
...

22 พ.ค. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ฉีกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ประกาศใช้กฎอัยการศึก และออกประกาศ คำสั่งตามอำเภอใจ เพื่อบริหารจัดการประเทศให้เป็นไปตามแนวทางของ คสช.
5 ปีที่ผ่านมา มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่มีมาตรา 44 ให้อำนาจหัวหน้า คสช. ออกคำสั่งที่มีผลบังคับทั้งในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ โดยถือเป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุด ตามมาด้วยรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2560 ที่ผ่านการทำประชามติท่ามกลางการไล่จับกุมผู้ที่ออกมารณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
แม้รัฐธรรมนูญใหม่จะประกาศใช้ แต่รูปแบบรัฐสภากลับถอยหลังไปใกล้เคียงเมื่อ 28 ปีก่อน และประชาชนก็ยังต้องรออีกเกือบ 2 ปี กว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป ท่ามกลางความกังขาต่อผลคะแนนและการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ทราบผลชัดเจนว่าใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี
กว่าจะถึงวันนี้ คนหลักพันถูกคุกคาม ควบคุมตัว และถูกดำเนินคดีในศาลทหาร หลายร้อยคนถูกตั้งข้อหา และไม่สามารถแสดงความเห็น คนอีกนับสิบร้องเรียนว่าถูกซ้อมทรมาน
5 ปีที่ผ่านมามีประชาชนเป็นผู้เสียหาย
อ่านรายงาน 5 ปี คสช. พอได้หรือยัง?: ข้อเสนอว่าด้วยการจัดการผลพวงรัฐประหาร ได้ที่https://www.tlhr2014.com/?p=12492

ในช่วงปีแรกหลังรัฐประหาร คสช. ประกาศใช้กฎอัยการศึกตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. 2557-1 เม.ย. 2558 ทำให้ทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน และเปิดโอกาสให้ควบคุมตัวบุคคลได้ 7 วัน โดยปราศจากการแจ้งข้อกล่าวหาและไม่จำเป็นต้องนำตัวไปปรากฏต่อศาล หลังยกเลิกกฎอัยการศึก หัวหน้า คสช. ก็ยังอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ออกคำสั่งสำคัญ 2 ฉบับ คือ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และ 13/2559 ให้อำนาจทหารที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจในลักษณะคล้ายกฎอัยการศึก ทำให้คำสั่งทั้งสองฉบับและมาตรา 44 ถูกทหารใช้กล่าวอ้างในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลในค่ายทหาร หรือเข้าตรวจค้นที่พัก สถานที่ทำงาน ของบุคคลกลุ่มเป้าหมายตลอดจนบุคคลในครอบครัว
ตลอด 5 ปีมานี้ มีประชาชนอย่างน้อย 929 คน ถูก คสช. เรียกรายงานตัวและควบคุมตัวในค่ายทหาร ญาติและทนายความไม่สามารถติดต่อได้ โดยไม่ได้รับการแจ้งข้อกล่าวหา ในกระบวนการที่ถูกเรียกว่า “การปรับทัศนคติ” และมีอย่างน้อย 14 คนที่ต้องเผชิญข้อหาขัดขืนไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช. อีกด้วย

นอกจากการเรียกรายงานตัวและควบคุมตัวประชาชนในค่ายทหารแล้ว คสช. ยังใช้เจ้าหน้าที่ติดตามประชาชน อย่างน้อย 572 คน ในจำนวนนี้หลายกรณีถูกติดตามถึงที่บ้านและเฝ้าจับตาอย่างต่อเนื่อง
ช่วง 2 ปีแรก การติดตามประชาชนเป็นไปอย่างเข้มข้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักการเมือง แกนนำคนเสื้อแดงที่มีบทบาทในพื้นที่ต่างๆ กลุ่มเคลื่อนไหวคัดค้านการรัฐประหาร หรือการใช้อำนาจของ คสช. และผู้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ คสช.
การติดตามจับตาบุคคลเป็นระยะของเจ้าหน้าที่ มีทั้งรูปแบบการเข้าไปติดตามถ่ายรูปที่บ้าน การนัดหมายกินกาแฟ หรือ “การขอความร่วมมือ” ให้ไม่ไป รวมถึงไปร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมเกี่ยวกับการปรองดอง แต่ช่วงสถานการณ์ทางการเมืองเข้มข้น ระยะการติดตามตัวบุคคลจะเพิ่มความถี่และความเข้มข้นขึ้นด้วย อาทิ การจำกัดเสรีภาพกลุ่มประชาชนที่ออกมาเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้ง การติดตาม คุกคามนักการเมืองก่อนวันเลือกตั้ง การข่มขู่บุคคลที่ออกมาเปิดเผยความไม่ชอบมาพากลในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง รวมถึงการติดตามคุกคามบุคคลในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

รูปแบบการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ทหารหลังรัฐประหารที่ควบคุมตัวบุคคลในสถานที่ปิดลับ ไม่ได้พบญาติหรือทนายความ และไม่มีการตรวจสอบคำสั่งโดยองค์กรตุลาการ นำไปสู่ความเสี่ยงและโอกาสที่ผู้ถูกควบคุมตัวจะถูกอุ้มหาย ซ้อมทรมาน ได้รับการปฏิบัติอย่างโหดร้ายทารุณ หรือถูกเจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจได้
หลังการรัฐประหารปี 2557 มีผู้ร้องเรียนว่ามีการซ้อมทรมานเกิดขึ้นระหว่างถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก คำสั่ง คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. อย่างน้อย 18 กรณี กรณีสำคัญที่เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ ได้แก่ กรณีผู้ต้องหาจากเหตุการณ์ปาระเบิดศาลอาญา เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2558 ผู้ต้องหาอย่างน้อย 4 ราย ระบุว่าถูกซ้อมทรมานโดยการชกต่อย กระทืบบริเวณศีรษะ ทรวงอก หลัง และข่มขู่ว่าจะทำร้าย เพื่อให้ได้ข้อมูล นอกจากนี้ ผู้ต้องหาบางรายยังถูกช็อตด้วยไฟฟ้าและปรากฏร่องรอยบริเวณผิวหนัง ระหว่างถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกวันที่ 9-15 มี.ค. 2558

5 ปีที่ผ่านมา กิจกรรมสาธารณะ 176 กิจกรรมถูกปิดกั้น และอีก 186 กิจกรรมถูกคุกคามและแทรกแซง รวมทั้งสิ้น 353 กิจกรรม ส่วนใหญ่ถูกห้ามหรือปิดกั้นเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกับการเมืองและคณะรัฐประหาร โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่ากิจกรรมอาจเข้าข่ายเป็นการชุมนุมทางการเมือง ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม หรือกระทบต่อความมั่นคง
บางกรณีเจ้าหน้าที่ใช้วิธีขอความร่วมมือโดยไม่ระบุสาเหตุแน่ชัด หรือเพียงบอกว่า “นายไม่สบายใจ” ที่จะให้จัดกิจกรรมนี้ บางกรณีเจ้าหน้าที่ใช้วิธีกดดันเจ้าของสถานที่ ทั้งมหาวิทยาลัยหรือสถานที่ของเอกชน ทำให้เจ้าของสถานที่ต้องยกเลิกการใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมนั้นๆ
กรณีที่ไม่ได้เป็นการปิดกั้นโดยตรง แต่เจ้าหน้าที่ใช้วิธีพูดคุยกับผู้จัดงาน แล้วตั้งเงื่อนไข หรือขอความร่วมมือบางอย่างในการจัดกิจกรรม เช่น ขอให้เปลี่ยนวิทยากรในงานเสวนา ขอให้ไม่พูดถึงเนื้อหาเกี่ยวกับ คสช. หรือกำหนดไม่ให้ใช้บางถ้อยคำ เช่น “เผด็จการ” และ “กบฏ”
ขณะเดียวกัน ทหารในหลายพื้นที่ยังเข้าไปพูดคุยกับผู้บริหารหรืออาจารย์มหาวิทยาลัยให้ควบคุมดูแลการทำกิจกรรมของนักศึกษา และให้แจ้งการจัดกิจกรรมต่างๆ ไปยังทหารในพื้นที่ สถาบันอย่างมหาวิทยาลัยก็เป็นส่วนหนึ่งในการใช้อำนาจปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการจัดกิจกรรมสาธารณะต่างๆ ทั้งการไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่จัดกิจกรรม หรือการเรียกตัวนักศึกษาผู้จัดกิจกรรมไปพูดคุยด้วย

