NURPHOTO VIA GETTY IMAGESคำบรรยายภาพการประชุมใหญ่วิสามัญพรรคเพื่อไทยเมื่อ 28 ต.ค. 2561 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ได้รับเลือกให้เป็นประธานกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง ขณะที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ก็ยังไม่มีทีท่าจะแตกตัวออกไปอยู่พรรคไทยรักษาชาติ
เพื่อไทย : ถอดบทเรียนเลือกตั้ง 2562 กับ สถานการณ์ใหม่ “ชนะเลือกตั้ง แต่ตั้งรัฐบาลไม่ได้”
หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
11 กรกฎาคม 2019
พรรคเพื่อไทย (พท.) ซึ่งถือเป็นพรรคลูกหลานของ "พรรคทักษิณ" เรียกประชุมใหญ่วิสามัญพรรค 12 ก.ค. เพื่อปรับโครงสร้างคณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) ชุดใหม่ รองรับกับการทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรเป็นหนที่ 2 ในรอบ 11 ปี
การประชุมใหญ่ของ พท. เกิดขึ้นหลังจาก พล.ต.ท. วิโรจน์ เปาอินทร์ ยื่นใบลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค ตั้งแต่ 3 ก.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้ กก.บห. ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ
ปลอดประสพ สุรัสวดี รักษาการหัวหน้า พท. ออกหนังสือเชิญสมาชิกมาประชุม พร้อมเปิดโอกาสให้เสนอชื่อหัวหน้าพรรคคนที่ 6 ภายในวันนี้ (11 ก.ค.)
ทว่านั่นอาจเป็นเพียง "พิธีกรรม" เพราะคนการเมืองสังกัด พท. ต่างรู้ดีว่า สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส. เชียงใหม่ วัย 78 ปี "ถูกเลือก" ให้เป็นว่าที่หัวหน้าพรรคคนใหม่แล้ว โดยสัมพันธ์กับการที่เขาต้องรับบทผู้นำฝ่ายค้านในสภา" ในสถานการณ์ที่แกนนำคนสำคัญอื่น ๆ ตกที่นั่ง "แกนนำนอกสภา" หลังผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) พท. ไม่ได้เข้าสภาแม้แต่รายเดียว
พรรคเพื่อไทย (พท.) ซึ่งถือเป็นพรรคลูกหลานของ "พรรคทักษิณ" เรียกประชุมใหญ่วิสามัญพรรค 12 ก.ค. เพื่อปรับโครงสร้างคณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) ชุดใหม่ รองรับกับการทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรเป็นหนที่ 2 ในรอบ 11 ปี
การประชุมใหญ่ของ พท. เกิดขึ้นหลังจาก พล.ต.ท. วิโรจน์ เปาอินทร์ ยื่นใบลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค ตั้งแต่ 3 ก.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้ กก.บห. ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ
ปลอดประสพ สุรัสวดี รักษาการหัวหน้า พท. ออกหนังสือเชิญสมาชิกมาประชุม พร้อมเปิดโอกาสให้เสนอชื่อหัวหน้าพรรคคนที่ 6 ภายในวันนี้ (11 ก.ค.)
ทว่านั่นอาจเป็นเพียง "พิธีกรรม" เพราะคนการเมืองสังกัด พท. ต่างรู้ดีว่า สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส. เชียงใหม่ วัย 78 ปี "ถูกเลือก" ให้เป็นว่าที่หัวหน้าพรรคคนใหม่แล้ว โดยสัมพันธ์กับการที่เขาต้องรับบทผู้นำฝ่ายค้านในสภา" ในสถานการณ์ที่แกนนำคนสำคัญอื่น ๆ ตกที่นั่ง "แกนนำนอกสภา" หลังผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) พท. ไม่ได้เข้าสภาแม้แต่รายเดียว
สุเทพ-ทักษิณ ครบ 70 ปี พวกเขาจะอยู่ในการเมืองไทยไปอีกนานแค่ไหน
ประชาธิปัตย์ ยก "พระเจ้าตากโมเดล" อ้างต้องเดินหน้าร่วมรัฐบาล พปชร.
