ระหว่าง 2 สถานการณ์— Wiroj (@wirojlak) April 16, 2019
A: ตัวเองได้ +1 คนอื่นได้ +10
.
VS
.
B: ตัวเองได้ 0 หรือ -1 คนอื่นได้ -10
.
เชื่อไหมครับ คนจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะเอาอย่างหลัง หรือสถานการณ์ B นะครับ
.
Behavioral economics เรียกพฤติกรรมนี้ว่า "Last place aversion"
.
(สนใจอ่านต่อ)
Last place aversion คือ ความรู้สึกของมนุษย์ที่ไม่อยากจะเป็น "บ๊วย" ครับ . คือ ต่อให้ตัวเองอยู่ในกลุ่มสังคมที่ดีอยู่แล้ว เช่น เรียนอยู่ในห้องคิงอยู่แล้ว ก็ไม่อยากสอบได้ที่โหล่ของห้อง แม้ว่าที่โหล่ของห้องคิง จะเรียนเก่งกว่าอีกหลายๆ คน ในห้องอื่นก็ตาม
ในชีวิตจริง คนส่วนใหญ่ ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าตัวเองอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ แต่ที่รู้แน่ๆ ก็คือ ตัวเองไม่อยากเป็นบ๊วย ดังนั้น การหลีกเลี่ยงที่จะเป็นบ๊วยที่ดีที่สุด ก็คือ การหาทางกดคนอื่นให้ต่ำกว่าตัวเอง เพื่อให้มั่นใจว่าตัวเองไม่ใช่ที่โหล่แน่ๆ
อีกอย่างในชีวิตจริงการจัดอันดับมันมีหลายมิติมาก คนที่ดีกว่าคนอื่นในแง่มุมหนึ่ง ถ้ามองในอีกแง่มุมหนึ่งอาจจะด้อยกว่าก็ได้ เช่น วาทกรรม "คนรวยอาจไม่มีความสุข" เป็นต้น
ทำให้มนุษย์หลายคนเวลารู้ว่าคนอื่นดีกว่าตน ก็จะพยายามมองหาแง่ลบ เพื่อกดให้คนที่ดีกว่า ให้ต่ำลงมา
ดังนั้น ถ้าชีวิตเราต้องมาผ่านพบกับคนที่คอยจับผิด และค่อนขอดเรา ก็ขอให้มองในแง่บวกว่า คนๆนั้นเขาคงมีความกลัวว่าเราจะดีกว่าเขา หรือไม่ลึกๆ ในใจของคนๆนั้นก็ยอมรับว่าเราดีกว่าเขา
แต่ด้วยความริษยาที่กลัวว่าตัวเองจะอยู่ต่ำกว่าเรา จึงต้องหาทางจับผิดเรา
นักเศรษฐศาสตร์ 2 คน ชื่อว่า Ilyana Kuziemko เเละ Michael Norton เคยทำการทดลองเชิงพฤติกรรม โดยเอาคนมาเล่นเกมร่วมกัน
ในแต่ละรอบ กลุ่มที่อยู่ลำดับท้ายๆ จะต้องบริจาคเงินให้กับกลุ่มไหนก็ได้
ปรากฎว่า กลุ่มที่ต้องบริจาค จะบริจาคให้กับกลุ่มลำดับต้นๆ แทนที่จะบริจาคช่วยเหลือกลุ่มที่อันดับต่ำกว่าตน ทั้งนี้ เป็นเพราะว่า กลัวว่ากลุ่มที่ลำดับต่ำกว่าตน จะมีลำดับที่ดีไล่กลุ่มตนขึ้นมา และกลัวว่าในที่สุด กลุ่มตัวเองจะถูกแซง .
อ้าว! เป็นงั้นไป
ปรากฏการณ์นี้ ทำให้เราอธิบายได้ว่า ทำไมชนชั้นกลางรู้ทั้งรู้ว่า 'ความเหลื่อมล้ำ' ทำให้ตนเองเสียโอกาสมากมาย
แต่ทำไม ชช.กลาง ถึงโอเคกับความเหลื่อมล้ำ ไม่ยอมร่วมมือกับ ชช.กรรมาชีพ ในการเรียกร้อง 'ความเท่าเทียมกัน' จากกลุ่มนายทุน
นั่นเป็นเพราะว่า ชช.กลาง ไม่มั่นใจว่า หากความเหลื่อมล้ำลดลง แล้วตัวเองจะเก่งพอที่จะขยับเศรษฐสถานะของตัวเอง ขึ้นไปสู้กับชนชั้นนายทุนได้รึไม่ .
แต่ที่กลัวก็คือ กลัวว่า ชช.กรรมาชีพ จะขยับเศรษฐสถานะ ขึ้นมาอยู่ใกล้กับตน อะไรที่ตนเองเคยได้เปรียบ ชช.กรรมาชีพ ก็อาจจะหายไป
เพราะ Last place aversion นี่ล่ะคร้บ จึงทำให้ ชช.นายทุน พยายามที่จะสปอยล์ ชช.กลาง ให้โอเคกับ "ความเหลื่อมล้ำ"
การที่ ชช.กลาง จะมาร่วมมือกับ ชช.กรรมาชีพ เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ จึงเป็นเรื่องที่ยากมากๆ
หลายครั้ง มนุษย์เราได้ดีแท้ๆ กลับไม่เอา เพราะไม่อยากให้คนอื่นดีกว่าตัวเอง ยอมที่จะเผาบ้านตัวเอง ทำให้ตัวเองแย่ลง เพื่อให้คนที่เราไม่ชอบ หรือหมั่นไส้ แย่กว่าตัวเอง แล้วก็มักจะดราม่า เอาเรื่องคุณธรรมมาเป็นข้ออ้าง . ทั้งๆ ที่ จริงๆ แล้ว มันคือ ความริษยาต่างหาก .
(จบ)
ที่มา
Wiroj @wirojlak