นอกจากการปิดกั้นแทรกแซงกิจกรรมสาธารณะ กลุ่มองค์กรชาวบ้านหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายต่างๆ ของรัฐ ก็ถูกจำกัดพื้นที่เรียกร้องและการแสดงออกตลอด 5 ปีที่ผ่านมา แม้ไม่ใช่การเคลื่อนไหวในประเด็นการเมืองในความหมายของการวิพากษ์วิจารณ์คัดค้านผู้ปกครองโดยตรงก็ตาม
จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า มีกลุ่มองค์กรชาวบ้าน/ชุมชน หรือประชาสังคม ถูกปิดกั้นการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม อย่างน้อย 155 กลุ่ม ในประเด็นสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ ที่ดิน แม่น้ำ เหมืองแร่ โรงไฟฟ้า สุขภาพ แรงงาน หรือนโยบายสาธารณะอื่น
เจ้าหน้าที่ทหารอ้างอำนาจตามกฎอัยการศึก คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2559 เรียกตัวแกนนำชาวบ้านไปพูดคุย บางกรณีไปพบแกนนำถึงบ้าน ห้ามปรามไม่ให้เคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรม โดยอ้างว่าการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้ก่อให้เกิด “ความไม่สงบ” หรือระบุว่าแกนนำชาวบ้านเป็น “ผู้มีอิทธิพล” รวมทั้งยังปิดกั้นกิจกรรมการศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม โดยตีความว่าเป็น “การยุยงปลุกปั่น” คัดค้านรัฐบาล บางกรณีให้ลงชื่อในเอกสารข้อตกลงในลักษณะเดียวกันกับแกนนำกลุ่มการเมือง เพื่อหยุดการเคลื่อนไหว หรือในบางพื้นที่เจ้าหน้าที่ก็เข้ามาขอให้ปลดป้ายคัดค้านต่างๆ ลง

หลังประกาศกฎอัยการศึก เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 มีประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ห้ามมิให้ประชาชนชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไป กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หลังประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกก็มีคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 มาบังคับใช้แทน โดยข้อ 12 ห้ามมิให้ชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ก่อนความผิดนี้จะถูกยกเลิกเมื่อ 11 ธ.ค. 2561
อย่างไรก็ตาม มีผู้ถูกตั้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปในยุค คสช. ทั้งสิ้น 428 คน หลายคนถูกตั้งข้อหาในช่วงการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในปี 2559 และช่วงเรียกร้องการเลือกตั้งในปี 2561

สนช. ที่แต่งตั้งโดย คสช. ผ่านร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ จนมีผลบังคับใช้เมื่อ 13 ส.ค. 2558 ข้อหานี้ถูกใช้จำกัดการชุมนุมร่วมกับคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และโดยตัวของมันเองยังมีปัญหาในบทบัญญัติเเละการบังคับใช้หลายประการ ซึ่งกระทบต่อการใช้เสรีภาพในการชุมนุม มากกว่าคุ้มครองสิทธิ เช่น กำหนดให้แจ้งการชุมนุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ให้อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งแก้ไขสถานที่ชุมนุม และกำหนดเงื่อนไขได้ ซึ่งในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจตีความปิดกั้นสิทธิในการชุมนุมและสร้างภาระให้ผู้ชุมนุมจนไม่สามารถชุมนุมได้
3 ปีกว่าของการบังคับใช้ มีผู้ถูกแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ แล้วอย่างน้อย 245 คน ส่วนใหญ่เป็นความผิดฐานไม่แจ้งการชุมนุมสาธารณะ

นอกจากการออกไปชุมนุม การแสดงออกทางสื่อสังคมออนไลน์ก็เป็นช่องทางหนึ่งในการวิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจต่างๆ ของทหาร พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำมาใช้ควบคุมปราบปรามผู้ที่แสดงความคิดเห็นตรงกันข้ามกับ คสช.
ผู้ที่แสดงความเห็นหรือนำเสนอข้อมูลตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ คสช. หรือเจ้าหน้าที่ทหารในโลกออนไลน์ถูกตั้งข้อหาตาม พ.ร.บ. นี้ อย่างน้อย 144 คน โดยทหารที่เข้าแจ้งความดำเนินคดีมักกล่าวอ้างว่าการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ในแต่ละกรณี ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ คสช. หรือเจ้าหน้าที่ทหาร
หลายคดีตั้งข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ่วงไปกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือ 116 และแม้จะมีการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ในปี 2560 แต่ดูเหมือนสถานการณ์การใช้ข้อหาตาม พ.ร.บ. นี้จะยังไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะการดำเนินคดีต่อผู้แชร์ข่าวที่อาจไม่ตรงกับข้อเท็จจริง หรือมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การบริหารประเทศของ คสช. โดยผู้แชร์ข่าวดังกล่าวเองไม่ได้มีการแสดงความคิดเห็นของตนเองเพิ่มเติมแต่อย่างใด และบางกรณีก็ถูกหลอกลวงโดยเว็บไซต์ข่าวปลอม เช่น คดีแชร์โพสต์วิจารณ์การซื้อดาวเทียมจากเพจ KonthaiUK หรือการแชร์ข่าวปลอมเกี่ยวกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ และ กกต. เป็นต้น

