Live : กิจกรรมการเมือง กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย #เห็นหัวกูบ้าง 27 ก.ค.66 ณ แยกราชประสงค์
Matichon TV
Streamed live 9 hours agoกิจกรรมการเมือง กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย #เห็นหัวกูบ้าง 27 ก.ค.66 ณ แยกราชประสงค์
.....
#ม็อบ27กรกฎา66 : #เห็นหัวกูบ้าง
ที่มา Mob Data
27 กรกฎาคม 2566
แยกราชประสงค์
จังหวัด กรุงเทพมหานคร
วัตถุประสงค์การชุมนุม
เรียกให้ส.ว.ออกเสียงเลือกนายกฯตามเจตจำนงของประชาชน
จำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุม
101-200
รายละเอียดการชุมนุมโดยสรุป
วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เวลา 17.00 น. ที่แยกราชประสงค์ เครือข่ายนักกิจกรรมเช่น โมกหลวงริมน้ำและกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตยจัดชุมนุม “เห็นหัวกูบ้าง” ก่อนเวลาเริ่มกิจกรรมตำรวจปิดสกายวอล์คราชประสงค์ เมื่อสอบถามตำรวจแจ้งว่า สกายวอล์คจะเปิดให้สัญจรอีกครั้งหลังการชุมนุมยุติ ซึ่งอาจเปิดให้บริการอีกครั้งในวันพรุ่งนี้เลยเนื่องจากการชุมนุมแจ้งไว้ถึงเวลา 22.00 น. พื้นที่ชุมนุมใช้พื้นผิวจราจรบางส่วนด้านหน้าเซ็นทรัลเวิร์ด การจราจรขาออกประตูน้ำยังคงเคลื่อนตัวได้ มีตำรวจคอยอำนวยความสะดวกเรื่องการจราจร รูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นการตั้งเวทีปราศรัย โดยมีตัวแทนจากกลุ่มต่างๆขึ้นมาปราศรัย นอกจากนี้ยังมีการพ่นข้อความถึงส.ว.ด้วยสีแดงบนถนนด้านหน้าเวทีและการแสดง “ประชาธิปไตยที่ถูกทำลายจากเผด็จการ”
ลำดับเหตุการณ์
เวลาประมาณ 17.00 น. ตัวแทนเริ่มทยอยเข้าพื้นที่ชุมนุม มีกาารปิดถนนบางส่วน แต่การจราจรยังคงเคลื่อนตัวไปได้
เวลา 17.20 น. นักกิจกรรมเพนท์ข้อความแสดงออกถึง #สว250 บนถนนด้านหน้าเวที
เวลา 17.50 น. ตัวแทนนำป้ายผ้าเขียนข้อความว่า “กูจะเอาประชาธิปไตย ไม่ใช่ราชาธิปไตย” ไปติดบริเวณสะพานลอยหน้าเซ็นทรัลเวิร์ด
เวลา 18.16 น. ตัวแทนกป.อพช. ขึ้นปราศรัย สมบูรณ์ คำแหงระบุเหตุผลถึงการออกมาชุมนุมว่า ต้องรวมตัวกันจนกว่าคนเหล่านั้นจะฟังเสียงพวกเรา
“ผมคิดว่า สถานการณ์ปัจจุบันค่อนข้างน่าเป็นห่วง เสียงของพวกเราได้ส่งเสียงไปวันที่ 14 พฤษภาคมกำลังจะถูกปล้นใช่ไหมพี่น้อง นี่คือเรื่องใหญ่ ผมคิดว่า สถานการณ์การเมือง ณ เวลานี้ถามใครๆก็ตอบยาก...ความหวังของพวกเราในฐานะขององค์กรภาพประชาชน เราไม่คิดไม่ฝันว่า พรรคก้าวไกลจะเป็นพรรคที่ได้คะแนนสูงสุดที่พูดไม่ได้หมายความว่า เราจะเชียร์พรรคก้าวไกล แต่สิ่งที่พวกผมในฐานะคนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม คนที่ทำงานด้านสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชนมาร่วม 20 30 ปี เราสัมผัสกับพรรคการเมืองแทบทุกพรรคในประเทศไทย เราก็รู้ว่า พรรคการเมืองแต่ละพรรคเขาคิดอะไรกันอยู่ ผมคิดว่า สิ่งหนึ่งที่ผ่านมาคนไทยประชาชนไทยหรือแม้กระทั่งประชาชนในชนบทแทบจะไม่มีความหวังกับพรรคการเมืองจนมาถึงยุคของคนรุ่นใหม่ที่มาเคลื่อนไหวทางการเมือง ในช่วงที่มีการเลือกตั้ง 2562 และได้รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชามาอันนั้นคือครั้งแรกที่พรรคเพื่อไทยในฐานะที่ได้คะแนนสูงสุดในเวลานั้นไม่สามารถเป็นรัฐบาลได้ สี่ปีที่ผ่านมาที่รัฐบาลประยุทธ์บริหารประเทศบวกกับก่อนหน้านั้นในฐานะคสช. 