วันศุกร์, มีนาคม 03, 2566
"ก้าวข้ามความขัดแย้ง" คือ ป้อมเวอร์ชั่นของ 66/23 🤣
ภาพจาก Thai PBS
Atukkit Sawangsuk
7h
"ก้าวข้ามความขัดแย้ง" คือป้อมพยายามจะเสนอ 66/23
เพื่อปกป้องอำนาจอนุรักษ์นิยมจากพลังเสรีประชาธิปไตย
แต่มันผิดยุคผิดสมัย ผิดคน และสายเกินไป
"คนที่คุณก็รู้ว่าใคร" ไม่สามารถปรับตัวได้เหมือนอำนาจนำยุคก่อน
พลังประชาธิปไตยก็ไม่ได้พ่ายแพ้เหมือน พคท.ยุคนั้น
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7540062
:
"ก้าวข้ามความขัดแย้ง" ส่งสารมั่วๆ
"ทั้งอนุรักษนิยมและเสรีนิยมคือกับดัก"
ป้อมเข้าถึงจิตวิญญาณอนุรักษนิยม เข้าใจประชาธิปไตยเสรีนิม
จะเป็นผู้นำก้าวข้ามความขัดแย้ง โคตรขำ
:
จะแหกตาใคร ป้อมไม่เกี่ยวกับรัฐประหาร ประยุทธ์ทำคนเดียว
แล้วใครวะ เป็นพี่ใหญ่ค้ำรัฐประหาร 5 ปี ค้ำประยุทธ์ 9 ปี
พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ กำลังหลักตั้งแต่รัฐประหาร 49 รัฐมนตรีกลาโหมปี 53
จะเป็นผู้นำก้าวข้ามความขัดแย้ง
ไม่ใช่แค่ประชาชนฝั่งประชาธิปไตยไม่ยอมรับ
ฝั่งสลิ่มก็ตั้งแง่ ป้อม เกาะโต๊ะ จะร่วมรัฐบาลกับทักษิณแหงๆ
:
ว่ากันตามตรง ผมเชื่อว่าป้อมคิดอย่างนั้นจริง หวัง "ก้าวข้าม" สลายขั้ว
แต่ไม่เชื่อว่าทำได้ ความขัดแย้งไปไกลแล้ว ประนีประนอมได้ชั่วขณะเดี๋ยวก็ปะทุใหม่
มองอีกมุมหนึ่ง เราจะเห็นว่า ประยุทธ์ ประวิตร แยกกันเดิน แข่งกันสร้าง 2 ทางเลือกให้อำนาจอนุรักษ์
ประยุทธ์ดันทุรัง ตั้งพรรค กปปส. อนุรักษ์สุดโต่ง หวังชนะ หวังพรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบันชนะ แล้วกลับมาเป็นนายกฯ ปกป้องจงรักด้วยอำนาจนิยม
ประวิตรเดินแนวทาง "สลายขั้ว" ร่วมรัฐบาลได้กับทุกพรรค ถ้าประยุทธ์แพ้ ก็จะเป็นอีกทางเลือก กุม 250 ส.ว. เจรจาต่อรองกับเพื่อไทย
:
สถานการณ์มันอยู่ในห้วงที่อำนาจอนุรักษ์ติดกับ
อำนาจแข็งปั๋งคุมกองทัพ ศาล กระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระ วุฒิสภา
สร้างกลไกขึ้นมา เพื่อพิทักษ์รัฐประหารสืบทอดอำนาจ
แต่ประยุทธ์กลับพังครืน ทำท่าจะแพ้เลือกตั้ง
ขณะที่คนรุ่นใหม่ชูสามนิ้วเรียกร้องปฏิรูป
อำนาจศรัทธา อำนาจทางวัฒนธรรม ที่เคยยึดกุมความคิดจิตใจคน ก็เสื่อมอย่างรวดเร็ว
:
ใช่ละ ถ้าฝ่ายค้านเป็นรัฐบาล เช่นเพื่อไทย+ก้าวไกล รัฐประหารเมื่อไหร่ก็ได้
แต่พวกเขาก็รู้ว่ายิ่งรัฐประหารยิ่งอยู่ยากยิ่งเสื่อมหนัก
ดังนั้นหากประยุทธ์แพ้ ทางเลือกที่ดีที่สุดคือ
บีบให้เกิด "รัฐบาลสลายขั้ว" ที่กระทบโครงสร้างอำนาจน้อยที่สุด
โดยมีป้อมเป็นตัวกลาง
:
พูดอย่างนี้ยังไม่ได้บอกว่า เพื่อไทย+พลังประชารัฐ แหงๆ
แต่เจ้าของอำนาจคงจะบีบให้เป็นแบบนั้น
ขณะที่เพื่อไทยยังหวังว่าถ้าแลนด์สไลด์ได้เกินครึ่งจะมีอำนาจต่อรองสูง
แต่ฝั่งเขาก็บีบว่าต้องพึ่ง 250 ส.ว.อยู่ดี
:
แนวทางนี้ จึงคล้ายๆ 66/23 ฆ่าแล้วลูบหลัง สุดโต่งแล้วค่อยผ่อนคลาย
แต่ป้อมไม่ใช่เปรม เปรมไม่ได้อยู่ในรัฐประหารโดยตรง อ้างเป็นคนกลางได้
แล้วหลัง 6 ตุลา ชนชั้นนำยุคนั้นก็ปรับตัวไว
เกรียงศักดิ์รัฐประหารโค่นรัฐบาลหอย นิรโทษกรรม ร่างรัฐธรรมนูญ รีบลือกตั้ง
แล้วเปรมค่อยเข้ามาเป็นคนกลาง ออก 66/23 หลัง พคท.แพ้ภัยตัวเอง
ทั้งหมดใช้เวลา 4 ปี แต่นี่ผ่านมา 9 ปี เพิ่งจะตื่นหรือไง
ยุคนั้นเพิ่งพ้นเผด็จการ เป็นประชาธิปไตยสั้นๆ เมื่อเกิดเผด็จการสุดโต่งแล้วถอยมาเป็น "ประชาธิปไตยครึ่งใบ" สังคมยังยอมรับได้
แต่ยุคนี้เป็นประชาธิปไตยมาตั้งนาน 49,57 ข่มขืนสังคมไทยให้ถอยหลัง
ถอยยิ่งกว่่าก่อนรัฐธรรมนูญ 40 ด้วยซ้ำ
มันจึงเป็นสูตรกาวที่อาจเกิดได้ช่วงสั้น แต่ความพังพินาศจะตามมา
:
อย่างไรก็ตาม อำนาจมหึมาเหนิอรัฐ ก็ประสบความสำเร็จทำให้ "พรรคฝ่ายประชาธิปไตย" วิตกว่าชนะเลือกตั้งแล้วจะไม่ได้ไฟเขียวเป็นรัฐบาล
จนไม่กล้าแพคพรรคร่วมฝ่ายค้าน ประกาศ "แนวร่วมประชาธิปไตย" ชนะแล้วแก้รัฐธรรมนูญ รื้อล้างผลพวงรัฐประหาร
บรรยากาศการเลือกตั้งมันกลับไม่ใช่ "ฝ่ายประชาธิปไตย Vs สืบทอดอำนาจ-รับใช้เผด็จก่าร"
มันกลายเป็นทุกพรรคชูป้ายปากท้อง คนจน เด็ก คนชรา เหมือนกันหมด
แทบแยกไม่ออกใครเป็นใคร
อย่าให้มันเป็นอย่างนี้ต่อไป ต้องช่วยกันกดดัน ให้เป็นการเลือกตั้งเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตย