GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพ ภาพนักโทษนอนเบียดเสียดกันในเรือนจำเมืองเกซอน ชานกรุงมะนิลา เมื่อช่วงต้นปี 2020
23 พฤษภาคม 2021
ขณะที่ "อย่างน้อย 1 เมตร" คือระยะห่างทางสังคมที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 "กระเบื้องแผ่นครึ่ง" (ราวสามคืบ) คือความกว้างของที่นอนที่เรียงติดกันในเรือนจำไทย ตามคำบอกเล่าของอดีตผู้ต้องขังหญิงคนหนึ่ง
เธอบอกกับบีบีซีไทยว่า ห้องขังที่ว่ามีนักโทษนอนรวมกันถึง 120 คน ทั้ง ๆ ที่จำกัดความจุไว้แค่ 70 คน หมายความว่าได้ที่นอนไม่ถึงกระเบื้องสองแผ่นครึ่งตามที่ควรจะได้นั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ตัวเลขสะสมของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในเรือนจำทั่วประเทศทะลุหมื่นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ และตัวเลขผู้ติดเชื้อในเรือนจำในบางวันคิดเป็นกว่า 44% ของจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ทั่วประเทศทั้งหมด
ข้อมูลถึงวันที่ 21 พ.ค. ที่ผ่านมา ยอดสะสมของผู้ต้องขังที่ติดเชื้อโควิด-19 และอยู่ระหว่างการรักษาตัวอยู่ที่ 14,049 ราย กระจายอยู่ในเรือนจำ 12 แห่ง และมีอีก 319 รายที่รักษาหายแล้ว
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมราชทัณฑ์ ระบุว่า ไทยมีผู้ต้องขังทั้งหมด 310,830 ราย โดย 59,995 ราย หรือ 19.3% อยู่ระหว่างการสอบสวน ไต่สวน-พิจารณา และอุทธรณ์-ฎีกา
เข้ากลางปีที่สองของการระบาดใหญ่ สิ่งที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ แม้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จะไม่เลือกชนชาติ แต่ดูเหมือนจะเลือกบางชนชั้นทางสังคมเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นคนยากจน ชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติ และที่กำลังน่ากังวลอย่างยิ่งในตอนนี้คือ ผู้ถูกจองจำหลังลูกกรง
แต่วิกฤตค่อนข้างใหม่สำหรับไทยนี้เป็นสิ่งที่หลายประเทศเผชิญมาก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นที่อิหร่าน ประเทศในยุโรป ไปจนถึงสหรัฐอเมริกา ประเทศเหล่านี้รับมืออย่างไร และท้ายที่สุดแล้ว การระบาดใหญ่หลังลูกกรงคือวิกฤตด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยหรือเปล่า
วิธีที่ง่ายที่สุด
ศาสตราจารย์สจ๊วต คินเนอร์ จากศูนย์ความเสมอภาคทางสาธารณสุขของวิทยาลัยด้านประชากรและสาธารณสุขโลก มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ในออสเตรเลีย บอกกับบีบีซีไทยว่า วิธีที่ง่ายที่สุดในการรับมือกับวิกฤตโควิดระบาดในเรือนจำคือการปล่อยตัวนักโทษที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีที่ไม่ได้ร้ายแรง ซึ่งเขายกกรณีของอิหร่าน และออสเตรเลียเป็นตัวอย่าง
เมื่อเดือน มี.ค. ปีที่แล้ว รัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลียผ่านกฎหมายให้อำนาจผู้ตรวจการราชทัณฑ์พิจารณาปล่อยตัวผู้ต้องขังที่เสี่ยงติดโควิด และที่จะไม่ได้เป็นความเสี่ยงต่อสังคมภายนอก
เกณฑ์ในการพิจารณาปล่อยตัวมีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นประเภทของคดี (ต้องไม่ใช่คดีร้ายแรงอย่างฆ่าผู้อื่น ล่วงละเมิดทางเพศ หรือก่อการร้าย), ระยะเวลาโทษที่เหลือ, อายุ, สุขภาพ รวมถึงว่าผู้ต้องขังรายนั้นมีที่พักอาศัยภายนอกที่เหมาะสมหรือไม่
ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน อิหร่านซึ่งตอนนั้นกำลังเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดร้ายแรงที่สุดประเทศหนึ่ง ปล่อยตัวผู้ต้องขัง 70,000 รายเป็นการชั่วคราว ก่อนที่โฆษกฝ่ายตุลาการของอิหร่าน กอลามฮอสเซน เอสมาอิลี จะออกมาระบุภายหลังว่ายอดทั้งหมดเพิ่มเป็นราว 85,000 ราย โดยเขาอ้างว่า 50% ของผู้ต้องขังคดีด้านความมั่นคงแห่งชาติได้รับสิทธิ์ปล่อยตัวชั่วคราว
ก่อนหน้านั้น เอบราฮีม ไรอีซี ประธานศาลสูงสุดของอิหร่าน บอกว่า ต้องใช้มาตรการนี้ต่อไป "ตราบใดที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในสังคม" โดยเขาบอกว่าจะพิจารณาผู้ที่เสี่ยงกว่าจากการมีโรคประจำตัวเป็นอันดับแรก
ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมราชทัณฑ์ ระบุว่า ไทยมีผู้ต้องขังทั้งหมด 310,830 ราย โดย 59,995 ราย หรือ 19.3% อยู่ระหว่างการสอบสวน ไต่สวน-พิจารณา และอุทธรณ์-ฎีกา
เข้ากลางปีที่สองของการระบาดใหญ่ สิ่งที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ แม้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จะไม่เลือกชนชาติ แต่ดูเหมือนจะเลือกบางชนชั้นทางสังคมเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นคนยากจน ชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติ และที่กำลังน่ากังวลอย่างยิ่งในตอนนี้คือ ผู้ถูกจองจำหลังลูกกรง
แต่วิกฤตค่อนข้างใหม่สำหรับไทยนี้เป็นสิ่งที่หลายประเทศเผชิญมาก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นที่อิหร่าน ประเทศในยุโรป ไปจนถึงสหรัฐอเมริกา ประเทศเหล่านี้รับมืออย่างไร และท้ายที่สุดแล้ว การระบาดใหญ่หลังลูกกรงคือวิกฤตด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยหรือเปล่า
วิธีที่ง่ายที่สุด
ศาสตราจารย์สจ๊วต คินเนอร์ จากศูนย์ความเสมอภาคทางสาธารณสุขของวิทยาลัยด้านประชากรและสาธารณสุขโลก มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ในออสเตรเลีย บอกกับบีบีซีไทยว่า วิธีที่ง่ายที่สุดในการรับมือกับวิกฤตโควิดระบาดในเรือนจำคือการปล่อยตัวนักโทษที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีที่ไม่ได้ร้ายแรง ซึ่งเขายกกรณีของอิหร่าน และออสเตรเลียเป็นตัวอย่าง
เมื่อเดือน มี.ค. ปีที่แล้ว รัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลียผ่านกฎหมายให้อำนาจผู้ตรวจการราชทัณฑ์พิจารณาปล่อยตัวผู้ต้องขังที่เสี่ยงติดโควิด และที่จะไม่ได้เป็นความเสี่ยงต่อสังคมภายนอก
เกณฑ์ในการพิจารณาปล่อยตัวมีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นประเภทของคดี (ต้องไม่ใช่คดีร้ายแรงอย่างฆ่าผู้อื่น ล่วงละเมิดทางเพศ หรือก่อการร้าย), ระยะเวลาโทษที่เหลือ, อายุ, สุขภาพ รวมถึงว่าผู้ต้องขังรายนั้นมีที่พักอาศัยภายนอกที่เหมาะสมหรือไม่
ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน อิหร่านซึ่งตอนนั้นกำลังเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดร้ายแรงที่สุดประเทศหนึ่ง ปล่อยตัวผู้ต้องขัง 70,000 รายเป็นการชั่วคราว ก่อนที่โฆษกฝ่ายตุลาการของอิหร่าน กอลามฮอสเซน เอสมาอิลี จะออกมาระบุภายหลังว่ายอดทั้งหมดเพิ่มเป็นราว 85,000 ราย โดยเขาอ้างว่า 50% ของผู้ต้องขังคดีด้านความมั่นคงแห่งชาติได้รับสิทธิ์ปล่อยตัวชั่วคราว