8-9 ปีที่ผ่านมา ผมคิดว่า เราไม่มีความหวัง...สี่ปีของการเป็นพรรคฝ่ายค้านของพรรคก้าวไกลผมคิดว่า พรรคนี้ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ทางการเมืองเอาไว้อย่างน่าสนใจมาก...ที่เขาสามารถเอาปัญหาของพี่น้องประชาชน เอาปัญหาของชาวบ้านไปอยู่ในกระบวนการรัฐสภาได้อย่างดีเยี่ยม หลายเรื่องถูกบรรจุอยู่ในวาระการประชุมแม้กระทั่งเรื่องจะนะ เรื่องบางกลอย นี่คือ ปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในการเมืองไทยไปก่อน”
“ในนามของภาคประชาชน ในนามขององค์กรพัฒนาเอกชน คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ กป.อพช. เราคุยกันว่า เราคงไม่สามารถทนเห็นเหตุการณ์ได้ สิ่งที่จะทำต่อไปจากนี้ผมคิดว่า พวกเรากำลังเฝ้ามองว่า บทสรุปสุดท้ายของรัฐบาลที่จัดตั้งใหม่มันเป็นอย่างไร ผมคิดว่า เมื่อถึงวันนั้นถ้าภาพสุดท้ายนั้นไม่ชอบธรรมด้วยเหตุผลทั้งปวง เราต้องออกมาช่วยกัน พวกผมในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานอยู่กับพี่น้องชาวบ้าน เราจะทำหน้าที่เชื่อมร้อยขบวนพี่น้องประชาชน จะชวนกันมาสมทบกันที่กรุงเทพฯ”
ณัฐวุฒิ อุปปะระบุว่า
“ดีใจที่ได้ออกมาร่วมต่อสู้กับพี่น้อง ถ้าเรานิยามว่า ชาติคือประชาชน อำนาจอธิปไตยต้องเป็นของประชาชน การเลือกตั้งที่ผ่านมาเจตจำนงของประชาชนชัดเจนว่า ต้องการกลับเข้าสู่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ดังนั้นวันนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่เราออกมาร่วมยืนยันว่า ประชาชนต้องเป็นเจ้าของประเทศ ไม่ใช่กลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคลใด...ครั้งหนึ่งหลังรัฐประหารคนที่ออกมาเป็นเพียงกลุ่มคนเล็กๆ กลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่วันนี้ตลอดระยะเวลาเก้าปีที่พวกเราถูกกระทำ เราเห็นพัฒนาการและคนที่กว้างขวางมากขึ้น วันนี้เชื่อได้ว่า เราไม่ได้ต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป คนทุกกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพได้ออกมายืนยันผ่านการเลือกตั้งส่งเสียงไปถึงพรรคการเมือง พอมาถึงช่วงจังหวะนี้หลังการเลือกตั้งพรรคการเมืองรวมตัวกันตามฉันทามติของประชาชน จะนำพาประเทศไปอยู่ประชาธิปไตย กลับข้างมาสู่ประชาธิปไตย 312 เสียง ดังนั้นตอนนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน ข้อเรียกร้องง่ายๆ” เขากล่าวเรียกร้องว่า จะไม่มีข้ออ้างใดๆ ที่มาแทรกแซงกระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรี ต้องจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยให้ได้ภายในวันที่ 4 สิงหาคม 2566 ส.ว.