จนถึง 22 พ.ค. 2562 มีผู้ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 อย่างน้อย 121 คน ส่วนใหญ่เป็นการนำเสนอเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ คสช. เช่น กรณีการเรียกร้องเลือกตั้งของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง กรณีสหพันธรัฐไท ส่วนการแสดงออกอื่น เเม้ไม่ได้กล่าวถึง คสช. โดยตรง เเต่กระทบถึงอำนาจ คสช. เช่น ส่งจดหมายวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ หรือสื่อสารโดยใช้สีสัญลักษณ์อย่างขันเเดง ก็ถูกดำเนินคดีด้วยเช่นกัน

หลังการรัฐประหารปี 2557 กฎหมายนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือปราบปรามการแสดงความเห็นทางการเมืองอย่างมีนัยยะสำคัญ การจัดการผู้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นนโยบายหลักของ คสช. ตั้งแต่แรกเริ่ม
จนถึงปัจจุบันมีผู้ถูกตั้งข้อหานี้อย่างน้อย 169 คน แบ่งเป็นผู้ถูกตั้งข้อหาจากการแสดงออก อย่างน้อย 106 คน และแอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เรียกรับผลประโยชน์ อย่างน้อย 63 คน ในยุค คสช. ศาลมีแนวโน้มที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยในคดีนี้ด้วยอัตราโทษที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในศาลทหาร เฉลี่ยพิพากษาจำคุกกรรมละ 8-10 ปี ทำให้เกิดคดีที่ลงโทษจำคุกสูงสุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น วิชัย ถูกลงโทษจำคุก 70 ปี พงษ์ศักดิ์ ถูกลงโทษจำคุก 60 ปี และศศิพิมลถูกลงโทษจำคุก 56 ปี ทั้งหมดศาลลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพ
นอกจากนี้ มาตรา 112 ยังถูกตีความให้กว้างขึ้นอีก เช่น การโพสต์เสียดสีสุนัขทรงเลี้ยง การกดไลค์โพสต์ที่มีข้อความเข้าข่ายมาตรา 112, การไม่ห้ามปรามหรือตำหนิผู้แสดงความเห็นที่อาจเข้าข่ายมาตรา 112 เช่น กรณีนางสาวพัฒน์นรี ชาญกิจ หรือ “แม่จ่านิว”, และการแอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อเรียกรับผลประโยชน์ เป็นต้น

เครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในยุค คสช. คือการใช้ศาลทหารดำเนินคดีพลเรือนในความผิด 4 ประเภท ได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ส่วนใหญ่คือข้อหาตามมาตรา 112, ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ส่วนใหญ่คือข้อหาตามมาตรา 116, ความผิดเกี่ยวกับอาวุธ, และความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่ง คสช.
แม้จะมีคำสั่งยุติการใช้ศาลทหารพิจารณาคดีพลเรือน ตั้งแต่ 12 ก.ย. 2559 แต่คดีที่การกระทำผิดเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 25 พ.ค. 2557-11 ก.ย. 2559 ยังคงถูกพิจารณาในศาลทหาร ข้อมูลจากกรมพระธรรมนูญระบุว่า มีการดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหาร 1,886 คดี เป็นพลเรือนกว่า 2,408 ราย จำเลย 450 ราย ใน 369 คดี ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลทหาร
จากข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน คดีที่อยู่ในศาลทหารจะมีลักษณะยืดเยื้อยาวนานด้วยเหตุ คือ 1. ล่าช้าด้วยเหตุทางกระบวนการพิจารณาอันเกี่ยวเนื่องด้วยการรัฐประหาร และ 2. ล่าช้าด้วยเหตุเฉพาะการเลื่อนการสืบพยานโจทก์ ส่งผลต่อสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนโดยตรง
อ่านรายงาน 5 ปี คสช. พอได้หรือยัง?: ข้อเสนอว่าด้วยการจัดการผลพวงรัฐประหาร ได้ที่https://www.tlhr2014.com/?p=12492
ที่มา

