สุรพศ ทวีศักดิ์
1d
·
แก้ 112 ตามเงื่อนไข 4 ประเด็นนี้ ไม่ทราบว่า "เพื่อไทย" จะไม่เห็นด้วย ด้วยเหตุผลอะไร?
#ก้าวไกลชัดเจนในจุดยืน
#เปิดเผยตรงไปตรงมาต่อสาธารณะ
(ภาพจากมิตรสหายท่านหนึ่ง)
.....
Atukkit Sawangsuk
8h
·
เรื่อง 112 ที่ฝ่ายตรงข้ามเอามาปั่น นิพิฏฐ์สอบตกเย้ยหยัน หวังให้แตกกัน
ฝั่งเราพอเอาชาติพัฒนากรณ์ก็หวั่นไหว ประกาศไม่แก้ไม่แตะ 112 ไปเอามันมาทำไม (แต่เจ๊หน่อยก็ไม่แตะนะ)
:
แก้ 112 เป็นนโยบายก้าวไกลพรรคเดียว เมื่อได้ ส.ส.ไม่ถึงครึ่ง 14.2 ล้านเสียง ต้องไปเอาอีก 9 พรรคมาร่วม
เมื่อ 9 พรรคไม่มีนโยบายนี้ ก็ไม่สามารถอยู่ใน MOU จัดตั้งรัฐบาล นี่เป็นเรื่องปกติ ของการจัดตั้งรัฐบาลตามสัญญาประชาคมที่ทุกพรรคให้ไว้กับประชาชน
:
112 จึงเป็นเรื่องของพรรค ที่จะเอาเข้าสภา โดยอาศัยว่า
1.พรรคเพื่อไทยให้สัญญาประชาคมไว้ว่า ให้เอามาพูดคุยกันในสภา
ฉะนั้น 2 พรรครวมกันเกินกึ่งหนึ่ง ต้องให้เปิดอภิปราย
(ติ๊กไว้ว่า อุ๊งอิ๊งก็ให้ความเห็น โทษสูงไป และไม่ควรให้ใครฟ้องก็ได้)
2.พรรคก้าวไกลเป็นประธานสภา ไม่มีปัญหาเรื่องบรรจุเข้าวาระ
ดังนั้น แม้มันอาจจะไม่ผ่าน แต่ก็จะมีการอภิปรายวิพากษ์วิจารณ์ ชำแหละ 112 ให้คนฟังทั้งประเทศ
:
เท่านั้นก็ได้เกินคาดหวังแล้ว ตั้งแต่แรกไม่มีใครหวังหรอกว่าหาเสียงทั้งที่แก้ 112 จะได้คะแนนขนาดนี้
ถ้าจะคืบไปอีกขั้น ท่ามกลางกระแสมวลชน ก็อาจเรียกร้องเป็นข้อๆ เช่น การลดโทษ หรือกำหนดให้สำนักพระราชวังฟ้อง
:
112 มันเป็นเรื่องของการเขย่า ไม่ใช่โค่นต้นไม่ได้ในครั้งเดียว
.....
