วันศุกร์, กรกฎาคม 26, 2562

บทวิเคราะห์ ปัญหาการสื่อสาร และ Personal Branding ของนายก ในการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา - “สอบไม่ผ่าน”




https://www.facebook.com/tootsyreview/photos/a.333394177132770/678166549322196/?type=3&theater

รีบลน จนไม่รู้เรื่อง
คุณภาพไม่มี พรีเซนต์ไม่เป็น

"เล่าเรื่องของตัวเองให้ดี ก็ยังทำไม่ได้"

บทวิเคราะห์ ปัญหาการสื่อสาร และ Personal Branding ของนายก ในการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา

written by Thanabatra Beboyl Chaidarnn
page owner: ตุ๊ดส์review / Pussy can talk

ผมมีโอกาสได้ฟังการแถลงนโยบายของพลเอกประยุทธ์ ต่อรัฐสภา ไม่ได้มีปัญหาต่อนโยบายหรอกครับ (จะซื้อยุทโธปกรณ์มาเตรียมทำสงครามโลกครั้งที่ 3 ก็คงต้านไม่ได้แล้วล่ะเนอะ จำเป็นเหลือเกิน!) เอาเป็นว่า ผมค้นพบว่ามีปัญหาในการสื่อสาร และการวางตัวตนพอสมควร ซึ่งจะว่าตื่นเต้น หรือกดดัน ก็คงประหลาด เพราะเป็นนายกมาอีกสมัยแล้ว น่าจะมืออาชีพได้แล้วครับ

ในฐานะอาจารย์ด้านการสื่อสารอยากเสนอแนะ และชี้ข้อบกพร่อง ดังนี้

1) การซ้อมเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่ด้นสด แต่ขาดความเป็นมืออาชีพ

ถ้ารู้ว่าเรื่องราวของตัวเองที่ต้องนำเสนอออกไปนั้น ข้อมูลเยอะจัด ควร “ซ้อม หรือ อ่านมาก่อนให้เข้าใจ” การโชว์ให้คนอื่นเห็นว่าอ่านผิดๆถูกๆ อ่านไปแล้ว อ่านบรรทัดซ้ำอีก หรือจำไม่ได้ว่าตนอ่านถึงหน้าไหน แล้วมาบอกสภาว่า ฉันเหนื่อยจัง แสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพ

การซ้อมมาก่อน หรือการทำการบ้านกับเนื้อหาที่จะมานำเสนอ ช่วยให้การถ่ายทอดเป็นไปด้วยความเข้าใจสาระที่จะต้องอ่าน ไม่ใช่อ่านตามสิ่งที่คนอื่นพิมพ์ให้ โดยขาดความรู้ความเข้าใจสาระ มันจะคล้ายกับเด็กประถมยืนอ่านหนังสือกลางห้องเรียนแบบที่ขาดทักษะ ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นในการนำเสนอตัวตนต่อสาธารณะ

เหตุผลที่นักแสดงละครเวทีต้องมีการซ้อมใหญ่ (Run Through หรือ Rehearsal) เพราะไม่มีใครหรอกครับ ที่เขาจะไปโชว์เอ๋อ โชว์เขลา กลางเวที ว่าฉันลืมบทนะ ฉันเหนื่อย ไม่มีข้ออ้างใดๆทั้งนั้นกับคนที่เป็นมืออาชีพ ดังนั้น นี่บทบาทนายกรัฐมนตรี เรื่องของตัวเองทั้งที present ให้ดีก็ไม่ได้

มีเวลาก่อนจะมานำเสนอตั้งเยอะ…คุณจะไม่ซ้อมมาซะหน่อยเหรอ น่าอายนะ

2) การบริหารอารมณ์ และเคารพให้เกียรติผู้อื่น แสดงถึงความมีวุฒิภาวะ

จริงๆแล้ว การบริหารสีหน้า หรือบริหารอารมณ์ในสภา เป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนวุฒิภาวะ ในการแสดงออก ที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกได้ถึงการตอบโต้ที่มีวุฒิภาวะ การชี้นิ้วสั่งให้ใครพูดหรือไม่พูดอะไรนั้นทำไม่ได้ในสภาอันทรงเกียรติ ไปจนถึงการขึ้นเสียงหรือการแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อสมาชิกผู้แทนราษฎร (ตามที่นายแพทย์ชลน่าน ส.ส. เพื่อไทย แจ้ง)