ประยุทธ์ ส่อทิ้ง "เปรมโมเดล" ยึด "สฤษดิ์สไตล์"
"ภารกิจต่อจากนี้ไป เป็นภาระของคนรุ่นหลังที่จะเข้ามาแบกรับภารกิจใหม่ในสถานการณ์ทางการเมืองใหม่ที่กำลังจะดำเนินต่อไป..." ภูมิธรรม เวชยชัย ระบุตอนหนึ่งในวันที่เขาประกาศยุติบทบาทการเป็นเลขาธิการพรรค ตามรอย "หัวหน้าวิโรจน์"
อะไรคือ "ภารกิจใหม่" และ "สถานการณ์ทางการเมืองใหม่" ที่พลพรรคเพื่อไทยเล็งเห็น บีบีซีไทยถอดบทเรียนการบริหารจัดการทางการเมืองที่ผิดพลาดของ พท. ที่สะท้อนออกมาผ่านผลการเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
คำบรรยายภาพประชาชนรอฟังการเปิดปราศรัยของพรรคเพื่อไทย เมื่อ 15 ก.พ.
แตกพรรค แต่หวงผู้สมัคร
พท. ถือเป็น "พรรคลูกหลาน" ลำดับที่ 3 ของฝ่าย ทักษิณ ชินวัตร ที่สานต่อสถิติชนะการเลือกตั้งต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 5 ในรอบ 18 ปี (2544, 2548, 2550, 2554, 2562) นับจากยุคพรรคไทยรักไทย (ทรท.) และพรรคพลังประชาชน (พปช.) แต่นับเป็นครั้งแรกที่ "ชนะเลือกตั้ง แต่จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้"
ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560 ที่แกนนำพรรคคู่แข่งขันอย่างพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) บอกว่า "ดีไซน์มาเพื่อพวกเรา" ใช้ "สูตรพิสดาร" คำนวณหา ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อตามระบบจัดสรรปันส่วนผสม แกนนำ พท. ค้นพบตั้งแต่ ต.ค. 2561 ว่าพวกเขาอาจไม่ได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเลย กลายเป็นที่มาของยุทธศาสตร์ "แตกแบงก์พันเป็นแบงก์ร้อย" แยกย้ายกันไปเก็บ-กวาดทุกคะแนนเสียงใน 350 เขตเลือกตั้ง ก่อนนำกลับมารวมกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาล
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
คำบรรยายภาพคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นำทีมผู้สมัคร ส.ส. กทม. ของพรรคเดินทางไปยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งเมื่อ 4 ก.พ.
พท. ถูกกำหนดให้เป็น "พรรคเขต" เน้นส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเฉพาะที่ "หวังผลได้" ราว 200 เขต
ส่วนพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ถูกจัดวางให้เป็น "พรรคปาร์ตี้ลิสต์" โดยกระจายนักการเมืองมีชื่อเสียง-มีแฟนคลับไปยืนเป็นหลักให้พรรคเกิดใหม่ ร่วมด้วยอดีตผู้สมัคร ส.ส. จำนวน 150 เขตที่ "พอมีแต้ม" เพื่อเอาคะแนนเสียงตกน้ำกลับมาเป็นคะแนนรวมให้ต้นสังกัดได้นำ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เข้าสภา
แต่ใช่ว่าระดับนำของ พท. และ ทษช. จะเข้าใจยุทธศาสตร์ตรงกันหมด ว่ากันว่าในช่วง "แบ่งสมบัติ-ตัดตัวบุคคล" ปรากฏว่ามีอดีต ส.ส. และอดีตผู้สมัคร ส.ส. สังกัด พท. เพียง 80 คนที่ถูกชี้ตัวให้ย้ายค่ายไปอยู่ ทษช. ก่อนที่แกนนำ 2 พรรคจะปิดห้องคุย-เคลียร์กันใหม่ปม "หวงผู้สมัคร" จน ทษช. ได้รายชื่อครบ 150 คนตามที่ตกลงกันไว้ครั้งแรก
อย่างไรก็ตามมีการละเมิดข้อตกลงภายในอีกครั้งในวันเปิดรับสมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต โดย พท. ยื่นบัญชีผู้สมัครไป 250 เขต จากข้อตกลงส่ง 200 เขต ทำให้มีถึง 50 เขตต้องกลายเป็น "พื้นที่ทับซ้อน" กับ ทษช. ที่ส่งผู้สมัคร 150 เขต ทั้งหมดนี้เป็นเพราะแกนนำ พท. ที่อยู่ "หัวตาราง" ผู้สมัครปาร์ตี้ลิสต์ยัง "ฝัน" ว่าอาจหลุดเข้าไปทำหน้าที่ในสภาได้จากคะแนนเสียงตกน้ำของผู้สมัครสอบตก