ก่อนหน้านั้น เอบราฮีม ไรอีซี ประธานศาลสูงสุดของอิหร่าน บอกว่า ต้องใช้มาตรการนี้ต่อไป "ตราบใดที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในสังคม" โดยเขาบอกว่าจะพิจารณาผู้ที่เสี่ยงกว่าจากการมีโรคประจำตัวเป็นอันดับแรก
GETTY IMAGES
ถึงเดือน ก.ค. 2020 มีรายงานว่าอินโดนีเซียปล่อยนักโทษกว่า 38,000 ราย
รายงานวิเคราะห์การปล่อยตัวผู้ต้องขังทั่วโลกเพื่อรับมือกับโควิด-19 โดยบริษัทกฎหมายดีแอลเอ ไปเปอร์ (DLA Piper) ซึ่งตีพิมพ์เมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2020 พบว่า จากข้อมูลที่มี มีการปล่อยตัวผู้ต้องขังอย่างน้อย 470,000 ราย ระหว่างเดือน มี.ค. ถึง ก.ค. ในเขตอำนาจศาล 53 แห่ง ในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอเมริกาเหนือและใต้
ประเทศที่ปล่อยตัวนักโทษมากที่สุดได้แก่ อิหร่าน (กว่า 104,000 ราย), อินเดีย (กว่า 68,200 ราย), อิรัก (กว่า 62,000 ราย), เอธิโอเปีย (กว่า 40,000 ราย) และอินโดนีเซีย (กว่า 38,000 ราย)
ถึงเดือน ก.ค. 2020 มีรายงานว่าอินโดนีเซียปล่อยนักโทษกว่า 38,000 ราย
รายงานวิเคราะห์การปล่อยตัวผู้ต้องขังทั่วโลกเพื่อรับมือกับโควิด-19 โดยบริษัทกฎหมายดีแอลเอ ไปเปอร์ (DLA Piper) ซึ่งตีพิมพ์เมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2020 พบว่า จากข้อมูลที่มี มีการปล่อยตัวผู้ต้องขังอย่างน้อย 470,000 ราย ระหว่างเดือน มี.ค. ถึง ก.ค. ในเขตอำนาจศาล 53 แห่ง ในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอเมริกาเหนือและใต้
ประเทศที่ปล่อยตัวนักโทษมากที่สุดได้แก่ อิหร่าน (กว่า 104,000 ราย), อินเดีย (กว่า 68,200 ราย), อิรัก (กว่า 62,000 ราย), เอธิโอเปีย (กว่า 40,000 ราย) และอินโดนีเซีย (กว่า 38,000 ราย)
รายงานฉบับนี้ ซึ่งทำร่วมกับสมาคมป้องกันการทรมาน (Association for the Prevention of Torture) พบว่า จากเขตอำนาจศาลที่เก็บข้อมูลมาทั้งหมด มี 40% ที่อาศัยกฎหมายและกฎเกณฑ์การปล่อยตัวที่มีอยู่แล้ว, มี 28% ที่ออกกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ใหม่เพื่อรับมือกับโควิดโดยเฉพาะ และมี 32% ที่ใช้ทั้งสองวิธีควบคู่กัน
ประเทศส่วนใหญ่เลือกใช้วิธีการลงโทษแบบไม่ต้องคุมขังมากขึ้น อาทิ ศาลฝรั่งเศสที่ให้ผู้ที่ต้องขังบางประเภทที่ต้องโทษตั้งแต่ 2 เดือนถึง 10 ปี เปลี่ยนไปทำงานบริการสังคม หรือกักขังที่บ้าน แทน หรือที่สเปน, นอร์เวย์ และรัฐมินนิโซตาของสหรัฐฯ ที่เพิ่มการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวแทนการกักขังมากขึ้น
EPA
เมื่อกลางเดือน เม.ย. ซิมบับเวปล่อยนักโทษ 3,000 คน เพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาดใหญ่
ในแง่ของหลักเกณฑ์ในการปล่อยตัว มี 83% ด้วยกันที่เลือกปล่อยผู้ต้องขังถูกตัดสินผิดโทษเบา อย่างไรก็ดี บางประเทศอย่างสกอตแลนด์เลือกที่จะปล่อยผู้ต้องขังโทษจากคดีที่หนักกว่าอย่างการลักขโมย, บุกรุกเคหสถาน ไปจนถึงข้อหาหนักอย่างการทำร้ายร่างกายและพยายามฆ่า แต่ก็ไม่ได้รวมถึงนักโทษที่ถูกจำคุกตลอดชีวิต
นอกจากนี้ หลักเกณฑ์สำคัญในการปล่อยตัวอื่น ๆ ยังรวมถึงการปล่อยผู้ต้องขังที่มีปัญหาสุขภาพโดยคิดเป็น 55%, ที่สูงอายุ (50 ปี จนถึงมากกว่า 70 ปี) คิดเป็น 38% และผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ กำลังให้นมลูก หรือที่มีลูกในเรือนจำ คิดเป็น 25% และโดยสรุปแล้ว มี 66% ที่เป็นการปล่อยตัวโดยถาวรเลย
"เครื่องสูบฉีดเชื้อโรค"