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

22 พ.ค. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ฉีกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ประกาศใช้กฎอัยการศึก และออกประกาศ คำสั่งตามอำเภอใจ เพื่อบริหารจัดการประเทศให้เป็นไปตามแนวทางของ คสช.
5 ปีที่ผ่านมา มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่มีมาตรา 44 ให้อำนาจหัวหน้า คสช. ออกคำสั่งที่มีผลบังคับทั้งในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ โดยถือเป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุด ตามมาด้วยรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2560 ที่ผ่านการทำประชามติท่ามกลางการไล่จับกุมผู้ที่ออกมารณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
แม้รัฐธรรมนูญใหม่จะประกาศใช้ แต่รูปแบบรัฐสภากลับถอยหลังไปใกล้เคียงเมื่อ 28 ปีก่อน และประชาชนก็ยังต้องรออีกเกือบ 2 ปี กว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป ท่ามกลางความกังขาต่อผลคะแนนและการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ทราบผลชัดเจนว่าใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี
กว่าจะถึงวันนี้ คนหลักพันถูกคุกคาม ควบคุมตัว และถูกดำเนินคดีในศาลทหาร หลายร้อยคนถูกตั้งข้อหา และไม่สามารถแสดงความเห็น คนอีกนับสิบร้องเรียนว่าถูกซ้อมทรมาน
5 ปีที่ผ่านมามีประชาชนเป็นผู้เสียหาย
อ่านรายงาน 5 ปี คสช. พอได้หรือยัง?: ข้อเสนอว่าด้วยการจัดการผลพวงรัฐประหาร ได้ที่https://www.tlhr2014.com/?p=12492

ในช่วงปีแรกหลังรัฐประหาร คสช. ประกาศใช้กฎอัยการศึกตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. 2557-1 เม.ย. 2558 ทำให้ทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน และเปิดโอกาสให้ควบคุมตัวบุคคลได้ 7 วัน โดยปราศจากการแจ้งข้อกล่าวหาและไม่จำเป็นต้องนำตัวไปปรากฏต่อศาล หลังยกเลิกกฎอัยการศึก หัวหน้า คสช. ก็ยังอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ออกคำสั่งสำคัญ 2 ฉบับ คือ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และ 13/2559 ให้อำนาจทหารที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจในลักษณะคล้ายกฎอัยการศึก ทำให้คำสั่งทั้งสองฉบับและมาตรา 44 ถูกทหารใช้กล่าวอ้างในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลในค่ายทหาร หรือเข้าตรวจค้นที่พัก สถานที่ทำงาน ของบุคคลกลุ่มเป้าหมายตลอดจนบุคคลในครอบครัว
ตลอด 5 ปีมานี้ มีประชาชนอย่างน้อย 929 คน ถูก คสช. เรียกรายงานตัวและควบคุมตัวในค่ายทหาร ญาติและทนายความไม่สามารถติดต่อได้ โดยไม่ได้รับการแจ้งข้อกล่าวหา ในกระบวนการที่ถูกเรียกว่า “การปรับทัศนคติ” และมีอย่างน้อย 14 คนที่ต้องเผชิญข้อหาขัดขืนไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช. อีกด้วย

นอกจากการเรียกรายงานตัวและควบคุมตัวประชาชนในค่ายทหารแล้ว คสช. ยังใช้เจ้าหน้าที่ติดตามประชาชน อย่างน้อย 572 คน ในจำนวนนี้หลายกรณีถูกติดตามถึงที่บ้านและเฝ้าจับตาอย่างต่อเนื่อง
ช่วง 2 ปีแรก การติดตามประชาชนเป็นไปอย่างเข้มข้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักการเมือง แกนนำคนเสื้อแดงที่มีบทบาทในพื้นที่ต่างๆ กลุ่มเคลื่อนไหวคัดค้านการรัฐประหาร หรือการใช้อำนาจของ คสช. และผู้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ คสช.
การติดตามจับตาบุคคลเป็นระยะของเจ้าหน้าที่ มีทั้งรูปแบบการเข้าไปติดตามถ่ายรูปที่บ้าน การนัดหมายกินกาแฟ หรือ “การขอความร่วมมือ” ให้ไม่ไป รวมถึงไปร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมเกี่ยวกับการปรองดอง แต่ช่วงสถานการณ์ทางการเมืองเข้มข้น ระยะการติดตามตัวบุคคลจะเพิ่มความถี่และความเข้มข้นขึ้นด้วย อาทิ การจำกัดเสรีภาพกลุ่มประชาชนที่ออกมาเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้ง การติดตาม คุกคามนักการเมืองก่อนวันเลือกตั้ง การข่มขู่บุคคลที่ออกมาเปิดเผยความไม่ชอบมาพากลในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง รวมถึงการติดตามคุกคามบุคคลในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

รูปแบบการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ทหารหลังรัฐประหารที่ควบคุมตัวบุคคลในสถานที่ปิดลับ ไม่ได้พบญาติหรือทนายความ และไม่มีการตรวจสอบคำสั่งโดยองค์กรตุลาการ นำไปสู่ความเสี่ยงและโอกาสที่ผู้ถูกควบคุมตัวจะถูกอุ้มหาย ซ้อมทรมาน ได้รับการปฏิบัติอย่างโหดร้ายทารุณ หรือถูกเจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจได้
หลังการรัฐประหารปี 2557 มีผู้ร้องเรียนว่ามีการซ้อมทรมานเกิดขึ้นระหว่างถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก คำสั่ง คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. อย่างน้อย 18 กรณี กรณีสำคัญที่เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ ได้แก่ กรณีผู้ต้องหาจากเหตุการณ์ปาระเบิดศาลอาญา เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2558 ผู้ต้องหาอย่างน้อย 4 ราย ระบุว่าถูกซ้อมทรมานโดยการชกต่อย กระทืบบริเวณศีรษะ ทรวงอก หลัง และข่มขู่ว่าจะทำร้าย เพื่อให้ได้ข้อมูล นอกจากนี้ ผู้ต้องหาบางรายยังถูกช็อตด้วยไฟฟ้าและปรากฏร่องรอยบริเวณผิวหนัง ระหว่างถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกวันที่ 9-15 มี.ค. 2558

5 ปีที่ผ่านมา กิจกรรมสาธารณะ 176 กิจกรรมถูกปิดกั้น และอีก 186 กิจกรรมถูกคุกคามและแทรกแซง รวมทั้งสิ้น 353 กิจกรรม ส่วนใหญ่ถูกห้ามหรือปิดกั้นเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกับการเมืองและคณะรัฐประหาร โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่ากิจกรรมอาจเข้าข่ายเป็นการชุมนุมทางการเมือง ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม หรือกระทบต่อความมั่นคง
บางกรณีเจ้าหน้าที่ใช้วิธีขอความร่วมมือโดยไม่ระบุสาเหตุแน่ชัด หรือเพียงบอกว่า “นายไม่สบายใจ” ที่จะให้จัดกิจกรรมนี้ บางกรณีเจ้าหน้าที่ใช้วิธีกดดันเจ้าของสถานที่ ทั้งมหาวิทยาลัยหรือสถานที่ของเอกชน ทำให้เจ้าของสถานที่ต้องยกเลิกการใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมนั้นๆ
กรณีที่ไม่ได้เป็นการปิดกั้นโดยตรง แต่เจ้าหน้าที่ใช้วิธีพูดคุยกับผู้จัดงาน แล้วตั้งเงื่อนไข หรือขอความร่วมมือบางอย่างในการจัดกิจกรรม เช่น ขอให้เปลี่ยนวิทยากรในงานเสวนา ขอให้ไม่พูดถึงเนื้อหาเกี่ยวกับ คสช. หรือกำหนดไม่ให้ใช้บางถ้อยคำ เช่น “เผด็จการ” และ “กบฏ”
ขณะเดียวกัน ทหารในหลายพื้นที่ยังเข้าไปพูดคุยกับผู้บริหารหรืออาจารย์มหาวิทยาลัยให้ควบคุมดูแลการทำกิจกรรมของนักศึกษา และให้แจ้งการจัดกิจกรรมต่างๆ ไปยังทหารในพื้นที่ สถาบันอย่างมหาวิทยาลัยก็เป็นส่วนหนึ่งในการใช้อำนาจปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการจัดกิจกรรมสาธารณะต่างๆ ทั้งการไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่จัดกิจกรรม หรือการเรียกตัวนักศึกษาผู้จัดกิจกรรมไปพูดคุยด้วย

