วันเสาร์, พฤษภาคม 29, 2564

ความไม่พอใจเรื่อง"วัคซีน" ของสังคมทุกวันนี้ น่าจะเป็น"จุดเปลี่ยนสำคัญ เรื่อง"วัคซีน" แต่จะเป็น"จุดเปลี่ยน" ทางการเมืองหรือไม่ ต้องติดตาม




หนุ่มเมืองจันท์
May 26 at 10:15 PM ·

เคยเขียนบทความเตือนไว้ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม
เพราะเห็นสัญญานความไม่พอใจของภาคเอกชนเรื่อง"วัคซีน"
วันนี้น่าจะเป็น"จุดเปลี่ยน" เรื่อง"วัคซีน"
แต่จะเป็น"จุดเปลี่ยน" ทางการเมืองหรือไม่
ต้องติดตามกันต่อไปครับ
........
"แต่วันนี้สถานการณ์เปลี่ยนไป. ลมหายใจเหลือน้อยลง แต่มีความหวังเพราะเห็น"วัคซีน" ที่ปลายอุโมงค์
สถานการณ์แบบนี้ ถ้ารัฐบริหาร"ความรู้สึก" ภาคเอกชนไม่ดี
อธิบายเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมถึงไม่ช่วยเปิดทางให้ภาคเอกชนหรือโรงพยาบาลเอกชนนำเข้าวัคซีนเอง
ความรู้สึกของภาคเอกชนต่อรัฐบาลจะเป็น"ลบ" ทันที
คนไทยนั้นยังมีความเกรงอกเกรงใจรักษาหน้ารัฐบาล.
แต่ฝรั่งอย่าง"บิลล์ ไฮเนคกี้" ของ"ไมเนอร์ กรุ๊ป" เขาพูดตรงๆเลยตามสไตล์ตะวันตก
เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี 2 ฉบับแล้ว
ความรู้สึกของคุณบิลล์ คือ ความรู้สึกเดียวกับนักธุรกิจไทย
เพียงแต่การแสดงออกแตกต่างกัน
อยากเตือนรัฐบาลว่าภาคเอกชนแต่ละคน conection ไม่ธรรมดานะครับ
ขอเตือนให้ระวัง และระวัง
...เดี๋ยวอะไรหล่นลงมา"
บทความฉบับเต็มครับ
https://www.prachachat.net/opinion-column-2/news-637374



ศึก “วัคซีน”

30 มีนาคม 2564
ประชาชาติธุรกิจ

Market-think สรกล อดุลยานนท์

ตอนนี้รัฐบาลเผชิญกับแรงกดดันจากภาคเอกชนเรื่อง “วัคซีน” มากขึ้นเรื่อย ๆ

ในมุมของภาคเอกชนมองว่า “วัคซีน” คือ “เชื้อเพลิง” สำคัญของเศรษฐกิจไทย

ในงานสัมมนาครั้งล่าสุดของ “ประชาชาติธุรกิจ” ชัดเจนที่สุด

นักธุรกิจทุกคนพูดแต่เรื่อง “วัคซีน”

เขาอยากให้รัฐบาลเปิดประตูให้เอกชนจัดหาและฉีด “วัคซีน” กันเอง

ทุกคนพร้อมจ่ายเอง

คนเป็นนักธุรกิจเขาประเมินแล้วว่าต่อให้ต้องควักกระเป๋าจ่ายเอง

ก็ยังคุ้ม

เพราะผลตอบแทนที่ได้รับจากการที่พนักงานทุกคนฉีดวัคซีนมากกว่าค่าวัคซีน

ช่วยธุรกิจของตัวเองด้วย และช่วยลดภาระรัฐบาลด้วย

เป็นเรื่องที่ “วิน-วิน” อย่างยิ่ง

อย่าแปลกใจที่ตอนนี้ภาคเอกชนเริ่มกดดันรัฐบาลหนักขึ้นเรื่อย ๆ

เริ่มจากให้สัมภาษณ์เป็นความเห็นส่วนตัว

ถ้ายังไม่ได้ผล สักพักหนึ่งภาคเอกชนจะเริ่มจับกลุ่มกันกดดันรัฐบาลในรูปแบบสภา หรือสมาคม

แรงกดดันนี้จะหนักขึ้นเรื่อย ๆ

เพราะภาคเอกชนตอนนี้ไม่ไหวแล้ว

จะหมดลมหายใจกันแล้ว

รัฐบาลจะมาบอกให้ทนอีกหน่อย อึดอีกนิด

ถ้าเป็นช่วงที่อยู่ในอุโมงค์ “โควิด-19” มองไปทางไหนก็เห็นแต่ความมืด ไม่มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

