วันอาทิตย์, ธันวาคม 13, 2563

ไม่นานมาแล้ว ประชาชนเข้าชื่อยื่นสภาขอ "แก้ ม.112" แต่สภาที่มี "พรรคเพื่อไทย" เป็นรัฐบาลกลับไม่รับ! ครานี้ขอยกเลิกเลย !!



iLaw
10h ·

ไม่นานมาแล้ว ประชาชนเคยเข้าชื่อยื่นสภาขอ "แก้ ม.112" แต่สภาไม่รับ!

ปี 2555 ประชาชนเคยรวบเข้าชื่อกัน 26,968 คน ยื่นต่อรัฐสภาเพื่อเสนอให้แก้ไขความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ในมาตรา 112 ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ เป็นกิจกรรมที่ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม รวบรวมเอกสารรวมทั้งสำเนาทะเบียนบ้านได้ภายใน 112 วัน สุดท้ายประธานสภาสั่งไม่รับไว้พิจารณา

.
หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงในปี 2553 เกิดปรากฏการณ์การจับกุมดำเนินคดีตัวละครทางการเมืองฝั่งเสื้อแดงด้วยข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ตามมาระลอกใหญ่ นักเคลื่อนไหวระดับแกนนำ หรือ ผู้ปราศรัยที่ถูกดำเนินคดี เช่น ยศวริศ หรือ "เจ๋ง ดอกจิก" https://freedom.ilaw.or.th/th/case/43 สุรชัย แซ่ด่าน http://freedom.ilaw.or.th/th/case/49 ระดับแนวร่วมของผู้ชุมนุมก็ถูกจับหลายคนเช่นกัน เช่น ธันย์ฐวุฒิ หรือ หนุ่มเรดนนท์ https://freedom.ilaw.or.th/th/case/19 เอกชัย หงษ์กังวาน https://freedom.ilaw.or.th/th/case/68

คดีที่สร้างความสั่นสะเทือนและกระตุกให้สังคมหันมาสนใจ ปัญหาของมาตรา 112 คือ คดีของอำพล หรือ "อากง SMS" https://freedom.ilaw.or.th/th/case/21 ชายสูงอายุที่ไม่ได้เป็นแกนนำ เขาบอกว่า ตัวเองไม่ได้ฝักใฝ่การเมืองฝ่ายใด และปฏิเสธว่า ไม่ได้กระทำความผิด วันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 ศาลอาญา อ่านคำพิพากษาให้จำคุกอำพล เป็นเวลา 20 ปี ก่อให้เกิดกระแสเรียกร้องให้ยกเลิก หรือ แก้ไขมาตรา 112 กระจายออกไปทั่ว มีการเดินขบวนภายใต้ชื่อ "Fearlessness Walk" และแคมเปญ "ฝ่ามืออากง"

คณะนิติราษฏร์ หรือ คณะนิติศาสตร์เพื่อราษฎร เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักวิชาการด้านกฎหมาย ที่สอนอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันประกอบไปด้วย วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ปิยบุตร แสงกนกกุล, สาวตรี สุขศรี, จันทจิรา เอี่ยมมยุรา ฯลฯ เป็นกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทโดดเด่นในการรณรงค์ด้านสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยในช่วงเวลานั้น จัดงานเสวนาและแถลงข้อเสนอให้ แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ มีสาระสำคัญ 7 ประเด็น ดังนี้

1. ให้ยกเลิกมาตรา 112 ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร

2. เพิ่มหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

3. แบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์เป็นคนละมาตรากับการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

4. เปลี่ยนบทกำหนดโทษโดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ แต่กำหนดเพดานโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินสามปี โดยแยกระหว่างการหมิ่นประมาททั่วไปกับการหมิ่นประมาทที่เป็นการโฆษณาออกจากกัน

5. เพิ่มเหตุยกเว้นความผิด กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต

6. เพิ่มเหตุยกเว้นโทษ กรณีข้อความที่กล่าวหานั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และ

7. ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษผู้ที่ทำความผิด ให้สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจเป็นผู้กล่าวโทษเท่านั้น

ดูร่างข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ได้ที่ https://ilaw.or.th/.../%E0%B8%A3.%E0%B8%9A.%E0%B9%81%E0...