ศ.คินเนอร์ เล่าว่า ชะตากรรมที่ผู้ต้องขังต้องเผชิญแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แม้เมื่อศตวรรษก่อนไม่มีการวิจัยเก็บข้อมูลอย่างเข้มข้นเหมือนทุกวันนี้ แต่ก็มีเอกสารที่บันทึกการระบาดในลักษณะคล้ายกันแต่เป็นไข้หวัดใหญ่สเปนในเรือนจำซาน เควนติน ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี 1918
ผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรเลียผู้นี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในกำลังขับเคลื่อนโครงการสาธารณสุขในเรือนจำขององค์การอนามัยโลก (WHO Health in Prisons Programme) ด้วย บอกว่า ไม่ว่าจะพูดถึงโรคอะไรก็ตาม อาทิ เอดส์ วัณโรค หรือตับอักเสบซี อัตราคนที่ปัญหาสุขภาพนั้น ๆ ในเรือนจำมักสูงว่าประชากรทั่วไปในพื้นที่เดียวกันเสมอ
THAI NEWS PIX
เขาบอกว่า เรือนจำเป็นเหมือน "เครื่องสูบฉีดเชื้อโรค" หมายความว่า คนจากชุมชนยากจน ซึ่งมีมาตรฐานระบบสาธารณสุขต่ำ มีแนวโน้มจะต้องเข้าสู่กระบวนการรับใช้โทษในเรือนจำมากกว่าประชากรกลุ่มอื่นมาก และเมื่อเข้าไปในเรือนจำก็ไม่ได้รับการรักษาที่ได้มาตรฐาน ก็อาจนำโรคติดตัวนั้น ๆ ไปแพร่ระบาดขณะถูกคุมขัง ก่อนจะนำเชื้อต่าง ๆ วนกลับออกมาแพร่ในชุมชนยากจนอีกรอบเมื่อได้รับการปล่อยตัว
ดร.ลอเรน บริงค์ลี-รูบินสไตน์ จากคณะเวชศาสตร์สังคม มหาวิทยาลัยนอร์ท แคโรไลนา ที่แชเปิล ฮิลล์ ในสหรัฐฯ บอกกับบีบีซีไทยว่า ประเทศที่มีแนวโน้มจะรับมือกับวิกฤตนี้ได้ดีก็คือประเทศที่มีอัตราผู้ต้องขังต่ำนั่นเอง อย่างในบางประเทศในยุโรป หรือประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งต่างจากในสหรัฐฯ ที่เธอสังเกตการณ์อยู่อย่างใกล้ชิด
ย้อนไปเมื่อกลางดึกคืนหนึ่งในเดือน มี.ค. ปีที่แล้ว ความคิดกังวลถึงชะตากรรมของผู้ต้องขังจุดประกายให้เธอร่วมก่อตั้ง The Covid Prison Project หรือโครงการที่คอยเก็บตัวเลขสถิติการติดเชื้อโควิด-19 ของผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ในเรือนจำทั่วสหรัฐฯ
เธอบอกว่าการคอยเก็บสถิติและทำความเข้าใจกับตัวเลข นอกจากจะช่วยให้เราจัดสรรงบประมาณ เข้าไปให้การช่วยเหลือทางการแพทย์ และออกกฎหมาย ได้ตรงตามเป้าแล้ว ยังจะช่วยทำให้สังคมโดยรวมตระหนักถึงปัญหานี้มากขึ้น
GETTY IMAGES
ถึงวันที่ 14 พ.ค. ประชากรทั่วไปในสหรัฐฯ ที่ได้วัคซีนเข็มแรกแล้วคิดเป็น 48% ขณะที่ผู้ต้องขังได้วัคซีนเข็มแรกแล้วคิดเป็น 56%
"คนส่วนใหญ่คิดว่าเรือนจำเป็นสิ่งที่แยกออกจากชุมชนของพวกเขา เป็นที่ที่พวกเขาไม่ต้องไปนึกกังวลถึง แต่นั่นไม่ใช่เรื่องจริง สิ่งที่เกิดขึ้นในเรือนจำไม่ได้อยู่แค่ในนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของโควิด"
จากบทความของ นสพ.นิวยอร์กไทมส์ เมื่อเดือน เม.ย. ซึ่งก็ใช้ข้อมูลจากโครงการของ ดร.บริงค์ลี-รูบินสไตน์ ด้วย ผู้ต้องขังในสหรัฐฯ มีอัตราการติดเชื้อสูงกว่าประชากรทั่วไปถึงสามเท่า นิวยอร์กไทมส์บอกอีกว่าหลังจากเก็บข้อมูลเป็นเวลาหนึ่งปีตั้งแต่ มี.ค. ปีที่แล้ว พบว่ามีผู้ต้องขังที่เคยติดเชื้อมาแล้วถึง 1 ใน 3 ของจำนวนทั้งหมด
ดร.บริงค์ลี-รูบินสไตน์ บอกว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อในเรือนจำสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการระบาดระลอกต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคเสมอ แต่ช่องว่างที่ยังห่างกันขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงตอนนี้คืออัตราการติดเชื้อระหว่างผู้ต้องขังกับประชากรภายนอกในพื้นที่เดียวกัน