พท. ถูกกำหนดให้เป็น "พรรคเขต" เน้นส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเฉพาะที่ "หวังผลได้" ราว 200 เขต
ส่วนพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ถูกจัดวางให้เป็น "พรรคปาร์ตี้ลิสต์" โดยกระจายนักการเมืองมีชื่อเสียง-มีแฟนคลับไปยืนเป็นหลักให้พรรคเกิดใหม่ ร่วมด้วยอดีตผู้สมัคร ส.ส. จำนวน 150 เขตที่ "พอมีแต้ม" เพื่อเอาคะแนนเสียงตกน้ำกลับมาเป็นคะแนนรวมให้ต้นสังกัดได้นำ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เข้าสภา
แต่ใช่ว่าระดับนำของ พท. และ ทษช. จะเข้าใจยุทธศาสตร์ตรงกันหมด ว่ากันว่าในช่วง "แบ่งสมบัติ-ตัดตัวบุคคล" ปรากฏว่ามีอดีต ส.ส. และอดีตผู้สมัคร ส.ส. สังกัด พท. เพียง 80 คนที่ถูกชี้ตัวให้ย้ายค่ายไปอยู่ ทษช. ก่อนที่แกนนำ 2 พรรคจะปิดห้องคุย-เคลียร์กันใหม่ปม "หวงผู้สมัคร" จน ทษช. ได้รายชื่อครบ 150 คนตามที่ตกลงกันไว้ครั้งแรก
อย่างไรก็ตามมีการละเมิดข้อตกลงภายในอีกครั้งในวันเปิดรับสมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต โดย พท. ยื่นบัญชีผู้สมัครไป 250 เขต จากข้อตกลงส่ง 200 เขต ทำให้มีถึง 50 เขตต้องกลายเป็น "พื้นที่ทับซ้อน" กับ ทษช. ที่ส่งผู้สมัคร 150 เขต ทั้งหมดนี้เป็นเพราะแกนนำ พท. ที่อยู่ "หัวตาราง" ผู้สมัครปาร์ตี้ลิสต์ยัง "ฝัน" ว่าอาจหลุดเข้าไปทำหน้าที่ในสภาได้จากคะแนนเสียงตกน้ำของผู้สมัครสอบตก
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
คำบรรยายภาพร.ท. ปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้า ทษช. เสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ เป็นนายกฯ ในบัญชีของพรรค ต่อสำนักงาน กกต. เมื่อ 8 ก.พ.
สุดท้ายก็เกิดความเสียหายในเชิงยุทธศาสตร์ขึ้นเมื่อ ทษช. ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค ผลที่ตามมาคือ ในเขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัครทั้ง 2 พรรค ก็ต้อง "เทเสียง(ในทางลับ)" ให้แก่ผู้สมัครในขั้วที่เรียกตัวเองว่า "พรรคฝ่ายประชาธิปไตย" ด้วยกระแสและการบริหารจัดการ ทำให้คะแนนส่วนใหญ่ผ่องถ่ายไปอยู่ที่พรรคอนาคตใหม่ (อนค.) แต่หลายเขตที่มี พท. ก็ต้อง "สู้กันเอง" กับ อนค. จนแพ้ทั้งคู่และต้องเสียที่นั่งให้นักการเมืองในขั้วตรงข้าม ซ้ำคะแนนเสียงที่ได้กลับไปที่ พท. ยังสูญเปล่า เพราะเมื่อนำมาเข้าสูตรคำนวณหา "ส.ส. พึงมี" แล้วได้คำตอบเป็นอย่างเดิมคือ พท. หมดโอกาสมี ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
สุดท้ายก็เกิดความเสียหายในเชิงยุทธศาสตร์ขึ้นเมื่อ ทษช. ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค ผลที่ตามมาคือ ในเขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัครทั้ง 2 พรรค ก็ต้อง "เทเสียง(ในทางลับ)" ให้แก่ผู้สมัครในขั้วที่เรียกตัวเองว่า "พรรคฝ่ายประชาธิปไตย" ด้วยกระแสและการบริหารจัดการ ทำให้คะแนนส่วนใหญ่ผ่องถ่ายไปอยู่ที่พรรคอนาคตใหม่ (อนค.) แต่หลายเขตที่มี พท. ก็ต้อง "สู้กันเอง" กับ อนค. จนแพ้ทั้งคู่และต้องเสียที่นั่งให้นักการเมืองในขั้วตรงข้าม ซ้ำคะแนนเสียงที่ได้กลับไปที่ พท. ยังสูญเปล่า เพราะเมื่อนำมาเข้าสูตรคำนวณหา "ส.ส. พึงมี" แล้วได้คำตอบเป็นอย่างเดิมคือ พท. หมดโอกาสมี ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
ประยุทธ์ 2/1 : โปรดเกล้าฯ ครม. แล้ว
ตรวจชื่อ-พลิกประวัติฉบับย่อ ครม. โควต้า พปชร.