การแสดงออกที่เป็นการบ่งบอกสถานะว่ามีใครสูง หรือต่ำกว่า ไม่ควรเกิดขึ้นในสภา เพราะคนทุกคนเท่ากัน ไม่ควรแสดงอากัปกิริยาที่บ่งบอกถึงการไม่ให้เกียรติผู้อื่น ทั้งๆที่ประธานรัฐสภานั่งอยู่ และเป็นผู้ควบคุมการดำเนินกิจกรรมในสภา นอกจากจะให้เกียรติผู้อื่นแล้ว ควรให้เกียรติตนเองในฐานะของการเป็นนายกรัฐมนตรี จะไม่พึงพอใจอะไร ก็ควรเคารพตำแหน่งหน้าที่ตนเอง ไม่เผยตัวตนเบื้องลึกที่ตนเคยชินออกมาอย่างไม่เหมาะสม

คนที่เก็บอารมณ์ไม่ได้ แสดงถึงการขาดวุฒิภาวะ และนั่นคือการบริหารภาพลักษณ์อย่างหนึ่งที่ผิดพลาด ในการนำเสนอตัวตนต่อสาธารณะ ถ้าอยากให้คนเคารพ และศรัทธา ‘ความนิ่ง’ คือความชาญฉลาดที่ปรากฏออกมาแล้วสร้างความน่าเกรงขาม ไม่ใช่การทำเสียงดัง และดุดัน

3) ทักษะการอ่าน เป็นเรื่องง่ายๆที่เด็กประถมทำได้ คือการอ่านให้รู้เรื่อง ไม่เร็วและรัวจนเกินไป

กรณีของการอ่านเร็ว ลิ้นรัว พูดฟังไม่รู้เรื่อง อันนี้ควรกลับไปฝึกฝนมาก่อน เพราะจริงๆแล้วการแถลงนโยบายเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชน และทุกคนให้ความสนใจ จะอ่านส่งๆไป หรือคิดว่าตนเป็นแรปเปอร์ หรือน้องทอย ที่จะมาลิ้นรัวในสภา นั่นเท่ากับไม่ใส่ใจ หรือไม่เคารพผู้ฟัง เมื่อมีเวลา ในการนำเสนอ และทุกคนให้เกียรติในการตั้งใจฟัง ไม่ได้ต้องเร่งรีบอะไร การอ่านให้ชัด การนำเสนอให้เข้าใจ เป็นเรื่องที่ควรทำ การนำเสนอไม่รู้เรื่อง ในเรื่องของตนเอง จริงๆเป็นเรื่องน่าประหลาดมาก ต่อให้ไม่มี script แล้วนี่เป็นนโยบายของตนเอง “การพูดให้รู้เรื่อง” คือเรื่องพื้นฐานสุดๆ

ทักษะการอ่าน หรือการพูดออกเสียงให้ชัดถ้อยชัดคำ เป็นเรื่องพื้นฐาน ถ้าฝึก และใส่ใจ ทุกคนพัฒนาได้เสมอ และมันเป็นคุณสมบัติหนึ่งของความเป็นผู้นำประเทศ เพราะคุณเป็นเหมือน brand ambassador ของประเทศ ไปที่ไหน แล้วพูดฟังไม่รู้เรื่อง มันไม่ควรเกิดขึ้นแน่ๆในบทบาทของผู้นำที่เป็นตัวแทนของชาติครับ

การให้เกียรติผู้ฟังอย่างหนึ่ง คือการพูดให้รู้เรื่อง เพราะถ้าพูดไม่รู้เรื่องก็เท่ากับเสียเวลาคนฟัง มาฟังในสิ่งที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ นายกจึงควรไปเริ่มต้นที่สิ่งนี้ ไม่ต้องรีบ ลิ้นไม่ต้องพัน ค่อยๆเล่า และอย่ากดดันตัวเอง