ต้องเห็นชอบแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่แปดพรรคร่วมรัฐบาลเสนอ ต้องไม่มีเงื่อนไขอื่นๆ หรือการพูดคุยเฉพาะกลุ่ม ต้องไม่ยกขึ้นเหนือเจตจำนงของประชาชน “ขอส่งเสียงถึงข่าวลือว่า ให้พรรคนั้นมองหน้าประชาชนที่เลือกให้พรรคนั้นมองดูพี่น้องที่มาต่อสู้ ให้พี่น้องมองดูแววตาของผู้ที่สูญเสียจากการต่อสู้ และให้พรรคนั้นไปเปิดวิดีโอดูในสิ่งที่ตัวเองพูดกับพี่น้องก่อนการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าครอบครัวที่บอกว่า ไม่ร่วมมือกับเผด็จการแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นแคนดิเดตนายกฯที่บอกว่า กูไม่เอามัน ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าพรรคแม้จะพูดเลียบเคียงๆ ห้าร้อยหกร้อยครั้ง อย่างไรก็ตามวันนี้เรายังจะเชื่ออยู่ว่า พรรคที่ตอนนี้ได้ฉันทามติให้จัดตั้งรัฐบาล วันที่ 4 นี้จะยึดมั่นในฉันทามติ ยึดมั่นในสิ่งที่รับปากประชาชน ผลักดันนายกฯฝั่งประชาธิปไตยที่มาจากแปดพรรคเท่านั้นไม่ต้องไม่อ้างมินต์ช็อคอะไรทั้งนั้น จะกินจะยิ้มเรื่องของคุณ แต่คุณไม่มีสิทธิกินแล้วทรยศประชาชน เราจะร่วมจับตาดูและต่อสู้กันต่อไป”
จากนั้นณัฐพร อาจหาญอ่านจดหมายเปิดผนึกถึงพรรคเพื่อไทยเรื่องขอให้ยึดมั่นฉันทามติของประชาชนจัดตั้งรัฐบาลแปดพรรคให้สำเร็จ
ปรากฏการณ์หลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 คือการแสดงออกซึ่งฉันทามติของประชาชน ที่ได้แสดงเจตจำนงให้พรรคการเมืองที่ยึดมั่นต่อแนวทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้นำพาประเทศให้หลุดพ้นจากยุคอำนาจนิยมภายใต้คราบเงาของเผด็จการทหาร และศักดินา
จากนั้นพรรคการเมืองที่ยืนยันเคารพหลักการประชาธิปไตย 8 พรรค ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 312 เสียง ภายใต้การนำของพรรคก้าวไกล ได้เสนอชื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี อันเป็นไปตามครรลองของกระบวนการตามระบบประชาธิปไตย แต่ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560 ที่มาจากรัฐบาลเผด็จการทหาร ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ทำลายหลักการประชาธิปไตยโดยการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ซึ่งมาจากการเเต่งตั้งมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นเหตุให้เกิดภาวะเสียง สว. 250 เสียง มีอำนาจมากกว่าเสียงประชาชน 26 ล้านเสียง ทำให้ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากมติของประชาชนได้ ซึ่งพวกเราต่างรู้กันดีว่าการขัดขวางของสมาชิกวุฒิสภาเป็นกลไกสืบทอดอำนาจของฝ่ายเผด็จการ และกลุ่มทุนศักดินา
เวลานี้ พรรคก้าวไกลได้มอบหมายภารกิจการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ให้กับ "พรรคเพื่อไทย" ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ยืนยันหลักการประชาธิปไตยเคารพเสียงประชาชน เป็นพรรคที่มาจากพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยเสียงข้างมาก รับหน้าที่เดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลของประชาชนต่อไป แม้จะมีความพยายามในการสร้างเงื่อนไขจากพรรคการเมืองเสียงข้างน้อยและจากสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ที่ฝักใฝ่เผด็จการ อ้างว่าหากยังมีพรรคก้าวไกลแล้ว ก็จะไม่สนับสนุนให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และไม่ออกเสียง "เห็นชอบ" ให้นายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยนั้น
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) เห็นว่าท่าทีของพรรคการเมืองเสียงข้างน้อยและสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เหล่านั้น เป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตย ฉุดรั้งไม่ให้เกิดรัฐบาลเสียงข้างมากเข้ามาบริหารประเทศ เราจึงมีข้อเรียกร้องดังนี้