ตรวจชื่อ-พลิกประวัติฉบับย่อ ครม. โควต้าพรรคร่วมรัฐบาล
ภาคประชาชนชี้สถานการณ์ด้านสิทธิและสิ่งแวดล้อมยังน่าห่วง แม้ยกเลิกคำสั่ง-ประกาศ คสช.
คนรุ่นใหม่ที่เป็นคนใกล้ชิด
อีกความผิดพลาดในเชิงยุทธศาสตร์ของ พท. คือการประเมินกระแสคนรุ่นใหม่ไม่ขาดตั้งแต่ต้น แม้แกนนำบางส่วนมองเห็นทิศทางลาง ๆ ตั้งแต่ปี 2560 ผ่านการเปิดตัวของกลุ่ม "นิวบลัด" หรือ "เลือดใหม่" ในพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) นำโดย วราวุธ ศิลปอาชา หลังจากสิ้น บรรหาร ศิลปอาชา ผู้นำพรรคตัวจริง แต่เมื่อโยนข้อเสนอนี้หารือในวงประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรค ปรากฏว่า "คนรุ่นใหม่" กลุ่มแรก ๆ ที่ถูกเอ่ยถึงกลับเป็นชื่อ น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ และ น.ต. ศิธา ทิวารี นักการเมืองสาย กทม. ที่มีความใกล้ชิดกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แผนสร้างคนรุ่นใหม่จึงพับไป
กองโฆษก พรรคอนาคตใหม่
คำบรรยายภาพธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ระหว่างลงพื้นที่หาเสียงย่าน ม. ราชภัฎสวนดุสิต ได้รับความสนใจจากนักศึกษาจำนวนมาก
กระทั่งเกิด อนค. ภายใต้การนำของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กระแสคนรุ่นใหม่ก็หวนกลับมา และถูกพูดถึงอย่างจริงจังขึ้น ทุกพรรคต่างหยิบฉวยกระแสนี้-ชูจุดขายเป็นพรรคของคนรุ่นใหม่ หวังดึงคะแนนเสียงจากกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (อายุ 18-25 ปี) ราว 7.3 ล้านคน
ก.ย. 2561 พท. จึงเปิดตัวกลุ่มคนรุ่นใหม่ของพรรค บางส่วนก็เป็นคนใน "ตระกูลการเมือง" บางส่วนเป็นนักวิชาการ แต่ก็สร้างกระแสในสื่อกระแสหลักและสื่อสังคมออนไลน์ได้ไม่มากหากเทียบกับ อนค. หรือแม้แต่เทียบกับ "กลุ่มนิวเด็ม" ของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ก็ตาม
หาเสียงด้วย "เนกาทิฟแคมเปญ" แต่นายกฯ ในบัญชีขออวดวิสัยทัศน์บวก
หากจุดแข็งที่สุดของ "พรรคทักษิณ" คือชุดนโยบายประชานิยมเพื่อคนทุกระดับ-จับต้องได้-กินได้ นี่ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัดหรือทำให้ประชาชนจดจำได้ว่า พท. นำเสนออะไรในการเลือกตั้ง 2562 นอกเหนือจากการขุดม็อตโต้เก่า "หัวใจคือประชาชน" ที่ออกมาในยุครุ่งเรืองที่สุดของ ทรท. ในการเลือกตั้งปี 2548 มาหาเสียง
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
คำบรรยายภาพแกนนำ ทษช. เปิดปราศรัยครั้งสุดท้ายที่ กทม. เมื่อ 1 มี.ค. ก่อนที่พรรคของพวกเขาจะถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบ 17 วันก่อนถึงวันเลือกตั้ง
ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาสืบเนื่องจากการ "แตกพรรค" ทำให้ทีมนโยบายบางส่วน "แยกวง" ไปผลิตชุดนโยบายให้ ทษช. เพื่อสร้างจุดขายแก่คนทั้งประเทศในฐานะ "พรรคปาร์ตี้ลิสต์" และถือเป็นเรื่องยากที่จะออกแบบชุดนโยบายที่มี "กลิ่น" ของประชานิยมแบบทักษิณเพื่อเป็นจุดขายของ 2 พรรคในเวลาเดียวกัน
