..
...เมื่อถามว่ามีเพื่อน ๆ ศิลปินเพื่อชีวิตมาเยี่ยมบ้างไหม?— C▪L シ🍊 (@lee_590275) July 17, 2019
ทอม ดันดี ตอบด้วยเสียงเหน่อ หนักแน่นว่า :
"ไม่มี เหล่าศิลปินเพื่อชีวิตเหล่านั้น พวกเขายินดีปรีดาไปกับการเมืองแบบเผด็จการไปแล้ว"
ความมั่งคั่งร่ำรวย ทำให้พวกเขา ลืมรากเหง้าของตนเองไปหมดสิ้น"#ทอมดันดี หัวใจปชต.⚘ pic.twitter.com/3O5mxthTWL
ทอม ดันดี กับอวสานเพลงเพื่อชีวิต
BY KANOKWAN KANKAW
Prakaifai.com
Published earlier on Mon, 2018-04-02 23:56-เวป-ประชาไท
ประดาบ
แสงอาทิตย์แผดจ้าตอนบ่ายโมงของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 นำผมจากริมถนนงามวงศ์วานทางเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาสู่ห้องเยี่ยมหมายเลข 9 ผมนั่งรอเพียงแค่อึดใจเดียว ธานัท ธนวัชรนนท์ หรือ “ทอม ดันดี” นักร้องเพลงเพื่อชีวิตชื่อดังในยุค 1980 ปรากฎกายด้วยรูปร่างสูงใหญ่ในชุดเสื้อยืดสีขาว ผมสั้นเกรียนขาวโพลน บ่งบอกความชราภาพของชายวัย 60 ปีพอดี แม้กระจกหนาและลูกกรงเหล็กจะขวางกั้นเราสองคน แต่ทว่าไม่อาจปิดกั้นเสียงเหน่อห้าวของทอม ดันดี ผ่านโทรศัพท์สีแดงในเวลาเพียง 20 นาทีได้รับรู้เรื่องราวของ “ทอม ดันดี” ศิลปินเพื่อชีวิตขนานแท้ ที่กลายเป็นนักโทษถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
เพลงเพื่อชีวิตมีต้นกำเนิดจากการต่อสู้ที่ดีกว่าของผู้ยากไร้ และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพื่อสร้างสังคมใหม่ที่ดีงาม ภายหลังการลุกขึ้นสู้โค่นล้มเผด็จการทหารในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 บทเพลงคนกับควาย ข้าวคอยฝน เปิบข้าว แสงดาวแห่งศรัทธา ฯลฯ เป็นบทเพลงของคนหนุ่มสาวที่ขับขานกันในการต่อสู้ทางการเมืองเรื่อยมาจนถึงทศวรรษ 1980 เพลงเพื่อชีวิตเฟื่องฟูถึงขึดสุดจนกลายเป็นธุรกิจบันเทิง ทำกำไรมหาศาลในระบบทุนนิยม วงดนตรีคาราวาน คาราบาว แฮมเมอร์ ซูซู และศิลปินเพื่อชีวิตอีกมากมาย ทำกำไรจนขยายกิจการออกไปอย่างกว้างขวางในเชิงธุรกิจด้วยต้นทุนต่ำ ทำกำไรสูงสุด สุรชัย จันทิมาธร หรือหงา คาราวาน ยืนยง โอภากุล หรือแอ๊ด คาราบาว ระพินทร์ พุทธชาติ หรือวงซูซู กลายเป็นมหาเศรษฐีของเมืองไทยที่มีชีวิตสุขสบายในบั้นปลายของชีวิต
ความเฟื่องฟูของเพลงเพื่อชีวิตมาถึงจุดต่ำสุด จนศิลปินเพลงเพื่อชีวิตล้มหายตายจากไปจากธุรกิจบันเทิง ไม่เพียงแต่อายุขัยที่ร่วงโรยกันไป แต่แนวทางเพลงเพื่อชีวิตได้กลายพันธุ์จากเพลงเพื่อชีวิต เพื่อชนชันผู้ถูกกดขี่ กลายมาเป็นเพลงเพื่อชีวิต เพื่อธุรกจ ผลกำไรจนหมดสิ้น ความหมายของเพลเพื่อชีวิตในที่สุด
ด้วยเวลาเพียง 20 นาที ทอม ดันดี เล่าให้ฟังว่าบิดาของเขาคือนายเยี่ยม ภูมิประเทศ เป็นอดีตสมาชิกเสรีไทยร่วมมือกับปรีดี พนมยงค์ และป๋วย อึ้งภากรณ์ ต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง ความรักชาติ รักประชาธิปไตยจึงถ่ายทอดอยู่ในสายเลือดของทอม ดันดี
เขาเติบโตในยุคประชาธิปไตยเบ่งบานในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ทำให้เขาเป็นศิลปินเพื่อชีวิตที่โลดแล่นอยู่บนเวทีการต่อต้านเผด็จการทหารอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้
ปี 2524 เขาแต่งงานกับชาวฝรั่งเศส จึงได้เดินทางไปอยู่ฝรั่งเศสถึง 6 ปี และยังใช้ชีวิตศิลปิน ออกตระเวณเล่นดนตรีร้องเพลงอยู่ที่นั่นเช่นกัน ทอม ดันดี ได้มีโอกาสพบปะกับปรีดี พนมยงศ์ และทำให้เขาซึมซับรับรู้ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นอุดมการณ์ซึ่งทำให้ทอม ดันดี ขับเคลื่อนชีวิตศิลปินบนเส้นทางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยตลอดมา
“เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ” ก้องกังวาลอยู่ในหัวใจของทอม ดันดี เขาจึงตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทยร่วมงานดนตรีกับระพินทร์ พุทธิชาติแห่งวงซูซู จากแรงผลักดันของแอ๊ด คาราบาว จนชื่อของทอม ดันดี โด่งดังในระดับแถวหน้าของเพลงเพื่อชีวิต อาทิเช่น เพลงบุญแข่งเรือ สาวมอญ มยุรา ปะการัง ล่อนจ้อน ฯลฯ
ปี 2535 เขาขึ้นเวทีปราศรัยขับไล่เผด็จการทหารพลเอกสุจินดา คราประยูร จนต้องหลบหนีภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ และกลับมาประเทศไทยในปี 2536 ด้วยผลงานเพลงของตนเองถึง 10 อัลบัม อาทิเช่น ชุดตีเข่า นกเขาใจง่าย เป็นต้น ชื่อเสียงของเขาไปไกลถึงต่างแดน และได้มีโอกาศตระเวณแสดงดนตรีในต่างประเทศหลายแห่งด้วยกัน จนกระทั่งเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เขาจึงเดินทางกลับประเทศไทยมาร่วมกับประชาชนต่อต้านเผด็จการทหารอีกครั้ง
ในขณะที่ศิลปินเพื่อชีวิตอย่างเช่น หงา และแอ๊ด กลับเก็บตัวเงียบ และเพลิดเพลินไปกับความมั่งคั่ง ร่ำรวยเกียรติยศ จนได้ตำแหน่งสูงสุด “ศิลปินแห่งชาติ” ในเวลาต่อมา
ปี 2553 เขาตระเวนขึ้นเวทีปราศรัยของคนเสื้อแดงหลายจังหวัด ด้วยการปราศรัยที่ดุเดือด เข้มข้น เด็ดขาดจนได้รับการขนานนามว่า “ศิลปินเพื่อชีวิตขวานผ่าซาก”
หลังรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม 2557 ทหารตามไปจับกุม ทอม ดันดี ที่บ้านพักอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และส่งตัวมาคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2557 ด้วยข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา โดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัวเป็นเวลากว่า 2 ปี แห่งความทุกข์ทรมาน เขาจึงจำยอมรับสารภาพผิด แทนการต่อสู้คดีให้ถึงที่สุด ศาลทหารและศาลยุติธรรมตัดสินจำคุกรวมทั้งสิ้น 10 ปี 10 เดือน
ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 เขาถูกย้ายไปคุมขังที่เรือนจำกลางจังหวัดราชบุรี เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาใหม่จากการปราศรัยในปี 2553 และถูกย้ายกลับมาเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครอีกครั้งสำหรับข้อกล่าวหาที่เคยปราศรัยที่จังหวัดลำพูน เป็นคดีที่ 4 เขาแถลงต่อศาลว่า “เขาเป็นนักร้อง ไม่ใช่นักรบ ไม่เคยคิดจะกระทำความผิด เขาได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส ไม่ประสงค์ที่จะต่อสู้คดีอีกต่อไป เพื่อความสบายใจขอให้ตัดสินลงโทษได้เลย” ศาลจึงเลื่อนการพิจารณาออกไปอีกในวันที่ 29 มีนาคม 2561
เมื่อถามว่ามีเพื่อน ๆ ศิลปินเพื่อชีวิตมาเยี่ยมบ้างไหม ? ทอม ดันดี ตอบด้วยเสียงเหน่อ หนักแน่นว่า “ไม่มี” “เหล่าศิลปินเพื่อชีวิตเหล่านี้ พวกเขายินดีปรีดาไปกับการเมืองแบบเผด็จการ” ความมั่งคั่งร่ำรวย ทำให้พวกเขาลืมรากเหง้าของตนเองไปแล้ว เวลานี้มีแต่เมียของเขา “กันยภัค ยนต์สิงห์” ที่ยังคงมาเยี่ยม มาดูแลทอม ดันดี ในช่วงชีวิตที่ทุกข์ยากแสนสาหัส
สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งถูกคุมขังมาเกือบ 7 ปี เคยเล่าให้ญาติที่มาเยี่ยมฟังว่า “ทอม ดันดี เป็นศิลปินเพื่อชีวิตขนานแท้ เขาตื่นขึ้นมา 6 โมงเช้าจะเป่าขลุ่ยด้วยบทเพลง “เดือนเพ็ญ” ดังกังวานไปทั่วแดนตะราง ระหว่างถูกคุมขังเขาแต่งเพลงกว่า 5,000 เพลงแล้ว
เขาร้องเพลงอยู่ในคุกทั้งกลางวัน และกลางคืน จนกระทั่งวันหนึ่งมีเสียงนักโทษคนหนึ่งตะโกนขัดจังหวะเสียงแพลงของเขาขึ้นมาว่า “ใครอยากฟังมึงร้องเพลงวะ ไอ้สัตว์” แต่ทอม ดันดี ยังคงขับขานบทเพลงเพื่อชีวิตของเขาต่อไปอีกทุกแห่งหน ทุกเวลานาที
หมายเหตุ: คำว่า “ไอ้สัตว์” เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 2 หมายถึง คุณ เธอ ท่าน เอ็ง มึง ฯลฯ เป็นคำที่นักโทษมักใช้เรียกกันเองอยู่เสมอ
Tags:
https://prachatai.com/journal/2018/04/76196