4) ความน่าเชื่อถือ และเคารพของผู้นำประเทศ จะมาจากการวางตัวตนที่ฉลาด

"คุณได้ซีนแล้ว แต่ซีนคุณแย่มาก"

ในการนำเสนอตัวตน หรือการวาง personal branding ของตนต่อสาธารณะนั้น การได้แถลงนโยบาย เท่ากับตนเองมีเวทีเป็นของตนเอง หรือได้ own space ที่เป็น scene สำคัญของตนเอง คนที่ได้ซีน ต้องฉลาดใช้ซีนของตนเอง ให้ผู้คนยอมรับ สร้างพลังอำนาจ และความน่าเชื่อถือ การปรากฏตัวบนสื่อ ที่ทุกคนให้การจับจ้อง แต่นับว่าการบริหารตัวตนของลุงตู่ ค่อนข้างล้มเหลว จากที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งการทำการบ้านที่ต่ำมาก การควบคุมอารมณ์และน้ำเสียง ไปจนถึงเรื่องของทักษะในการนำเสนอง่ายๆด้วยการอ่านให้ผู้คนฟังรู้เรื่อง อุตส่าห์ได้ซีน แต่ซีนที่ออกมา ค่อนข้างแย่มากครับ

เรื่องนี้ของท่านนายก ไม่ต่างจากเวลาเราไปสัมภาษณ์งาน หรือไปพรีเซนต์ขายงานให้บริษัทนะ

ผมว่าเราไป present เล่าเรื่องตัวเอง แล้วเราเล่ามันห่วย แน่นอนว่า คงยากที่ใครจะรับเราเข้าทำงาน หรือขายงานให้ผ่านได้ ในเมื่อแค่เล่าเรื่องตัวเองให้รู้เรื่อง ให้ดี ให้คนยอมรับยังทำไม่ได้ ดังนั้น ทักษะการสื่อสาร จึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นนายกหรอกครับ เป็นใครก็สำคัญครับ

อยากฝากไปถึงคนที่ดูภาพลักษณ์ (brand image) ให้กับนายกรัฐมนตรีท่านนี้หน่อย ผมว่า ก่อนเขาปรากฏตัวต่อสาธารณะให้เขาซ้อมมากๆ อย่าเอา basic instinct มาใช้เยอะไปครับ มันดูดิบ และไม่ค่อยมีวุฒิภาวะในการแสดงออก ไปจนถึงการเป็นตัวอย่างของผู้บริหารที่ดี ซึ่งจริงๆ ควรมีอยู่ในผู้บริหารประเทศครับผม

เข้าสภา แค่เข้าไปอ่านนโยบาย ก็สะท้อนว่า “สอบไม่ผ่าน”
อยากมีอำนาจ อยากโชว์กึ๋น ต้องแสดงให้เห็นว่าตนมีความพร้อมด้วยครับ ควรไปฝึกมาใหม่นะครับ…จะรอดูด้วยความเคารพ

#ตุ๊ดส์review

// จริงๆ ก็พอมี solution ให้ครับ เช่น
- เอา script ที่ท่านนายกอ่าน เอามาทำเป็น PDF file ให้ link download กับประชาชน อาจจะเป็นเรื่องที่ฉลาดกว่า(ไม่ต้อง print นะเดี๋ยวงบทำเอกสารงอก และสร้างภาระขยะให้โลก)

- ทำ podcast เป็นเสียงคุณสายสวรรค์ ขยันยิ่ง ชัดถ้อยชัดคำ ฟังง่าย แล้วเอานายกไปเก็บไว้

ไม่เหนื่อยด้วย แถมไม่มีใครดูไม่ดีในสายตาประชาชน แต่ไม่ต้อง write เป็น CD นะ ฉันรู้ว่าถ้าพวกเธอ write เดี๋ยวงบประมาณจะตามมา ลองดูนะ วิธีดีๆมีอีกเพียบ ในกรณีที่นายกจะมาทรงนี้

ที่มาข่าว: https://www.matichon.co.th/politics/news_1597428


ตุ๊ดส์review