ขณะเดียวกัน การต่อสู้ในสนามเลือกตั้งครั้งนี้ยังเคลื่อนจากการแข่งขันกันในเชิงนโยบายไปสู่การแข่งขันในเชิงอุดมการณ์อย่างเข้มข้น ระหว่างฝ่ายสืบทอดกับไม่สืบทอดอำนาจ คสช. หลังปรากฏชื่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เป็นแคตดิเดตนายกฯ ในบัญชีของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)
ในช่วงโค้งสุดท้าย หรือ 7 วันก่อนเข้าคูหา พท. ออกคำขวัญรณรงค์หาเสียง (แคมเปญ) ว่า "พอแล้ว นักการเมืองดัดจริตต่อชีวิตเผด็จการ..." ทว่านักการเมืองระดับนำที่มีชื่อเป็นแคนดิเดตนายกฯ ในบัญชีของ พท. ทั้ง 3 คน ก็ไม่ได้ตอกย้ำเนกาทิฟแคมเปญมากนัก เมื่อถูกเชื้อเชิญให้ร่วมเวทีประชันวิสัยทัศน์หรือขึ้นเวทีปราศรัย พวกเขามักวาดภาพอนาคตประเทศไทยในเชิงบวก-สดใส-พาคนไทยออกจาก "กับดัก" ต่าง ๆ แม้มีพาดพิง คสช. บ้าง แต่ก็ไม่ได้ใช้ถ้อยคำหนักแน่น มีแค่เหน็บเบา ๆ เช่น "อยู่กับเรากระเป๋าตุง อยู่กับลุงกระเป๋าแฟบ" เป็นผลให้ "เนกาทิฟแคมเปญ" ของ พท. ขาดน้ำหนักไป และเป็นสถานการณ์ที่แตกต่างจากการเลือกตั้งปี 2544 ซึ่งพรรคความหวังใหม่ (ควม.) เปิดฉากถล่มทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล ชวน หลีกภัย ไม่เว้นแต่ละวัน จนก่อให้เกิดกระแสเรียกหา "ผู้นำใหม่" ทุกสายตาจึงจับจ้องไปที่หัวหน้าพรรคการเมืองน้องใหม่อย่าง ทักษิณ ที่กำลังนำเสนอนโยบายชุดใหญ่ หรือพูดง่าย ๆ ว่า ควม. คือผู้ทำ "เนกาทิฟแคมเปญ" โดยอ้อมให้ ทรท. นั่นเอง
อีกสาเหตุที่ พท. ไม่มีนโยบายอย่างจริงจัง น่าจะสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ 8 กุมภาฯ ซึ่งนักวิชาการและผู้สังเกตการณ์การเมืองเห็นตรงกันว่าทักษิณอาจคิดว่าตัวเองมี "หมัดน็อค" ในมือที่ไม่ใช่นโยบาย สุดท้ายเมื่อการออกหมัดดังกล่าวถูกจับ "แพ้ฟาวล์" ทำให้ พท. ต้องเสียทั้งโอกาสในการเสนอนโยบาย และเสียพรรคพันธมิตรจัดตั้งรัฐบาล
สรุปคำวินิจฉัยศาล รธน. สั่งยุบ ทษช. "เซาะกร่อนบ่อนทำลาย" สถาบันพระมหากษัตริย์
ทักษิณ ชินวัตร : "ท่านอยากทรงเสียสละที่จะมาทำงานให้บ้านเมือง"
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ เสด็จงานสมรส "อุ๊งอิ๊ง"
ที่สำคัญปรากฏการณ์ 8 กุมภาฯ และเหตุการณ์ต่อเนื่อง ยังช่วยเสริมกระแส "การเมืองแห่งความกลัว" และไปเพิ่มน้ำหนักให้แคมเปญ "เลือกความสงบจบที่ลุงตู่" ของพรรคขั้วตรงข้ามอย่าง พปชร. ด้วย ทำให้การต่อสู้ในสนามเลือกตั้งครั้งนี้กลายเป็นการต่อสู้ในเชิงอุดมการณ์อย่างแท้จริง
อะไรคือ "สถานการณ์การเมืองใหม่"
การเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ทางการเมืองไทย และพรรคทักษิณที่ต้องตกที่นั่ง "พรรคต่ำ 200" และ "สูญพันธุ์" ส.ส. บัญชีรายชื่อ ในรอบ 18 ปี ทั้งที่เคยเป็นพรรคที่มีฐานมวลชนสนับสนุนสูงสุด 19 ล้านเสียง และยังเป็นครั้งแรกที่ พท. "ชนะเลือกตั้ง แต่ตกที่นั่งฝ่ายค้าน"