เรื่อง 112 ที่ฝ่ายตรงข้ามเอามาปั่น นิพิฏฐ์สอบตกเย้ยหยัน หวังให้แตกกัน
ฝั่งเราพอเอาชาติพัฒนากรณ์ก็หวั่นไหว ประกาศไม่แก้ไม่แตะ 112 ไปเอามันมาทำไม (แต่เจ๊หน่อยก็ไม่แตะนะ)
:
แก้ 112 เป็นนโยบายก้าวไกลพรรคเดียว เมื่อได้ ส.ส.ไม่ถึงครึ่ง 14.2 ล้านเสียง ต้องไปเอาอีก 9 พรรคมาร่วม
เมื่อ 9 พรรคไม่มีนโยบายนี้ ก็ไม่สามารถอยู่ใน MOU จัดตั้งรัฐบาล นี่เป็นเรื่องปกติ ของการจัดตั้งรัฐบาลตามสัญญาประชาคมที่ทุกพรรคให้ไว้กับประชาชน
:
112 จึงเป็นเรื่องของพรรค ที่จะเอาเข้าสภา โดยอาศัยว่า
1.พรรคเพื่อไทยให้สัญญาประชาคมไว้ว่า ให้เอามาพูดคุยกันในสภา
ฉะนั้น 2 พรรครวมกันเกินกึ่งหนึ่ง ต้องให้เปิดอภิปราย
(ติ๊กไว้ว่า อุ๊งอิ๊งก็ให้ความเห็น โทษสูงไป และไม่ควรให้ใครฟ้องก็ได้)
2.พรรคก้าวไกลเป็นประธานสภา ไม่มีปัญหาเรื่องบรรจุเข้าวาระ
ดังนั้น แม้มันอาจจะไม่ผ่าน แต่ก็จะมีการอภิปรายวิพากษ์วิจารณ์ ชำแหละ 112 ให้คนฟังทั้งประเทศ
:
เท่านั้นก็ได้เกินคาดหวังแล้ว ตั้งแต่แรกไม่มีใครหวังหรอกว่าหาเสียงทั้งที่แก้ 112 จะได้คะแนนขนาดนี้
ถ้าจะคืบไปอีกขั้น ท่ามกลางกระแสมวลชน ก็อาจเรียกร้องเป็นข้อๆ เช่น การลดโทษ หรือกำหนดให้สำนักพระราชวังฟ้อง
:
112 มันเป็นเรื่องของการเขย่า ไม่ใช่โค่นต้นไม่ได้ในครั้งเดียว
.....
ม.112 : กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ชาติไหนใช้ ชาติไหนเลิก
12 พฤศจิกายน 2021
ที่มา บีบีซีไทย
สหราชอาณาจักร
ปัจจุบันสหราชอาณาจักรไม่ได้ใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ย้อนไปเมื่อปี 2010 สกอตแลนด์ได้ยกเลิกกฎหมายอาญาที่ว่าด้วยความผิดฐานปลุกระดมและดูหมิ่นประมุขของรัฐนั่นก็คือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ไปแล้ว
จากรายงานการประชุมพิจารณายกเลิกกฎหมายในครั้งนั้น เฟอร์กัส อิววิง รัฐมนตรีด้านความปลอดภัยชุมชนของสกอตแลนด์ บอกว่า ถึงเวลาที่สกอตแลนด์ต้องยกเลิกความผิดอาญาฐานปลุกระดมและการดูหมิ่นตามชาติอื่น ๆ ในสหราชอาณาจักรแล้ว
นายอิววิง บอกว่า บทบัญญัติเหล่านี้เป็นแค่ของแปลกไว้ให้นักเรียนกฎหมายได้ครุ่นคิดเพื่อความสนุกสนาน และที่สำคัญกว่านั้น การที่สหราชอาณาจักรมีกฎหมายเหล่านี้อยู่เป็นการเปิดทางให้คณะผู้ปกครองในประเทศต่าง ๆ ที่กดขี่ประชาชนตัวเองใช้เป็นข้ออ้างง่าย ๆ ที่จะใช้กฎหมายในลักษณะเดียวกัน
"ในประเทศเหล่านั้น นอกจาก[กฎหมายนั้น]จะส่งผลกระทบที่น่ากังวล - ผู้คนกลัวเกินไปที่จะวิพากษ์วิจารณ์ทางการและชนชั้นนำ - แต่ประชาชนก็ถูกดำเนินคดีอยู่เป็นประจำเพราะการแสดงออกด้วย" นายอิววิง กล่าว
เขาบอกว่าการยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ หรือที่ใช้คำว่า "leasing-making" ในกฎหมายสกอตแลนด์ จะช่วยให้สหราชอาณาจักรมี "อำนาจทางศีลธรรม" มากขึ้นเวลาต้องเจรจากับรัฐที่กดขี่ประชาชน
อย่างไรก็ดี การยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในครั้งนั้นก็เป็นการกระทำในเชิงทฤษฎีเท่านั้น โดยนายอิววิงบอกว่าไม่มีรายงานว่ามีการดำเนินคดีนี้ตั้งแต่ปี 1715 แล้ว
นอกจากกฎหมายดังกล่าวแล้ว สิ่งที่ใกล้เคียงกับกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ที่สุดน่าจะเป็นพระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848 (Treason Felony Act 1848)
