พรรคพลังประชารัฐ
คำบรรยายภาพร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บอกว่าเขาเป็นคน "ใจนักเลง"
ธรรมนัส พรหมเผ่า : การกลับมาของตระกูลการเมือง "ผู้มีอิทธิพล" และ "เจ้าพ่อ" ใน ครม.ประยุทธ์ 2/1
ธรรมนัส พรหมเผ่า : การกลับมาของตระกูลการเมือง "ผู้มีอิทธิพล" และ "เจ้าพ่อ" ใน ครม.ประยุทธ์ 2/1
โดยกุลธิดา สามะพุทธิ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
14 กรกฎาคม 2019
การตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใน ครม.ประยุทธ์ 2/1 ทำให้สังคมหันมาสนใจบทบาทของ "ผู้มีอิทธิพล" หรือที่บางครั้งเรียกว่า "เจ้าพ่อ" ในการเมืองไทยอีกครั้ง
"เราสามารถทำอดีตให้เป็นปัจจุบันได้มั้ย มันทำไม่ได้หรอกครับ...ไม่ใช่ว่าเอะอะอะไรก็มาเฟีย นักเลง คนใจนักเลงอย่างผมน่ะ ลองให้ผมทำงานดูก่อน ถ้าผมทำไม่ได้เรื่องแล้วผมจะพิจารณาตัวเอง" ร.อ.ธรรมนัสกล่าวในการแถลงข่าวยาวเกือบครึ่งชั่วโมง ที่รัฐสภาชั่วคราว หอประชุมทีโอที เมื่อวันที่ 12 ก.ค.2562
นับเป็นการ "เปิดใจ" ครั้งแรกของ ร.อ.ธรรมนัส หลังจากที่เขาถูกขุดประวัติขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์นานนับเดือน ตั้งแต่มีกระแสข่าวว่าเขาจะเข้ามาเป็นหนึ่งในรัฐมนตรีของ ครม.ประยุทธ์
การตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใน ครม.ประยุทธ์ 2/1 ทำให้สังคมหันมาสนใจบทบาทของ "ผู้มีอิทธิพล" หรือที่บางครั้งเรียกว่า "เจ้าพ่อ" ในการเมืองไทยอีกครั้ง
"เราสามารถทำอดีตให้เป็นปัจจุบันได้มั้ย มันทำไม่ได้หรอกครับ...ไม่ใช่ว่าเอะอะอะไรก็มาเฟีย นักเลง คนใจนักเลงอย่างผมน่ะ ลองให้ผมทำงานดูก่อน ถ้าผมทำไม่ได้เรื่องแล้วผมจะพิจารณาตัวเอง" ร.อ.ธรรมนัสกล่าวในการแถลงข่าวยาวเกือบครึ่งชั่วโมง ที่รัฐสภาชั่วคราว หอประชุมทีโอที เมื่อวันที่ 12 ก.ค.2562
นับเป็นการ "เปิดใจ" ครั้งแรกของ ร.อ.ธรรมนัส หลังจากที่เขาถูกขุดประวัติขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์นานนับเดือน ตั้งแต่มีกระแสข่าวว่าเขาจะเข้ามาเป็นหนึ่งในรัฐมนตรีของ ครม.ประยุทธ์
ประยุทธ์ 2/1 : โปรดเกล้าฯ ครม. แล้ว
ประยุทธ์ 2/1 : ตรวจชื่อ-พลิกประวัติฉบับย่อ ครม. โควต้า พปชร.