เวลาประมาณ 18.50 น. ต๊ะ คฑาธร นักกิจกรรมจากกลุ่มอาชีวะพิทักษ์ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ถูกจับกุม กรณีมีระเบิดไว้ในครอบครอง ในขณะเดินทางเข้าร่วมงานรำลึก 12 ปีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2565 และถูกคุมขังระหว่างพิจารณาเรื่อยมาจนถึงวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 ขึ้นเวทีระบุว่า วันนี้ไม่ได้มาปราศรัย แต่อยากจะมาขอกำลังใจจากทุกคนในที่นี้และจะส่งต่อไปให้เพื่อนในเรือนจำเพราะกำลังใจจากด้านนอกมีค่าสำหรับพวกเขามาก
“อยู่ในนั้นพวกเราไม่ได้ทำอะไรเลยไม่ได้รับฟังข่าวสารอะไรเลย ไม่รู้ว่าเพื่อนๆข้างนอกเขาต่อสู้กันยังไง เขาโดนคดีกันเพิ่มหรือไม่ จนกระทั่งมีจดหมายเข้ามาเป็นจดหมายที่ให้กำลังใจพวกเรา เป็นจดหมายจากใครไม่รู้แต่พวกผมได้อ่านกัน ผมรู้สึกว่า ทำไมเขารักพวกเราจังว่ะ ทำไมพวกเขาเป็นห่วงเราจังเลย คุณเป็นใคร แม้แต่ชื่อเราก็ไม่รู้จัก สิ่งนี้ที่ทำให้ผมออกมาจากเรือนจำและออกมาต่อสู้ต่อกับเพื่อนๆ ตราบใดที่เพื่อนของผมยังเดินทางต่อสู้และยังมีคนที่ถูกดำเนินคดีอยู่ กูจะไม่ยอมก้มหัวให้พวกมึงหรอกเว้ย”
จากนั้นเขาขอให้ทุกคนเปิดแฟลชจากผู้เข้าร่วมชุมนุมระบุว่า เป็นแสงไฟจากอิสรภาพที่จะส่งไปให้เพื่อนข้างในเรือนจำ
เวลา 19.00 น. ไหม-ธนพร วิจันทร์กล่าวถึงกำหนดการเดินทางกลับบ้านของทักษิณ ชินวัตรว่า เป็นสิทธิที่จะกลับมาที่ประเทศไทย และไล่เรียงการปราบปรามนักการเมืองตั้งแต่การรัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา จากนั้นมีการแสดง “ประชาธิปไตยที่ถูกทำลายจากเผด็จการ” แทนฤทัย แท่นรัตน์และอันนา อันนานนท์ นักแสดงใช้สีแดงราดตัวระหว่างที่เชือกที่คล้องร่างกายชักรอกขึ้นเหนือเวที สมยศไล่เรียงเหตุการณ์ปี 2549 รัฐประหารทักษิณต้องลี้ภัยต่างประเทศ ปี 2553 คนเสื้อแดงถูกฆ่าตาย ปี 2557 ประยุทธ์ยึดอำนาจ ยิ่งลักษณ์ต้องไปจากประเทศไทย ปี 2562 ศาลรัฐธรรมนูญสั่งธนาธรงดปฏิบัติหน้าที่ ปี 2566 ศาลรัฐธรรมนูญสั่งงดปฏิบัติหน้าที่พิธา ทำลายอนาคตของประเทศแห่งนี้ ขอให้ทุกคนยืนตรงสงบนิ่งให้กับประชาธิปไตยของบ้านเราที่ถูกกระทำย่ำยีมาตลอด 17 ปี พี่น้องประชาชนถูกยิงตายที่ถนนราชดำเนินและราชประสงค์แห่งนี้ ขอพวกเรายืนสงบนิ่ง
27 กรกฎาคม 2566
แยกราชประสงค์
จังหวัด กรุงเทพมหานคร
วัตถุประสงค์การชุมนุม
เรียกให้ส.ว.ออกเสียงเลือกนายกฯตามเจตจำนงของประชาชน
จำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุม
101-200
รายละเอียดการชุมนุมโดยสรุป
วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เวลา 17.00 น. ที่แยกราชประสงค์ เครือข่ายนักกิจกรรมเช่น โมกหลวงริมน้ำและกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตยจัดชุมนุม “เห็นหัวกูบ้าง” ก่อนเวลาเริ่มกิจกรรมตำรวจปิดสกายวอล์คราชประสงค์ เมื่อสอบถามตำรวจแจ้งว่า สกายวอล์คจะเปิดให้สัญจรอีกครั้งหลังการชุมนุมยุติ ซึ่งอาจเปิดให้บริการอีกครั้งในวันพรุ่งนี้เลยเนื่องจากการชุมนุมแจ้งไว้ถึงเวลา 22.00 น. พื้นที่ชุมนุมใช้พื้นผิวจราจรบางส่วนด้านหน้าเซ็นทรัลเวิร์ด การจราจรขาออกประตูน้ำยังคงเคลื่อนตัวได้ มีตำรวจคอยอำนวยความสะดวกเรื่องการจราจร รูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นการตั้งเวทีปราศรัย โดยมีตัวแทนจากกลุ่มต่างๆขึ้นมาปราศรัย นอกจากนี้ยังมีการพ่นข้อความถึงส.ว.ด้วยสีแดงบนถนนด้านหน้าเวทีและการแสดง “ประชาธิปไตยที่ถูกทำลายจากเผด็จการ”
