ก่อนหมดอำนาจ #คสช ยกเลิกประกาศและคำสั่งของตัวเองไปแล้วจำนวนมากก็จริง แต่ยังมีอีกหลายฉบับที่เหลือ และในการยกเลิกหลายเรื่องยังวางเงื่อนไข #สืบทอดอำนาจ ไว้ด้วย เช่น เรื่องการแก้ปัญหาประมง การตั้งคณะกรรมการประกันสังคม การแก้ปัญหามหาวิทยาลัยไม่ได้มาตรฐาน ฯลฯhttps://t.co/CbUaCFpswM— iLaw Club (@iLawclub) July 22, 2019
คสช. ใช้ ม.44 ยกเลิกคำสั่งทิ้งท้าย 78 ฉบับ แต่มีเงื่อนไขเพียบ!
20 ก.ค. 2562
โดย iLaw
9 กรกฎาคม 2562 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 9/2562 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ บางฉบับที่หมดความจำเป็น เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแล้วพบว่า คำสั่งฉบับนี้ให้ยกเลิกประกาศ คสช. จำนวน 32 ฉบับ คำสั่ง คสช.จำนวน 29 ฉบับ และ คำสั่งหัวหน้าคสช. จำนวน 17 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 78 ฉบับ
อย่างไรก็ดี การยกเลิกประกาศ/คำสั่ง ของ คสช. ทั้ง 78 ฉบับ แบ่งเป็นการยกเลิก 3 แบบ แบบแรกเป็นการยกเลิกโดยไม่มีเงื่อนไข 61 ฉบับ ครอบคลุมประเด็นสิทธิแรงงานข้ามชาติ การแทรกแซงระบบราชการ ศาล และองกรค์อิสระ เสรีภาพสื่อมวชน สิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม การแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร ฯลฯ
แบบที่สองเป็นการยกเลิกแบบมีเงื่อนไขรวม 16 ฉบับ ซึ่งบางฉบับยกเลิกและมีคำสั่งเพิ่มเติม เช่น การยกเลิกประกาศและคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่กำหนดให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร 5 ฉบับ และให้โอนคดีที่ค้างอยู่ไปศาลปกติ การยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 40/2558 ซึ่งใช้แต่งตั้งคณะกรรมการและที่ปรึกษารวม 4 ชุด แต่ได้สั่งต่ออายุเฉพาะ “คณะกรรมการประกันสังคม” ที่ คสช. แต่งตั้งขึ้น และให้รัฐบาลใหม่ยังมีอำนาจควบคุมด้วย การยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ซึ่งใช้แต่งตั้งข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ 3 ฉบับ แต่ให้ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ตามคำสั่งเหล่านั้นดำรงตำแหน่งต่อไปและให้เพิ่มตำแหน่งอีกรวม 40 อัตรา
บางฉบับให้ยกเลิกแต่ยังไม่มีผลทันที เช่น การยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย 6 ฉบับ ภายใต้เงื่อนไขว่ากองทัพเรือต้องวางแผนและขั้นตอนเสนอให้รัฐบาลเห็นชอบก่อนจึงจะยกเลิกได้ การยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 39/2559 ซึ่งใช้แก้ปัญหาภายในสถาบันอุดมศึกษา ภายใต้เงื่อนไขว่า ให้รัฐมนตรีกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีอำนาจสั่งให้ยกเลิกได้เมื่อเห็นว่าปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว
แบบที่สาม คือ การยกเลิกเฉพาะบางข้อ 1 ฉบับ ได้แก่ การยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2560 เฉพาะข้อ 5 และแก้ไขหน้าที่ “สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี” ให้ไม่ต้องขึ้นกับคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)
คสช. บรรลุวัตถุประสงค์แล้วจึงยกเลิกเพื่อสร้างเอกภาพของระบบกฎหมาย
คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 9/2562 ให้เหตุผลไว้ว่า คสช. ได้ออกประกาศและคำสั่งเพื่อการบริหารประเทศและการปฏิรูปประเทศ รวมทั้งส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ ขณะนี้ ประกาศและคำสั่งบางฉบับได้บรรลุวัตถุประสงค์แล้วจึงสมควรให้ยกเลิกประกาศ/คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่หมดความจำเป็น เพื่อให้บทบัญญัติของกฎหมายสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนไป ตลอดจนเสริมสร้างความเป็นเอกภาพของกฎหมายทั้งระบบเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและการปฏิบัติได้ถูกต้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ
ยกเลิกประกาศ/คำสั่ง ทันที 61 ฉบับ เลิกคุมสื่อ เลิกแทรกแซงระบบราชการ
คำสั่งข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศ คสช. จำนวน 28 ฉบับ คำสั่ง คสช. จำนวน 29 ฉบับ และคำส่ังหัวหน้า คสช. จำนวน 4 ฉบับ รวมทั้งหมด 61 ฉบับ ซึ่งเป็นการยกเลิกแบบไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดๆ เพิ่มเติม แบ่งเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้