ประยุทธ์ 2/1 : ตรวจชื่อ-พลิกประวัติฉบับย่อ ครม. โควต้าพรรคร่วมรัฐบาล
การแถลงข่าวของ ร.อ.ธรรมนัส มีขึ้นเพียงหนึ่งวันหลังจากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ออกมาช่วยยืนยันว่า คุณสมบัติของ ร.อ.ธรรมนัสนั้น "ไม่ขัดต่อกฎหมาย" ส่วนจะเหมาะสมหรือไม่นั้น คนที่ตัดสินชี้ขาดคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ร.อ.ธรรมนัส ไม่ใช่รัฐมนตรีคนเดียวที่ถูกเชื่อมโยงกับความเป็นผู้มีอิทธิพล หากสำรวจรายชื่อของรัฐมนตรีใน ครม.ประยุทธ์ 2/1 ก็จะพบว่ามีอย่างน้อย 5 นามสกุลที่มีภาพลักษณ์ของความเป็นผู้มีอิทธิพล-เจ้าพ่อในท้องถิ่นและแวดวงการเมือง
"พรหมเผ่า"
ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พรรคพลังประชารัฐ)
ร.อ.ธรรมนัส อายุ 53 ปี จบการศึกษาโรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 25 และโรงเรียนนายร้อย จปร. รุ่น 36 จากการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 12 ก.ค. ร.อ.ธรรมนัสยอมรับว่าเขาเคยถูกจับในประเทศออสเตรเลียเมื่อปี 2536 ในข้อหารู้ว่ามียาเสพติดแต่ไม่แจ้งให้ตำรวจรับทราบ เขาถูกจำคุก 8 เดือน หลังจากได้รับการปล่อยตัว เขาทำงานในออสเตรเลียอีกระยะจึงกลับเมืองไทย
ปี 2542 ร.อ.ธรรมนัสถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในคดีฆาตกรรมหนุ่มนักเรียนนอก ส่งผลให้เขาต้องลาออกจากการรับราชการทหาร แต่ต่อมาศาลได้พิพากษายกฟ้อง จากนั้นจึงผันตัวเองมาทำธุรกิจมากมายทั้งบริษัทรักษาความปลอดภัย บริหารตลาดและเป็นตัวแทนจำหน่ายล็อตเตอรี่รายใหญ่ เขาเริ่มทำงานการเมืองควบคู่ไปกับการทำธุรกิจด้วยการทำฐานเสียง กทม. ให้กับพรรคไทยรักไทย
ปี 2562 ร.อ.ธรรมนัสพลิกขั้วมาอยู่กับพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ลงสมัคร ส.ส. พะเยา และเป็นประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งภาคเหนือของ พปชร.
พรรคพลังประชารัฐ
คำบรรยายภาพ"คนใจนักเลงอย่างผมน่ะ ลองให้ผมทำงานดูก่อน ถ้าผมทำไม่ได้เรื่องแล้วผมจะพิจารณาตัวเอง" ร.อ.ธรรมนัสกล่าวในการแถลงข่าวที่รัฐสภาชั่วคราว 12 ก.ค. 2562
ร.อ.ธรรมนัส ตกเป็นเป้าวิพากษณ์วิจารณ์อย่างหนักว่ามีประวัติและคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการเป็นรัฐมนตรี เขาจึงตัดสินใจออกมาชี้แจงโดยยืนยันว่า "ผมไม่เคยโดนข้อหาผลิต จำหน่ายและนำเข้ายาเสพติดที่ออสเตรเลีย" มีเพียงข้อหา รู้ว่ามียาเสพติดแต่ไม่แจ้งให้ตำรวจรับทราบเท่านั้น ส่วนคดีในประเทศไทยนั้น เขาระบุว่า "ผมไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมใด ๆ ทั้งสิ้น...ผมไม่เคยมีคดีใดค้างคาอยู่ที่ศาล ผมได้ใช้กระบวนการยุติธรรมพิสูจน์ตัวเองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ในทุกเรื่อง"
