วันอาทิตย์, พฤษภาคม 30, 2564

ประสิทธิภาพและคุณภาพของวัคซีนสำคัญไฉน... บทเรียนจากประเทศเซเชลล์ ประเทศที่ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนในอัตราสูงสุดในโลก แต่ทำไม เคสของ COVID-19 ถึงได้พุ่งขึ้น


Doungchampa Spencer-Isenberg
21h ·

1. ประเทศเซเชลล์ (Republic of Seychelles) เป็นหมู่เกาะ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศมัลดิฟส์ (Maldives) อยู่ในมหาสมุทรอินเดีย เริ่มมีข่าวออกมาพอสมควรในเวลาสองเดือนที่ผ่านมาว่า เป็นประเทศทีประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนในอัตราสูงสุดในโลก (Most vaccinated nation on earth)
.
.
2. กระทรวงสาธารณสุขของ Seychelles กล่าวว่า ประชากร 1 ใน 3 ที่ได้รับผลการตรวจ COVID-19 เป็นบวกนั้น ต่างได้รับการฉีดวัคซีนครบสองเข็มเรียบร้อยอย่างสมบูรณ์แล้ว (ฉีดเข็มสอง บวกกับ อย่างน้อยสองสัปดาห์ต่อมา) ซึ่งก่อให้เกิดความวิตกกังวลกันว่า ทำไม เคสของ COVID-19 ถึงได้พุ่งขึ้นมามากขนาดนี้
.
.
3. สัดส่วนของประชากรที่ได้รับวัคซีน มีอัตราสูงกว่าของประเทศอิสราเอล และสหราชอาณาจักรเสียอีก (Seychelles อยู่ใกล้เคียง 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอิสราเอล อยู่ประมาณ 62 เปอร์เซ็นต์ และ 57 เปอร์เซ็นต์กับสหราชอาณาจักร)
.
.
4. ประชาชนส่วนใหญ่ ได้รับวัคซีนสองยี่ห้อคือ ของ Sinopharm (ซึ่งได้รับการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลก) และ จากยี่ห้อ AstraZeneca (ใช้ชื่อว่า Covishield ที่ผลิดจากประเทศอินเดีย)
.
.
5. Seychelles มีประชากรอยู่ประมาณ 97,000 คน (115 เกาะ) และมีเคสโควิด 8,200 เคส และมีผู้เสียชีวิต 28 คนในช่วงการระบาดใหญ่
.
.
--------------------------------------
.
.
6. เมื่อตอนกลางเดือนพฤษภาคม ทางกระทรวงสาธารณสุขของ Seychelles รายงานว่า เคสโควิดมีจำนวนพุ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จากเคสใหม่ๆ ราวๆ 120 เคสตอนปลายเดือนเมษายน มากลายเป็น 300 กว่าเคสต่อวันในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม
.
.
7. จากจำนวนคนไข้ในเคสที่ตรวจเป็นผลบวกทั้งหมด มีอยู่เพียง 6.3 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนเลย หรือ ได้รับวัคซีน Sinopharm หรือ Covishield มาก่อนหน้าเพียงเข็มเดียว แต่ว่า 37 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่นั้น ได้รับวัคซีนมาสองเข็มอย่างเรียบร้อยแล้ว
.
.
8. อย่างที่เห็นๆ กันคือ ผู้ป่วยที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลนั้น 80 เปอร์เซ็นต์ไม่เคยได้รับวัคซีน และมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ อยู่แล้ว (comorbidities) รวมทั้งที่อยู่ใน ICU ด้วย แต่ผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนสองเข็มมาก่อนหน้านั้น ไม่มีใครเสียชีวิตแม้แต่สักคนเดียว
.
.
9. ตามสถิติการฉีดวัคซีนใน Seychelles ประชาชนได้รับวัคซีนของ Sinopharm 57 เปอร์เซ็นต์ และของ AstraZeneca (Covishield) 43 เปอร์เซ็นต์ ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า วัคซีนตัวใดที่ฉีดให้ประชาชนจนครบโดสแล้ว ก่อให้เกิดการติดเชื้อและมีผลตรวจเป็นบวกอีกครั้งหนึ่ง
.
.
--------------------------------------
.
.
10. สถานการณ์ใน Seychelles สร้างความกังวลให้กับผู้เชี่ยวชาญกัน เพราะประชากรมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ได้รับวัคซีนเป็นที่เรียบร้อย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขเอง มีการบันทึกว่า จำนวนประชาชนถึง 80+ เปอร์เซ็นต์ได้รับการฉีดวัคซีนกันแล้ว
.