รายงานข่าวของหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนเมื่อปี 2013 ระบุว่า แม้ว่ากฎหมายนี้จะไม่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปี 1897 หรือ 124 ปี มาแล้ว แต่ก็ยังมีอยู่ นั่นหมายความตามมาตราที่ 3 ของพระราชบัญญัตินั้น การสนับสนุนการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ แม้จะทำอย่างสันติก็ตาม ถือเป็นความผิดอาญาโดยมีโทษจำคุกตลอดชีวิต
ย้อนไปเมื่อปี 2001 เดอะการ์เดียน ซึ่งได้ริเริ่มรณรงค์การก่อตั้งสาธารณรัฐก่อนหน้านั้น ได้ยื่นเรื่องต่อศาลให้ยกเลิกกฎหมายโบราณฉบับนี้โดยให้เหตุผลว่าขัดต่อเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งถูกรับรองในพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน ปี 1998 แต่แล้วก็ถูกสภาขุนนางปัดเรื่องตกไปโดยให้เหตุผลว่าไม่มีความจำเป็น เพราะว่าเดอะการ์เดียนก็เคยตีพิมพ์บทความที่สนับสนุนการปกครองแบบสาธารณรัฐและก็ไม่เคยถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด
ยุโรป
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 กษัตริย์สเปน
สเปน
เมื่อกลางเดือน ก.พ. ปีนี้ แร็ปเปอร์ชาวสเปน ปาโบล แคสเซล ถูกตัดสินจำคุก 9 เดือน ข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์และสถาบันต่าง ๆ ของรัฐ และเชิดชูการก่อการร้าย จากการข้อความในทวิตเตอร์และเนื้อเพลงของเขา
คืนก่อนหน้าที่เขาจะถูกบุกเข้าจับกุมหลังเข้าไปขังตัวเองอยู่ในมหาวิทยาลัยแยย์ดาในแคว้นคาตาลูญญา เขาทวีตข้อความบอกว่า "เราไม่สามารถปล่อยให้พวกเขากำหนดได้ว่าเราสามารถพูดอะไรได้ รู้สึกอะไรได้ และทำอะไรได้" โดยบอกว่าเขาจะเข้าคุกด้วยความภาคภูมิใจและเลือกที่จะไม่ลี้ภัยด้วย
ปาโบล แคสเซล ถูกบุกเข้าจับกุมหลังเข้าไปขังตัวเองอยู่ในมหาวิทยาลัยแยย์ดาในแคว้นคาตาลูญญา
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 490 ของสเปนระบุว่า บุคคลใดที่พูดจาให้ร้ายหรือหมิ่นประมาทกษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และสมาชิกราชวงศ์ จะถูกจำคุกระหว่าง 6 เดือนถึง 2 ปี
นอกจากกล่าวหาสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 กษัตริย์สเปน และพระราชบิดา อดีตกษัตริย์ฮวน คาร์ลอส ว่าก่ออาชญากรรมหลายข้อหาแล้ว ทวีตและเนื้อเพลงของปาโบลยังกล่าวหาว่าตำรวจทรมานและสังหารผู้ประท้วงและผู้อพยพด้วย
การจับกุม ปาโบล แคสเซล ทำให้เกิดกระแสประท้วงในหลายเมืองของสเปนรวมถึงบาร์เซโลนา
ย้อนไปเมื่อปี 2018 แร็ปเปอร์ชื่อ วาทอนิค (Valtònyc) โดนศาลตัดสินจำคุกข้อหาเชิดชูการก่อการร้ายและดูหมิ่นราชวงศ์สเปน หลังจากที่บอกว่าจะยิงนักการเมืองฝ่ายขวาและก็มีบ่วงแขวนคอสำหรับใช้กับกษัตริย์สเปน
วาทอนิค
เดนมาร์ก
มาตรา 268 ของประมวลกฎหมายอาญา ระบุว่า บุคคลใดที่ว่าร้ายผู้อื่นโดยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริงอาจถูกจำคุกสูงสุด 2 ปี โดยมาตรา 115 ระบุว่า หากเป็นการว่าร้ายกษัตริย์ โทษดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าซึ่งเท่ากับว่าไม่เกิน 4 ปี ส่วนหากเป็นการกระทำต่อพระราชินีและรัชทายาทให้เพิ่มโทษดังกล่าวขึ้นครึ่งหนึ่งซึ่งก็คือไม่เกิน 3 ปี
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และเจ้าชายเฮนริก
