Voice TV
7h
·
ความเห็น ‘วรเจตน์’ ท่ามกลางหลากความเห็นกูรูกฎหมาย ศาลรธน.จะรับคำร้องผู้ตรวจการหรือไม่ ?
อ่านได้ที่ https://www.voicetv.co.th/read/Mfg8X-Zvl
ประเด็นล่าสุดของกระบวนการโหวตนายกฯ คือ การที่ สว. ยกข้อบังคับการประชุมรัฐสภาที่ 41 ขึ้นมาว่า การโหวตนายกฯ เป็น ‘ญัตติ’ จึงเข้าข่ายข้อ 41 ที่ระบุว่า ‘ญัตติที่มีหลักการเดียวกันจะเสนอซ้ำไม่ได้’ จึงโหวตพิธาซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ไม่ได้ และท้ายที่สุดจบด้วยการโหวตของสมาชิกรัฐสภา และฝ่าย ส.ว.ผู้ตั้งประเด็นชนะโหวตในที่สุด และต่อมามีผู้ไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ตรวจการฯ จึงส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อชี้ว่า มติรัฐสภาดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
เรื่องนี้จึงมีเรื่องต้องถกเถียง 2 ระดับคือ
● การโหวตนายกฯ ถือเป็น ‘ญัตติ’ หรือไม่ และเข้าเงื่อนไขของข้อบังคับ 41 หรือไม่?
● ศาลรัฐธรรมนูญจะรับเรื่องหรือไม่ หลังจากที่บุคคลทั่วไป หรือ สส.ก้าวไกลจำนวนหนึ่ง ร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน แล้วผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ?
ในเบื้องต้น นักกฎหมายชื่อดังอย่าง ‘บวรศักดิ์ อุวรรณโณ’ ระบุว่า กระบวนการของผู้ตรวจการนั้นชอบแล้ว ศาลรับพิจารณาได้เพราะรัฐสภาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญเช่นกัน ส่วน ‘จรัญ ภักดีธนากุล’ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบอกว่า เรื่องนี้ยื่นได้ แต่ศาลย่อมไม่อาจรับได้ เพราะไม่อาจก้าวก่ายรัฐสภาซึ่งเป็นอีกหนึ่งอำนาจอธิปไตย
‘วอยซ์’ พูดคุยกับ ศ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าตีความเรื่องนี้อย่างไร เพื่อเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายของการตีความหลักกฎหมาย
โดยสรุปอย่างสั้นที่สุดและหยาบที่สุดได้ว่า
● 1. ข้อบังคับ 41 ไม่เกี่ยวข้องกับการโหวตนายกฯ เพราะเป็นการเสนอชื่อบุคคล ไม่ใช่ ‘ญัตติซึ่งมีหลักการเดียวกัน’ ตามที่ข้อบังคับ 41 กำหนดไว้ว่าห้ามเสนอซ้ำ ข้อบังคับนี้ใช้กับเรื่องต่างๆ เช่น เสนอญัตติของอนุมัติให้เลือกบุคคลนอกบัญชีแคนดิเดตนายกฯ ซึ่งเป็นเรื่องหลักการ ไม่ใช่การเสนอบุคคล
“ปัญหาอยู่ที่ตัวบทข้อ 41 เองว่าอยู่ในความหมายของ "ญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกัน" หรือเปล่า ซึ่งผมเห็นว่ามันไม่อยู่ในความหมายของ 'ญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกัน' ข้อ 41 มุ่งหมายถึง 'เรื่อง' ที่มีการเสนอ แต่กรณีคุณพิธา เป็นการเสนอตัวบุคคลให้มีการโหวต การเสนอตัวบุคคลมันจะมีหลักการได้ยังไง ถ้าเป็น 'เรื่อง' มันจะมีตัวกำหนดว่าหลักการเรื่องนั้นคืออะไร แต่นี่ไม่มีหลักการอะไรเลย เป็นเพียงการเสนอชื่อบุคคลเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภาให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกฯ กรณีนี้จึงไม่ใช่เรื่องของข้อ 41 เลยตั้งแต่ต้น ต่อให้มองว่าเป็นญัตติก็ตาม มันก็ไม่ใช่เป็นญัตติในความหมายของข้อ 41 หรือโดยความมุ่งหมายของข้อบังคับข้อ 41 เรื่องนี้เห็นได้จากกระบวนการเลือกนายกฯ ถูกเขียนแยกเป็นหมวดๆ หนึ่งในข้อบังคับการประชุม สำหรับตัวบุคคลถ้าจะห้ามเสนอซ้ำ ต้องเขียนห้ามไว้โดยชัดแจ้ง”
