วันศุกร์, พฤษภาคม 12, 2566

ประวัติย่อไอทีวี ฉบับทักษิณช่วยเจ้า




Thanapol Eawsakul
tspeondorS46l2thaum6c0ui4lic5fa0111279l7i448mi62m18ffa83936a ·



ประวัติย่อไอทีวี ฉบับทักษิณช่วยเจ้า
.......
ไอทีวีเป็นผลผลิตของเหตุการณ์พฤษภา 2535 สังคมเห็นร่วมกันว่าทีวีภายใต้ทหาร ช่อง 5 ช่อง 7 รัฐบาล ช่อง 3 ช่อง 9 ช่อง 11 เป็นส่วนหนึ่งของโฆษณาชวนเชื่อจนกลายเป็นโศกนาฎกรรมเดือนพฤษภา 2535
โดยไอเดียเพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาด เลยมีกำกำหนดว่าบริษัทที่จะมาประมูลนั้นต้องมีสัดส่วนผู้ถือหุ้น 10 ราย แต่ละรายต้องมีสัดส่วนหุ้นที่เท่ากัน พร้อมกับแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เพื่อป้องกันการผูกขาด และมีสัดส่วนเนื้อหารายการข่าวและสาระ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และรายการบันเทิงไม่เกินร้อยละ 30
บริษัทผู้เข้าประมูล มีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ คือ
- กลุ่มสยามทีวี มีแกนหลักคือ ธนาคารไทยพาณิชย์, บจก.สหศินิมา (มีสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใหญ่), หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, บจก.บอร์น แอนด์ เอสโซซิเอทท์ ของนายไตรภพ ลิมปพัทธ์, สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, หนังสือพิมพ์ดอกเบี้ย และหนังสือพิมพ์ตงฮั้ว กลุ่มนี้เสนอผลตอบแทนสูงสุดประมาณปีละ 1,000 ล้านบาท ตลอดทั้งอายุสัมปทาน 25 ปี ประมาณ 25,000 ล้านบาท
-กลุ่มเนชั่น ประกอบด้วย เครือเนชั่น, บจก.แปซิฟิค อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่นส์ ของนายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา โดยมี สมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นผู้ควบคุมเนื้อหา, บมจ.มติชน และ บมจ.สามารถ กลุ่มนี้ได้คะแนนเนื้อหาเป็นอันดับหนึ่ง แต่เสนอผลตอบแทนตามเกณฑ์ขั้นต่ำประมาณปีละ 500 ล้านบาท
ผลการประมูลไม่ต้องสงสัยเลยว่ากลุ่มแรกชนะเพราะให้ค่าตอบแทนมากกว่า 2 เท่าคือปีละ 1,000 ล้านบาท 25 ปี 25,000 ล้านบาท
ซึ่งจะเป็นทุขลาภต่อมา
ต่อมา ไอเอ็นเอ็น ดอกเบี้ย และตงฮั้วถอนตัวออกไป กลุ่มสยามอินโฟเทนเมนท์ จึงดึงเครือเนชั่น คู่แข่งที่เข้าร่วมประมูลแต่ไม่ได้รับเลือก เข้าร่วมทุนด้วย​
ดังนั้นจึงมีผู้ร่วมทุนทั้งหมดประกอบด้วย
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ผ่าน สหศินิมา)
เนชั่น​
กันตนา​
วัฏจักร​
เดลินิวส์​
ล็อกซ์เลย์
บอร์น
และ​ไจแอนท์​
โดยตั้งชื่อสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ว่า สถานีโทรทัศน์ไอทีวี
เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
หลังจากนั้น 1 ปีก็เหตุวิฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540
ไอทีวี ขาดทุนอย่างหนัก ธนาคารไทยพาณิชย์ในฐานะผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้รายใหญ่ ได้เปลี่ยนแปลงประธานกรรมการไอทีวี จากนายโอฬาร ไชยประวัติ เป็นนายประกิต ประทีปะเสน อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.ไทยพาณิชย์ และมีนโยบายที่จะแก้ปัญหาการขาดทุน โดยต้องการอำนาจการบริหารเบ็ดเสร็จ โดยผลักดันให้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทาน โดยเฉพาะในเรื่องการกระจายผู้ถือหุ้น และจะนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรี ในสมัยนายชวน หลีกภัย มีมติเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 อนุมัติให้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทาน ด้วยเหตุผลว่าเพื่อให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 และเป็นไปตามข้อบังคับของ ตลท. และมีการแก้ไขสัญญาสัมปทานเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2543
หรือนัยหนึ่งรัฐบาลชวนช่วยหาช่องทางในการขายไอทีวีเพื่อลดภาระการขาดทุนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือของเจ้านั่นเอง
หลังวิกฤติ 2540 คนที่ไม่บาดเจ็บจากต้มยำกุ้งและมีเงินสดมากพอคือทักษิณ ชินวัตร
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ดึงกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น (ชินคอร์ป) เข้ามาถือหุ้นไอทีวีด้วยวงเงิน 1,600 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 39% ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ได้แปลงหนี้เป็นทุน มีสัดส่วน 55% โดยมอบสิทธิ์การบริหารให้กับชินคอร์ป ของทักษิณ ชินวัตร ซึ่งตอนนั้นก่อตั้งพรรคไทยรักไทยแล้ว
หรือนัยหนึ่งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หรือเจ้า ก็สามารถปลดภาระหนี้สินได้ด้วยการช่วยเหลือของทักษิณนั่นเอง
ในเวลานั้นทักษิณคือผู้มาช่วยเจ้า คือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากาัตริย์ ที่ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารไทยบพาณิชย์ที่เป็นทั้งผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ในไอทีวี รวมทั้งเรื่องเงินค่าสัมปทาน 25,000 ล้านบาทที่สัญญาไว้กับรัฐด้วย
หลังจากนั้นเราก็ทราบกันดี ว่ามีเรื่องมากมาย
ทั้งการแทรกแซงสื่อ (แต่ทักษิณบอกว่านี่มันเป็นบริษัทผม)
กบฎไอทีวี
การรัฐประหาร 2549
การปิดไอทีวี
หรือแม้แต่หุ้นมรดกของพิธา
ฯลฯ
แต่ทั้งหมดทั้งปวงเกิดจากความหวังดีของทักษิณที่จะมาช่วยเจ้านั่นเอง
.....