สาเหตุที่ชื่อของเขามักไปพัวพันกับเรื่องราวและคดีความนั้น ร.อ.ธรรมนัสบอกว่าเป็นเรื่องปกติของคนที่มีผู้ใต้บังคับบัญชาเยอะ
"ผมเป็นคนกว้างขวาง ผมเป็นคนคบเพื่อนฝูงเยอะและเป็นคนใจกว้าง บางครั้งการคบคนนั้นคนนี้เราไม่ได้กรอง ไม่ได้ไตร่ตรอง เมื่อเขานำภัยมาหาเรา เราจะไปโทษคนนั้นคนนี้ ไม่ใช่วิถีผม ผมใช้กระบวนการยุติธรรมพิสูจน์ตัวเองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ในทุกเรื่อง"
ร.อ.ธรรมนัสบอกว่าเขาไม่ได้เป็นนักเลง แต่เป็น "คนใจนักเลง" พร้อมกับขอโอกาสพิสูจน์ฝีมือการทำงาน และเชื่อว่าประสบการณ์ทางการเมืองและทางธุรกิจ ประกอบกับความเป็นลูกชาวนาที่เข้าใจความต้องการของเกษตรกร ทำให้เขาเหมาะสมกับตำแหน่ง รมช.เกษตรฯ
ร.อ.ธรรมนัส ตกเป็นเป้าวิพากษณ์วิจารณ์อย่างหนักว่ามีประวัติและคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการเป็นรัฐมนตรี เขาจึงตัดสินใจออกมาชี้แจงโดยยืนยันว่า "ผมไม่เคยโดนข้อหาผลิต จำหน่ายและนำเข้ายาเสพติดที่ออสเตรเลีย" มีเพียงข้อหา รู้ว่ามียาเสพติดแต่ไม่แจ้งให้ตำรวจรับทราบเท่านั้น ส่วนคดีในประเทศไทยนั้น เขาระบุว่า "ผมไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมใด ๆ ทั้งสิ้น...ผมไม่เคยมีคดีใดค้างคาอยู่ที่ศาล ผมได้ใช้กระบวนการยุติธรรมพิสูจน์ตัวเองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ในทุกเรื่อง"
สาเหตุที่ชื่อของเขามักไปพัวพันกับเรื่องราวและคดีความนั้น ร.อ.ธรรมนัสบอกว่าเป็นเรื่องปกติของคนที่มีผู้ใต้บังคับบัญชาเยอะ
"ผมเป็นคนกว้างขวาง ผมเป็นคนคบเพื่อนฝูงเยอะและเป็นคนใจกว้าง บางครั้งการคบคนนั้นคนนี้เราไม่ได้กรอง ไม่ได้ไตร่ตรอง เมื่อเขานำภัยมาหาเรา เราจะไปโทษคนนั้นคนนี้ ไม่ใช่วิถีผม ผมใช้กระบวนการยุติธรรมพิสูจน์ตัวเองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ในทุกเรื่อง"
ร.อ.ธรรมนัสบอกว่าเขาไม่ได้เป็นนักเลง แต่เป็น "คนใจนักเลง" พร้อมกับขอโอกาสพิสูจน์ฝีมือการทำงาน และเชื่อว่าประสบการณ์ทางการเมืองและทางธุรกิจ ประกอบกับความเป็นลูกชาวนาที่เข้าใจความต้องการของเกษตรกร ทำให้เขาเหมาะสมกับตำแหน่ง รมช.เกษตรฯ
พรรคพลังประชารัฐ
คำบรรยายภาพร.อ.ธรรมนัส (คนกลาง) ไม่อยากให้คนเรียกเขาว่าเป็น "นักเลง" หรือ "มาเฟีย"
ร.อ.ธรรมนัสเคยให้สัมภาษณ์วาสนา นาน่วม นักข่าวสายความมั่นคงในรายการ "ลับลวงพราง" เมื่อปี 2559 ว่าเขาไม่อยากให้คนมองคนเช่นเขาว่าเป็น "มาเฟีย" หรือ "เจ้าพ่อ" แต่น่าจะเปลี่ยนมาเรียกว่า "ผู้มีบารมี"
"บารมีมันเกิดจากคอนเนคชันที่เรามี เนื่องจากเราจบ ตท.รุ่น 25 ทำให้รู้จักรุ่นพี่รุ่นน้องที่เป็นตำรวจทหารหรือนักธุรกิจ...ความที่เรารู้จักคนเยอะทำให้เรามีคอนเนคชัน เวลามีปัญหาเราติดต่อแก้ปัญหาให้คนได้ ไม่ใช่มาเฟียที่รังแกชาวบ้าน เราช่วยคนมากกว่า"