นอกจากการปิดกั้นแทรกแซงกิจกรรมสาธารณะ กลุ่มองค์กรชาวบ้านหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายต่างๆ ของรัฐ ก็ถูกจำกัดพื้นที่เรียกร้องและการแสดงออกตลอด 5 ปีที่ผ่านมา แม้ไม่ใช่การเคลื่อนไหวในประเด็นการเมืองในความหมายของการวิพากษ์วิจารณ์คัดค้านผู้ปกครองโดยตรงก็ตาม
จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า มีกลุ่มองค์กรชาวบ้าน/ชุมชน หรือประชาสังคม ถูกปิดกั้นการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม อย่างน้อย 155 กลุ่ม ในประเด็นสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ ที่ดิน แม่น้ำ เหมืองแร่ โรงไฟฟ้า สุขภาพ แรงงาน หรือนโยบายสาธารณะอื่น
เจ้าหน้าที่ทหารอ้างอำนาจตามกฎอัยการศึก คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2559 เรียกตัวแกนนำชาวบ้านไปพูดคุย บางกรณีไปพบแกนนำถึงบ้าน ห้ามปรามไม่ให้เคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรม โดยอ้างว่าการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้ก่อให้เกิด “ความไม่สงบ” หรือระบุว่าแกนนำชาวบ้านเป็น “ผู้มีอิทธิพล” รวมทั้งยังปิดกั้นกิจกรรมการศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม โดยตีความว่าเป็น “การยุยงปลุกปั่น” คัดค้านรัฐบาล บางกรณีให้ลงชื่อในเอกสารข้อตกลงในลักษณะเดียวกันกับแกนนำกลุ่มการเมือง เพื่อหยุดการเคลื่อนไหว หรือในบางพื้นที่เจ้าหน้าที่ก็เข้ามาขอให้ปลดป้ายคัดค้านต่างๆ ลง

หลังประกาศกฎอัยการศึก เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 มีประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ห้ามมิให้ประชาชนชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไป กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หลังประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกก็มีคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 มาบังคับใช้แทน โดยข้อ 12 ห้ามมิให้ชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ก่อนความผิดนี้จะถูกยกเลิกเมื่อ 11 ธ.ค. 2561
อย่างไรก็ตาม มีผู้ถูกตั้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปในยุค คสช. ทั้งสิ้น 428 คน หลายคนถูกตั้งข้อหาในช่วงการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในปี 2559 และช่วงเรียกร้องการเลือกตั้งในปี 2561

สนช. ที่แต่งตั้งโดย คสช. ผ่านร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ จนมีผลบังคับใช้เมื่อ 13 ส.ค. 2558 ข้อหานี้ถูกใช้จำกัดการชุมนุมร่วมกับคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และโดยตัวของมันเองยังมีปัญหาในบทบัญญัติเเละการบังคับใช้หลายประการ ซึ่งกระทบต่อการใช้เสรีภาพในการชุมนุม มากกว่าคุ้มครองสิทธิ เช่น กำหนดให้แจ้งการชุมนุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ให้อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งแก้ไขสถานที่ชุมนุม และกำหนดเงื่อนไขได้ ซึ่งในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจตีความปิดกั้นสิทธิในการชุมนุมและสร้างภาระให้ผู้ชุมนุมจนไม่สามารถชุมนุมได้
3 ปีกว่าของการบังคับใช้ มีผู้ถูกแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ แล้วอย่างน้อย 245 คน ส่วนใหญ่เป็นความผิดฐานไม่แจ้งการชุมนุมสาธารณะ

นอกจากการออกไปชุมนุม การแสดงออกทางสื่อสังคมออนไลน์ก็เป็นช่องทางหนึ่งในการวิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจต่างๆ ของทหาร พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำมาใช้ควบคุมปราบปรามผู้ที่แสดงความคิดเห็นตรงกันข้ามกับ คสช.
ผู้ที่แสดงความเห็นหรือนำเสนอข้อมูลตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ คสช. หรือเจ้าหน้าที่ทหารในโลกออนไลน์ถูกตั้งข้อหาตาม พ.ร.บ. นี้ อย่างน้อย 144 คน โดยทหารที่เข้าแจ้งความดำเนินคดีมักกล่าวอ้างว่าการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ในแต่ละกรณี ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ คสช. หรือเจ้าหน้าที่ทหาร
หลายคดีตั้งข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ่วงไปกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือ 116 และแม้จะมีการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ในปี 2560 แต่ดูเหมือนสถานการณ์การใช้ข้อหาตาม พ.ร.บ. นี้จะยังไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะการดำเนินคดีต่อผู้แชร์ข่าวที่อาจไม่ตรงกับข้อเท็จจริง หรือมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การบริหารประเทศของ คสช. โดยผู้แชร์ข่าวดังกล่าวเองไม่ได้มีการแสดงความคิดเห็นของตนเองเพิ่มเติมแต่อย่างใด และบางกรณีก็ถูกหลอกลวงโดยเว็บไซต์ข่าวปลอม เช่น คดีแชร์โพสต์วิจารณ์การซื้อดาวเทียมจากเพจ KonthaiUK หรือการแชร์ข่าวปลอมเกี่ยวกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ และ กกต. เป็นต้น

