วันอังคาร, ธันวาคม 08, 2563

ร่วมเรียนรู้ เส้นทางการต่อสู้ของ ครูครอง จันดาวงค์ ผู้ไม่กลัวความตาย กลัวแต่ว่าเผด็จการจะหนีรอดไปได้ ตอนประชาชนลุกฮือ..



Pumin Nontanun
Yesterday at 6:13 AM ·

กระผมไม่ได้กลัวความตาย
จะยิงเดี๋ยว​นี้เลยก็ได้
แต่กระผมกลัวท่านหนีไปได้
ตอนที่ประชาชนลุกฮือ..
(เสียงจากครูครอง​ กล่าวต่อหน้าสฤษดิ์)​

เผด็จการสฤษดิ์ได้ดำเนินการ
กำจัดและจับนักการเมืองฝ่ายค้าน
นักหนังสือพิมพ์และปัญญาชน
นับร้อยๆคน
จิตร ภูมิศักดิ์ ติดคุกอยู่
เป็นเวลาแปดปี
การปราบปรามที่รุนแรง
บวกกับอุดมการณ์ของจิตร ภูมิศักดิ์
อาจมีส่วนสำคัญพอๆกันในการเกิดพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)

ในเดือนมิถุนายน 2504
ครูครอง จันดาวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่ได้รับความนิยมคนหนึ่ง
ผู้เป็นอดีตเสรีไทยและสนับสนุน
คนยากคนจน
และการปกครองตนเองของอีสาน
ถูกจับกุมและประหารชีวิตด้วยคำสั่ง
นายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 17
ด้วยข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์

หลังจากนั้น ภรรยาและลูกสาว
ของครูครองพร้อมด้วยลูกศิษย์ลูกหา
นักสังคมนิยม นักต่อสู้เพื่อสิทธิชาวนาและนักต่อสู้ชาตินิยมลาวจำนวนหนึ่ง
ก็พากันหลบหนีเข้าป่า
บริเวณเทือกเขาภูพานจังหวัดสกลนคร
ติดต่อกับขบวนการปะเทศและเวียตมินห์

กลายเป็นแกนนำของพคท.
หรือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
เดิมชื่อพรรคคอมมิวนิสต์สยาม
เริ่มก่อตั้งโดยสหายโฮจิมินห์ (HO Chi Minh)
หรือลุงโฮ (ลุงโฮ เป็นประธานก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินโดจีน
ใช้นามแฝงว่า สหายซุง
โดยประชุมครั้งแรกแบบลับๆ
ที่โรงแรมตุ้นกี่
หน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง
เมื่อ 20 เมษายน 2473
โดยแต่งตั้งหลี หรือ โงจิ๊งก๊วก
เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก)

ช่วงเวลาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมือง
ปี 2481 กลุ่มครูในสกลนคร
ได้รวมตัวกัน
หนึ่งในนั้นมี ครูเตียง ศิริขันธ์
ซึ่งเป็นเพื่อนของครูครอง จันดาวงค์​
ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.
ทั้งสองมีความเห็นร่วมกัน
ในการตั้งโรงเรียนราษฎร
เพื่อส่งเสริมการศึกษาของเยาวชน
ในจังหวัด จนสามารถก่อตั้ง
ร.ร.มัธยมศิริขันธ์ 1
และ ร.ร.มัธยมศิริขันธ์ 2

ต่อมาเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นเข้ายึดครองประเทศไทย
เกิดขบวนการเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น
ครูเตียงเป็นหัวหน้าเสรีไทยสายอีสาน ส่วนครูครองเข้าร่วมขบวนการอย่างแข็งขัน และลาออกจากราชการครู
มาทำการค้าขายบังหน้า
ในการติดต่อประสานงาน
ให้ขบวนการเสรีไทย
จนกลายเป็นแกนนำสำคัญ
ในการขยายพลพรรค
และจัดตั้งกองกำลังเสรีไทย
หาที่ตั้งค่ายฝึก
สร้างสนามบินที่ จ.สกลนคร
ตลอดจนจัดหน่วยลำเลียงอาวุธ
หาข่าวและส่งข่าวให้แก่กองบัญชาการเสรีไทยที่ภูพาน
กระทั่งสงครามโลกยุติลง

ภายหลังรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ถูกโค่นล้มโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ในเดือนกันยายน 2500 มีการยุบสภา
และเปิดให้มีการเลือกตั้งใหม่
ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน
ครูครอง จันดาวงศ์ ชนะเลือกตั้ง
เป็นผู้แทนราษฎร จ.สกลนคร
ในนามพรรคแนวร่วมเศรษฐกร
แต่อยู่ได้เพียง 10 เดือน
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ก็ก่อรัฐประหารตัวเอง
ขึ้นครองอำนาจ ยกเลิกระบอบรัฐสภา
และการเลือกตั้ง
ใช้รัฐธรรมนูญปกครองประเทศเพียง 20 มาตรา
จากนั้นก็ลงมือกวาดล้างนักหนังสือพิมพ์
และนักการเมืองฝ่ายค้าน

เมื่อการเมืองพลิกผัน
ครูครองกลับมาประกอบอาชีพเกษตรกร
และค้าขายที่บ้านเกิด
และทำงานร่วมกับประชาชนเช่นเดิม
ปลายปี 2503 รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ทำการปราบปรามอย่างหนัก
จนครูครองและเพื่อนครูถูกล่า
หนีหัวซุกหัวซุนไปลี้ภัยอยู่ที่ภูพาน
ก่อนจะแอบกลับมาบ้าน
ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2504
เพื่อเตรียมสัมภาระไปอยู่บนภู
ระหว่างรอเพื่อน
ในที่สุดครูครองก็ถูกจับกุมอีกครั้ง
ในข้อหากบฏต่อความมั่นคง
และมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
พร้อมกับผู้ถูกจับกุมคนอื่นๆ รวม 108 คน
ถูกนำตัวมาสอบสวนที่กรุงเทพฯ
นานกว่า 20 วัน
สุดท้ายก็ถูกนำตัวไปประหารชีวิต
ที่ อ.สว่างแดนดิน
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2504

11.30 น. ณ ลานประหาร
หลังจากกินข้าวและดื่มน้ำมื้อสุดท้าย
ด้วยอาการสงบ ครูครอง จันดาวงศ์
และทองพันธ์ สุทธิมาศ
ก็ถูกนำตัวเข้าหลักประหาร
ใช้ผ้าปิดตาเรียบร้อย
มีการอ่านคำตัดสินตามมาตรา 17
ของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ครูครองได้เปล่งสัจจะวาจา
"เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ"
ที่นักต่อสู้ทุกคนดังก้องหู
จบประโยคเสียงปืนกลยิงรัว 90 นัด

เวลา 12.13 น. ครูครอง จันดาวงศ์
ก็จบชีวิตลงด้วยอายุ 54 ปี

Pgpumin​/Veerachon 

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1536402776558909&set=a.119590704906797