ย้อนไปเมื่อปี 2011 เว็บไซต์ข่าว Politicken ของเดนมาร์กรายงานว่า นักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมสองคนจะโดนตั้งข้อหากระทำผิดตามมาตรา 115 หลังจากบุกเข้าไปประท้วงระหว่างงานเลี้ยงรับรองระหว่างการประชุม COP15 เมื่อปี 2009 ที่กรุงโคเปนเฮเกน ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นประธาน
อย่างไรก็ดี ในเดือน ส.ค. ปี 2011 เว็บไซต์ข่าวเดอะการ์เดียนรายงานว่า นักเคลื่อนไหว 11 คนที่มีส่วนร่วมในการบุกเข้าไปในครั้งนั้น ถูกตัดสินจำคุกเพียงสองสัปดาห์โดยรอลงอาญาเท่านั้น
สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์และสมเด็จพระราชินีแม็กซิมา
เนเธอร์แลนด์
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 111 ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 1881 ระบุว่า ผู้ที่ดูหมิ่นกษัตริย์อาจถูกจำคุกได้สูงสุด 5 ปี ส่วนการดูหมิ่นพระราชินี รัชทายาท หรือคู่สมรสของรัชทายาท มีโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี ตามมาตรา 112
อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากเว็บไซต์ Overheid.nl ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานรัฐบาลต่าง ๆ ระบุว่า มาตรา 111 และ 112 สิ้นผลบังคับใช้ไปตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ปี 2020 ซึ่งน่าจะหมายความว่าบุคคลที่ว่าร้ายและดูหมิ่นกษัตริย์และสมาชิกราชวงศ์จะถูกตัดสินด้วยโทษเดียวกับประชาชนทั่วไป
ย้อนไปเมื่อปี 2016 ชายชาวดัตช์วัย 40 ปี ถูกศาลตัดสินจำคุก 30 วัน หลัง "ตั้งใจดูหมิ่น" โดยกล่าวหาสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ผ่านทางเฟซบุ๊กว่าเป็นฆาตกร ขโมย และผู้ข่มขืน
ย้อนไปตอนนั้น มีพรรคการเมืองในเนเธอแลนด์ที่เสนอยกเลิกกฎหมายนี้และสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ก็ทรงให้คำมั่นสัญญาว่าจะยอมรับไม่ว่าผลลัพธ์การถกเถียงเรื่องนี้จะออกมาแบบไหน
สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป แห่งเบลเยียม
เบลเยียม
ว็บไซต์ข่าวโพลิติโค (Politico) ระบุว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเบลเยียมจากปี 1847 กำหนดให้ผู้ทำผิดอาจต้องรับโทษถึง 3 ปี อย่างไรก็ดี คำพิพากษาของศาลเบลเยียมกรณีที่สเปนต้องการจะขอให้ส่งตัว วาทอนิค แร็ปเปอร์ชาวสเปน ซึ่งลี้ภัยอยู่ที่เบลเยียมก็ทำให้เห็นตำแหน่งแห่งที่ของกฎหมายนี้ประเทศ
สื่อท้องถิ่นในแคว้นคาตาลูญญาของสเปนรายงานเมื่อปลาย ต.ค. ที่ผ่านมาว่า ศาลรัฐธรรมนูญเบลเยียมตัดสินว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของประเทศไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเพราะไม่ให้ความเคารพต่อเสรีภาพในการแสดงออกและก็ยังขัดต่ออนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European Convention on Human Rights หรือ ECHR) ด้วย
สวีเดน
ข้อมูลจากสถาบันสื่อมวลชนนานาชาติระบุว่า การดูหมิ่นกษัตริย์และสมาชิกราชวงศ์ยังเป็นความผิดทางอาญา โดยมีโทษถึง 4 ปี หรือ 6 ปี ถ้าเป็นการดูหมิ่นอย่างร้ายแรง
เอเชีย
สมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ทรงเริ่มต้นรัชสมัย "เรวะ" ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2019
ญี่ปุ่น
สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า กฎหมายหมิ่นลักษณะนี้ในญี่ปุ่นถูกยกเลิกหลังสงครามโลกครั้งที่สองโดยนายพลดักลาส แมกอาเธอร์ ของสหรัฐฯ ที่บอกว่า สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น "มีกฎหมายปกป้องไม่มากไม่น้อยไปกว่าที่มีให้กับประชาชนคนอื่น ๆ ในญี่ปุ่น"
มาเลเซีย
หนังสือพิมพ์เดอะสเตรทไทม์สรายงานเมื่อปี 2019 ว่า เลียว วุย เคียง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ไม่มีแผนจะเดินตามรอยออกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแบบไทย
จากข้อมูลโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) กฎหมายการยุยงปลุกปั่นปี 1948 (The Sedition Act of 1948) ของมาเลเซียระบุว่า กระทำการซึ่งก่อให้เกิดความเกลียดชัง ต่อรัฐบาล ศาล ประมุขแห่งรัฐ (สุลต่าน) และความเกลียดชัง ระหว่างเชื้อชาติหรือ ชนชั้น มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 ริงกิต (เกือบ 40,000 บาท)
กัมพูชา
ย้อนไปเมื่อเดือน ก.พ. ปี 2018 รัฐบาลกัมพูชาอนุมัติกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี สำหรับผู้กระทำผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
สถาบันกษัตริย์กัมพูชามักถูกมองว่ามีบทบาทเป็นเพียงสัญลักษณ์ของชาติ
ในตอนนั้น นายพาย สีพัน โฆษกรัฐบาลกัมพูชาโพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า กฎหมายใหม่ฉบับนี้ถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เพื่อ "ดำรงและปกป้องพระเกียรติและพระนามของพระมหากษัตริย์" พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี เขาระบุด้วยว่า ผู้ละเมิดกฎหมายนี้จะถูกจำคุก 1-5 ปี และปรับเป็นเงิน 2,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 77,500 บาท)
สถาบันกษัตริย์กัมพูชามักถูกมองว่ามีบทบาทเป็นเพียงสัญลักษณ์ของชาติ พระราชอำนาจของกษัตริย์ลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา หลังจากนายฮุน เซน เข้าบริหารประเทศ ด้านองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนมองว่า กฎหมายใหม่อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ในประเทศที่ศาลมักถูกกล่าวหาว่ากระทำตามบัญชาของสมเด็จฮุน เซน
12 พฤศจิกายน 2021
ที่มา บีบีซีไทย
สหราชอาณาจักร
ปัจจุบันสหราชอาณาจักรไม่ได้ใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ย้อนไปเมื่อปี 2010 สกอตแลนด์ได้ยกเลิกกฎหมายอาญาที่ว่าด้วยความผิดฐานปลุกระดมและดูหมิ่นประมุขของรัฐนั่นก็คือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ไปแล้ว
จากรายงานการประชุมพิจารณายกเลิกกฎหมายในครั้งนั้น เฟอร์กัส อิววิง รัฐมนตรีด้านความปลอดภัยชุมชนของสกอตแลนด์ บอกว่า ถึงเวลาที่สกอตแลนด์ต้องยกเลิกความผิดอาญาฐานปลุกระดมและการดูหมิ่นตามชาติอื่น ๆ ในสหราชอาณาจักรแล้ว
นายอิววิง บอกว่า บทบัญญัติเหล่านี้เป็นแค่ของแปลกไว้ให้นักเรียนกฎหมายได้ครุ่นคิดเพื่อความสนุกสนาน และที่สำคัญกว่านั้น การที่สหราชอาณาจักรมีกฎหมายเหล่านี้อยู่เป็นการเปิดทางให้คณะผู้ปกครองในประเทศต่าง ๆ ที่กดขี่ประชาชนตัวเองใช้เป็นข้ออ้างง่าย ๆ ที่จะใช้กฎหมายในลักษณะเดียวกัน