จนถึง 22 พ.ค. 2562 มีผู้ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 อย่างน้อย 121 คน ส่วนใหญ่เป็นการนำเสนอเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ คสช. เช่น กรณีการเรียกร้องเลือกตั้งของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง กรณีสหพันธรัฐไท ส่วนการแสดงออกอื่น เเม้ไม่ได้กล่าวถึง คสช. โดยตรง เเต่กระทบถึงอำนาจ คสช. เช่น ส่งจดหมายวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ หรือสื่อสารโดยใช้สีสัญลักษณ์อย่างขันเเดง ก็ถูกดำเนินคดีด้วยเช่นกัน

หลังการรัฐประหารปี 2557 กฎหมายนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือปราบปรามการแสดงความเห็นทางการเมืองอย่างมีนัยยะสำคัญ การจัดการผู้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นนโยบายหลักของ คสช. ตั้งแต่แรกเริ่ม
จนถึงปัจจุบันมีผู้ถูกตั้งข้อหานี้อย่างน้อย 169 คน แบ่งเป็นผู้ถูกตั้งข้อหาจากการแสดงออก อย่างน้อย 106 คน และแอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เรียกรับผลประโยชน์ อย่างน้อย 63 คน ในยุค คสช. ศาลมีแนวโน้มที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยในคดีนี้ด้วยอัตราโทษที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในศาลทหาร เฉลี่ยพิพากษาจำคุกกรรมละ 8-10 ปี ทำให้เกิดคดีที่ลงโทษจำคุกสูงสุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น วิชัย ถูกลงโทษจำคุก 70 ปี พงษ์ศักดิ์ ถูกลงโทษจำคุก 60 ปี และศศิพิมลถูกลงโทษจำคุก 56 ปี ทั้งหมดศาลลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพ
นอกจากนี้ มาตรา 112 ยังถูกตีความให้กว้างขึ้นอีก เช่น การโพสต์เสียดสีสุนัขทรงเลี้ยง การกดไลค์โพสต์ที่มีข้อความเข้าข่ายมาตรา 112, การไม่ห้ามปรามหรือตำหนิผู้แสดงความเห็นที่อาจเข้าข่ายมาตรา 112 เช่น กรณีนางสาวพัฒน์นรี ชาญกิจ หรือ “แม่จ่านิว”, และการแอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อเรียกรับผลประโยชน์ เป็นต้น

เครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในยุค คสช. คือการใช้ศาลทหารดำเนินคดีพลเรือนในความผิด 4 ประเภท ได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ส่วนใหญ่คือข้อหาตามมาตรา 112, ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ส่วนใหญ่คือข้อหาตามมาตรา 116, ความผิดเกี่ยวกับอาวุธ, และความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่ง คสช.
แม้จะมีคำสั่งยุติการใช้ศาลทหารพิจารณาคดีพลเรือน ตั้งแต่ 12 ก.ย. 2559 แต่คดีที่การกระทำผิดเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 25 พ.ค. 2557-11 ก.ย. 2559 ยังคงถูกพิจารณาในศาลทหาร ข้อมูลจากกรมพระธรรมนูญระบุว่า มีการดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหาร 1,886 คดี เป็นพลเรือนกว่า 2,408 ราย จำเลย 450 ราย ใน 369 คดี ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลทหาร
จากข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน คดีที่อยู่ในศาลทหารจะมีลักษณะยืดเยื้อยาวนานด้วยเหตุ คือ 1. ล่าช้าด้วยเหตุทางกระบวนการพิจารณาอันเกี่ยวเนื่องด้วยการรัฐประหาร และ 2. ล่าช้าด้วยเหตุเฉพาะการเลื่อนการสืบพยานโจทก์ ส่งผลต่อสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนโดยตรง
อ่านรายงาน 5 ปี คสช. พอได้หรือยัง?: ข้อเสนอว่าด้วยการจัดการผลพวงรัฐประหาร ได้ที่https://www.tlhr2014.com/?p=12492
ที่มา

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน