี้ดำเนินไปแบบนี้ต่อไปในประเทศนี้
อย่างไรก็ตามขอบคุณทุกความห่วงใยและกำลังใจจากเพื่อนๆ ครับ ขอบคุณทุกคนที่ไปให้กำลังใจครับ
(https://www.facebook.com/ngoctrai.cam/posts/2735163619981539?ref=embed_post)