"ในประเทศเหล่านั้น นอกจาก[กฎหมายนั้น]จะส่งผลกระทบที่น่ากังวล - ผู้คนกลัวเกินไปที่จะวิพากษ์วิจารณ์ทางการและชนชั้นนำ - แต่ประชาชนก็ถูกดำเนินคดีอยู่เป็นประจำเพราะการแสดงออกด้วย" นายอิววิง กล่าว
เขาบอกว่าการยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ หรือที่ใช้คำว่า "leasing-making" ในกฎหมายสกอตแลนด์ จะช่วยให้สหราชอาณาจักรมี "อำนาจทางศีลธรรม" มากขึ้นเวลาต้องเจรจากับรัฐที่กดขี่ประชาชน
อย่างไรก็ดี การยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในครั้งนั้นก็เป็นการกระทำในเชิงทฤษฎีเท่านั้น โดยนายอิววิงบอกว่าไม่มีรายงานว่ามีการดำเนินคดีนี้ตั้งแต่ปี 1715 แล้ว
นอกจากกฎหมายดังกล่าวแล้ว สิ่งที่ใกล้เคียงกับกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ที่สุดน่าจะเป็นพระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848 (Treason Felony Act 1848)
รายงานข่าวของหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนเมื่อปี 2013 ระบุว่า แม้ว่ากฎหมายนี้จะไม่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปี 1897 หรือ 124 ปี มาแล้ว แต่ก็ยังมีอยู่ นั่นหมายความตามมาตราที่ 3 ของพระราชบัญญัตินั้น การสนับสนุนการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ แม้จะทำอย่างสันติก็ตาม ถือเป็นความผิดอาญาโดยมีโทษจำคุกตลอดชีวิต
ย้อนไปเมื่อปี 2001 เดอะการ์เดียน ซึ่งได้ริเริ่มรณรงค์การก่อตั้งสาธารณรัฐก่อนหน้านั้น ได้ยื่นเรื่องต่อศาลให้ยกเลิกกฎหมายโบราณฉบับนี้โดยให้เหตุผลว่าขัดต่อเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งถูกรับรองในพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน ปี 1998 แต่แล้วก็ถูกสภาขุนนางปัดเรื่องตกไปโดยให้เหตุผลว่าไม่มีความจำเป็น เพราะว่าเดอะการ์เดียนก็เคยตีพิมพ์บทความที่สนับสนุนการปกครองแบบสาธารณรัฐและก็ไม่เคยถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด
ยุโรป
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 กษัตริย์สเปน
สเปน
เมื่อกลางเดือน ก.พ. ปีนี้ แร็ปเปอร์ชาวสเปน ปาโบล แคสเซล ถูกตัดสินจำคุก 9 เดือน ข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์และสถาบันต่าง ๆ ของรัฐ และเชิดชูการก่อการร้าย จากการข้อความในทวิตเตอร์และเนื้อเพลงของเขา
คืนก่อนหน้าที่เขาจะถูกบุกเข้าจับกุมหลังเข้าไปขังตัวเองอยู่ในมหาวิทยาลัยแยย์ดาในแคว้นคาตาลูญญา เขาทวีตข้อความบอกว่า "เราไม่สามารถปล่อยให้พวกเขากำหนดได้ว่าเราสามารถพูดอะไรได้ รู้สึกอะไรได้ และทำอะไรได้" โดยบอกว่าเขาจะเข้าคุกด้วยความภาคภูมิใจและเลือกที่จะไม่ลี้ภัยด้วย
ปาโบล แคสเซล ถูกบุกเข้าจับกุมหลังเข้าไปขังตัวเองอยู่ในมหาวิทยาลัยแยย์ดาในแคว้นคาตาลูญญา
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 490 ของสเปนระบุว่า บุคคลใดที่พูดจาให้ร้ายหรือหมิ่นประมาทกษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และสมาชิกราชวงศ์ จะถูกจำคุกระหว่าง 6 เดือนถึง 2 ปี
นอกจากกล่าวหาสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 กษัตริย์สเปน และพระราชบิดา อดีตกษัตริย์ฮวน คาร์ลอส ว่าก่ออาชญากรรมหลายข้อหาแล้ว ทวีตและเนื้อเพลงของปาโบลยังกล่าวหาว่าตำรวจทรมานและสังหารผู้ประท้วงและผู้อพยพด้วย