เธอบอกว่าสิ่งที่สหรัฐฯ เหมือนจะทำได้ดีในตอนแรกคือลดจำนวนประชากรในเรือนจำประเภทที่ผู้ต้องขังกำลังรอพิจารณาคดีและต้องโทษแค่หนึ่งปีหรือน้อยกว่านั้น (ในสหรัฐฯ ใช้คำว่า "jail") ได้โดยเฉลี่ยถึง 30% ส่วนเรือนจำสำหรับผู้ต้องโทษเป็นเวลานาน (ในสหรัฐฯ ใช้คำว่า "prison") ลดจำนวนคนได้ถึง 5% แต่เมื่อเวลาผ่านไป เธอบอกว่าตัวเลขก็ค่อย ๆ เพิ่มกลับไปเป็นเหมือนเดิม
ดร.บริงค์ลี-รูบินสไตน์ บอกว่า สิ่งที่สหรัฐฯ ทำได้ดีคือการที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) จัดให้ผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ในเรือนจำเป็นกลุ่มคนที่จะได้รับวัคซีนก่อนเป็นกลุ่มแรก ๆ เทียบเท่ากับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ที่อาศัยในบ้านพักคนชรา เป็นผลให้ตอนนี้จำนวนผู้ติดเชื้อในเรือนจำสหรัฐฯ เริ่มน้อยลงแล้ว
GETTY IMAGES
เจ้าหน้าที่ให้วัคซีนโควิดกับผู้ต้องขังที่เรือนจำในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐมิสซิสซิปปี ในสหรัฐอเมริกา
The Covid Prison Project รายงานว่า ถึงวันที่ 14 พ.ค. จากข้อมูลที่มีจากรัฐต่าง ๆ ประชากรทั่วไปในสหรัฐฯ ที่ได้วัคซีนเข็มแรกแล้วคิดเป็น 48% ขณะที่ผู้ต้องขังได้วัคซีนเข็มแรกแล้วคิดเป็น 56% อย่างไรก็ดี อัตราการให้วัคซีนในเรือนจำของแต่ละรัฐแตกต่างกันมาก อาทิ รัฐแอละแบมา อยู่ที่ 20% ส่วนรัฐแอริโซนา อยู่ที่ 76%
"เรื่องคุกเป็นเรื่องสุดท้ายที่เขาจะทำ"
ย้อนไปตั้งแต่กลางปีที่แล้ว กลุ่มแฟร์ลี่เทล (FairlyTell) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของอดีตผู้ต้องขังหญิงและที่มีความหลากหลายทางเพศ พร้อมด้วยกลุ่ม THE PROJECT X ซึ่งเป็นคณะทำงานเพื่อนักโทษการเมือง ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ของสภาผู้แทนราษฎร หลังเชิญชวนคนร่วมแคมเปญเรียกร้อง "ลดความแออัดในเรือนจำ ลดการระบาดของโควิด-19" ผ่านเว็บไซต์ change.org
ภรณ์ทิพย์ มั่นคง อดีตผู้ต้องขังคดี ม.112 และผู้ก่อตั้งกลุ่มแฟร์ลี่เทล บอกกับบีบีซีไทยว่า ไม่แปลกใจที่สภาผู้แทนราษฎรไม่ได้เร่งดำเนินมาตรการที่พวกเธอเรียกร้องเพราะ "เขาจะทำเรื่องที่มันใหญ่กว่า แก้ 112 หรือแก้รัฐธรรมนูญ ...เราก็รู้แหละว่าเรื่องคุกมันเป็นเรื่องสุดท้ายที่เขาจะทำ"
และก็ไม่แปลกใจอีกเช่นกันที่เกิดการระบาดหนักในตอนนี้ ภรณ์ทิพย์ บอกว่า เรือนจำเป็น "ระบบปิด" และผู้ต้องขังติดโรคจากกันได้ง่าย ๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นวัณโรค หวัด ไปจนถึงอาการตาแดง
"ขนาดตาแดงยังจัดการไม่ได้เลย" ภรณ์ทิพย์ ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือบันทึกชีวิตในเรือนจำที่ชื่อ มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ กล่าว "การเบิกเงินงบประมาณจัดการเรื่องนี้ช้ามากจน ผบ.แดน[คุมขัง] ต้องเอาเงินส่วนตัวซื้อด่างทับทิม แล้วก็ทำเรื่องขออนุญาตอยู่หนึ่งอาทิตย์กว่าจะเอาด่างทับทิมเข้าไปในคุกได้ เพื่อที่จะเอาไปหยอดน้ำให้มันสะอาดขึ้น เพื่อฆ่าเชื้อ"
ภรณ์ทิพย์ บอกว่า มาตรการเร่งด่วนที่กรมราชทัณฑ์ควรทำคือให้นักโทษทุกคนเข้าถึงชุดตรวจด้วย ไม่ใช่ให้กักตัวอย่างเดียว เพราะไม่อาจรู้ได้เลยว่าในหมู่ผู้ต้องขังที่กักตัวด้วยกันอยู่มีใครติดเชื้อแล้วบ้าง
EPA/MINISTRY OF JUSTICE
นักโทษในเรือนจำพิเศษมีนบุรีได้รับวัคซีนซิโนแวคเมื่อวันที่ 22 พ.ค.
เธอบอกว่า จากนั้นควรลดความแออัดโดยเร็วที่สุด "ให้ประกันตัวได้ไหม หรือปล่อยตัวแบบไม่ต้องประกันแล้วก็ให้มารายงานที่ศาล ...คดีเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ใช่อุกฉกรรจ์ จะเอาเข้าไปทำไม คดียาบ้าสามเม็ดสี่เม็ด"
ภรณ์ทิพย์บอกว่า จริงอยู่ที่ก่อนโควิดระบาดหนักก็เริ่มมีการพิจารณาพักโทษพิเศษให้ใส่กำไลอีเอ็มแล้ว แต่ระบบราชการที่ล่าช้าต้องรอ 3-6 เดือน ก็อาจะทำให้ผู้ต้องขัง "ติดโควิดตายไปแล้ว"
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม บอกกับบีบีซีไทยว่า สิ่งที่ต้องทำขั้นต้นคือการ "ช่วยชีวิตให้ทุกคนปลอดภัยจากโควิดก่อน"
เธอบอกว่า เบื้องต้น อาจใช้พื้นที่ในเรือนจำที่จริง ๆ แล้วกว้างขวางให้สร้างสรรค์มากขึ้นเพื่อจัดการกับปัญหาความแออัด เช่นจัดเรือนนอนชั่วคราวบริเวณอื่นให้ความเบียดเสียดน้อยลงสัก 50% และก็จัดหาวัคซีนที่ปลอดภัยให้ผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขสามารถจัดการได้ทันที
GETTY IMAGES
อุรุกวัยเริ่มฉีดวัคซีนให้ผู้ต้องขังเมื่อเดือน มี.ค.
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรมยังเห็นตรงกับภรณ์ทิพย์ว่าควรพิจารณาปล่อยตัวผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี
"เขาจะต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์" พรเพ็ญกล่าว "แล้วจริง ๆ โดยหลักการสากล เขาไม่ควรจะถูกขังรวมกับผู้ต้องขังที่ตัดสินแล้ว หรือมีบทลงโทษแล้ว"
ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมราชทัณฑ์ ณ วันที่ 2 พ.ค. ระบุว่า จากผู้ต้องขังทั่วประเทศ 310,830 ราย มี 59,995 ราย หรือ 19.3% ที่อยู่ระหว่างการสอบสวน ไต่สวน-พิจารณา และอุทธรณ์-ฎีกา
ในจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด มีผู้ต้องขังคดียาเสพติดถึง 252,749 ราย ซึ่งคิดเป็นกว่า 80 %
พรเพ็ญบอกว่า ในระยะต่อไป สามารถแก้ปัญหาความแออัดในเรือนจำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนนโยบายเรื่องคดียาเสพติด เพราะผู้ต้องขังบางรายอาจไม่สมควรโดนโทษหนักอย่างที่เป็นอยู่ และจริง ๆ แล้ว ปัญหายาเสพติด "ไม่สามารถแก้ได้โดยเอาคนเข้าคุก ...ต้องแก้ในเชิงนโยบาย"
สมยศ เรียกร้องเร่งแก้โควิดในเรือนจำ
หัวอกลูกผู้ต้องขังติดโควิด “ขออย่าให้มีกรณีแบบพ่อของผมอีก”
คุมโควิดระบาดในคุกได้อย่างไร ถอดบทเรียนจากห้องกัก ตม.
ทำไมโควิดจึงระบาดหนักในคุก
"คืนศักดิ์ศรีให้กับคน"
ศ.คินเนอร์ บอกว่า วิกฤตในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าสังคมทั่วไปมีความเข้าใจน้อยแค่ไหนว่าเรือนจำคืออะไรและมีไว้เพื่ออะไร
เขาบอกว่าจริง ๆ แล้ว คำว่า "คุก" หรือ "prison" แทบจะเป็นชื่อเรียกที่ไม่เหมาะสมด้วยซ้ำ เพราะจริง ๆ แล้วสถานที่นี้เป็น "ที่ปลอดภัยสำหรับคนที่มีความต้องการอันซับซ้อนที่ต้องการการดูแลและความสนับสนุนเพื่อจัดการกับปัญหาลึก ๆ ในตัวพวกเขา และทำให้พวกเขาพร้อมจะมีชีวิตในเชิงบวกในสังคมได้"
เจ้าหน้าที่ให้วัคซีนโควิดกับผู้ต้องขังที่เรือนจำในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐมิสซิสซิปปี ในสหรัฐอเมริกา