"ไทยเศรษฐ์"
มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พรรคภูมิใจไทย)
มนัญญา วัย 57 ปี เป็นนายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี เธอเป็นแม่ของเจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี เขต 1 พรรคภูมิใจไทย และเป็นน้องสาวของนายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี เขต 2 และรองหัวพรรคคนที่ 4 ของพรรคภูมิใจไทย
ชาดาและมนัญญาเกิดในครอบครัวนักธุรกิจ พ่อแม่ทำธุรกิจสัมปทานบรรทุกไม้ซุงก่อนจะผันมาทำกิจการโรงฆ่าสัตว์และขายเนื้อในตลาดอุทัยธานี แต่ผู้เป็นพ่อถูกยิงเสียชีวิตจากการขัดแย้งผลประโยชน์ทางธุรกิจตั้งแต่ชาดาอายุได้เพียง 7 ขวบ อีกหลายปีต่อมา แม่ของเขาก็ถูกยิงเสียชีวิตเช่นกัน
ชาดาย้ายไปอยู่กับญาติที่ จ.กาญจนบุรี ก่อนจะกลับมาปักหลักในอุทัยธานีอีกครั้งพร้อมกับรื้อฟื้นกิจการโรงฆ่าสัตว์ของครอบครัวจนประสบความสำเร็จ และขยายสู่ธุรกิจอื่น ๆ เช่น รับเหมาก่อสร้างและโรงแรม ส่งผลให้เขาเริ่มมีอิทธิพลกว้างขวางในอุทัยธานี
พรรคภูมิใจไทย
คำบรรยายภาพนายชาดายอมรับว่าเขาเป็นผู้มีอิทธิพล แต่เขาไม่เคยใช้อิทธิพลไปสร้างปัญหาให้บ้านเมือง
นอกจากจะเคยถูกจับกุมในข้อหาจ้างวานฆ่าเมื่อปี 2546 ซึ่งสุดท้ายศาลพิพากษายกฟ้องแล้ว เขายังเคยถูกตำรวจเข้าตรวจค้นหลายครั้ง รวมทั้งภายใต้นโยบายกวาดล้างผู้มีอิทธิพลของ คสช. เมื่อเดือน พ.ค.2560 ที่ตำรวจและทหารนับร้อยนายสนธิกำลังตรวจค้นขบวนรถยนต์ 8 คันของเขาและผู้ติดตามใน จ.อุทัยธานี พบปืนพก 6 กระบอก
มีรายงานว่าเขาส่งน้องสาวมาเป็นเป็นรัฐมนตรีแทนตัวเองที่มีปัญหาด้านภาพลักษณ์ของความเป็น "มาเฟีย-เจ้าพ่อ" ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ชาดาปฏิเสธมาตลอด
ระหว่างให้สัมภาษณ์ในรายการเผชิญหน้า สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์เมื่อปี 2558 พิธีกรถามถึงการที่ตำรวจขึ้นบัญชีเขาเป็นเจ้าพ่อ ชาดาบอกว่า "ไม่เคยได้ยินเรื่องนี้และรับไม่ได้กับตำแหน่งนี้" พร้อมกับกล่าวติดตลกว่า "เจ้าพ่อก็ต้องอยู่ที่ศาล (ศาลเจ้าพ่อ)"
"เคยได้ยินแต่ (คนเรียก) ว่าเป็นผู้มีอิทธิพล แต่จะมีอิทธิพลด้านดีหรือด้านเลวก็ต้องมาคุยกัน ผมยอมรับว่าผมมีอิทธิพล แต่ผมไม่ใช้อิทธิพลสร้างปัญหาให้บ้านเมือง" ชาดากล่าว
เขาย้ำเรื่องนี้อีกครั้งในการสัมภาษณ์ทางวอยซ์ทีวีเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา
"ถามว่าผมมีอิทธิพลมั้ย ผมยอมรับว่ามีอิทธิพล ถ้าไม่มีอิทธิพลจะทำงานเพื่อบ้านเพื่อเมืองได้เหรอ แต่ผมไม่เคยใช้อิทธิพลไปรังแกใคร ไม่ได้ใช้อิทธิพลทำร้ายบ้านเมือง ผมใช้อิทธิพลช่วยเหลือคน"