๐ ประเด็นสิทธิแรงงานข้ามชาติ จำนวน 12 ฉบับ ได้แก่ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 67/2557 ฉบับที่ 68/2557 ฉบับที่ 70/2557ฉบับที่ 77/2557 ฉบับที่ 90/2557 ฉบับที่ 94/2557 ฉบับที่ 117/2557 ฉบับที่ 118/2557 ฉบับที่ 73/2557 ฉบับที่ 74/2557ฉบับที่ 100/2557 และฉบับที่ 101/2557 ซึ่งทั้งหมดประกาศใช้มาเพื่อแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
๐ ประเด็นแทรกแซงระบบราชการ ศาล และองกรค์อิสระ จำนวน 11 ฉบับ ได้แก่ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 33/2557 ซึ่งให้ศาล องค์กรอิสระ งดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคสช. ประกาศ คสช., ฉบับที่ 44/2557 ซึ่งให้กรมราชทัณฑ์ทำตามหมายศาลทหาร ประกาศ คสช. ฉบับที่ 89/2557, ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 104/2557 ซึ่งกำกับงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 75/2557 และ 78/2557 ให้รัฐวิสาหกิจขออนุญาต คสช. ก่อนอนุมัติโครงการที่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท, คำสั่ง คสช. ที่ 94/2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 8/2558 ซึ่งใช้แทรกแซงประมูลคลื่นและการแต่งตั้ง กสทช., คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 27/2558 และ 19/2559 ใช้แทรกแซงกรมการบินพลเรือน และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 11/2560 ใช้เร่งรัดการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ
๐ ประเด็นเสรีภาพสื่อมวชน จำนวน 11 ฉบับ ได้แก่ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 12/2557 และ ฉบับที่ 17/2557 ซึ่งพยายามใช้ปิดกั้นแทรกแซงสื่อออนไลน์, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ ฉบับที่ 103/2557 ซึ่งควบคุมการนำเสนอเนื้อหาของสื่อมวลชน, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 23/2557 ฉบับที่ 45/2557 และ ฉบับที่ 65/2557 ซึ่งใช้ปิดกั้นและแทรกแทรงสื่อโทรทัศน์, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 27/2557 ฉบับที่ 32/2557 ฉบับที่ 66/2557 และฉบับที่ 79/2557 ซึ่งใช้ปิดกั้นและแทรกแทรงสื่อวิทยุ
๐ ประเด็นสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม จำนวน 9 ฉบับ ได้แก่ คำสั่ง คสช. ที่ 64/2557 และ 66/2557 ซึ่งใช้ขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ป่า หรือ “นโยบายทวงคืนป่า”, คำสั่ง คสช. ที่ 72/2557 คำสั่ง คสช. ที่ 109/2557 คำส่ัง คสช. ที่ 3/2558 และ 5/2558 ซึ่งใช้ตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ, คำสั่ง คสช. ที่ 85/2557 และ 111/2557 ใช้ตั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการทรัพยากรนำ้, คำสั่ง คสช. 90/2557 ใช้ตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม
๐ ประเด็นแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ คำสั่ง คสช. ที่ 105/2557 และ 106/2557 ซึ่งใช้แก้ไขปัญหามันสำปะหลัง, คำสั่ง คสช. ที่ 107/2557 ตั้งคณะกรรมการนโยบายอาหาร, คำสั่ง คสช. ที่ 116/2557 ตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตร
๐ ประเด็นอื่นๆ จำนวน 14 ฉบับ ได้แก่ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 21/2557 ห้ามบุคคลที่ถูกเรียกรายงานตัวเดินทางออกนอกประเทศ, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 46/2557 ความผิดการทวงหนี้ชาวนาอย่างไม่เป็นธรรม, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 62/2557 ให้นำคืนอาวุธปืนที่ไม่ได้รับอนุญาต, คำสั่ง คสช. ที่ 24/2557 ห้ามเล่นการพนันที่ผิดกฎหมาย, คำสั่ง คสช. ที่ 41/2557 เร่งรัดการปราบปรามยาเสพติด, คำสั่ง คสช. ที่ 69/2557 แก้ไขปัญหาการทุจริต
และในจำนวนนี้ยังเป็นคำสั่งที่แต่งตั้งคณะกรรมการอีก 8 ฉบับ ได้แก่ คำส่ัง คสช. ที่ 33/2557 ตั้งคณะทำงานตรวจสอบธุรกรรมทางการเงิน, คำสั่ง คสช. ที่ 76/2557 ตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก, คำสั่ง คสช. ที่ 91/2557ตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าและบริการ, คำสั่ง คสช. ที่ 112/2557 ตั้งคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ, คำสั่ง คสช. ที่ 115/2557 ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาพระพุทธศาสนา, คำสั่ง คสช. ที่ 118/2557 ตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และคำสั่ง คสช. ที่ 67/2557 และ 114/257 ตั้งคณะกรรมการร่วมรัฐและเอกชนแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ยกเลิกคำสั่งให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร 5 ฉบับ และโอนคดีที่ค้างอยู่ไปศาลยุติธรรม