แบบนั้นยังไงก็ต้องอึดต้องทน

แต่วันนี้สถานการณ์เปลี่ยนไป ลมหายใจเหลือน้อยลง แต่มีความหวังเพราะเห็น “วัคซีน” ที่ปลายอุโมงค์

สถานการณ์แบบนี้ ถ้ารัฐบริหาร “ความรู้สึก” ภาคเอกชนไม่ดี

กล้าปักธงไปเลยว่าภายในเดือนเมษายน

ขออนุญาตลอกวิธีการบริหารวิกฤตของ “พี่เตา” บรรยง พงษ์พานิช มาใช้

เมื่อรัฐบาลโยนโจทย์ไปแล้ว

ห้ามตอบว่าทำไม่ได้

“วอร์รูม” มีหน้าที่อย่างเดียวคือ ตอบว่าต้องทำอย่างไร

มีกำแพงที่หน่วยงานไหนก็ทะลวงไปเลย

ลดขั้นตอนลง เพราะวันนี้ไม่ใช่สถานการณ์ปกติ แต่เป็นช่วงวิกฤต

กฎหมายข้อไหนเป็นอุปสรรค ผมแนะนำให้ใช้บริการของ “วิษณุ เครืองาม”

เทพเจ้าแห่งการยกเว้น

อำนาจจากการประกาศภาวะฉุกเฉินต้องเอามาใช้

รัฐบาลอ้างเรื่องโควิด-19 ประกาศภาวะฉุกเฉินมาเป็นปีแล้ว

เอาอำนาจในมือมาใช้ทะลุทะลวงเรื่องนี้บ้าง

อย่าให้คนนินทาได้ว่าเอามาใช้ผิดเรื่อง

ใช้กับเรื่องการเมืองจัดการ “ม็อบราษฎร” อย่างเดียว

แต่เรื่อง “วัคซีน” ที่เกี่ยวกับ “โควิด” โดยตรงกลับไม่ยอมใช้

ผมเชื่อว่าคุณอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มาจากภาคเอกชนน่าจะเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี

โอกาสทำคะแนนมาถึงแล้วครับ
.....

Pareena Toei Srivanit
May 26 at 11:28 PM ·

การที่ “สินค้า (วัคซีน) ไม่มาตามที่กำหนดในสัญญา” โดยที่สัญญาก็ไม่ได้ระบุวันที่จัดส่งให้ชัดเจนแน่นอน เป็น “#ความเสี่ยงที่คาดหมายได้” ไม่ว่าจะสำหรับนักกฎหมายที่ต้องตรวจร่างสัญญาและผู้บริหารองค์กร
ทั้ง สถานการณ์ที่เปลี่ยนแต่ละวันก็เป็น #สถานการณ์ที่คาดหมายได้ ทั้งเรื่องสินค้า (วัคซีน)ไม่มาตามสัญญา หรือเรื่องการปะทุขึ้นของปัญหาตามจุดต่างๆ (คลัสเตอร์ผู้ติดเชื้อ) ที่ขาดการควบคุมการแพร่กระจายปัญหาอย่างเป็นระบบให้ดีกว่านี้
ประเด็นสำคัญ จึงอยู่ที่ #ได้มีการวางแนวทางการรับมือหรือจัดการเพื่อบริหารความเสี่ยงนั้นไว้หรือไม่ อย่างไร
การที่ต้องมา “เปลี่ยนแผนกลับไปกลับมา” แบบรายวัน “ตามสถานการณ์แต่ละวัน” ก็สะท้อนถึงความรอบคอบและกว้างไกลในการวางแผนและบริหารได้เช่นกัน
อันที่จริง ถ้าจะยอมรับตรงๆ ว่าไม่ได้คิดหรือเผื่อแผนไว้แต่แรก หรือยอมรับว่าไม่ควรป่าวประกาศให้ความมั่นใจว่าทุกอย่างเรียบร้อยทั้งๆ ที่ความเป็นจริงยังไม่แน่นอน ก็อาจจะดีกว่า การพยายามอธิบายแบบน้ำขุ่นๆ ที่ยิ่งทำให้เห็นปัญหาการตัดสินใจ วิสัยทัศน์ และความเป็นเอกภาพในการบริหารที่ (รวบ) รวมอำนาจไว้กับหัวหน้าองค์กรผู้เดียวแล้ว