การจับกุม ปาโบล แคสเซล ทำให้เกิดกระแสประท้วงในหลายเมืองของสเปนรวมถึงบาร์เซโลนา
ย้อนไปเมื่อปี 2018 แร็ปเปอร์ชื่อ วาทอนิค (Valtònyc) โดนศาลตัดสินจำคุกข้อหาเชิดชูการก่อการร้ายและดูหมิ่นราชวงศ์สเปน หลังจากที่บอกว่าจะยิงนักการเมืองฝ่ายขวาและก็มีบ่วงแขวนคอสำหรับใช้กับกษัตริย์สเปน
วาทอนิค
เดนมาร์ก
มาตรา 268 ของประมวลกฎหมายอาญา ระบุว่า บุคคลใดที่ว่าร้ายผู้อื่นโดยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริงอาจถูกจำคุกสูงสุด 2 ปี โดยมาตรา 115 ระบุว่า หากเป็นการว่าร้ายกษัตริย์ โทษดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าซึ่งเท่ากับว่าไม่เกิน 4 ปี ส่วนหากเป็นการกระทำต่อพระราชินีและรัชทายาทให้เพิ่มโทษดังกล่าวขึ้นครึ่งหนึ่งซึ่งก็คือไม่เกิน 3 ปี
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และเจ้าชายเฮนริก
ย้อนไปเมื่อปี 2011 เว็บไซต์ข่าว Politicken ของเดนมาร์กรายงานว่า นักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมสองคนจะโดนตั้งข้อหากระทำผิดตามมาตรา 115 หลังจากบุกเข้าไปประท้วงระหว่างงานเลี้ยงรับรองระหว่างการประชุม COP15 เมื่อปี 2009 ที่กรุงโคเปนเฮเกน ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นประธาน
อย่างไรก็ดี ในเดือน ส.ค. ปี 2011 เว็บไซต์ข่าวเดอะการ์เดียนรายงานว่า นักเคลื่อนไหว 11 คนที่มีส่วนร่วมในการบุกเข้าไปในครั้งนั้น ถูกตัดสินจำคุกเพียงสองสัปดาห์โดยรอลงอาญาเท่านั้น
สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์และสมเด็จพระราชินีแม็กซิมา
เนเธอร์แลนด์
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 111 ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 1881 ระบุว่า ผู้ที่ดูหมิ่นกษัตริย์อาจถูกจำคุกได้สูงสุด 5 ปี ส่วนการดูหมิ่นพระราชินี รัชทายาท หรือคู่สมรสของรัชทายาท มีโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี ตามมาตรา 112
อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากเว็บไซต์ Overheid.nl ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานรัฐบาลต่าง ๆ ระบุว่า มาตรา 111 และ 112 สิ้นผลบังคับใช้ไปตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ปี 2020 ซึ่งน่าจะหมายความว่าบุคคลที่ว่าร้ายและดูหมิ่นกษัตริย์และสมาชิกราชวงศ์จะถูกตัดสินด้วยโทษเดียวกับประชาชนทั่วไป
ย้อนไปเมื่อปี 2016 ชายชาวดัตช์วัย 40 ปี ถูกศาลตัดสินจำคุก 30 วัน หลัง "ตั้งใจดูหมิ่น" โดยกล่าวหาสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ผ่านทางเฟซบุ๊กว่าเป็นฆาตกร ขโมย และผู้ข่มขืน
ย้อนไปตอนนั้น มีพรรคการเมืองในเนเธอแลนด์ที่เสนอยกเลิกกฎหมายนี้และสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ก็ทรงให้คำมั่นสัญญาว่าจะยอมรับไม่ว่าผลลัพธ์การถกเถียงเรื่องนี้จะออกมาแบบไหน
สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป แห่งเบลเยียม
เบลเยียม
ว็บไซต์ข่าวโพลิติโค (Politico) ระบุว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเบลเยียมจากปี 1847 กำหนดให้ผู้ทำผิดอาจต้องรับโทษถึง 3 ปี อย่างไรก็ดี คำพิพากษาของศาลเบลเยียมกรณีที่สเปนต้องการจะขอให้ส่งตัว วาทอนิค แร็ปเปอร์ชาวสเปน ซึ่งลี้ภัยอยู่ที่เบลเยียมก็ทำให้เห็นตำแหน่งแห่งที่ของกฎหมายนี้ประเทศ