คำสั่งข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศและคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่
- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 ให้คดีพลเรือนในข้อหาเกี่ยวกับการเมืองขึ้นศาลทหาร
- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 38/2557 ให้ความผิดเกี่ยวเนื่องกันขึ้นศาลทหารด้วย
- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 43/2557 ให้คดีเยาวชนไม่ต้องขึ้นศาลทหาร
- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 50/2557 ให้คดีครอบครองอาวุธขึ้นศาลทหาร
- คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 55/2559 ให้ยุติการใช้ศาลทหารในคดีที่เหตุเกิดหลัง 12 กันยาน 2559
นอกจากนี้ ให้ความผิดตามประกาศ คำสั่ง และคำสั่งหัวหน้า คสช. ไม่ว่าจะทำผิดก่อนหรือหลังคำสั่งฉบับนี้อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม และให้คดีที่พลเรือนถูกดำเนินคดีค้างอยู่ในศาลทหารโอนไปยังศาลยุติธรรม ทั้งนี้ ไม่นับรวมความผิดทางอาญาของทหารซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารเดิมอยู่แล้ว ซึ่งในทางปฏิบัติการโอนย้ายคดีจากศาลทหารไปยังศาลปกติพร้อมกันชุดใหญ่ๆ เช่นนี้ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ยังต้องรอติดตามผลว่า ศาลทั้งสองจะปฏิบัติงานให้ต่อเนื่องกันได้อย่างไร
ยกเลิกคำสั่งตั้งคณะกรรมการประกันสังคม แต่โอนอำนาจ คสช. ให้ "นายกฯ ประยุทธ์"
คำสั่งข้อ 3 ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 40/2558 ซึ่งใช้แต่งตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษาของคณะกรรมการประกันสังคม คณะกรรมการการแพทย์ และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน แต่เป็นการยกเลิกแบบมีเงื่อนไขให้คณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษาซึ่งตั้งตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 40/2558 อยู่ต่อจนกว่าจะแต่งตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558
อีกทั้ง ยังให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน ซึ่งก็แทบจะเป็นชุดเดิมกับ คสช. ยังสามารถควบคุมคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษาชุดนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะ สั่งให้พ้นจากตำแหน่ง หรือแต่งตั้งใหม่ หรือในระหว่างที่ไม่ได้แต่งตั้งใหม่ก็ให้มีเท่าที่มีอยู่ได้ แต่ให้คำนึงถึงสัดสวนระหว่างผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายประกันสังคม
นอกจากนี้ ยังงดเว้นการบังคับใช้ พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ สองมาตราที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการประกันสังคม ได้แก่ มาตรา 8 วรรคสาม ให้ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายประกันสังคมซึ่งอยู่ในคณะกรรมการประกันสังคมมาจากการเลือกตั้ง และมาตรา 8/3 ให้กรรมการประกันสังคมซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง จะต้องแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หมายความว่า จะยังไม่มีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมและกรรมการที่มีอยู่ก็ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน
คำสั่งข้อนี้ยังให้รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานจัดทำระเบียบว่าด้วยหลักกเกณฑ์และวิธีเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ ให้เสร็จภายในเวลา 2 ปี
ยกเลิกคำสั่งแก้ไขปัญหาประมง 6 ฉบับ แต่โอนอำนาจให้กองทัพเรือวางแผนต่อ
คำสั่งข้อ 4 ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 10/2558, คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 24/2558, คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 42/2558, คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 18/2559, คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2559 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2560 แต่ไม่ใช่การยกเลิกทันที ต้องรอให้กองทัพเรือจัดทำแผนและขั้นตอนการยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. เหล่านี้ส่งให้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบก่อนถึงจะยกเลิกได้