นอกจากจะเคยถูกจับกุมในข้อหาจ้างวานฆ่าเมื่อปี 2546 ซึ่งสุดท้ายศาลพิพากษายกฟ้องแล้ว เขายังเคยถูกตำรวจเข้าตรวจค้นหลายครั้ง รวมทั้งภายใต้นโยบายกวาดล้างผู้มีอิทธิพลของ คสช. เมื่อเดือน พ.ค.2560 ที่ตำรวจและทหารนับร้อยนายสนธิกำลังตรวจค้นขบวนรถยนต์ 8 คันของเขาและผู้ติดตามใน จ.อุทัยธานี พบปืนพก 6 กระบอก
มีรายงานว่าเขาส่งน้องสาวมาเป็นเป็นรัฐมนตรีแทนตัวเองที่มีปัญหาด้านภาพลักษณ์ของความเป็น "มาเฟีย-เจ้าพ่อ" ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ชาดาปฏิเสธมาตลอด
ระหว่างให้สัมภาษณ์ในรายการเผชิญหน้า สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์เมื่อปี 2558 พิธีกรถามถึงการที่ตำรวจขึ้นบัญชีเขาเป็นเจ้าพ่อ ชาดาบอกว่า "ไม่เคยได้ยินเรื่องนี้และรับไม่ได้กับตำแหน่งนี้" พร้อมกับกล่าวติดตลกว่า "เจ้าพ่อก็ต้องอยู่ที่ศาล (ศาลเจ้าพ่อ)"
"เคยได้ยินแต่ (คนเรียก) ว่าเป็นผู้มีอิทธิพล แต่จะมีอิทธิพลด้านดีหรือด้านเลวก็ต้องมาคุยกัน ผมยอมรับว่าผมมีอิทธิพล แต่ผมไม่ใช้อิทธิพลสร้างปัญหาให้บ้านเมือง" ชาดากล่าว
เขาย้ำเรื่องนี้อีกครั้งในการสัมภาษณ์ทางวอยซ์ทีวีเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา
"ถามว่าผมมีอิทธิพลมั้ย ผมยอมรับว่ามีอิทธิพล ถ้าไม่มีอิทธิพลจะทำงานเพื่อบ้านเพื่อเมืองได้เหรอ แต่ผมไม่เคยใช้อิทธิพลไปรังแกใคร ไม่ได้ใช้อิทธิพลทำร้ายบ้านเมือง ผมใช้อิทธิพลช่วยเหลือคน"
"ชิดชอบ"
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว. กระทรวงคมนาคม (พรรคภูมิใจไทย)
นายศักดิ์สยาม อายุ 56 ปี จบปริญญาตรีและโทด้านรัฐศาสตร์ เคยรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอ ก่อนผันตัวเข้าสู่การเมือง เริ่มต้นด้วยการเป็น ส.ส. บุรีรัมย์ สังกัดพรรคชาติไทย และพรรคไทยรักไทยซึ่งต่อมาถูกยุบทำให้เขาถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรค เมื่อพ้นจากการถูกตัดสิทธิ์ ศักดิ์สยามสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทยและได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรค
ศักดิ์สยามเป็นลูกชายของนายชัย ชิดชอบ นักการเมืองอาวุโสที่เริ่มต้นจากการทำธุรกิจโรงโม่หินใน จ.บุรีรัมย์ และเป็นน้องของนายเนวิน ชิดชอบ นักการเมืองชื่อดังที่ผันตัวมาทำงานด้านกีฬา เป็นที่รู้กันดีว่าทั้งนายชัยและนายเนวินต่างเป็นผู้มีบารมีกว้างขวางใน จ.บุรีรัมย์
PANUPONG CHANGCHAI/BBCTHAI
คำบรรยายภาพศักดิ์สยาม ชิดชอบ อีกหนึ่งทายาททางการเมืองของตระกูล "ชิดชอบ" แห่งบุรีรัมย์
ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้า กล่าวถึงตระกูลชิดชอบในงานวิจัยเรื่อง "ตระกูลการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย" ว่าเป็นตระกูลการเมืองที่ก่อร่างสร้างฐานอำนาจมาในยุคเดียวกับตระกูลชินวัตรและยังเป็นตระกูลที่มีบทบาททางการเมืองสูงในหลายยุคหลายสมัย โดยมีนายชัยเป็นผู้วางรากฐานอำนาจทางการเมืองของตระกูล และมีลูกชายอย่างเนวินและศักดิ์สยาม รวมทั้งกรุณา ชิดชอบ ภรรยาของเนวิน มาสานต่องานการเมืองของตระกูล