Jom Petchpradab
17h
·
มี"ผม"ในวันนี้..เพราะมี "ไอทีวี.ทีวีเสรี" ในวันนั้น
เห็นเพื่อนพ้อง น้องพี่ ( ส่วนใหญ่จะเป็นน้องๆ ) ต่างพากัน รำลึก "ไอทีวี ทีวีเสรี"กันอีกครั้ง สืบเนื่องจากกรณีที่ คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกล ถูกร้องเรื่องถือหุ้นไอทีวี.
"ไอทีวี.ทีวีเสรี" เป็นบันทึกชีวิตบทสำคัญอีกบทหนึ่งในชีวิตของผม หลังจากชีวิตบทแรกในวิชาชีพสื่อมวลชนเริ่มต้นที่ขึ้นสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ "มติชน" หนังสือพิมพ์ที่มีสโลแกนว่า"คุณภาพของประชาชนคือคุณภาพของประเทศ" เป็นเวลา 9 ปีเต็ม.
ในปี 2539 ผมเป็น 1 ในคณะผู้บุกเบิก 50 กว่าคนแรกของ"ไอทีวี ทีวีเสรี" ด้วยตำแหน่ง บรรณาธิการข่าวสังคม-การศึกษา-ศาสนา-สิ่งแวดล้อม และต่อท้ายด้วย บรรณาธิการข่าวราชสำนัก. โดยมีแม่ทัพใหญ่นำธง"ทีวีเสรี" ที่เอกชนเป็นเจ้าของช่องแรกของประเทศไทยในเวลานั้น คือคุณสุทธิชัย หยุ่น
"ไอทีวี.ทีวีเสรี"ยุคนั้น เปรียบเสมือนคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงสร้างภูมิทัศน์ใหม่ของสื่อทีวีเมืองไทย ด้วยคัมภีร์การนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่แหวกทุกกฎ ทุบทุกธรรมเนียมปฎิบัติในการนำเสนอข่าวสารของวงการโทรทัศน์เมืองไทย. ปัจจัยเดียวที่ทำเช่นนี้ได้ก็เพราะ "เสรีภาพ"ของความเป็น "ทีวีเสรี" ช่องนี้
ด้วยเวลาเพียง 2 ปีของการก่อกำเนิดขึ้นของ"ไอทีวี ทีวีเสรี" ได้สร้างความแปลก ความสดใหม่ในการรายงานข่าว ทันเหตุการณ์ เจาะลึก และเปิดโปงขบวนการทุจริตในรัฐราชการหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะวงการตำรวจ
แต่วิกฤติ"ต้มยำกุ้ง"เป็นเหมือนโรคร้ายแรงที่ถาโถมเข้ามาอย่างไม่ทันตั้งตัว เกาะกินทำลายความเป็น"ไอทีวี.ทีวีเสรี"ลงไปอย่างน่าเสียดาย
ขณะที่รัฐบาลซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ก็ดูจะไม่ยินดีปรีดาที่จะให้ทีวีเอกชนรายนี้ได้ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของสาธารณะอีกต่อไป หวังเพียงแค่รายได้จากที่ ไอทีวี.ต้องจ่ายตามสัญญาที่ทำไว้ในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะขาขึ้น ทั้งๆ ที่รัฐบาลเองนั่นแหละที่ล้มเหลวผิดพลาดในการบริหารจนนำพาประเทศเข้าสู่ภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ แต่ภาคธุรกิจเอกชนกลับต้องมาแบกรับความล้มเหลวนั้น
และเพื่อที่จะต่อลมหายใจให้ "ไอทีวี."ได้อยู่รอดได้ต่อไป นักการเมืองใหญ่และเป็นนายทุนที่รวยที่สุดในเวลานั้น ได้เข้ามาซื้อทีวีช่องนี้ไป จากนั้นเป็นต้นมา "ไอทีวี." จึงไม่มีนามสกุลหรือสโลแกนที่ว่า"ทีวีเสรี"อีกต่อไป ....
และนี่คือที่มา อันนำมาซึ่งจุดอวสานของ"ไอทีวี." แต่ที่น่าเศร้ายิ่งกว่าแม้ว่าทีวีช่องนี้จะตายไปนานแล้ว แต่กลับถูกขุดมาใช้ทำลายร้างทางการเมืองกันต่อไปอีก (ทั้งๆที่จุดจบของไอทีวี.ก็เพราะการเมือง ด้วยเหมือนกัน)
ขอบคุณทุก ๆ คน ที่ร่วมกันก่อร่างสร้างสถานีโทรทัศน์ "ไอทีวี.ทีวีเสรี" ด้วยกันมาอย่างทุ่มเทและเสียสละ และแน่นอนพวกคุณได้สร้าง "ผม" ให้แข็งแกร่งอยู่ได้ในทุกวันนี้ด้วยเช่นกัน.