กองทัพเรือต้องจัดทำแผนและขั้นตอนการยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. 6 ฉบับข้างต้น เสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 90 วันนับแต่วันที่คำสั่งนี้บังคับใช้ ซึ่งในแผนและขั้นตอนต้องโอนภารกิจ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ งบประมาณ เจ้าหน้าที่ และบุคคลากรของศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ไปยังส่วนราชการอื่น และต้องให้บทบัญญัติบางประการของคำส่ังหัวหน้า คสช. เหล่านี้มีผลบังคับใช้ต่อไปและมีระยะเวลาการใช้บังคับ จากนั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนและขั้นตอนของกองทัพเรือแล้วให้คำสั่งหัวหน้า คสช. เหล่านี้ยกเลิกได้ เว้นแต่บทบัญญัติบางประการของคำส่ังหัวหน้าคสช. ให้มีผลต่อไปจนครบระยะเวลาตามที่ระบุในแผนและขั้นตอน
นอกจากนี้ ยังให้ความผิดตามคำสั่งหัวหน้า คสช. เรื่อง การแก้ไขปัญหาประมง ที่เกิดขึ้นก่อนคำสั่งเหล่านี้จะยกเลิก และอยู่ระหว่างการดำเนินคดีหรือการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล ให้ดำเนินต่อไปจนถึงที่สุด
ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ 3 ฉบับ แต่สั่งเพิ่มอีก 40 ตำแหน่ง
คำสั่งข้อ 5 ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ใช้แต่งตั้ง พักงาน และโยกย้ายข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 16/2558, คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 5/2559, และ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 68/2559 แต่การยกเลิกคำสั่งแต่ละฉบับมีเงื่อนไขให้ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งหัวหน้า คสช. เหล่านั้นดำรงตำแหน่งต่อไป และให้เพิ่มตำแหน่งข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐอีกรวม 40 อัตรา
๐ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 16/2558 ซึ่งใช้เพิ่มอัตรากำลังชั่วคราวในสำนักนายกรัฐมนตรี 100 อัตรา และพักงานข้าราชการจำนวนหนึ่ง แต่การยกเลิกมีเงื่อนไขสั่งให้มีอัตรากำลังชั่วคราว 20 อัตรา ในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและให้เจ้าหน้าที่รัฐที่แต่งตั้งตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับนี้ ดำรงตำแหน่งและได้รับสิทธิประโยชน์ต่อไป
๐ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 5/2559 ซึ่งใช้เพิ่มอัตรกำลังชั่วคราวในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสั่งให้ออกมาตราการประเมินผลข้าราชการ แต่การยกเลิกมีเงื่อนไขสั่งให้มีอัตรากำลังชั่วคราว 10 อัตรา ในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่แต่งตั้งตามคำสั่งหัวหน้าฉบับนี้ ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อไป
๐ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 68/2559 ซึ่งใช้เพิ่มอัตรากำลังชั่วคราวในสำนักนายกรัฐมนตรี 50 อัตรา และใช้โยกย้ายเจ้าหน้าที่รัฐจำนวนหนึ่ง แต่การยกเลิกมีเงื่อนไขสั่งให้มีอัตราชั่วคราว 10 อัตรา ในสำนักนายกรัฐมนตรี และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่แต่งตั้งตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับนี้ดำรงตำแหน่งต่อไป
ให้อำนาจรัฐมนตรีกระทรวงอุดมศึกษาฯ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช. 1 ฉบับ
คำสั่งข้อ 6 ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 39/2559 ซึ่งใช้แทรกแซงการแต่งตั้งผู้บริหารมหาวิทยาลัย เพื่อหวังแก้ปัญหามหาวิทยาลัยที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่ไม่ใช่การยกเลิกทันที โดยสั่งยกเลิกข้อ 13 ของคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับนี้ และแก้ไขเพิ่มให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งคนปัจจุบัน คือ สุวิทย์ เมษินทรีย์ จากพรรคพลังประชานรัฐ พิจารณาว่า เมื่อปัญหาเดิมได้รับการแก้ไขแล้วจึงให้ขอความเห็นของคณะรัฐมตรี มีอำนาจยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับนี้ได้ภายหลัง
แก้ไขหน้าที่ “สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี” ไม่ต้องขึ้นกับ ป.ย.ป.