ลำดับเหตุการณ์
เวลาประมาณ 17.00 น. ตัวแทนเริ่มทยอยเข้าพื้นที่ชุมนุม มีกาารปิดถนนบางส่วน แต่การจราจรยังคงเคลื่อนตัวไปได้
เวลา 17.20 น. นักกิจกรรมเพนท์ข้อความแสดงออกถึง #สว250 บนถนนด้านหน้าเวที
เวลา 17.50 น. ตัวแทนนำป้ายผ้าเขียนข้อความว่า “กูจะเอาประชาธิปไตย ไม่ใช่ราชาธิปไตย” ไปติดบริเวณสะพานลอยหน้าเซ็นทรัลเวิร์ด
เวลา 18.16 น. ตัวแทนกป.อพช. ขึ้นปราศรัย สมบูรณ์ คำแหงระบุเหตุผลถึงการออกมาชุมนุมว่า ต้องรวมตัวกันจนกว่าคนเหล่านั้นจะฟังเสียงพวกเรา
“ผมคิดว่า สถานการณ์ปัจจุบันค่อนข้างน่าเป็นห่วง เสียงของพวกเราได้ส่งเสียงไปวันที่ 14 พฤษภาคมกำลังจะถูกปล้นใช่ไหมพี่น้อง นี่คือเรื่องใหญ่ ผมคิดว่า สถานการณ์การเมือง ณ เวลานี้ถามใครๆก็ตอบยาก...ความหวังของพวกเราในฐานะขององค์กรภาพประชาชน เราไม่คิดไม่ฝันว่า พรรคก้าวไกลจะเป็นพรรคที่ได้คะแนนสูงสุดที่พูดไม่ได้หมายความว่า เราจะเชียร์พรรคก้าวไกล แต่สิ่งที่พวกผมในฐานะคนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม คนที่ทำงานด้านสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชนมาร่วม 20 30 ปี เราสัมผัสกับพรรคการเมืองแทบทุกพรรคในประเทศไทย เราก็รู้ว่า พรรคการเมืองแต่ละพรรคเขาคิดอะไรกันอยู่ ผมคิดว่า สิ่งหนึ่งที่ผ่านมาคนไทยประชาชนไทยหรือแม้กระทั่งประชาชนในชนบทแทบจะไม่มีความหวังกับพรรคการเมืองจนมาถึงยุคของคนรุ่นใหม่ที่มาเคลื่อนไหวทางการเมือง ในช่วงที่มีการเลือกตั้ง 2562 และได้รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชามาอันนั้นคือครั้งแรกที่พรรคเพื่อไทยในฐานะที่ได้คะแนนสูงสุดในเวลานั้นไม่สามารถเป็นรัฐบาลได้ สี่ปีที่ผ่านมาที่รัฐบาลประยุทธ์บริหารประเทศบวกกับก่อนหน้านั้นในฐานะคสช. 8-9 ปีที่ผ่านมา ผมคิดว่า เราไม่มีความหวัง...สี่ปีของการเป็นพรรคฝ่ายค้านของพรรคก้าวไกลผมคิดว่า พรรคนี้ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ทางการเมืองเอาไว้อย่างน่าสนใจมาก...ที่เขาสามารถเอาปัญหาของพี่น้องประชาชน เอาปัญหาของชาวบ้านไปอยู่ในกระบวนการรัฐสภาได้อย่างดีเยี่ยม หลายเรื่องถูกบรรจุอยู่ในวาระการประชุมแม้กระทั่งเรื่องจะนะ เรื่องบางกลอย นี่คือ ปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในการเมืองไทยไปก่อน”
“ในนามของภาคประชาชน ในนามขององค์กรพัฒนาเอกชน คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ กป.อพช. เราคุยกันว่า เราคงไม่สามารถทนเห็นเหตุการณ์ได้ สิ่งที่จะทำต่อไปจากนี้ผมคิดว่า พวกเรากำลังเฝ้ามองว่า บทสรุปสุดท้ายของรัฐบาลที่จัดตั้งใหม่มันเป็นอย่างไร ผมคิดว่า เมื่อถึงวันนั้นถ้าภาพสุดท้ายนั้นไม่ชอบธรรมด้วยเหตุผลทั้งปวง เราต้องออกมาช่วยกัน พวกผมในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานอยู่กับพี่น้องชาวบ้าน เราจะทำหน้าที่เชื่อมร้อยขบวนพี่น้องประชาชน จะชวนกันมาสมทบกันที่กรุงเทพฯ”
