วันจันทร์, พฤษภาคม 31, 2564

ในมุมกฎหมาย เหตุใดราชวิจัยจุฬาภรณ์ฯ (รวมถึงโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ฯ) จึงสามารถนำเข้าวัคซีนทางเลือกได้ และหากโรงเรียนแพทย์อื่น เช่น ศิริราช จุฬาฯ จะนำเข้าบ้าง สามารถทำได้หรือไม่?



Pum Chakartnit is feeling curious.
Yesterday at 2:03 AM ·

โรงเรียนแพทย์อื่น สั่งซื้อวัคซีนทางเลือกเหมือนโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ฯ ได้หรือไม่?
...
หลังจากราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศสำคัญเมื่อไม่กี่วันก่อน ทำให้เกิดคำถามกันขึ้นมากมายว่า เหตุใดราชวิจัยจุฬาภรณ์ฯ (รวมถึงโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ฯ) จึงสามารถนำเข้าวัคซีนทางเลือกได้
และหากโรงเรียนแพทย์อื่น เช่น ศิริราช จุฬาฯ จะนำเข้าบ้าง สามารถทำได้หรือไม่?
ด้วยส่วนตัวก็สนใจคำถามนี้เหมือนกัน ผมจึงไปค้นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมา และพบข้อมูลที่น่าสนใจ จึงอยากนำมาสรุปให้ฟัง เผื่อเพื่อนๆ ท่านใดก็สนใจในคำถามนี้เช่นเดียวกันครับ
...
1. โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ฯ
มีฐานะเป็นส่วนงานหนึ่งภายใต้ราชวิทยาลัย ตามมาตรา 8 วรรค 2 แห่งพ.ร.บ.ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 2559
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐซึ่งไม่เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 4 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 2559
การนำเข้าวัคซีนของโรงพยาบาลจึงต้องทำผ่าน "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐเท่านั้น
2. โรงพยาบาลศิริราช
มีฐานะเป็นส่วนงานหนึ่งภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล ตามมาตรา 10 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล 2550
มหาวิทยาลัยมหิดล มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐซึ่งไม่เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 5 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล 2550
การนำเข้าวัคซีนของโรงพยาบาลศิริราช จึงต้องทำผ่าน "มหาวิทยาลัยมหิดล" ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ตัวโรงพยาบาลเองทำไม่ได้
3. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
มีฐานะเป็น กองงานหนึ่ง ภายใต้สภากาชาดไทย ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยสภากาชาดไทย 2461 (ไม่ใช่ พ.ร.บ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ)
สภากาชาดไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินการอันเป็นสาธารณกุศลเพื่อมนุษยธรรมตามหลักการของกาชาดสากล และพึงได้รับการสนับสนุนการดำเนินการจากรัฐ ตามมาตรา 1 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยสภากาชาดไทย 2461
การนำเข้าวัคซีนของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นั้น ในความเห็นผมจึงแตกต่างกับทางโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และ โรงพยาบาลศิริราช อย่างชัดเจน เพราะสภากาชาดไทย มิใช่หน่วยงานในกำกับของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด
ฉะนั้น ถ้าว่ากันตามหลักกฎหมายแล้ว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จึงไม่น่าจะสามารถนำเข้าวัคซีนโดยตรงได้แบบ โรงพยาบาลศิริราช หรือ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ฯ
...
ข้อสังเกตุและประเด็นที่น่าสนใจของเรื่องนี้ก็คือ ในชั้นแรกรัฐบาลอ้างว่า บริษัทผู้ผลิตวัคซีนต้องการจะ deal กับหน่วยงานของรัฐโดยตรงเท่านั้น โดยไม่ deal กับเอกชน ซึ่งเราก็เข้าใจกันว่า คงเป็นการ deal ผ่านหน่วยงานราชการหลักๆ เช่น สถาบันวัคซีน องค์การเภสัชกรรม หรือ กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ อะไรทำนองนั้น
แต่หากดูจากการแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ แสดงให้เห็นว่า หน่วยงานรัฐที่ว่านั้น หมายถึงหน่วยงานรัฐใดๆ ในประเทศไทยก็ได้ทั้งสิ้น เช่น ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นต้น (ซึ่งไม่ได้เป็นทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ก็สามารถนำเข้าวัคซีนทางเลือกได้
ถ้าหลักการเดียวกันนี้ ย่อมแสดงว่าหน่วยงานรัฐอื่น ซึ่งรวมถึงรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้า การรถไฟ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ ก็น่าจะ deal กับผู้ผลิตวัคซีนได้โดยตรงเช่นเดียวกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ใช่หรือไม่
ดังนั้น คำถามสำคัญคือ ทำไมที่ผ่านมารัฐบาลจึงไม่ใช้แนวทางแบบนี้ตั้งแต่ต้น แต่กลับปฏิบัติราวกับว่าหน่วยงานที่สามารถ deal ได้ มีเพียงองค์การเภสัชกรรม หรือ สถาบันวัคซีนแห่งชาติเท่านั้น
มิเช่นนั้น เราอาจจะมีวัคซีนทางเลือกเร็วกว่านี้ก็เป็นได้ น่าเสียดายจริงๆ ครับ
#นำเข้าวัคซีน
#หน่วยงานของรัฐ
#COVID19


วิวาทะ V2
May 28 at 8:37 AM ·
"..
22 เม.ย. 40CEOออกมาโวยการรับมือระลอก3ของรัฐบาล ประกาศจัดตั้งหน่วยงานจัดหาวัคซีนเอง
.
27 เม.ย. ประยุทธ์ออกพ.ร.ก.รวบอำนาจ31ฉบับ เข้ามาจัดการเบ็ดเสร็จ เอกชนถอยโดยเอารายชื่อที่รวมให้รัฐบาลจัดหาวัคซีน
.
ต้นพ.ค. โรงพยาบาลเอกชนเริ่มสำรวจความเห็นความต้องการวัคซีนทางเลือก
.
23 พ.ค. Sinopharm ยื่นขอ อย.
.
27 พ.ค. มีข่าวราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ฯจะเอา Sinopharm เข้ามา
.
28 พ.ค. อย.รับรองก่อนแถลง1ชั่วโมง สรุปของลอตแรกจะถูกส่งไปสภาอุตสาหกรรมและปตท.ซึ่งเคยจะจัดหาวัคซีนเอง
..."
#มิตรสหายท่านหนึ่ง