คำสั่งข้อ 7 ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2560 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง หรือการแต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ย.ป. เฉพาะข้อ 5 เรื่องการจัดตั้งสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี และให้สำนักงานดังกล่าวขึ้นเป็นหน่วยงานภายในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่สนับสนุนภารกิจเชิงยุทธศาสตร์และเชิงบูรณาการตามพื้นที่หรือกลุ่มภารกิจ ประสานกับหน่วยงานรัฐในการสร้างความรับรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนและปฏิบัติงานตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
เดิมที คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2560 ใช้ตั้งคณะกรรมการ ป.ย.ป. ขึ้นมาทำหน้าที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปก่อนจะมีแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศของ คสช. โดยให้สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี ทำตามมติของ ป.ย.ป. และทำหน้าที่ธุรการและเลขานุการให้ ป.ย.ป. ด้วย แต่คำสั่งข้อนี้ได้ยกเลิกส่วนนี้ออกไป
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
9 กรกฎาคม 2562 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 9/2562 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ บางฉบับที่หมดความจำเป็น เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแล้วพบว่า คำสั่งฉบับนี้ให้ยกเลิกประกาศ คสช. จำนวน 32 ฉบับ คำสั่ง คสช.จำนวน 29 ฉบับ และ คำสั่งหัวหน้าคสช. จำนวน 17 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 78 ฉบับ
อย่างไรก็ดี การยกเลิกประกาศ/คำสั่ง ของ คสช. ทั้ง 78 ฉบับ แบ่งเป็นการยกเลิก 3 แบบ แบบแรกเป็นการยกเลิกโดยไม่มีเงื่อนไข 61 ฉบับ ครอบคลุมประเด็นสิทธิแรงงานข้ามชาติ การแทรกแซงระบบราชการ ศาล และองกรค์อิสระ เสรีภาพสื่อมวชน สิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม การแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร ฯลฯ
แบบที่สองเป็นการยกเลิกแบบมีเงื่อนไขรวม 16 ฉบับ ซึ่งบางฉบับยกเลิกและมีคำสั่งเพิ่มเติม เช่น การยกเลิกประกาศและคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่กำหนดให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร 5 ฉบับ และให้โอนคดีที่ค้างอยู่ไปศาลปกติ การยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 40/2558 ซึ่งใช้แต่งตั้งคณะกรรมการและที่ปรึกษารวม 4 ชุด แต่ได้สั่งต่ออายุเฉพาะ “คณะกรรมการประกันสังคม” ที่ คสช. แต่งตั้งขึ้น และให้รัฐบาลใหม่ยังมีอำนาจควบคุมด้วย การยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ซึ่งใช้แต่งตั้งข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ 3 ฉบับ แต่ให้ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ตามคำสั่งเหล่านั้นดำรงตำแหน่งต่อไปและให้เพิ่มตำแหน่งอีกรวม 40 อัตรา
บางฉบับให้ยกเลิกแต่ยังไม่มีผลทันที เช่น การยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย 6 ฉบับ ภายใต้เงื่อนไขว่ากองทัพเรือต้องวางแผนและขั้นตอนเสนอให้รัฐบาลเห็นชอบก่อนจึงจะยกเลิกได้ การยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 39/2559 ซึ่งใช้แก้ปัญหาภายในสถาบันอุดมศึกษา ภายใต้เงื่อนไขว่า ให้รัฐมนตรีกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีอำนาจสั่งให้ยกเลิกได้เมื่อเห็นว่าปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว
แบบที่สาม คือ การยกเลิกเฉพาะบางข้อ 1 ฉบับ ได้แก่ การยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2560 เฉพาะข้อ 5 และแก้ไขหน้าที่ “สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี” ให้ไม่ต้องขึ้นกับคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)
คสช. บรรลุวัตถุประสงค์แล้วจึงยกเลิกเพื่อสร้างเอกภาพของระบบกฎหมาย
คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 9/2562 ให้เหตุผลไว้ว่า คสช. ได้ออกประกาศและคำสั่งเพื่อการบริหารประเทศและการปฏิรูปประเทศ รวมทั้งส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ ขณะนี้ ประกาศและคำสั่งบางฉบับได้บรรลุวัตถุประสงค์แล้วจึงสมควรให้ยกเลิกประกาศ/คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่หมดความจำเป็น เพื่อให้บทบัญญัติของกฎหมายสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนไป ตลอดจนเสริมสร้างความเป็นเอกภาพของกฎหมายทั้งระบบเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและการปฏิบัติได้ถูกต้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ
ยกเลิกประกาศ/คำสั่ง ทันที 61 ฉบับ เลิกคุมสื่อ เลิกแทรกแซงระบบราชการ
คำสั่งข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศ คสช. จำนวน 28 ฉบับ คำสั่ง คสช. จำนวน 29 ฉบับ และคำส่ังหัวหน้า คสช. จำนวน 4 ฉบับ รวมทั้งหมด 61 ฉบับ ซึ่งเป็นการยกเลิกแบบไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดๆ เพิ่มเติม แบ่งเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้