หลังจากคณะนิติราษฎร์ นำเสนอข้อเสนอต่อสาธารณะก็ได้รับการตอบรับที่ดีพอสมควร ขณะที่บุคคลอีกส่วนหนึ่งในสังคมก็ไม่เห็นด้วย โดยยืนยันว่าต้องเสนอให้ยกเลิกมาตรา 112 เท่านั้น ไม่ใช่การแก้ไข เช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โดยมีเครือข่ายประชาธิปไตย อันประอบไปด้วยคนหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มแดงสยาม, กลุ่ม 24 มิถุนาฯ เพื่อประชาธิปไตย ที่นำโดยสมยศ พฤกษาเกษมสุข กำลังรณรงค์เพื่อให้ยกเลิกมาตรา 112 ไปเลย และชักชวนให้คนที่เห็นด้วยมาเข้าชื่อกันเพื่อเสนอยกเลิก มาตรา 112 ด้วย https://ilaw.or.th/node/956

ปลายปี 2554 กลุ่มนักวิชาการหลายกลุ่มและนักศึกษา นักกิจกรรมในช่วงเวลานั้น นำโดยเครือข่ายสันติประชาธรรม และคณะนิติราษฎร์ จึงประชุมร่วมกันและเห็นพ้องตรงกันที่จะจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อชวนให้ประชาชนใช้สิทธิการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย รวบรวมเอกสารรายชื่อให้ครบ 10,000 ชื่อ เพื่อยื่นเสนอต่อรัฐสภาให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์

ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.2542 การเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ ต้องใช้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 10,000 คนขึ้นไป และต้องใช้เอกสารหลักฐาน ทั้งสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำหรับการใช้สิทธิและการรวบรวมรายชื่ออย่างมาก

กิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้เปิดตัวในนามคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 หรือ ครก.112 จัดกิจกรรมครั้งแรกในวันที่ 15 มกราคม 2555 ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ออกนำโดยนักวิชาการอาวุโสสามคน ได้แก่ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, นิธิ เอียวศรีวงศ์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร พร้อมกับรายชื่อนักวิชาการ นักเขียน และนักเคลื่อนไหวทางสังคมที่ร่วมสนับสนุน 112 คน เช่น อภิชาติพงษ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์, ปราบดา หยุ่น นักเขียนรางวัลซีไรต์, เกษียร เตชะพีระ, รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์, ธงชัย วินิจจะกูล, สุดา รังกุพันธุ์ รวมทั้งเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ที่ตอนหลังขอถอนชื่อออก https://prachatai.com/journal/2012/01/38774

ผู้ที่ทำงานขับเคลื่อนหลักในช่วงนั้นเป็นนักวิชาการเครือข่ายสันติประชาธรรม เช่น พวงทอง ภวัครพันธุ์, ยุกติ มุกดาวิจิตร รวมทั้งนักเขียนกลุ่มแสงสำนึกอย่าง วาด รวี โดยมีการเปิดเว็บไซต์ชื่อ www.ccaa112.org (ปี 2563 เข้าถึงไม่ได้แล้ว) มีเพจเฟซบุ๊กชื่อคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112) https://www.facebook.com/ccaa112/about/?ref=page_internal

ภารกิจของ ครก. 112 คือ การจัดกิจกรรมรณรงค์เดินทางไปจัดกิจกรรมหลายๆ จังหวัดเพื่อรวบรวมเอกสารรายชื่อให้ครบ โดยตั้งกำหนดเวลาให้สำเร็จภายใน 112 วัน ข้อจำกัดหลัก คือ ต้องแจ้งข่าวให้ประชาชนนำสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านติดตัวมาจากบ้าน เพื่อมาเข้าชื่อตามกิจกรรมต่างๆ ที่ ครก.112 จัดขึ้น หรือถ้าไม่สะดวกเดินทางก็สามารถส่งมาทางไปรษณีย์ได้ โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มจากเว็บไซต์ และแนบเอกสารที่ต้องใช้ส่งไปรษณีย์มาทาง ตู้ปณ.112 ปณฝ.ราชดำเนิน เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

วันที่ 5 พฤษภาคม 2555 หลังผ่านไป 112 วัน ครก.112 ประกาศว่า สามารถรวบรวมรายชื่อประชาชนได้ 39,185 รายชื่อ และเมื่อคัดแยกรายชื่อที่ซ้ำหรือเอกสารไม่ครบออกแล้ว เหลือรายชื่อที่สมบูรณ์นำมายื่นต่อรัฐสภาได้ทั้งหมด 26,968 รายชื่อ

วันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ครก.112 นำโดยชาญวิทย์ เกษตรศิริ พร้อมประชาชนราว 300 คน นัดหมายรวมตัวเพื่อนำรายชื่อประชาชนที่เข้าชื่อเพื่อเสนอแก้ไขมาตรา 112 เดินเท้าจากหมุดคณะราษฎร ลานพระรูปทรงม้า ไปยื่นยังอาคารรัฐสภาในขณะนั้น บรรยากาศโดยรวมเป็นไปอย่างคึกคัก มีการนำเอกสารผู้เข้าชื่อแก้ไขมาตรา 112 บรรจุลงกล่องดำจำนวน 12 กล่อง ใส่คอนหาม ซึ่ง "กล่องดำ" ผู้จัดทำตั้งใจจะสื่อความหมายให้เห็นถึงกล่องที่บรรจุไว้ซึ่งความจริงที่อาจถูกปฏิเสธว่า มองไม่เห็น https://ilaw.or.th/node/1566

วิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 เป็นตัวแทนออกมารับหนังสือและรายชื่อทั้งหมด พร้อมด้วยจารุพรรณ กุลดิลก และประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.พรรคเพื่อไทย โดยวิสุทธิ์กล่าวว่า จากนี้ไปจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดก่อน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจะต้องใช้เวลาราว 3-4 เดือน

การตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารผ่านไปด้วยความเรียบร้อย และเมื่อร่างนี้เสนอเข้าสู่สภา ปลายปี 2555 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรส่งหนังสือลงวันที่ 11 ตุลาคม 2555 มายังชาญวิทย์ เกษตรศิริ ระบุว่า สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส.ส.จากพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้วินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติที่ ครก.112 นำเสนอเพื่อให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่ใช่กฎหมายที่เกี่ยวด้วย หมวด 3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ https://ilaw.or.th/node/1374 จึงไม่ใช่กฎหมายที่ประชาชนจะมีสิทธิเข้าชื่อกันเสนอได้ ตามมาตรา 163 ของรัฐธรรมนูญ 2550 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่อาจเสนอร่างกฎหมายนี้ให้รัฐสภาพิจารณาได้

หลังจากนั้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 ครก.112 ได้ทำหนังสืออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และจัดแถลงข่าวชี้แจงต่อสาธารณะ ยุกติ มุกดาวิจิตร กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติแก้ไข มาตรา 112 ที่เสนอต่อประธานรัฐสภานั้น เป็นกฎหมายในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ใช้จำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี ก็เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ไม่ได้หมายความว่าเมื่อกฎหมายใดเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์แล้ว จะไม่เป็นเรื่องของสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย พร้อมเรียกร้องให้ประธานรัฐสภาเร่งนำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขมาตรา 112 ให้สภาพิจารณาต่อไปโดยเร็ว

ดูหนังสืออุทธรณ์ของ ครก.112 ได้ที่ https://ilaw.or.th/sites/default/files/LMletterFeb15TH.pdf

แต่การอุทธรณ์ดังกล่าวก็ไม่เป็นผล รัฐสภาไม่ได้รับข้อเสนอแก้ไขมาตรา 112 ของประชาชนเอาไว้พิจารณา จนกระทั่งปลายปี 2556 ก็เกิดความขัดแย้งทางการเมืองระลอกใหม่ และนำไปสู่การรัฐประหารในปี 2557 เมื่อรัฐสภาและรัฐธรรมนูญถูกยกเลิก ข้อเสนอต่างๆ ที่ค้างอยู่ในสภาก็เป็นอันตกไป 
...
สุชาติ สวัสดิ์ศรี
9h ·

จำได้ จำได้ไม่ลืม
ปี 2555 ผมเคยร่วมใส่ชื่อขอให้สภาแก้ไข ม.112 มาแล้ว แต่สภาที่มี "พรรคเพื่อไทย" เป็นรัฐบาลกลับไม่รับ !!
มาถึงปีนี้ 2563 และปีต่อๆไปหลังจากนี้ ถ้าจะมีการใส่ชื่อไปถึงสภาอีก ก็มีเพียงประการเดียว คือ ยกเลิก ม.112 เท่านั้น ผมจึงจะใส่ชื่อ !!
ooo

#VoiceTV
Overview-ราษฎรหนุนเลิก112พรึ่บ ร้อง UNจี้ประยุทธ์เลิก อังกฤษหมดตั้งแต่พ.ศ. 2258 ก่อนตั้งรัตนโกสินทร์