วันจันทร์, พฤษภาคม 22, 2566

บันทึกจากสมุดโน๊ต "ว่าด้วยข้อตกลงร่วมรัฐบาล" จากประเทศเยอรมัน Manfred Richter อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเยอรมนี แชร์ประสบการณ์


Ekkarin Tuansiri
14h
·
บันทึกจากสมุดโน๊ต "ว่าด้วยข้อตกลงร่วมรัฐบาล" จากประเทศเยอรมัน
Manfred Richter อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเยอรมนี ได้แชร์ประสบการณ์หลังการเลือกตั้ง เริ่มด้วย traffic light coalition ในการเมืองประเทศเยอรมัน ที่ต้องเผชิญคือ การยอมรับความขัดแย้งทางด้านนโยบาย การแทรงแซงของกลุ่มต่างๆ การจัดการปัญหา ( clear up problems) ทั้งหมดนี้ แกเล่าว่าพรรคร่วมที่จะจัดตั้งรัฐบาล ได้มีการคุยทางโทรศัพท์หลายครั้งในแต่ละวัน นอกจากนั้นก็มีการวีดีโอ ส่งข้อความ และคอยสังเกตปฎิกิริยาอื่นๆ ตลอดเวลา (พรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายค้าน ผู้สนับสนุน - ขยายความโดยผู้เขียน)
เรื่องการทำ “ข้อตกลงร่วมรัฐบาล” หรือ “Coalition agreements” ที่ต้องมีการคุยลงรายละเอียด และบันทึกเป็นจข้อตกลงร่วมกันของพรรคการเมืองที่จะร่วมรัฐบาล และใช่ว่าจะลงรอยในการตกลงกันทั้งหมด เช่น กฎหมายทำแท้ง อาจจะมีความเห็นแย้งกัน (ความเชื่อทางศาสนา) แต่ต้องลงรายละเอียดเป็นข้อๆ ที่เห็นไม่ตรงกัน และหากว่าได้ข้อตกลงร่วมกันแล้ว ก็จะเป็นการประกาศให้ประชาชนรู้ว่ารัฐบาลใหม่จะดำเนินนโยบายใดบ้างในกรอบของการเป็นรัฐบาล
ที่ผ่านมาจะมีการถ่ายทอดสดจาการแถลงการณ์ข้อตกลงร่วมกัน โดยมาจากตัวแทนพรรค (หัวหน้าพรรค)และเผยแพร่เอกสารทั้งหมดให้ประชาชนรับรู้ทั่วประเทศ เป็นตั้งเอกสารคำสัญญาของรัฐบาล แม้จะไม่มีผลทางกฎหมาย แต่ข้อดีคือประชาชนจะได้กลับมาตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลร่วมได้
คุณ Manfred Richter ฐานะที่มีประสบการณ์การเมืองมาอย่างยาวนานในรัฐสภาของประเทศเยอรมัน แกบอกว่าช่วงยากลำบากและท้าทายสุดคือ หลังกำแพงเบอร์ลินล่มสลาย ต้องรวมเยอรมันตะวันออกและตะวันตก ในการออกแบบระบบการเมืองใหม่ เพื่อให้สอดรับประสานของการเมืองสองระบบ และทำให้เข้าใจ ขณะนั้นแกดำรงเป็นประธานสภา
ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจและมีชีวิตชีวาที่สุดในการบรรยายของแก คือการให้ข้อคิดกับคำว่า compromise โดยเฉพาะการทำงานในรัฐสภา แกบอกว่า "การประนีประนอม" ทุกคนมักเข้าใจว่า การทำให้ทุกฝ่ายมีความสุข แต่ในความเห็นของแก "การประนีประนอม" (compromise) ต้องทำให้ทุกฝ่าย unhappy and equality ต้องทำให้ทุกฝ่ายไม่ได้ทั้งหมด อย่างเท่าๆกัน เพราะการต่อรองทุกครั้ง ทุกฝ่ายมักยื่นข้อเสนอว่าตัวเองต้องได้ แต่จริงๆแล้ว หากว่าเราคิดว่าได้ทุกอย่าง เราก็ไม่ต้องมาต่อรองกัน
Manfred Richter แกเล่าว่า หลังจากเลือกตั้งมาเลเซีย อันวาร์ก็บินมาพบกับแก เพื่อหารือพูดคุยเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลมาเลเซีย คาดว่าแกน่าจะเป็นรุ่นราวคราวเดียวกันกับอันวาร์ อิบราฮิม (การคิดว่าต่างประเทศแทรกแซงการเลือกตั้งของไทย เป็นเรื่องความเชื่อมากกว่าความจริง )
คำถามคือ สว.​ กำลังทำหน้าที่อะไรอยู่ ? เวลาคือต้นทุนที่สำคัญ การไม่มีรัฐบาลคือความเสียหายของประเทศ