"คุณปลื้ม"
อิทธิพล คุณปลื้ม รมว.กระทรวงวัฒนธรรม (พรรคพลังประชารัฐ)นายอิทธิพล อายุ 45 ปี เป็นลูกคนที่ 4 ของ นายสมชาย คุณปลื้ม หรือ "กำนันเป๊าะ" นักการเมืองท้องถิ่นผู้ทรงอิทธิพลแห่ง จ.ชลบุรีและภาคตะวันออก
นายอิทธิพลเคยเป็น ส.ส.ชลบุรี สังกัดพรรคชาติไทย ไทยรักไทย พลังประชาชนและเพื่อไทย แต่สอบตกในการเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง และเคยได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเมืองพัทยา 2 สมัย
ด้วยบารมีของกำนันเป๊าะ อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแสนสุข จ.ชลบุรี ซึ่ง ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ บอกว่าเป็นตัวละครสำคัญของการเมืองไทยใน "ยุคทองของการเมืองแบบเจ้าพ่อ" ช่วงปี 2520-2540 ทำให้ตระกูลคุณปลื้มมีบทบาทและขยายอิทธิพลในการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับชาติอย่างต่อเนื่อง นอกจากนายอิทธิพลแล้ว ยังมีพี่ชายและพี่สะใภ้ของเขาคือ สนธยาและสุกุมล คุณปลื้ม ที่เป็นทายาททางการเมือง สานต่องานการเมืองของตระกูลคุณปลื้ม
กำนันเป๊าะเสียชีวิตในวัย 82 ปี เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.2562 หลังจากป่วยด้วยโรคมะเร็งมานาน ปิดฉาก "เจ้าพ่อเมืองชลฯ" ที่มีชีวิตโลดแล่นทั้งในทางธุรกิจและการเมือง
กำนันเป๊าะถูกศาลพิพากษาจำคุก 25 ปี ในคดีจ้างวานฆ่านายประยูร สิทธิโชติ ในปี 2547 และถูกศาลตัดสินจำคุกอีก 5 ปี 4 เดือนในคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินสาธารณะ ต.เขาไม้แก้ว จ.ชลบุรี เขาหลบหนีคดีจนกระทั่งถูกจับกุมเมื่อต้นปี 2556 หลังจากจำคุกอยู่ 4 ปี เขาก็ได้รับการพักโทษเมื่อเดือนธันวาคม 2560 เนื่องจากป่วยเป็นมะเร็ง
"หวังศุภกิจโกศล"
วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รมช. กระทรวงพาณิชย์ (พรรคภูมิใจไทย)
นายวีรศักดิ์ นักธุรกิจวัย 64 ปี มีฉายาว่า "เสี่ยแป้งมันพันล้าน" เนื่องจากเขาเป็นประธานบริหารบริษัท แป้งมันเอี่ยมเฮงอุตสาหกรรม จำกัด นับว่าเป็นนักธุรกิจการเมืองท้องถิ่นอีกคนหนึ่งในสังกัดพรรคภูมิใจไทย โดยมีตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารพรรคด้วย
เช่นเดียวกับผู้กว้างขวางในท้องถิ่นที่หันมาเล่นการเมืองระดับชาติ นายวีรศักดิ์หรือ "กำนันป้อ" มีบทบาทหลากหลายอย่างใน จ.นครราชสีมา และภาคอีสาน เช่น เป็นกรรมการโรงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประธานชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อ. เสิงสาง จ.นครราชสีมา เป็นต้น