ณัฐวุฒิ อุปปะระบุว่า
“ดีใจที่ได้ออกมาร่วมต่อสู้กับพี่น้อง ถ้าเรานิยามว่า ชาติคือประชาชน อำนาจอธิปไตยต้องเป็นของประชาชน การเลือกตั้งที่ผ่านมาเจตจำนงของประชาชนชัดเจนว่า ต้องการกลับเข้าสู่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ดังนั้นวันนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่เราออกมาร่วมยืนยันว่า ประชาชนต้องเป็นเจ้าของประเทศ ไม่ใช่กลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคลใด...ครั้งหนึ่งหลังรัฐประหารคนที่ออกมาเป็นเพียงกลุ่มคนเล็กๆ กลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่วันนี้ตลอดระยะเวลาเก้าปีที่พวกเราถูกกระทำ เราเห็นพัฒนาการและคนที่กว้างขวางมากขึ้น วันนี้เชื่อได้ว่า เราไม่ได้ต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป คนทุกกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพได้ออกมายืนยันผ่านการเลือกตั้งส่งเสียงไปถึงพรรคการเมือง พอมาถึงช่วงจังหวะนี้หลังการเลือกตั้งพรรคการเมืองรวมตัวกันตามฉันทามติของประชาชน จะนำพาประเทศไปอยู่ประชาธิปไตย กลับข้างมาสู่ประชาธิปไตย 312 เสียง ดังนั้นตอนนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน ข้อเรียกร้องง่ายๆ” เขากล่าวเรียกร้องว่า จะไม่มีข้ออ้างใดๆ ที่มาแทรกแซงกระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรี ต้องจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยให้ได้ภายในวันที่ 4 สิงหาคม 2566 ส.ว.ต้องเห็นชอบแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่แปดพรรคร่วมรัฐบาลเสนอ ต้องไม่มีเงื่อนไขอื่นๆ หรือการพูดคุยเฉพาะกลุ่ม ต้องไม่ยกขึ้นเหนือเจตจำนงของประชาชน “ขอส่งเสียงถึงข่าวลือว่า ให้พรรคนั้นมองหน้าประชาชนที่เลือกให้พรรคนั้นมองดูพี่น้องที่มาต่อสู้ ให้พี่น้องมองดูแววตาของผู้ที่สูญเสียจากการต่อสู้ และให้พรรคนั้นไปเปิดวิดีโอดูในสิ่งที่ตัวเองพูดกับพี่น้องก่อนการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าครอบครัวที่บอกว่า ไม่ร่วมมือกับเผด็จการแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นแคนดิเดตนายกฯที่บอกว่า กูไม่เอามัน ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าพรรคแม้จะพูดเลียบเคียงๆ ห้าร้อยหกร้อยครั้ง อย่างไรก็ตามวันนี้เรายังจะเชื่ออยู่ว่า พรรคที่ตอนนี้ได้ฉันทามติให้จัดตั้งรัฐบาล วันที่ 4 นี้จะยึดมั่นในฉันทามติ ยึดมั่นในสิ่งที่รับปากประชาชน ผลักดันนายกฯฝั่งประชาธิปไตยที่มาจากแปดพรรคเท่านั้นไม่ต้องไม่อ้างมินต์ช็อคอะไรทั้งนั้น จะกินจะยิ้มเรื่องของคุณ แต่คุณไม่มีสิทธิกินแล้วทรยศประชาชน เราจะร่วมจับตาดูและต่อสู้กันต่อไป”
จากนั้นณัฐพร อาจหาญอ่านจดหมายเปิดผนึกถึงพรรคเพื่อไทยเรื่องขอให้ยึดมั่นฉันทามติของประชาชนจัดตั้งรัฐบาลแปดพรรคให้สำเร็จ
ปรากฏการณ์หลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 คือการแสดงออกซึ่งฉันทามติของประชาชน ที่ได้แสดงเจตจำนงให้พรรคการเมืองที่ยึดมั่นต่อแนวทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้นำพาประเทศให้หลุดพ้นจากยุคอำนาจนิยมภายใต้คราบเงาของเผด็จการทหาร และศักดินา