๐ ประเด็นสิทธิแรงงานข้ามชาติ จำนวน 12 ฉบับ ได้แก่ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 67/2557 ฉบับที่ 68/2557 ฉบับที่ 70/2557ฉบับที่ 77/2557 ฉบับที่ 90/2557 ฉบับที่ 94/2557 ฉบับที่ 117/2557 ฉบับที่ 118/2557 ฉบับที่ 73/2557 ฉบับที่ 74/2557ฉบับที่ 100/2557 และฉบับที่ 101/2557 ซึ่งทั้งหมดประกาศใช้มาเพื่อแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
๐ ประเด็นแทรกแซงระบบราชการ ศาล และองกรค์อิสระ จำนวน 11 ฉบับ ได้แก่ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 33/2557 ซึ่งให้ศาล องค์กรอิสระ งดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคสช. ประกาศ คสช., ฉบับที่ 44/2557 ซึ่งให้กรมราชทัณฑ์ทำตามหมายศาลทหาร ประกาศ คสช. ฉบับที่ 89/2557, ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 104/2557 ซึ่งกำกับงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 75/2557 และ 78/2557 ให้รัฐวิสาหกิจขออนุญาต คสช. ก่อนอนุมัติโครงการที่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท, คำสั่ง คสช. ที่ 94/2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 8/2558 ซึ่งใช้แทรกแซงประมูลคลื่นและการแต่งตั้ง กสทช., คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 27/2558 และ 19/2559 ใช้แทรกแซงกรมการบินพลเรือน และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 11/2560 ใช้เร่งรัดการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ
๐ ประเด็นเสรีภาพสื่อมวชน จำนวน 11 ฉบับ ได้แก่ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 12/2557 และ ฉบับที่ 17/2557 ซึ่งพยายามใช้ปิดกั้นแทรกแซงสื่อออนไลน์, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ ฉบับที่ 103/2557 ซึ่งควบคุมการนำเสนอเนื้อหาของสื่อมวลชน, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 23/2557 ฉบับที่ 45/2557 และ ฉบับที่ 65/2557 ซึ่งใช้ปิดกั้นและแทรกแทรงสื่อโทรทัศน์, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 27/2557 ฉบับที่ 32/2557 ฉบับที่ 66/2557 และฉบับที่ 79/2557 ซึ่งใช้ปิดกั้นและแทรกแทรงสื่อวิทยุ
๐ ประเด็นสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม จำนวน 9 ฉบับ ได้แก่ คำสั่ง คสช. ที่ 64/2557 และ 66/2557 ซึ่งใช้ขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ป่า หรือ “นโยบายทวงคืนป่า”, คำสั่ง คสช. ที่ 72/2557 คำสั่ง คสช. ที่ 109/2557 คำส่ัง คสช. ที่ 3/2558 และ 5/2558 ซึ่งใช้ตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ, คำสั่ง คสช. ที่ 85/2557 และ 111/2557 ใช้ตั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการทรัพยากรนำ้, คำสั่ง คสช. 90/2557 ใช้ตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม
๐ ประเด็นแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ คำสั่ง คสช. ที่ 105/2557 และ 106/2557 ซึ่งใช้แก้ไขปัญหามันสำปะหลัง, คำสั่ง คสช. ที่ 107/2557 ตั้งคณะกรรมการนโยบายอาหาร, คำสั่ง คสช. ที่ 116/2557 ตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตร
๐ ประเด็นอื่นๆ จำนวน 14 ฉบับ ได้แก่ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 21/2557 ห้ามบุคคลที่ถูกเรียกรายงานตัวเดินทางออกนอกประเทศ, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 46/2557 ความผิดการทวงหนี้ชาวนาอย่างไม่เป็นธรรม, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 62/2557 ให้นำคืนอาวุธปืนที่ไม่ได้รับอนุญาต, คำสั่ง คสช. ที่ 24/2557 ห้ามเล่นการพนันที่ผิดกฎหมาย, คำสั่ง คสช. ที่ 41/2557 เร่งรัดการปราบปรามยาเสพติด, คำสั่ง คสช. ที่ 69/2557 แก้ไขปัญหาการทุจริต
และในจำนวนนี้ยังเป็นคำสั่งที่แต่งตั้งคณะกรรมการอีก 8 ฉบับ ได้แก่ คำส่ัง คสช. ที่ 33/2557 ตั้งคณะทำงานตรวจสอบธุรกรรมทางการเงิน, คำสั่ง คสช. ที่ 76/2557 ตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก, คำสั่ง คสช. ที่ 91/2557ตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าและบริการ, คำสั่ง คสช. ที่ 112/2557 ตั้งคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ, คำสั่ง คสช. ที่ 115/2557 ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาพระพุทธศาสนา, คำสั่ง คสช. ที่ 118/2557 ตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และคำสั่ง คสช. ที่ 67/2557 และ 114/257 ตั้งคณะกรรมการร่วมรัฐและเอกชนแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ยกเลิกคำสั่งให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร 5 ฉบับ และโอนคดีที่ค้างอยู่ไปศาลยุติธรรม
คำสั่งข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศและคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่
- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 ให้คดีพลเรือนในข้อหาเกี่ยวกับการเมืองขึ้นศาลทหาร
- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 38/2557 ให้ความผิดเกี่ยวเนื่องกันขึ้นศาลทหารด้วย
- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 43/2557 ให้คดีเยาวชนไม่ต้องขึ้นศาลทหาร
- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 50/2557 ให้คดีครอบครองอาวุธขึ้นศาลทหาร
- คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 55/2559 ให้ยุติการใช้ศาลทหารในคดีที่เหตุเกิดหลัง 12 กันยาน 2559
นอกจากนี้ ให้ความผิดตามประกาศ คำสั่ง และคำสั่งหัวหน้า คสช. ไม่ว่าจะทำผิดก่อนหรือหลังคำสั่งฉบับนี้อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม และให้คดีที่พลเรือนถูกดำเนินคดีค้างอยู่ในศาลทหารโอนไปยังศาลยุติธรรม ทั้งนี้ ไม่นับรวมความผิดทางอาญาของทหารซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารเดิมอยู่แล้ว ซึ่งในทางปฏิบัติการโอนย้ายคดีจากศาลทหารไปยังศาลปกติพร้อมกันชุดใหญ่ๆ เช่นนี้ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ยังต้องรอติดตามผลว่า ศาลทั้งสองจะปฏิบัติงานให้ต่อเนื่องกันได้อย่างไร
ยกเลิกคำสั่งตั้งคณะกรรมการประกันสังคม แต่โอนอำนาจ คสช. ให้ "นายกฯ ประยุทธ์"
คำสั่งข้อ 3 ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 40/2558 ซึ่งใช้แต่งตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษาของคณะกรรมการประกันสังคม คณะกรรมการการแพทย์ และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน แต่เป็นการยกเลิกแบบมีเงื่อนไขให้คณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษาซึ่งตั้งตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 40/2558 อยู่ต่อจนกว่าจะแต่งตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558
อีกทั้ง ยังให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน ซึ่งก็แทบจะเป็นชุดเดิมกับ คสช. ยังสามารถควบคุมคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษาชุดนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะ สั่งให้พ้นจากตำแหน่ง หรือแต่งตั้งใหม่ หรือในระหว่างที่ไม่ได้แต่งตั้งใหม่ก็ให้มีเท่าที่มีอยู่ได้ แต่ให้คำนึงถึงสัดสวนระหว่างผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายประกันสังคม
นอกจากนี้ ยังงดเว้นการบังคับใช้ พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ สองมาตราที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการประกันสังคม ได้แก่ มาตรา 8 วรรคสาม ให้ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายประกันสังคมซึ่งอยู่ในคณะกรรมการประกันสังคมมาจากการเลือกตั้ง และมาตรา 8/3 ให้กรรมการประกันสังคมซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง จะต้องแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หมายความว่า จะยังไม่มีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมและกรรมการที่มีอยู่ก็ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน
คำสั่งข้อนี้ยังให้รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานจัดทำระเบียบว่าด้วยหลักกเกณฑ์และวิธีเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ ให้เสร็จภายในเวลา 2 ปี
ยกเลิกคำสั่งแก้ไขปัญหาประมง 6 ฉบับ แต่โอนอำนาจให้กองทัพเรือวางแผนต่อ
คำสั่งข้อ 4 ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 10/2558, คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 24/2558, คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 42/2558, คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 18/2559, คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2559 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2560 แต่ไม่ใช่การยกเลิกทันที ต้องรอให้กองทัพเรือจัดทำแผนและขั้นตอนการยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. เหล่านี้ส่งให้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบก่อนถึงจะยกเลิกได้
กองทัพเรือต้องจัดทำแผนและขั้นตอนการยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. 6 ฉบับข้างต้น เสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 90 วันนับแต่วันที่คำสั่งนี้บังคับใช้ ซึ่งในแผนและขั้นตอนต้องโอนภารกิจ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ งบประมาณ เจ้าหน้าที่ และบุคคลากรของศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ไปยังส่วนราชการอื่น และต้องให้บทบัญญัติบางประการของคำส่ังหัวหน้า คสช. เหล่านี้มีผลบังคับใช้ต่อไปและมีระยะเวลาการใช้บังคับ จากนั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนและขั้นตอนของกองทัพเรือแล้วให้คำสั่งหัวหน้า คสช. เหล่านี้ยกเลิกได้ เว้นแต่บทบัญญัติบางประการของคำส่ังหัวหน้าคสช. ให้มีผลต่อไปจนครบระยะเวลาตามที่ระบุในแผนและขั้นตอน