.
11. ทางองค์การอนามัยโลกยังงุนงงอยู่กับข้อมูลเหล่านี้ แต่จากข่าวที่ลงไว้ อาการของผู้ป่วยที่แสดงออกมา ยังถือว่า เบาบางอยู่ เคสบางเคสเกิดขึ้นหลังจากฉีดเข็มแรก หรือเพียงระยะเวลาไม่นานหลังจากเข็มที่สอง หรือ อยู่ในช่วงระหว่างเข็มที่หนึ่งกับเข็มที่สองเลย และทางองค์การอนามัยโลกกำลังประเมินสถานการณ์อยู๋
.
.
12. องค์การอนามัยโลก ออกแถลงการณ์เตือนหลายครั้งแล้วว่า วัคซีนอย่างเดียวไม่ได้ช่วยหยุดการระบาด แต่เป็นเพียงการป้องกันชนิดหนึ่งในการสู้กับไวรัส การรักษาความสะอาด การเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นตัวประกอบในการช่วยให้การระบาดลดลงไปด้วย
.
.
--------------------------------------
.
.
13. สิ่งที่เราเห็นคือ ความแตกต่างระหว่าง Seychelles กับ Israel (ซึ่งเป็นประเทศลำดับที่สองของจำนวนประชาชนได้รับวัคซีนครบโดส) นั่นคือ Israel ใช้วัคซีนของ Pfizer-BioTech (mRNA)
.
ข้อมูลจากการทดสอบทางคลินิกช่วงสุดท้าย แสดงให้เห็นว่า วัคซีน mRNA สามารถหยุดยั้งการระบาดของ COVID, สู้กับการกลายพันธุ์ และ ยับยั้งไม่ให้ไวรัสแพร่หลายออกไปในชุมชนอย่างกว้างขวางได้ ส่วนวัคซีนของ Sinopharm และ AstraZeneca ยังคงพึ่งอยู่กับวิธีการผลิตแบบวิธีเดิมๆ กันอยู่ และข้อมูลแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพต่ำกว่าในการทดสอบจริง (ของ Sinopharm ใช้แบบ "เชื่้อตาย" ส่วนของ AstraZeneca ใช้ในรูปแบบของ Viral Vector)
.
.
14. ทางการสาธารณสุขของ Seychelles ไม่ได้ให้ข้อมูลว่า วัคซีนยี่ห้อใด ก่อให้เกิดการ breakthrough ออกมาได้ (คือวัคซีนเอาไม่อยู่ ยังทำให้คนติดเชื้อทั้งๆ ที่ฉีดกันครบโดสแล้ว)
.
.
15. วัคซีนกลายพันธุ์สายแอฟริกาใต้ (B.1.351) ได้พบใน Seychelles เมื่อเดือนกุมภาพันธ์
.
.
16. นักวิทยาศาสตร์เคยสร้างรูปแบบจำลองไว้ว่า ภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) จะเกิดขึ้นเมื่อประชากร 55-82 เปอร์เซ็นต์ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว (ไม่ว่าจะฟื้นจากไข้ หรือ ได้รับจากการฉีดวัคซีน)
.
พื้นฐานนี้คือ ไวรัสไม่สามารถที่จะหา “มนุษย์ตัวเป็นๆ” (Host) ได้อย่างเพียงพอ เพื่อกระจายพันธุ์ให้เป็นพาหะได้อีกต่อไป แต่หลังจากผ่านช่วงการระบาดมาเกือบหนึ่งปีครึ่งแล้ว ตัววัดผลเหล่านี้ก็เปลี่ยนแปลงไป ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนเองในกิจวัตรประจำวันแทน
.
.
17. สรุปก็คือ ประสิทธิภาพและคุณภาพของวัคซีน เป็นหัวใจสำคัญว่า สามารถยับยั้งการกลายพันธุ์ได้หรือไม่
.
.
--------------------------------------
.
.
ความคิดเห็นของผู้แปล:
.
.
ดิฉัน Bookmark บทความนี้ไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ไม่มีเวลาเขียน ขอเขียนตอนนี้ก็แล้วกัน:
.
.
1. สถานการณ์ใน Seychelles เกิดขึ้นได้ เพราะ ยังไม่ถึง ช่วงที่จะถึงภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity threshold) จำนวนประชากรได้รับวัคซีน 60 กว่าเปอร์เซ็นต์ยังไม่เพียงพอเท่าไรนัก
.
.
