รุ่งศิลา' อาชญากรทางความคิด
December 5 at 3:23 AM ·
การคุมขังจากการใช้มาตรา๑๑๒
อาจถึงขั้นเป็น ❝#การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ❞
#บุคคลสาธารณะรวมถึงประมุขแห่งรัฐถือว่าอยู่ในตำแหน่งที่จำต้องรับคำวิพากษ์วิจารณ์
คณะทำงานว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ ซึ่งเป็นกลไกพิเศษภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้มีความเห็นฉบับที่ 4/2019 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2562 ต่อกรณีการคุมขัง “สิรภพ” ผู้ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 ในช่วง คสช. โดยเห็นว่าเป็นการควบคุมตัวโดยพลการ
“รูปแบบในการแสดงออกในลักษณะที่ถูกพิจารณาว่าเป็นการดูหมิ่นบุคคลสาธารณะ ยังไม่เป็นเหตุผลที่ชอบธรรมมากเพียงพอให้ต้องกำหนดบทลงโทษทางอาญา บุคคลสาธารณะทุกคน ซึ่งรวมถึงบุคคลที่ใช้อำนาจทางการเมืองสูงสุด เช่น ประมุขแห่งรัฐและรัฐบาล ถือว่าอยู่ในตำแหน่งที่จำต้องรับคำวิพากษ์วิจารณ์ และการมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง หลักกฎหมายไม่ควรบัญญัติให้มีการลงโทษที่สาหัสขึ้น เพียงเพราะสถานะหรือตัวตนของบุคคลซึ่งไม่อาจกล่าวหาได้
“กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์มีความคลุมเครือและกว้างขวางอย่างมาก โดยมาตรา 112 ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าการแสดงออกแบบใดถือเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย และยังให้ดุลยพินิจทั้งหมดแก่เจ้าหน้าที่ในการตัดสินว่าเกิดการกระทำผิดขึ้น ในลักษณะคล้ายกันกับมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (แก้ไขใน พ.ศ. 2560) ล้วนขัดกับหลักความชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งต้องร่างกฎหมายด้วยความละเอียดชัดเจนเพียงพอให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจกฎหมายได้ จึงร้องขอให้รัฐบาลไทยยกเลิกหรือทบทวนให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ”
การบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างเข้มข้น ร่วมกับมาตรการทางทหารในสถานการณ์ที่ทหารครองอำนาจทางการเมือง ไม่เพียงทำให้มีผู้ถูกดำเนินคดีจำนวนมาก ซึ่งมีภาระต้องต่อสู้คดีและถูกคุมขังแต่ยังผลักดันให้คนจำนวนมากต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ
#กลไกพิเศษของสหประชาชาติได้รับการร้องเรียนกรณีควบคุมตัวสิรภพ ‘รุ่งศิลา’ คดีม.112 ที่ยาวนานสุด
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 คณะทำงานว่าด้วยการควบคุมโดยพลการแห่งสหประชาชาติได้ตรวจสอบและพบว่าบุคคล 7 ราย ถูก “ควบคุมตัวโดยมิชอบ” ภายใต้คดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา สิรภพ ซึ่งขณะนี้อายุ 55 ปี ถูกควบคุมตัวมากกว่า 4 ปี 11 เดือน 18 วัน แล้ว ถือเป็นการควบคุมตัวที่ยาวนานที่สุดของบุคคลที่ถูกดำเนินคดีหรือตัดสินให้จำคุกภายใต้มาตรา 112
เป็นที่ทราบกันว่า ผู้ต้องคดี 112 ส่วนใหญ่ไม่ได้รับ “สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม” หลายประการ ทั้งในศาลยุติธรรมและศาลทหาร เช่นสิทธิในการประกันตัว จากสถิติของผู้ต้องคดีในความดูแลของศูนย์ทนายฯ พบว่ามีผู้ไม่ได้รับการประกันตัวจำนวน 46 คน หรือหากได้รับการประกันตัวต้องแลกด้วยการใช้วงเงินประกันสูงหลายแสนบาท และมีกรณี “สิรภพ” กวีผู้ถูกคุมขังและไม่ได้ประกันตัว ที่เกิดขึ้นในยุค คสช. โดยจำเลยเลือกที่จะต่อสู้คดี ศาลทหารให้ประกันตัวหลังจากถูกขังระหว่างพิจารณาคดีไปแล้วเกือบ 5 ปี และเป็นการพิจารณาคดีโดยลับ
นับตั้งแต่ปี 2561 หรือหลังการเปลี่ยนผ่านรัชสมัย แนวโน้มการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ได้ลดน้อยลง ทว่าการคุกคามปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นในประเด็นสถาบันกษัตริย์ยังคงมีอยู่ โดยศูนย์ทนายฯ พบว่ามีการใช้ข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 มากล่าวหาดำเนินคดีกับกรณีดังกล่าวมากขึ้น อีกทั้งเมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มของคดีที่คงค้างอยู่ พบว่าศาลมักนำมาข้อหาอื่นๆ มาใช้พิพากษาลงโทษแทนมาตรา 112 อีกด้วย
.
ดูข้อมูลกรณีสิรภพเพิ่มเติม
กลไกพิเศษของสหประชาชาติได้รับการร้องเรียน กรณีควบคุมตัวจำเลยคดีม.112 ที่ยาวนานสุด
https://tlhr2014.com/?p=9479
สำนึกของสิรภพ ประชาชนผู้ขัดขืนอำนาจของคณะรัฐประหาร
https://tlhr2014.com/?p=2872