วันเสาร์, กรกฎาคม 01, 2566

คดี ‘วารุณี’ ม.๑๑๒ คนล่าสุด เป็นการตัดสินเพื่อ ‘ข่มขู่ให้หวาดกลัว’ ไม่ใช่กระบวนยุติธรรม

กรณีผู้ต้องหาคดี ม.๑๑๒ คนล่าสุด ที่ศาลไม่ยอมให้ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์ ด้วยข้ออ้างอย่างเดิมๆ “เป็นคดีมีโทษสูง...มีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี” เป็นอีกตัวอย่างที่ตอกย้ำว่า เป็นการตัดสินเพื่อ ข่มขู่ให้หวาดกลัว

“หนูโดนแบบนี้ หนูอาจจะทำผิดก็จริง อาจจะทำให้หลายคนไม่พอใจ แต่ลงโทษเกินไปหรือเปล่า” เจ้าตัวบอกกับศูนย์ทนายสิทธิมนุษยชน จากที่คุมขังในทัณฑสถานหญิงกลาง พร้อมเล่าถึงความขัดสน อาบน้ำลำบาก เบิกยาไม่ได้ ฯลฯ

ตอนนี้หนูไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากนอนกินภาษีประชาชน หนูสามารถออกไปทำงานแล้วเสียภาษีให้ประชาชน อยู่ในนี้แค่นอนรอให้เวลาผ่านไปแค่นั้น มันไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรเลยค่ะ เป็นเหตุอ้างที่แหวกแนวยิ่งนัก

หนูไม่ได้มีเจตนาร้าย และไม่เคยคิดว่าชีวิตต้องพังเพราะรูปๆ เดียว รูปภาพตัดต่อ ร.๑๐ เปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตเป็นชุดราตรียาวสีม่วง ยี่ห้อ Sirivannavariและมีภาพสุนัขผูกโบสีม่วงนั่งอยู่ด้านข้างๆ” ด้วย

คดีนี้มีนพดล พรหมภาสิต เลขาธิการศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด ‘bully’ ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.) เป็นผู้เข้าแจ้งความกับ ปอท.” เมื่อปี ๒๕๖๔ เป็นอีกข้อเท็จจริงทางคดี ที่ประหลาดตรงสังกัด “ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมาย”

เธอเป็น ผู้ป่วยอารมณ์สองขั้ว’ (bi-polar) “เป็นคนทั่วไปที่ใช้โซเชียลมีเดีย ไม่ได้เป็นนักกิจกรรมหรือมีบทบาททางการเมือง เธอมีชุมชนเพื่อนๆ อยู่ในเพจ น้องงเป็นกลุ่มที่ make fun กับทุกเรื่องแม้กระทั่งล้อเลียน หยกจนถูกตีตราว่า นางแบก

ศาลก็บ้องตื้นหรือไบโพล่าร์ตามไปด้วย แทนที่จะตัดสินให้ส่งตัวไปสถานบำบัดและเยียวยา กลับไม่ดูเหตุแห่งการที่เธอได้รับปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวน เพียงเพราะเป็นคดี ๑๑๒ ที่ไม่รับฟังข้อสันนิษฐานเบื้องต้นแห่งความบริสุทธิ์

นี่ไง มันจึงไม่ใช่กระบวนยุติธรรม หากแต่เป็นการลงทัณฑ์โดยไม่มีการพิจารณาคดี

(https://tlhr2014.com/archives/57129 และ https://tlhr2014.com/archives/41984)