2. สถานการณ์อาจจะไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ เนื่องจากประสิทธิภาพของวัคซีนไม่เพียงพอ (Inadequate efficacy) จากวัคซีนที่ใช้อยู่ทั้งสองยี่ห้อ
.
.
3. การกลายพันธุ์ในสายอังกฤษหรือสายอินเดียที่มีอยู่ในเวลานี้ สามารถหลบหลีกการป้องกันจากวัคซีนได้ และสายพันธุ์ B1617 (สายอินเดีย) ยังคงแพร่กระจายอยู่อย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าจะมีการติดเชื้อจากสายพันธุ์นี้มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ใน Seychelles
.
.
4. อีกประการหนึ่งคือ อาจจะมีความล้มเหลวเกิดขึ้นจากการขนส่งและการเก็บวัคซีนในห้องเย็น ซึ่งสามารถทำให้วัคซีนเสื่อมประสิทธิภาพได้
.
.
--------------------------------------
.
.
5. การกลายพันธุ์สามารถหลีกเลี่ยงการป้องกันไวรัสกับวัคซีนได้ เพราะมีรายงานว่า สายพันธุ์ของแอฟริกาใต้ (B.1.351) มีความสามารถที่ดีที่สุดในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันภายในร่างกายมนุษย์ ตามรายงานข่าวคือ ประสิทธิภาพของวัคซีน AstraZeneca เองกับสายพันธุ์นี้ มีอยู่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์เสียด้วยซ้ำไปในการหยุดยั้งสายพันธุ์ตัวนี้
.
.
6. ส่วนประสิทธิภาพของ Sinopharm กับสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ยังไม่ทราบกันดี แต่การทดสอบในแลป แสดงให้เห็นถึงการคุ้มกันที่ลดลงจากการตรวจเลือด แต่คิดว่า น่าจะมีการคุ้มกันเหลืออยู่บ้าง อันนี้ต้องรอดูข้อมูลใหม่ๆ ที่เข้ามาในเวลาหลัง
.
.
7. ส่วนสายพันธุ์อังกฤษ หรือ B.117 ถือว่า มีการติดเชื้อกันง่ายกว่าสายพันธุ์อู่ฮั่น ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม และเป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา
.
แต่จากการจำหน่ายวัคซีนให้กับประชาชน ทางสหรัฐฯ สามารถหยุดยั้งการแพร่กระจายได้ด้วยการใช้วัคซีน mRNA ของ Pfizer และ Moderna กัน และในประเทศอิสราเอลเอง ก็แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ที่ 92 เปอร์เซ็นต์ และสามารถทำให้จำนวนเคสลดลงได้ในเวลาต่อมา
.
.
--------------------------------------
.
.
8. ในประเทศสหราชอาณาจักร การใช้วัคซีนของ Pfizer และ AstraZeneca ทำให้จำนวนเคสลดลงมาอย่างเห็นได้ชัด เพราะจำนวนประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่ง (50 เปอร์เซ็นต์) ได้รับวัคซีนหนึ่งเข็ม และมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว
.
.
9. แต่ยังไม่แน่ใจว่า การกลายพันธุ์ใน Seychelles นั้น เป็นสายพันธุ์อินเดียหรือไม่ จะต้องทำการจัดลำดับพันธุกรรมกัน (Genome sequencing) ถึงจะทราบแน่นอนในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ข่าวที่อ่านมาเห็นว่า ในประเทการ์ต้าร์ (Qatar) กล่าวว่า วัคซีนของ Pfizer แสดงให้เห็นประสิทธิภาพอยู่ที่ 75 เปอร์เซ็นต์กับไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้
.
.
10. เราต้องใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อเข้าถึงสภาพของภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ตามรายงานกล่าวว่า วัคซีนของ Sinopharm แสดงประสิทธิภาพอยู่ที่ 79 เปอร์เซ็นต์ และ 62-70 เปอร์เซ็นต์จาก AstraZeneca
.
.
11. จากการคำนวณแล้ว จะเห็นได้ว่า การใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ 90 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ เมื่อประชาชนจำนวน 66 เปอร์เซ็นต์ได้รับการฉีดวัคซีนครบทั้งสองเข็ม
.
หากใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพต่ำ ก็หมายความว่า จะต้องมีประชาชนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เข้ามาทำการฉีด เพื่อให้เข้าถึงสภาพภูมิคุ้มกันหมู่ (วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ 60 เปอร์เซ็นต์ จะต้องฉีดให้กับประชาชน 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้) แล้วลองคิดดูกับ วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ 50 เปอร์เซ็นต์เศษๆ ก็แล้วกัน เพราะฉะนั้น ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้นได้เลย
.
