วันอาทิตย์, กรกฎาคม 30, 2566

ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา จากการวิเคราะห์ของ @naponjatu และ @kenlwrites พบว่า ประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยเลือกผู้สมัคร สส.เขตจากพรรคการเมืองคนละพรรคกับที่ตนเลือกในแบบบัญชีรายชื่ออย่างมีนัยสำคัญ คนที่รักไม่ได้สังกัดพรรคที่ชอบเสมอไป


Napon Jatusripitak @naponjatu
“เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ” จากการวิเคราะห์ของผมและ
@kenlwrites เราพบว่าในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยเลือกผู้สมัคร สส.เขตจากพรรคการเมืองคนละพรรคกับที่ตนเลือกในแบบบัญชีรายชื่ออย่างมีนัยสำคัญ คนที่รักไม่ได้สังกัดพรรคที่ชอบเสมอไป (1)


Assume ว่าส่วนต่างระหว่างคะแนนเขตกับคะแนนพรรคไม่ได้มาจากการกาผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือบัตรเสีย เราพบว่า #ก้าวไกล #เพื่อไทย และ #รวมไทยสร้างชาติ ได้รับอานิสงส์ในรูปแบบของคะแนนบัญชีรายชื่อที่เพิ่มขึ้นมาจากการ split ballot โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ #ภูมิใจไทย และ #พลังประชารัฐ (2)

เมื่อเทียบพรรคที่ชนะสส.เขตกับพรรคที่ได้คะแนนบัญชีรายชื่ออันดับหนึ่งในแต่ละเขต เราพบปรากฏการณ์ #หนึ่งเขตสองพรรค (one constituency, two parties) ใน 186 จาก 400 เขต โดยที่ในบางพื้นที่พรรคที่ชนะเขตกับพรรคที่ชนะบัญชีรายชื่อมาจากคนละขั้วอุดมการณ์ เช่น รทสช.ชนะ 13 เขตที่กก.มาที่ 1 (3)


เราตีความว่าปรากฏการณ์นี้สะท้อนถึงกระแสความยึดโยงต่อพรรคการเมือง และอิทธิพล/ศักยภาพของผู้สมัครที่ไม่เท่ากันในแต่ละพรรค-แต่ละพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่นบ้านใหญ่บางตระกูลที่สามารถเอาชนะได้ทุกเขตในจังหวัดโดยที่ก้าวไกลชนะบัญชีรายชื่อทั้งจังหวัด (4)


แต่คำถามสำคัญคือ นี่คือสัญญาณบ่งบอกถึงความเข้มแข็งของบ้านใหญ่ในการผูกขาดการเมืองในระดับพื้นที่ หรือหมายถึงการรอดมาได้แบบหืดขึ้นคอโดยอาศัยระบบเลือกตั้งแบบคู่ขนาน จะมีอะไรการันตีได้ว่ารอบหน้าจะไม่ถูกโค่นล้มเช่นเดียวกับบ้านใหญ่ในระยอง ชลบุรี และสมุทรปราการ (5)