"ฉะนั้นตัวญัตติของรัฐสภาในวันนั้นจึงมีปัญหา ประเด็นการตีความข้อบังคับการประชุมรัฐสภาในทางที่มีผลในทางทำให้คุณพิธาไม่ได้รับการเสนอชื่ออีกครั้งหนึ่ง มันถูกต้องไหม สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญไหม ผมก็เห็นว่าไม่ถูก แต่เพราะเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อ 41 เลย"
● 2. จากที่มีผู้ให้ความเห็นว่าโดยหลักการศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยก้าวก่ายมติรัฐสภาไม่ได้นั้น เป็นหลักการจริง โดยเฉพาะเมื่อข้อบังคับการประชุมเป็นวงงานของรัฐสภาที่สมาชิกต้องตัดสินใจและโหวตกันเอง ไม่ได้กระทบสิทธิบุคคลใด แต่กรณีการลงมติ ‘ห้ามโหวตซ้ำแคนดิเดตนายกฯ’ นั้นกระทบสิทธิบุคคล
● 3. บุคคลที่ถูกกระทบสิทธิในกรณีนี้คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เนื่องจากมติของสภา (ไม่ใช่ตัวข้อบังคับ) มีผลตัดสิทธิการเสนอชื่อเป็นแคนดิเดตนายกฯ อีกครั้ง ซึ่งเรื่องนี้มีรายละเอียดในการพิจารณาอีกหลายประเด็นว่า ทำไมจึงไม่นับรวมถึง สส.ก้าวไกลหรือกระทั่งประชาชนทั่วไปที่รู้สึกถูกกระทบสิทธิแล้วไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดินได้ การตีความเช่นนี้ยังคงมีความจำเป็น หากตีความกว้างขวาง ประเด็นข้อกฎหมายจะกลายเป็นประเด็นการเมืองไปหมด และจะเกิดนักร้องเต็มแผ่นดิน
● 4. ดังนั้น ในความเห็นของวรเจตน์ มีความเป็นไปได้ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับคำต้องของผู้ตรวจการฯ ในประเด็นที่ว่า ผู้ร้องไม่ใช่ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่หากเป็นพิธาร้องเองจะมีโอกาสน้อยมากที่ศาลจะไม่รับเรื่องไว้พิจารณา โดยต้องยื่นผู้ตรวจการภายใน 90 วันหลังวันลงมติ (19 ก.ค.)
● 5. “เวลาเราจะวิเคราะห์กฎหมายตอนนี้ เราต้องเข้าใจว่ามันมีข้อจำกัดมากขึ้น เพราะว่าฝ่ายที่เขากุมอำนาจทางการเมือง และกำกับการเขียนกติการัฐธรรมนูญ เขาได้แก้กติกาบางอย่างไปแล้ว การต่อสู้ในสนามกฎหมายเลยมีข้อจำกัดมากขึ้น บางอย่างเราต่อสู้ในสนามกฎหมาย มันสู้ไม่ได้เพราะเขากุมอำนาจการเขียนกฎหมายไว้แล้ว แต่การกุมอำนาจการเขียนมันกุมไม่ได้หมด ยังมีพื้นที่ในการตีความ เถียงกันได้อยู่ แล้วตรงนี้เองหลักวิชาจะช่วยเราได้”
รายละเอียดของคำอธิบายทางกฎหมายมีเป็นจำนวนมาก สามารถอ่านเต็มๆ ได้ที่
https://www.voicetv.co.th/read/Mfg8X-Zvl
·
ความเห็น ‘วรเจตน์’ ท่ามกลางหลากความเห็นกูรูกฎหมาย ศาลรธน.จะรับคำร้องผู้ตรวจการหรือไม่ ?