.
--------------------------------------
.
.
ขอเขียนให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันว่า ประสิทธิภาพของวัคซีน มีความสำคัญมากในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ขนาดไหน ยิ่งเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้เร็วมากขึ้นเมื่อไร เราจะเปิดประเทศได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น นั่นหมายความว่า เศรษฐกิจจะได้เริ่มเดินหน้ากันเสียที
.
.
เพราะฉะนั้น การสั่งซื้อวัคซีนที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดมาให้กับประชาชน ถือว่าเป็นตัวเร่งในการเปิดประเทศ ไม่อย่างนั้น สถานการณ์จะอยู่ในระดับ “คงที่” ซึ่งไม่ได้ช่วยอะไรมากนักในทางด้านเศรษฐกิจ
.
.
ขอจบบทความเพียงเท่านี้ เชิญแชร์ได้ตามสบาย Have a great and wonderful weekend ค่ะ
.
.
Doungchampa Spencer-Isenberg
.
.
อ้างอิง:
.
https://www.cnbc.com/.../seychelles-most-vaccinated...
.
https://www.bloomberg.com/.../why-covid-cases-in...
.....
Doungchampa Spencer-Isenberg

ส่วนตัวคิดว่า วัคซีนที่ทำจาก "เชื้อตาย" มีประสิทธิภาพที่ดีกับสายพันธุ์ดั้ิงเดิม คือ สายพันธุ์อู่ฮั่น หรือ สายพันธุ์อิตาลี ที่กลายพันธุ์เมื่อปีที่แล้ว เพราะมันยังคงมีเชื้อไวรัสเก่าๆ ที่ตายไปแล้วอยู่
แต่สถานการณ์ในปัจจุบัน เรากำลังเผชิญกับ การกลายพันธุ์ของไวรัสไปเรื่อยๆ เราจะเห็นสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว เป็นต้นว่า สายพันธุ์อังกฤษ, สายพันธุ์แอฟริกาใต้, สายพันธุ์บราซิล, สายพันธุ์อินเดีย หรือ แม้แต่สายพันธุ์ไทย
เพราะฉะนั้น วัคซีนที่ใช้จาก "เชื้อตาย" อาจจะไม่มีประสิทธิภาพพอในการ "ปรับตัว" เพื่อสู้กับการกลายพันธุ์ของไวรัสไปเรื่อยๆ (อาจจะสู้ได้บ้าง แต่ยังไม่แบบ 90 เปอร์เซ็นต์) คือ การกลายพันธุ์อาจจะมีเชื้อดั้งเดิมผสมอยู่ แต่มันเปลี่ยนรูปโฉมไปพอสมควร แถมยังรู้จักการหลบหลีก หรือ หลีกเลี่ยง แอนตี้บอดี้ในร่างกายเราด้วย (ตัวอย่างคือ สายพันธุ์อินเดีย)
สรุปแล้วก็คือ คงต้องใช้วัคซีนแบบ Viral Vector เป็นอย่างต่ำ คือ AstraZeneca หรือเป็นแบบ Protein Subunit (อย่างของ Novavax) หรือเปลี่ยนเป็นแบบ mRNA ไปเลย ซึ่งคิดว่า น่าจะ adapt กับสถานการณ์ได้ดีกว่า
ที่ชัวร์ๆ คือ คิดว่า บริษัทสร้าง mRNA อาจจะสร้าง Booster shot หรือวัคซีนเสริมตัวที่สามขึ้นมา เพื่อกวาดพวกที่กลายพันธุ์ตัวใหญ่ๆ นี้ให้หมด การใช้เทคนิค mRNA จะเร็ว และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้คล่องกว่า การผลิดจากวัคซีน "เชื้อตาย"
ภายในสิ้นปีนี้ หากยังไม่มีการฉีดวัคซีนอย่างปูพรม เราคงเห็นการกระจายพันธุ์และสายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกมากแน่ๆ (เหมือนกับไข้หวัด ซึ่งมีสายพันธุ์อยู่นับเป็นพันๆ สายเลย)
ส่วนตัวคิดว่า เราคงจะต้องฉีดวัคซีนกันทุกๆ ปี และเจ้าโควิดนี้ คงจะกลายเป็น Endemic หรือโรคไวรัสประจำท้องถิ่นหรือประจำฤดูกาลไปในที่สุด

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4121962637846719&id=804632636246419