เฟซบุ๊ก "คนภูมิใจไทย" แนะนำนายวีรศักดิ์ไว้ว่า "เป็นตัวจริงของหนึ่งในผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลัง"
เขาเคยถูกกล่าวหาว่ารุกที่ดิน ส.ป.ก. แต่หลังจากได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น รมช.กระทรวงพาณิชย์ เขาก็ออกมายืนยันว่าคดีนี้ยุติแล้ว และเขาไม่มีเรื่องใดค้างคาอยู่ในศาล
เจ้าพ่อ-ผู้มีอิทธิพลในการเมืองไทย
นักวิชาการหลายคนได้ทำการศึกษาบทบาทของเจ้าพ่อ-ผู้มีอิทธิพลในการเมืองไทย เช่นงานวิจัยเรื่อง "ตระกูลการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย" ของ ดร.สติธร ที่อธิบายว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ "เจ้าพ่อ" ในสังคมไทยก่อเกิดและขยายบทบาททางการเมืองได้อย่างกว้างขวางนั้นมีทั้งปัจจัยทางการเมืองผ่านการมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่รัฐ ปัจจัยทางวัฒนธรรมโดยอาศัยฐานะความเป็นผู้นำตามธรรมชาติที่ได้รับการยอมรับนับถือจากคนในท้องถิ่น และปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยการทำธุรกิจแบบผูกขาดตลาด
ขณะที่ ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ให้สัมภาษณ์บีบีซีไทยเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า เจ้าพ่อหรือผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นเข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองไทยในยุค "ประชาธิปไตยครึ่งใบ" สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นยุคที่ local godfather หลายคนเริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น
TOSSAPOL CHAISAMRITPHOL/BBCTHAI
คำบรรยายภาพดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ นิยาม "เจ้าพ่อ" ว่าหมายถึง "นักธุรกิจ+นักเลง"
"คนเหล่านี้มีลักษณะร่วมกัน คือ เป็นนักธุรกิจในต่างจังหวัดที่สะสมความมั่งคั่งจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้มีอิทธิพลกลุ่มนี้เข้าไปผูกขาดธุรกิจสัมปทานในท้องถิ่นจนร่ำรวยอย่างรวดเร็ว เช่น เอเย่นต์ค้าสุรา กิจการรถเมล์ กิจการขายล็อตเตอรี่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่ได้สัมปทานจากรัฐ และธุรกิจกึ่งผิดกฎหมายกึ่งถูกกฎหมาย หรือ 'ธุรกิจสีเทา' ที่งานวิจัยของ อ.นวลน้อย ตรีรัตน์ เรียกว่า 'หวย ซ่อง บ่อน ยาบ้า' ธุรกิจเหล่านี้ทำให้มีเศรษฐีใหม่-นายทุนท้องถิ่นที่ร่ำรวยขึ้นมา"
"เรานิยามเจ้าพ่อว่าคือ 'นักธุรกิจ+นักเลง' เจ้าพ่อไม่ใช่นักธุรกิจปกติทั่วไป แต่ก็ไม่ใช่นักเลงหัวไม้ที่ไปตีรันฟันแทงกัน แต่เป็นสองอย่างนี้รวมกัน เมื่อมาเป็นนักการเมืองเราก็เรียกนักการเมืองกลุ่มนี้ว่า 'นักการเมืองแบบเจ้าพ่อ' ซึ่งมีจำนวนมากในยุค 2520 ถึงยุคก่อนปี 2540 ซึ่งเรียกว่าเป็นยุคทองของนักการเมืองแบบเจ้าพ่อ" ดร.ประจักษ์อธิบาย