วันศุกร์, พฤษภาคม 21, 2564

ข่าวเรื่องวัคซีน Fake News ที่ IO ของ "เจ๊กแดง" ปล่อยมาทางฮ่องกง และไต้หวัน และในที่สุดมาถึง "กะลาแลนด์" ด้วยฝีมือ IO "สลิ่มไทย"



สุชาติ สวัสดิ์ศรี
6h ·

ข่าวเรื่องวัคซีน 4 ตัวที่มาจาก "เจ๊กแดง" มีความปลอดภัยขึ้นอันดับ 1-4 เช่น Sinopharm ปลอดภัยอันดับ 1 และ Sinovac ปลอดภัยอันดับ 2 โดยอ้างที่มาจาก นสพ.The New York Times ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 นั้น โปรดระวังด้วยว่าเป็น Fake News ที่ IO ของ "เจ๊กแดง" ปล่อยมาทางฮ่องกง และไต้หวัน และในที่สุดมาถึง "กะลาแลนด์" ด้วยฝีมือ IO "สลิ่มไทย"
...
Boonlert TuAnt
6h ·

ภาพข้างล่าง ตัดมาจากข้อความที่ส่งกันในไลน์ของหมู่บ้าน คิดว่าคงมีต้นตอจากไหนสักแห่ง อ้างรายงานจาก นิวยอร์ค ไทมส์ ว่า วัคซีนจากจีน (รวมถึง Sinovac ที่รัฐบาลกำลังจะกล่อมชวนให้ประชาชนไปฉีด) 4 ยี่ห้อ ได้รับการจัดอันดับความปลอดภัยเป็น 4 อันดับแรก เหนือยี่ห้ออื่นๆ
ด้วยความสงสัยจึงคลิกไปตามลิงค์ที่ให้มา พบว่า บทความ (ความจริงเป็นบทความในเซ็คชั่น Opinion ไม่ใช่ข่าว) ไม่ได้มีส่วนไหนที่เขียนว่าวัคซีนจากจีน 4 ยี่ห้อ นั้นปลอดภัย ทีสุด แค่เสนอทัศนะว่า บรรดาประเทศตะวันตกรวมถึง WHO ดูเหมือนจะให้น้ำหนักกับวัคซีนที่ผลิตจากประเทศตะวันตก เช่น รับรองวัคซีน ของ Pfizer และ Moderna อย่างรวดเร็ว. แต่วัคซีนของจีนกับรัสเซียถูกมองข้าม ทั้งๆที่ ทั่วโลกต่างประสบปัญหาการขาดแคลน การเข้าถึงวัคซีน ผุ้เขียนทั้งสองจึงเสนอว่าจะเป็นการดีถ้าทั่วโลกได้หันมามอง หรือพิจารณาจริงๆว่าวัคซีนของจีนกับรัสเซียมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ ที่ผ่านมา ดูเหมือนจะไม่ค่อยให้น้ำหนักเชื่อถือกับวัคซีนของจีนกับรัสเซีย และมีความเห็นว่า ที่ผ่านมา ผลการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีน ก็ไม่ได้มีที่ไหน โปร่งใส จริง นี่พยายามสรุปให้ตรงทัศนะของผู้เขียนมากที่สุด
อย่างนี้แหละที่น่าจะเรียกว่า fake news ทำเป็นอ้างนิวยอร์คไทมส์ให้ดูแนบเนียน
https://www.nytimes.com/.../covid-vaccines-china-russia.html