อ่านได้ที่ https://www.voicetv.co.th/read/Mfg8X-Zvl
ประเด็นล่าสุดของกระบวนการโหวตนายกฯ คือ การที่ สว. ยกข้อบังคับการประชุมรัฐสภาที่ 41 ขึ้นมาว่า การโหวตนายกฯ เป็น ‘ญัตติ’ จึงเข้าข่ายข้อ 41 ที่ระบุว่า ‘ญัตติที่มีหลักการเดียวกันจะเสนอซ้ำไม่ได้’ จึงโหวตพิธาซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ไม่ได้ และท้ายที่สุดจบด้วยการโหวตของสมาชิกรัฐสภา และฝ่าย ส.ว.ผู้ตั้งประเด็นชนะโหวตในที่สุด และต่อมามีผู้ไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ตรวจการฯ จึงส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อชี้ว่า มติรัฐสภาดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
เรื่องนี้จึงมีเรื่องต้องถกเถียง 2 ระดับคือ
● การโหวตนายกฯ ถือเป็น ‘ญัตติ’ หรือไม่ และเข้าเงื่อนไขของข้อบังคับ 41 หรือไม่?
● ศาลรัฐธรรมนูญจะรับเรื่องหรือไม่ หลังจากที่บุคคลทั่วไป หรือ สส.ก้าวไกลจำนวนหนึ่ง ร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน แล้วผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ?
ในเบื้องต้น นักกฎหมายชื่อดังอย่าง ‘บวรศักดิ์ อุวรรณโณ’ ระบุว่า กระบวนการของผู้ตรวจการนั้นชอบแล้ว ศาลรับพิจารณาได้เพราะรัฐสภาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญเช่นกัน ส่วน ‘จรัญ ภักดีธนากุล’ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบอกว่า เรื่องนี้ยื่นได้ แต่ศาลย่อมไม่อาจรับได้ เพราะไม่อาจก้าวก่ายรัฐสภาซึ่งเป็นอีกหนึ่งอำนาจอธิปไตย
‘วอยซ์’ พูดคุยกับ ศ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าตีความเรื่องนี้อย่างไร เพื่อเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายของการตีความหลักกฎหมาย
โดยสรุปอย่างสั้นที่สุดและหยาบที่สุดได้ว่า
● 1. ข้อบังคับ 41 ไม่เกี่ยวข้องกับการโหวตนายกฯ เพราะเป็นการเสนอชื่อบุคคล ไม่ใช่ ‘ญัตติซึ่งมีหลักการเดียวกัน’ ตามที่ข้อบังคับ 41 กำหนดไว้ว่าห้ามเสนอซ้ำ ข้อบังคับนี้ใช้กับเรื่องต่างๆ เช่น เสนอญัตติของอนุมัติให้เลือกบุคคลนอกบัญชีแคนดิเดตนายกฯ ซึ่งเป็นเรื่องหลักการ ไม่ใช่การเสนอบุคคล
“ปัญหาอยู่ที่ตัวบทข้อ 41 เองว่าอยู่ในความหมายของ "ญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกัน" หรือเปล่า ซึ่งผมเห็นว่ามันไม่อยู่ในความหมายของ 'ญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกัน' ข้อ 41 มุ่งหมายถึง 'เรื่อง' ที่มีการเสนอ แต่กรณีคุณพิธา เป็นการเสนอตัวบุคคลให้มีการโหวต การเสนอตัวบุคคลมันจะมีหลักการได้ยังไง ถ้าเป็น 'เรื่อง' มันจะมีตัวกำหนดว่าหลักการเรื่องนั้นคืออะไร แต่นี่ไม่มีหลักการอะไรเลย เป็นเพียงการเสนอชื่อบุคคลเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภาให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกฯ กรณีนี้จึงไม่ใช่เรื่องของข้อ 41 เลยตั้งแต่ต้น ต่อให้มองว่าเป็นญัตติก็ตาม มันก็ไม่ใช่เป็นญัตติในความหมายของข้อ 41 หรือโดยความมุ่งหมายของข้อบังคับข้อ 41 เรื่องนี้เห็นได้จากกระบวนการเลือกนายกฯ ถูกเขียนแยกเป็นหมวดๆ หนึ่งในข้อบังคับการประชุม สำหรับตัวบุคคลถ้าจะห้ามเสนอซ้ำ ต้องเขียนห้ามไว้โดยชัดแจ้ง”
"ฉะนั้นตัวญัตติของรัฐสภาในวันนั้นจึงมีปัญหา ประเด็นการตีความข้อบังคับการประชุมรัฐสภาในทางที่มีผลในทางทำให้คุณพิธาไม่ได้รับการเสนอชื่ออีกครั้งหนึ่ง มันถูกต้องไหม สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญไหม ผมก็เห็นว่าไม่ถูก แต่เพราะเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อ 41 เลย"
● 2. จากที่มีผู้ให้ความเห็นว่าโดยหลักการศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยก้าวก่ายมติรัฐสภาไม่ได้นั้น เป็นหลักการจริง โดยเฉพาะเมื่อข้อบังคับการประชุมเป็นวงงานของรัฐสภาที่สมาชิกต้องตัดสินใจและโหวตกันเอง ไม่ได้กระทบสิทธิบุคคลใด แต่กรณีการลงมติ ‘ห้ามโหวตซ้ำแคนดิเดตนายกฯ’ นั้นกระทบสิทธิบุคคล
● 3. บุคคลที่ถูกกระทบสิทธิในกรณีนี้คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เนื่องจากมติของสภา (ไม่ใช่ตัวข้อบังคับ) มีผลตัดสิทธิการเสนอชื่อเป็นแคนดิเดตนายกฯ อีกครั้ง ซึ่งเรื่องนี้มีรายละเอียดในการพิจารณาอีกหลายประเด็นว่า ทำไมจึงไม่นับรวมถึง สส.ก้าวไกลหรือกระทั่งประชาชนทั่วไปที่รู้สึกถูกกระทบสิทธิแล้วไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดินได้ การตีความเช่นนี้ยังคงมีความจำเป็น หากตีความกว้างขวาง ประเด็นข้อกฎหมายจะกลายเป็นประเด็นการเมืองไปหมด และจะเกิดนักร้องเต็มแผ่นดิน
● 4. ดังนั้น ในความเห็นของวรเจตน์ มีความเป็นไปได้ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับคำต้องของผู้ตรวจการฯ ในประเด็นที่ว่า ผู้ร้องไม่ใช่ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่หากเป็นพิธาร้องเองจะมีโอกาสน้อยมากที่ศาลจะไม่รับเรื่องไว้พิจารณา โดยต้องยื่นผู้ตรวจการภายใน 90 วันหลังวันลงมติ (19 ก.ค.)
● 5. “เวลาเราจะวิเคราะห์กฎหมายตอนนี้ เราต้องเข้าใจว่ามันมีข้อจำกัดมากขึ้น เพราะว่าฝ่ายที่เขากุมอำนาจทางการเมือง และกำกับการเขียนกติการัฐธรรมนูญ เขาได้แก้กติกาบางอย่างไปแล้ว การต่อสู้ในสนามกฎหมายเลยมีข้อจำกัดมากขึ้น บางอย่างเราต่อสู้ในสนามกฎหมาย มันสู้ไม่ได้เพราะเขากุมอำนาจการเขียนกฎหมายไว้แล้ว แต่การกุมอำนาจการเขียนมันกุมไม่ได้หมด ยังมีพื้นที่ในการตีความ เถียงกันได้อยู่ แล้วตรงนี้เองหลักวิชาจะช่วยเราได้”
รายละเอียดของคำอธิบายทางกฎหมายมีเป็นจำนวนมาก สามารถอ่านเต็มๆ ได้ที่
https://www.voicetv.co.th/read/Mfg8X-Zvl