นอกจากนี้ ยังให้ความผิดตามคำสั่งหัวหน้า คสช. เรื่อง การแก้ไขปัญหาประมง ที่เกิดขึ้นก่อนคำสั่งเหล่านี้จะยกเลิก และอยู่ระหว่างการดำเนินคดีหรือการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล ให้ดำเนินต่อไปจนถึงที่สุด
ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ 3 ฉบับ แต่สั่งเพิ่มอีก 40 ตำแหน่ง
คำสั่งข้อ 5 ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ใช้แต่งตั้ง พักงาน และโยกย้ายข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 16/2558, คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 5/2559, และ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 68/2559 แต่การยกเลิกคำสั่งแต่ละฉบับมีเงื่อนไขให้ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งหัวหน้า คสช. เหล่านั้นดำรงตำแหน่งต่อไป และให้เพิ่มตำแหน่งข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐอีกรวม 40 อัตรา
๐ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 16/2558 ซึ่งใช้เพิ่มอัตรากำลังชั่วคราวในสำนักนายกรัฐมนตรี 100 อัตรา และพักงานข้าราชการจำนวนหนึ่ง แต่การยกเลิกมีเงื่อนไขสั่งให้มีอัตรากำลังชั่วคราว 20 อัตรา ในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและให้เจ้าหน้าที่รัฐที่แต่งตั้งตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับนี้ ดำรงตำแหน่งและได้รับสิทธิประโยชน์ต่อไป
๐ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 5/2559 ซึ่งใช้เพิ่มอัตรกำลังชั่วคราวในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสั่งให้ออกมาตราการประเมินผลข้าราชการ แต่การยกเลิกมีเงื่อนไขสั่งให้มีอัตรากำลังชั่วคราว 10 อัตรา ในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่แต่งตั้งตามคำสั่งหัวหน้าฉบับนี้ ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อไป
๐ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 68/2559 ซึ่งใช้เพิ่มอัตรากำลังชั่วคราวในสำนักนายกรัฐมนตรี 50 อัตรา และใช้โยกย้ายเจ้าหน้าที่รัฐจำนวนหนึ่ง แต่การยกเลิกมีเงื่อนไขสั่งให้มีอัตราชั่วคราว 10 อัตรา ในสำนักนายกรัฐมนตรี และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่แต่งตั้งตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับนี้ดำรงตำแหน่งต่อไป
ให้อำนาจรัฐมนตรีกระทรวงอุดมศึกษาฯ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช. 1 ฉบับ
คำสั่งข้อ 6 ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 39/2559 ซึ่งใช้แทรกแซงการแต่งตั้งผู้บริหารมหาวิทยาลัย เพื่อหวังแก้ปัญหามหาวิทยาลัยที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่ไม่ใช่การยกเลิกทันที โดยสั่งยกเลิกข้อ 13 ของคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับนี้ และแก้ไขเพิ่มให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งคนปัจจุบัน คือ สุวิทย์ เมษินทรีย์ จากพรรคพลังประชานรัฐ พิจารณาว่า เมื่อปัญหาเดิมได้รับการแก้ไขแล้วจึงให้ขอความเห็นของคณะรัฐมตรี มีอำนาจยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับนี้ได้ภายหลัง
แก้ไขหน้าที่ “สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี” ไม่ต้องขึ้นกับ ป.ย.ป.
คำสั่งข้อ 7 ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2560 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง หรือการแต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ย.ป. เฉพาะข้อ 5 เรื่องการจัดตั้งสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี และให้สำนักงานดังกล่าวขึ้นเป็นหน่วยงานภายในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่สนับสนุนภารกิจเชิงยุทธศาสตร์และเชิงบูรณาการตามพื้นที่หรือกลุ่มภารกิจ ประสานกับหน่วยงานรัฐในการสร้างความรับรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนและปฏิบัติงานตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
เดิมที คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2560 ใช้ตั้งคณะกรรมการ ป.ย.ป. ขึ้นมาทำหน้าที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปก่อนจะมีแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศของ คสช. โดยให้สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี ทำตามมติของ ป.ย.ป. และทำหน้าที่ธุรการและเลขานุการให้ ป.ย.ป. ด้วย แต่คำสั่งข้อนี้ได้ยกเลิกส่วนนี้ออกไป
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
คสช.กับภารกิจซ่อมสร้างการประมง
ปฏิรูปการศึกษายุค คสช. : แก้ทั้งกฎหมาย ใช้ทั้ง ม.44 แต่ยังไปไม่ถึงฝั่งฝัน
เลือกตั้ง 62: คสช. ใช้ ม.44 ปลดล็อคให้พรรคการเมือง-ประชาชนทำกิจกรรมทางการเมืองได้
หัวหน้าคสช. ใช้ "มาตรา 44" ยกเลิกกฎหมายพิเศษในยุคคสช. อย่างน้อย 61 ฉบับ ตามบัญชีแนบท้าย
ประกาศและคำสั่งคสช. รวมถึงคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ภาคประชาชนอยากให้ยกเลิกยังเหลืออยู่อีก 20 ฉบับ
เลือกตั้ง 62: เปิดรายชื่อ 13 นักการเมืองท้องถิ่นพ้นตรวจสอบทุจริตหันหนุนพลังประชารัฐ