The Covid Prison Project รายงานว่า ถึงวันที่ 14 พ.ค. จากข้อมูลที่มีจากรัฐต่าง ๆ ประชากรทั่วไปในสหรัฐฯ ที่ได้วัคซีนเข็มแรกแล้วคิดเป็น 48% ขณะที่ผู้ต้องขังได้วัคซีนเข็มแรกแล้วคิดเป็น 56% อย่างไรก็ดี อัตราการให้วัคซีนในเรือนจำของแต่ละรัฐแตกต่างกันมาก อาทิ รัฐแอละแบมา อยู่ที่ 20% ส่วนรัฐแอริโซนา อยู่ที่ 76%
"เรื่องคุกเป็นเรื่องสุดท้ายที่เขาจะทำ"
ย้อนไปตั้งแต่กลางปีที่แล้ว กลุ่มแฟร์ลี่เทล (FairlyTell) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของอดีตผู้ต้องขังหญิงและที่มีความหลากหลายทางเพศ พร้อมด้วยกลุ่ม THE PROJECT X ซึ่งเป็นคณะทำงานเพื่อนักโทษการเมือง ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ของสภาผู้แทนราษฎร หลังเชิญชวนคนร่วมแคมเปญเรียกร้อง "ลดความแออัดในเรือนจำ ลดการระบาดของโควิด-19" ผ่านเว็บไซต์ change.org
ภรณ์ทิพย์ มั่นคง อดีตผู้ต้องขังคดี ม.112 และผู้ก่อตั้งกลุ่มแฟร์ลี่เทล บอกกับบีบีซีไทยว่า ไม่แปลกใจที่สภาผู้แทนราษฎรไม่ได้เร่งดำเนินมาตรการที่พวกเธอเรียกร้องเพราะ "เขาจะทำเรื่องที่มันใหญ่กว่า แก้ 112 หรือแก้รัฐธรรมนูญ ...เราก็รู้แหละว่าเรื่องคุกมันเป็นเรื่องสุดท้ายที่เขาจะทำ"
และก็ไม่แปลกใจอีกเช่นกันที่เกิดการระบาดหนักในตอนนี้ ภรณ์ทิพย์ บอกว่า เรือนจำเป็น "ระบบปิด" และผู้ต้องขังติดโรคจากกันได้ง่าย ๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นวัณโรค หวัด ไปจนถึงอาการตาแดง
"ขนาดตาแดงยังจัดการไม่ได้เลย" ภรณ์ทิพย์ ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือบันทึกชีวิตในเรือนจำที่ชื่อ มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ กล่าว "การเบิกเงินงบประมาณจัดการเรื่องนี้ช้ามากจน ผบ.แดน[คุมขัง] ต้องเอาเงินส่วนตัวซื้อด่างทับทิม แล้วก็ทำเรื่องขออนุญาตอยู่หนึ่งอาทิตย์กว่าจะเอาด่างทับทิมเข้าไปในคุกได้ เพื่อที่จะเอาไปหยอดน้ำให้มันสะอาดขึ้น เพื่อฆ่าเชื้อ"
ภรณ์ทิพย์ บอกว่า มาตรการเร่งด่วนที่กรมราชทัณฑ์ควรทำคือให้นักโทษทุกคนเข้าถึงชุดตรวจด้วย ไม่ใช่ให้กักตัวอย่างเดียว เพราะไม่อาจรู้ได้เลยว่าในหมู่ผู้ต้องขังที่กักตัวด้วยกันอยู่มีใครติดเชื้อแล้วบ้าง
EPA/MINISTRY OF JUSTICE
นักโทษในเรือนจำพิเศษมีนบุรีได้รับวัคซีนซิโนแวคเมื่อวันที่ 22 พ.ค.
เธอบอกว่า จากนั้นควรลดความแออัดโดยเร็วที่สุด "ให้ประกันตัวได้ไหม หรือปล่อยตัวแบบไม่ต้องประกันแล้วก็ให้มารายงานที่ศาล ...คดีเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ใช่อุกฉกรรจ์ จะเอาเข้าไปทำไม คดียาบ้าสามเม็ดสี่เม็ด"
ภรณ์ทิพย์บอกว่า จริงอยู่ที่ก่อนโควิดระบาดหนักก็เริ่มมีการพิจารณาพักโทษพิเศษให้ใส่กำไลอีเอ็มแล้ว แต่ระบบราชการที่ล่าช้าต้องรอ 3-6 เดือน ก็อาจะทำให้ผู้ต้องขัง "ติดโควิดตายไปแล้ว"
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม บอกกับบีบีซีไทยว่า สิ่งที่ต้องทำขั้นต้นคือการ "ช่วยชีวิตให้ทุกคนปลอดภัยจากโควิดก่อน"
เธอบอกว่า เบื้องต้น อาจใช้พื้นที่ในเรือนจำที่จริง ๆ แล้วกว้างขวางให้สร้างสรรค์มากขึ้นเพื่อจัดการกับปัญหาความแออัด เช่นจัดเรือนนอนชั่วคราวบริเวณอื่นให้ความเบียดเสียดน้อยลงสัก 50% และก็จัดหาวัคซีนที่ปลอดภัยให้ผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขสามารถจัดการได้ทันที
GETTY IMAGES
อุรุกวัยเริ่มฉีดวัคซีนให้ผู้ต้องขังเมื่อเดือน มี.ค.
