ได้ฟัง @PavinKyoto สัมมนาที่ออสโลสนุกมากค่ะ ดีใจที่ได้เจอตัวจริงหลังจากคุยกับใน clubhouse มา 2-3 ปี อาจารย์เป็นนักวิชาการที่พูดน่าฟังมากค่ะ เทคนิคการเล่าเรื่องของมีทั้งแบบเป็นทางการ เนื้อหาชัดเจนและมีช่วงผ่อนคลายให้การเสวนาไม่ตึงจนเกินไป
— the hug | เดือนมีนา-วันสตรีสากล 🥑🤍 มัสมั่นเองงง (@chareeishappy) March 11, 2023
🧵 เธรดนี้จะมาสรุปงานวันนี้ค่ะ pic.twitter.com/UjzYQF16hd
(1) อจ.ปวินปัจจุบันเดินทางไปต่างประเทศเพื่อเสวนากับทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่มีความต้องการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชาธิปไตยในประเทศไทย ตอนนี้เน้นเรื่อง ม.112 ที่แม้แต่เด็กอายุ 14 ก็โดนแจ้งได้ ซึ่ง อจ.มองว่าเป็นความไม่ยุติธรรมและริดรอนสิทธิทางการแสดงออกของประชาชน
(2) ทริปนี้อาจารย์เดินทางไปเข้าร่วมงานประชุมและเสวนาในหลายประเทศ เริ่มจากที่อังกฤษเป็นการเข้าไปคุยกับกลุ่มนักศึกษาจาก SEA ที่มาเรียนอยู่ในลอนดอน คุยกันเรื่องการที่ประชาชนถูกควบคุมโดยรัฐ แม้แต่ในประเทศสิงคโปร์ที่มีแม้จะเป็นพัฒนาแล้ว แต่ก็การแสดงออกทางการเมืองก็ยังทำได้ยาก
(3) นอกจากนี้ อจ. ยังได้ไปคุยกับนักการเมืองจากพรรค Green เพื่อร่วมกันหาจุดยืนร่วมกันที่ทางรัฐบาลอังกฤษสามารถนำเรื่องนี้เข้าไปเสวนาในรัฐสภาและช่วยหาทางสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยครั้งนี้ ซึ่งความเหมือนกันระหว่างไทยกับอังกฤษคือทั้งสองประเทศยังมีสถาบันกษัตริย์อยู่
(4) อจ.เสนอว่า ม.112 อัตราการลงโทษมันแรงเกินไป เพราะยกตัวอย่างคุณอัญชันที่โดนตัดสินจำคุกกว่า 87 ปี เป็นการลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างมาก เพราะจริงๆแล้วถ้ามีการดูหมิ่นกันเกิดขึ้นควรเป็นกฎหมายแพ่งมากกว่ากฎหมายอาญาและให้เป็นการจัดการระหว่างคนสองคนมากกว่ารัฐกับประชาชน
(5) ทริปถัดมาเป็นที่เมืองเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นเมืองแหล่งที่ตั้งของหน่วยงานระดับโลกเช่น UN ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ในประเทศไทยอาจจะไม่ได้เป็น priority หลักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาร์ ซึ่งสถานการณ์นี้ อจ.แสดงความคิดเห็นว่าไม่ควรจะเปรียบเทียบเลย
(6) เพราะทั้งสองประเทศต้องมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน มันควรจะทำไปพร้อมๆกันได้ โดยอาจารย์เสนอว่าปัจจุบันเรามี Milk Tea Alliance ที่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนภายในประเทศเท่านั้นที่ซัพพอร์ตกันและกัน แต่เมื่อใดก็ตามที่ประเทศในเครือต้องการความช่วยเหลือหรือมีการประท้วงให้ร่วมมือกันดีกว่า
(7) กรณีกลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตยในนอร์เวย์ได้เริ่มรวมตัวกับกลุ่มผู้ประท้วงประเทศอื่นแล้ว เช่น อิหร่านและยินดีที่จะร่วมสนับสนุนประเทศอื่นๆต่อไป ปัจจุบันประเทศนอร์เวย์เองก็ยังมีสถาบันกษัตริย์อยู่ไม่ต่างจากไทย แต่ไม่มีการฟ้องหมิ่นเกิดขึ้นและทุกคนสามารถเสวนาการเมืองได้อย่างเสรี
(8) พูดถึง Milk Tea Alliance กับ Arab Spring มีความแตกต่างกันอยู่อย่างนึงคือเราไม่สามารถนำเข้า movement ได้ เพราะ AS สำเร็จเนื่องจากมีฐานค่อนข้างชัด คนรวมตัว แต่ MTA มีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างหลวม ฉะนั้นถ้ามีการวางรากฐานให้แน่นพอก็อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวได้
(9) ก่อนนี้ อจ. ได้ไปบรัสเซลล์เพื่อคุยกับองค์กรของ EU เนื่องมีการกลับไปเจรจาธุรกิจกับทางไทยอีกครั้ง ทำให้ อจ.ตั้งคำถามกลับไปว่าเพราะอะไร หรือเขาไม่สนใจ Human Right ถึงตัดสินใจกลับไปค้าขายกับไทย ทางนั้นให้คำตอบมาว่า การกลับไปเปิดทางธุรกิจก็เพื่อเปิดทางเจรจาเรื่องนี้ด้วย
(10) สาเหตุที่ อจ. ไม่เคยไปทำ advocacy ในประเทศแถบเอเชียเป็นเพราะว่าแถบนี้แทบไม่เปิดรับผู้ลี้ภัยทางการเมืองเลย เช่น ประเทศญี่ปุ่นที่รับผู้ลี้ภัยต่อปีน้อยมากๆเมื่อเทียบกับประเทศในยุโรปหรือสหรัฐ และไม่ว่าหน่วยงานสิทธิมนุษยชนจะขอให้ญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือมากขึ้นเท่าไหร่ก็ไม่ดีขึ้น