จากนั้นพรรคการเมืองที่ยืนยันเคารพหลักการประชาธิปไตย 8 พรรค ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 312 เสียง ภายใต้การนำของพรรคก้าวไกล ได้เสนอชื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี อันเป็นไปตามครรลองของกระบวนการตามระบบประชาธิปไตย แต่ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560 ที่มาจากรัฐบาลเผด็จการทหาร ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ทำลายหลักการประชาธิปไตยโดยการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ซึ่งมาจากการเเต่งตั้งมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นเหตุให้เกิดภาวะเสียง สว. 250 เสียง มีอำนาจมากกว่าเสียงประชาชน 26 ล้านเสียง ทำให้ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากมติของประชาชนได้ ซึ่งพวกเราต่างรู้กันดีว่าการขัดขวางของสมาชิกวุฒิสภาเป็นกลไกสืบทอดอำนาจของฝ่ายเผด็จการ และกลุ่มทุนศักดินา
เวลานี้ พรรคก้าวไกลได้มอบหมายภารกิจการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ให้กับ "พรรคเพื่อไทย" ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ยืนยันหลักการประชาธิปไตยเคารพเสียงประชาชน เป็นพรรคที่มาจากพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยเสียงข้างมาก รับหน้าที่เดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลของประชาชนต่อไป แม้จะมีความพยายามในการสร้างเงื่อนไขจากพรรคการเมืองเสียงข้างน้อยและจากสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ที่ฝักใฝ่เผด็จการ อ้างว่าหากยังมีพรรคก้าวไกลแล้ว ก็จะไม่สนับสนุนให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และไม่ออกเสียง "เห็นชอบ" ให้นายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยนั้น
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) เห็นว่าท่าทีของพรรคการเมืองเสียงข้างน้อยและสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เหล่านั้น เป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตย ฉุดรั้งไม่ให้เกิดรัฐบาลเสียงข้างมากเข้ามาบริหารประเทศ เราจึงมีข้อเรียกร้องดังนี้
- พรรคการเมืองและสมาชิกวุฒิสภา จะต้องหยุดสร้างเงื่อนไขและเบี่ยงเจตนาการเสนอนโยบายเรื่องการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าเป็นแนวคิดที่ต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่านั่นเป็นเพียงข้ออ้างที่จะทำลายเสียงของประชาชนกว่า 26 ล้านเสียง การรักษาพระเกียรติของพระบรมวงศานุวงศ์ให้คงอยู่กับการเมืองไทยได้อย่างสง่างามนั้น ส.ส. และ สว.ต้องไม่นำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง อย่างที่พวกท่านทั้งหลายกำลังใช้กันอยู่ในเวลานี้ และเรียกร้องให้ สว. หยุดฉุดรั้งความเจริญของประเทศ หยุดขัดขวางการตั้งรัฐบาลที่มาจากประชาชน หากท่านเคารพว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ต้องออกเสียง "เห็นชอบ" ให้กับนายกรัฐมนตรี จาก 8 พรรคเสียงข้างมาก หรือ ลาออกไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อการเลือกนายกรัฐมนตรีของประชาชน
- ขอให้พรรคเพื่อไทย ยืนหยัดการจัดตั้งรัฐบาลร่วมทั้ง 8 พรรคเดิม ตามที่ได้ทำข้อตกลง (MOU) กันไว้ และได้ประกาศให้ประชาชนรับทราบก่อนหน้านี้ และโปรดอย่าหวั่นไหวต่อแรงกดดันนอกระบบใดๆ ในขณะนี้ การยืนยันบนหลักการประชาธิปไตยเคารพเสียงของประชาชนเท่านั้น ที่จะทำให้พรรคเพื่อไทยสามารถรักษาศรัทธาต่อประชาชนที่ได้ลงคะเเนนเสียงให้พรรค และเป็นความหวังให้กับประชาชนทั้งประเทศ พวกเราประชาชนพร้อมที่จะยืนหยัดต่อสู้รักษาหลักการประชาธิปไตย เพื่อให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เคารพผลการเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรีต้องมาจากเสียงประชาชนเท่านั้น
เวลาประมาณ 18.50 น. ต๊ะ คฑาธร นักกิจกรรมจากกลุ่มอาชีวะพิทักษ์ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ถูกจับกุม กรณีมีระเบิดไว้ในครอบครอง ในขณะเดินทางเข้าร่วมงานรำลึก 12 ปีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2565 และถูกคุมขังระหว่างพิจารณาเรื่อยมาจนถึงวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 ขึ้นเวทีระบุว่า วันนี้ไม่ได้มาปราศรัย แต่อยากจะมาขอกำลังใจจากทุกคนในที่นี้และจะส่งต่อไปให้เพื่อนในเรือนจำเพราะกำลังใจจากด้านนอกมีค่าสำหรับพวกเขามาก
“อยู่ในนั้นพวกเราไม่ได้ทำอะไรเลยไม่ได้รับฟังข่าวสารอะไรเลย ไม่รู้ว่าเพื่อนๆข้างนอกเขาต่อสู้กันยังไง เขาโดนคดีกันเพิ่มหรือไม่ จนกระทั่งมีจดหมายเข้ามาเป็นจดหมายที่ให้กำลังใจพวกเรา เป็นจดหมายจากใครไม่รู้แต่พวกผมได้อ่านกัน ผมรู้สึกว่า ทำไมเขารักพวกเราจังว่ะ ทำไมพวกเขาเป็นห่วงเราจังเลย คุณเป็นใคร แม้แต่ชื่อเราก็ไม่รู้จัก สิ่งนี้ที่ทำให้ผมออกมาจากเรือนจำและออกมาต่อสู้ต่อกับเพื่อนๆ ตราบใดที่เพื่อนของผมยังเดินทางต่อสู้และยังมีคนที่ถูกดำเนินคดีอยู่ กูจะไม่ยอมก้มหัวให้พวกมึงหรอกเว้ย”
จากนั้นเขาขอให้ทุกคนเปิดแฟลชจากผู้เข้าร่วมชุมนุมระบุว่า เป็นแสงไฟจากอิสรภาพที่จะส่งไปให้เพื่อนข้างในเรือนจำ
เวลา 19.00 น. ไหม-ธนพร วิจันทร์กล่าวถึงกำหนดการเดินทางกลับบ้านของทักษิณ ชินวัตรว่า เป็นสิทธิที่จะกลับมาที่ประเทศไทย และไล่เรียงการปราบปรามนักการเมืองตั้งแต่การรัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา จากนั้นมีการแสดง “ประชาธิปไตยที่ถูกทำลายจากเผด็จการ” แทนฤทัย แท่นรัตน์และอันนา อันนานนท์ นักแสดงใช้สีแดงราดตัวระหว่างที่เชือกที่คล้องร่างกายชักรอกขึ้นเหนือเวที สมยศไล่เรียงเหตุการณ์ปี 2549 รัฐประหารทักษิณต้องลี้ภัยต่างประเทศ ปี 2553 คนเสื้อแดงถูกฆ่าตาย ปี 2557 ประยุทธ์ยึดอำนาจ ยิ่งลักษณ์ต้องไปจากประเทศไทย ปี 2562 ศาลรัฐธรรมนูญสั่งธนาธรงดปฏิบัติหน้าที่ ปี 2566 ศาลรัฐธรรมนูญสั่งงดปฏิบัติหน้าที่พิธา ทำลายอนาคตของประเทศแห่งนี้ ขอให้ทุกคนยืนตรงสงบนิ่งให้กับประชาธิปไตยของบ้านเราที่ถูกกระทำย่ำยีมาตลอด 17 ปี พี่น้องประชาชนถูกยิงตายที่ถนนราชดำเนินและราชประสงค์แห่งนี้ ขอพวกเรายืนสงบนิ่ง
ขอไว้อาลัยแด่ทุกชีวิตที่ดับสูญ ณ ถนนแห่งนี้
— JNISS🏗 (@Jniisss_zJo) July 27, 2023
ไว้อาลัยกับทุกชีวิตที่สูญสิ้นจากพวกเผด็จการปรสิต
ไว้อาลัยกับกระบวนการยุติธรรมและพวกนักการเมือง นายทุน ลิ่วล้อเผด็จการ ที่ปล้นอำนาจจากประชาชนไปอย่างไร้ยางอาย#เห็นหัวกูบ้าง #ม็อบ27กรกฎา66 #กรรมกรข่าวคุยนอกจอ pic.twitter.com/uSwLo3iRVl