สื่อท้องถิ่นในแคว้นคาตาลูญญาของสเปนรายงานเมื่อปลาย ต.ค. ที่ผ่านมาว่า ศาลรัฐธรรมนูญเบลเยียมตัดสินว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของประเทศไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเพราะไม่ให้ความเคารพต่อเสรีภาพในการแสดงออกและก็ยังขัดต่ออนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European Convention on Human Rights หรือ ECHR) ด้วย
สวีเดน
ข้อมูลจากสถาบันสื่อมวลชนนานาชาติระบุว่า การดูหมิ่นกษัตริย์และสมาชิกราชวงศ์ยังเป็นความผิดทางอาญา โดยมีโทษถึง 4 ปี หรือ 6 ปี ถ้าเป็นการดูหมิ่นอย่างร้ายแรง
เอเชีย
สมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ทรงเริ่มต้นรัชสมัย "เรวะ" ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2019
ญี่ปุ่น
สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า กฎหมายหมิ่นลักษณะนี้ในญี่ปุ่นถูกยกเลิกหลังสงครามโลกครั้งที่สองโดยนายพลดักลาส แมกอาเธอร์ ของสหรัฐฯ ที่บอกว่า สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น "มีกฎหมายปกป้องไม่มากไม่น้อยไปกว่าที่มีให้กับประชาชนคนอื่น ๆ ในญี่ปุ่น"
มาเลเซีย
หนังสือพิมพ์เดอะสเตรทไทม์สรายงานเมื่อปี 2019 ว่า เลียว วุย เคียง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ไม่มีแผนจะเดินตามรอยออกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแบบไทย
จากข้อมูลโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) กฎหมายการยุยงปลุกปั่นปี 1948 (The Sedition Act of 1948) ของมาเลเซียระบุว่า กระทำการซึ่งก่อให้เกิดความเกลียดชัง ต่อรัฐบาล ศาล ประมุขแห่งรัฐ (สุลต่าน) และความเกลียดชัง ระหว่างเชื้อชาติหรือ ชนชั้น มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 ริงกิต (เกือบ 40,000 บาท)
กัมพูชา
ย้อนไปเมื่อเดือน ก.พ. ปี 2018 รัฐบาลกัมพูชาอนุมัติกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี สำหรับผู้กระทำผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
สถาบันกษัตริย์กัมพูชามักถูกมองว่ามีบทบาทเป็นเพียงสัญลักษณ์ของชาติ
ในตอนนั้น นายพาย สีพัน โฆษกรัฐบาลกัมพูชาโพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า กฎหมายใหม่ฉบับนี้ถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เพื่อ "ดำรงและปกป้องพระเกียรติและพระนามของพระมหากษัตริย์" พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี เขาระบุด้วยว่า ผู้ละเมิดกฎหมายนี้จะถูกจำคุก 1-5 ปี และปรับเป็นเงิน 2,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 77,500 บาท)
สถาบันกษัตริย์กัมพูชามักถูกมองว่ามีบทบาทเป็นเพียงสัญลักษณ์ของชาติ พระราชอำนาจของกษัตริย์ลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา หลังจากนายฮุน เซน เข้าบริหารประเทศ ด้านองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนมองว่า กฎหมายใหม่อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ในประเทศที่ศาลมักถูกกล่าวหาว่ากระทำตามบัญชาของสมเด็จฮุน เซน