วันจันทร์, พฤษภาคม 17, 2564

ผู้พิพากษาตุลาการที่ดีในทัศนะของ อ.ธงทอง จันทรางศุ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ต้องรักษาตัวให้ปราศจากอคติสี่


 

Tongthong Chandransu

Yesterday at 4:35 AM ·


ผู้พิพากษาตุลาการที่ดีในทัศนะของผม ต้องรักษาตัวให้ปราศจากอคติสี่ ความปราศจากอคตินี้แม้รู้ได้ลำพังตนก็จริง แต่ทัศนะความวางใจจากสังคมว่าผู้ตัดสินคดีของเขาปราศจากอคติก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะอาจสร้างศรัทธาหรือเสื่อมศรัทธาต่อสถาบันตุลาการได้อย่างมีนัยสำคัญ
ความเชื่อถือวางใจเช่นว่าจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเหตุหลายประการ
หนึ่ง คำพิพากษาคำสั่งนั้นต้องชี้แจงแสดงเหตุอย่างถ่องแท้ ยึดหลักกฎหมาย มีกระบวนการตีความที่ถูกหลักวิชา และวินิจฉัยข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วน มุ่งความยุติธรรมเปนเป้าหมาย คำพิพากษานั้นจึงจะสง่างาม
สอง ผู้พิพากษาตุลาการพึงดำรงตนให้คนทั้งหลายเชื่อได้ว่าตนไม่มีฝักฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการเมือง อย่าลืมว่าความทรงจำยุคนี้มีระบบเทคโนโลยีช่วยย้อนอดีตได้อย่างแม่นยำ
สาม ขอให้ระบบงานของศาลทั้งหลายโปร่งใส มีความชัดเจนไม่เบี่ยงเบนไปมา ยึดกฎหมายและความยุติธรรมเปนที่ตั้ง การจ่ายคดี การเรียกคดีคืนเพื่อเปลี่ยนองค์คณะ หรือการสั่งพิจารณาลับ อยู่ในความหมายที่ต้องอธิบายได้ต่อสังคมทั้งสิ้น
ถ้าศาลที่พิพากษาอรรถคดีในพระปรมาภิไธย สามารถทำให้สาธารณชนวางใจว่าศาลทำหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีความยุติธรรม และปราศจากอคติแล้ว ย่อมเป็นการเกื้อหนุนให้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์มีความยั่งยืน แต่ถ้ามิได้ทำเช่นนั้น ผลตรงข้ามก็จะเกิดขึ้นอย่างน่าเสียดายเปนที่สุด
นี้คือสรุปความบางส่วนจากคำอภิปรายของผมในวงสนทนาทางวิชาการของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บ่ายวันนี้ครับ
.....

Atukkit Sawangsuk
5h ·

อ.ธงทอง จันทรางศุ สรุปคำอภิปรายของตัวเอง ที่คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เมื่อวาน
มีมิตรสหายนักกฎหมายส่งให้ดู และขีดเส้นใต้ให้ด้วย
ว่าอันนี้แหละคือปัญหาที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
“การจ่ายคดี การเรียกคดีคืนเพื่อเปลี่ยนองค์คณะ หรือการสั่งพิจารณาลับ”
:
2 เรื่องแรก คือการรวบอำนาจ โดยอธิบดีศาล ประธานศาล ทำให้การพิจารณาคดีไม่เป็นไปโดยอิสระตั้งแต่ต้น
เมื่อบวกกับอำนาจตรวจสำนวน (แบบผู้พิพากษาคณากร)
มันทำลายหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
ตั้งแต่เริ่ม เช่น 112 ก็จะจ่ายคดีให้ผู้พิพากษาชื่อ ช. ซึ่งจะใช้โทสะโมหะอย่างบ้าคลั่ง
ทั้งที่โดยระบบจะต้องใช้การสุ่ม หรือเข้าเวร ช่วงนั้นผู้พิพากษาคนไหนเข้าเวรก็รับคดีไป
ถ้าไม่ยึดระบบ สมมติคดีแพ่งพันล้านก็ขยิบตากันได้
โดยอธิบดี ประธานศาล ยังหาเหตุเปลี่ยนองค์คณะได้ด้วย
(แต่เรื่องนี้ทำให้ศิริชัยไม่ได้เป็นประธานศาลฎีกามาแล้ว เพราะผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ขุดเรื่องที่เคยสั่งมาร้อง)
:
มองเรื่องนี้ให้กว้างคือ การปฏิรูปศาลมีสองระดับ
ถ้าเอาแบบถอนราก ก็ต้องยึดโยงประชาชน รับรองโดยรัฐสภา รื้อระบบที่มา สร้างอำนาจตรวจสอบศาล ฯลฯ ซึ่งใช้เวลา
แต่ถ้ามองจากภายใน ตามที่ธงทองสะท้อน คือผู้พิพากษาเองก็อยากมีอิสระ อยากให้พวกอาวุโสเปิดทางให้คนรุ่นใหม่ (เช่นที่เคยมีผู้พิพากษาจะเข้าชื่อกันขอแก้สัดส่วน ก.ต. จากศาลฎีกา 6 อุทธรณ์ 4 ชั้นต้น 2 เป็น 4-4-4 เท่ากัน)
:
อันนี้พรรคฝ่ายค้าน โดยเฉพาะก้าวไกล น่าเอาไปคิด เสนอกฎหมายเลยครับ Rangsiman Rome เสนอแก้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม เรื่องการจ่ายคดี ตรวจสำนวน เสนอแก้ พรบ.ศาลยุติธรรม ให้สัดส่วน ก.ต. 3 ศาลเท่ากัน ถึงไม่สำเร็จก็จะได้ใจผู้พิพากษารุ่นใหม่
.....