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรมยังเห็นตรงกับภรณ์ทิพย์ว่าควรพิจารณาปล่อยตัวผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี
"เขาจะต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์" พรเพ็ญกล่าว "แล้วจริง ๆ โดยหลักการสากล เขาไม่ควรจะถูกขังรวมกับผู้ต้องขังที่ตัดสินแล้ว หรือมีบทลงโทษแล้ว"
ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมราชทัณฑ์ ณ วันที่ 2 พ.ค. ระบุว่า จากผู้ต้องขังทั่วประเทศ 310,830 ราย มี 59,995 ราย หรือ 19.3% ที่อยู่ระหว่างการสอบสวน ไต่สวน-พิจารณา และอุทธรณ์-ฎีกา
ในจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด มีผู้ต้องขังคดียาเสพติดถึง 252,749 ราย ซึ่งคิดเป็นกว่า 80 %
พรเพ็ญบอกว่า ในระยะต่อไป สามารถแก้ปัญหาความแออัดในเรือนจำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนนโยบายเรื่องคดียาเสพติด เพราะผู้ต้องขังบางรายอาจไม่สมควรโดนโทษหนักอย่างที่เป็นอยู่ และจริง ๆ แล้ว ปัญหายาเสพติด "ไม่สามารถแก้ได้โดยเอาคนเข้าคุก ...ต้องแก้ในเชิงนโยบาย"
สมยศ เรียกร้องเร่งแก้โควิดในเรือนจำ
หัวอกลูกผู้ต้องขังติดโควิด “ขออย่าให้มีกรณีแบบพ่อของผมอีก”
คุมโควิดระบาดในคุกได้อย่างไร ถอดบทเรียนจากห้องกัก ตม.
ทำไมโควิดจึงระบาดหนักในคุก
"คืนศักดิ์ศรีให้กับคน"
ศ.คินเนอร์ บอกว่า วิกฤตในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าสังคมทั่วไปมีความเข้าใจน้อยแค่ไหนว่าเรือนจำคืออะไรและมีไว้เพื่ออะไร
เขาบอกว่าจริง ๆ แล้ว คำว่า "คุก" หรือ "prison" แทบจะเป็นชื่อเรียกที่ไม่เหมาะสมด้วยซ้ำ เพราะจริง ๆ แล้วสถานที่นี้เป็น "ที่ปลอดภัยสำหรับคนที่มีความต้องการอันซับซ้อนที่ต้องการการดูแลและความสนับสนุนเพื่อจัดการกับปัญหาลึก ๆ ในตัวพวกเขา และทำให้พวกเขาพร้อมจะมีชีวิตในเชิงบวกในสังคมได้"
ห้องขังนักโทษที่เรือนจำฮัลเดน ในนอร์เวย์ มีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครัน
และจากความเข้าใจผิดว่าจริง ๆ แล้วเรือนจำควรเป็นอย่างไร ศ.คินเนอร์ บอกว่า เราทำให้ปัญหาที่คิดว่ากำลังแก้อยู่แย่กว่าเดิม และการระบาดของโควิดคือตัวอย่างหนึ่ง
เขายกตัวอย่างประเทศที่มีอัตราผู้ต้องขังสูงอย่างไทยและสหรัฐฯ ว่าต้องใช้เงินภาษีมหาศาลในการดูแลระบบนี้ "[แต่]ระบบนี้ไม่ได้ยับยั้งอาชญากรรม มันยิ่งผลักดันให้เกิดการก่ออาชญากรรม"
"และสิ่งที่เราทำคือเอาคนชายขอบ ที่มักจะมีประวัติพื้นเพที่ยากลำบากอยู่แล้ว ซึ่งอาชญากรรมอย่างเดียวที่พวกเขาก่อคือการต้องพึ่งยาเสพติด หรือมีปัญหาทางจิต หรือมีความพิการด้านกระบวนการรับรู้ ไปใส่ไว้ในสภาพแวดล้อมที่พวกเขาไม่สามารถป้องกันตัวเองได้จากโควิด"
GETTY IMAGES
ดร.บริงค์ลี-รูบินสไตน์ เห็นตรงกับ ศ.คินเนอร์ ว่าการทบทวนและปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมคือการแก้ปัญหานี้ในระยะยาว และเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดวิกฤตนี้อีกหากเกิดการระบาดใหญ่อีกครั้งในอนาคต
"เราคุมขังผู้คนมากเกินไป" ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์สังคมรายนี้กล่าว "ทางแก้อันดับหนึ่งคือการคืนศักดิ์ศรีให้กับคน อย่าจับพวกเขาไปใส่ในกระบวนการยุติธรรม แต่ควรจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ที่พวกเขาต้องการเพื่อจะอยู่ในสังคม ฉันคิดว่านั่นเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้อะไรแบบนี้เกิดขึ้นอีก"