THAI NEWS PIX
คำบรรยายภาพพรรคการเมืองที่เรียกตัวเองว่า "ฝ่ายประชาธิปไตย" นำโดย พท. ตั้งโต๊ะแถลงข่าวชิงการจัดตั้งรัฐบาล 255 เสียง เมื่อ 27 มี.ค. ก่อนที่การดำเนินการจะล้มเหลว เมื่อยอด ส.ส. ตามที่ กกต. ประกาศรับรองเหลือเพียง 246 เสียงเท่านั้น (ยุติการปฏิบัติหน้าที่ไป 1 คน)
รัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทำขึ้นหลังรัฐประหาร 2549 ทำให้พรรคทักษิณ "ชนะเลือกตั้ง แต่ปกครองไม่ได้" แต่รัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นผลพวงของรัฐประหารปี 2557 ทำให้ พท. ซึ่งมีที่นั่งในสภาสูงสุด 136 เสียง "ชนะเลือกตั้ง แต่จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้"
ผลการเลือกตั้งยังชี้ให้เห็นถึง "สถานการณ์การเมืองใหม่" อย่างน้อย 4 ประการ
รัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทำขึ้นหลังรัฐประหาร 2549 ทำให้พรรคทักษิณ "ชนะเลือกตั้ง แต่ปกครองไม่ได้" แต่รัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นผลพวงของรัฐประหารปี 2557 ทำให้ พท. ซึ่งมีที่นั่งในสภาสูงสุด 136 เสียง "ชนะเลือกตั้ง แต่จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้"
ผลการเลือกตั้งยังชี้ให้เห็นถึง "สถานการณ์การเมืองใหม่" อย่างน้อย 4 ประการ
- อุดมการณ์ใหม่ - การเกิดขึ้นและเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ อนค. ถูกมองว่าเป็นตัวแทนอุดมการณ์ของ "ฝ่ายก้าวหน้า/ซ้ายใหม่/ประชาธิปไตยใหม่/ประชานิยมใหม่" ขณะที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ไม่เว้น ปชป. ก็อยู่ระหว่างต้องทบทวนอุดมการณ์ทางการเมืองของตัวเอง หลังพบว่าการเลือกตั้งปี 2562 แพ้ชนะกันที่อุดมการณ์ และฝ่ายอนุรักษนิยมได้ย้ายฐานจาก ปชป. ไปสู่ พปชร.
- ผู้นำใหม่ - ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกนิยามโดย ศ.ดร. เกษียร เตชะพีระ ว่าเป็น "ผู้นำประชานิยมทางการเมืองใหม่" และนิยามโดย ดร. สติธร ธนานิธิโชติ ว่าเป็น "ศูนย์กลางใหม่" ของฝ่ายที่เรียกตัวเองว่าประชาธิปไตย หลังสร้างมวลชนได้ 6.3 ล้านคนในเวลา 1 ปี
- สมรภูมิใหม่ - อนค. เป็นพรรคการเมืองแรก ๆ ที่พูดถึงการทำการเมือง 2 ขาระหว่างภาคพื้นดินกับภาคออนไลน์ และประสบความสำเร็จในการจุด-สร้าง-นำกระแสการเมืองในสื่อสังคมออนไลน์ และประกาศตัวเป็นพรรคที่ไม่ใช้หัวคะแนน ขณะที่ พท. โดยคุณหญิงสุดารัตน์เพิ่งสรุปบทเรียนหลังการเลือกตั้งผ่าน "ทฤษฎี 2 โลก" คือ โลก ส.ส. ภูธร กับโลก ส.ส. กทม./นักเลือกตั้งรุ่นใหม่ ที่ใช้โซเชียลมีเดียเข้าถึงประชาชน
- คนรุ่นใหม่ - เป็นฐานมวลชนใหม่ที่มีศักยภาพในการชี้ขาดชัยชนะในสนามเลือกตั้ง และจะอยู่กับการเมืองไทยไปอีก 30-40 ปี หากพรรคการเมืองได้ยึดครองใจคนกลุ่มนี้ได้ก็จะเป็นพรรคที่มีอนาคต
ทั้งหมดนี้คือ "ภารกิจใหม่" ที่ "ผู้นำพรรคคนใหม่" ต้องคิดแก้โจทย์จากบทเรียนเลือกตั้งครั้งที่เพิ่งผ่านพ้นไป