สร้อยแก้ว คำมาลา : 13 ปีแห่งความเกลียดชัง
มติชนสุดสัปดาห์
ฉบับวันที่ 5 - 11 เมษายน 2562
ตอนทักษิณ ชินวัตร ลงเล่นการเมืองใหม่ๆ อุ๊งอิ๊งเป็นเด็กนักเรียนมัธยม (ไม่แน่ใจว่าอยู่ ม.ต้น หรือ ม.4 แล้ว) ยังเด็กมาก แต่ว่าสนใจสิ่งที่พ่อทำ เราจึงเห็นภาพอุ๊งอิ๊งนั่งท้ายกระบะเปียกฝนไปกับพ่อตอนหาเสียง
เคยมีนักข่าวถามว่า ลูก 3 คน ใครดูเป็นคนสนใจการเมืองที่สุด ทักษิณตอบว่า ลูกสาวคนเล็ก
ตอนอุ๊งอิ๊งสอบติดรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กลายเป็นประเด็นกว้างขวางเกี่ยวกับสอบเข้าเรียนต่อของเธอ (มีการกล่าวหาว่าเธอสอบได้เพราะข้อสอบรั่ว มีคนช่วย) เธอต้องพบกับแรงเสียดทานไม่น้อย ทั้งบรรยากาศสังคมรอบข้าง ข่าว กระทั่งถูกถามหน้าชั้นเรียน
เผลอแป๊บเดียว อุ๊งอิ๊งแต่งงานแล้ว
ส่วนทักษิณ ถ้าไม่ได้ยินข่าวพูดวันนั้น ก็คงไม่ทันฉุกคิดว่า นี่เขาอายุ 70 ปีแล้ว
ตอนเขาเป็นนายกฯ ครั้งแรกอายุ 52 ปี หลังจากนั้นผ่านไปอีก 5 ปี เขาถูกรัฐประหาร และคนไทยส่วนใหญ่เกลียดชังเขาเข้ากระดูกดำ เขาไม่มีโอกาสได้กลับมาประเทศอีก แต่ก็ยังมีอิทธิพลต่อการเมืองไทยเรื่อยมา เรื่อยมา เรื่อยมา พวกเราก็ต่อสู้ ถกเถียง ล้มตาย
เออ เนาะ เหตุการณ์ผ่านมากี่ปีแล้วนะ–13 ปี
แล้วภาพของน้องปลื้ม เด็กชายสุรบถ หลีกภัย ก็ผุดขึ้นมาไล่เลี่ยกันกับภาพอุ๊งอิ๊ง
น้องปลื้ม เราเห็นภาพเขาในสื่อตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 10 ขวบ ปลื้มเข้าเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนพร้าววิทยาคม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
คุณพ่อของเขาคงอยากให้ลูกใช้ชีวิตแบบชาวบ้าน ได้คลุกคลีกับคนธรรมดาสามัญ จะได้มองเห็นรากฐานของคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้
เผลอแป๊บเดียว นั่นแหละ ปลื้มโตเป็นหนุ่ม เติบโตมีการงาน มีครอบครัว เป็นผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่เด็กชายตัวเล็กเดินขึ้นรถตู้กับพ่อ
คือจริงๆ ฉันคงแก่มากจนเห็นภาพผ่านช่วงวัยมากขนาดนี้
ตั้งแต่พฤษภาทมิฬ 2535 – พฤษภาคม 2553 (และก่อนนี้สูญเสียรายทางระหว่างความขัดแย้งอีกจำนวนไม่น้อย)
มองเห็นเพื่อนอยู่อีกขั้วฝั่ง เราอยู่อีกขั้วฝั่ง
เวลาผ่านไป พยายามเรียนรู้ สรุปบทเรียนไป หลายปีให้หลังไม่ค่อยเขียนถึงประเด็นการเมือง เพราะรู้แล้ว ใครอยู่ฝั่งไหนก็ฝั่งนั้นแหละ คนเปลี่ยนใจเปลี่ยนขั้วอาจมีบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็มีความเชื่อ ความศรัทธา มีเหตุผล มีชุดข้อมูลของตัวเอง
เท่าที่ทำได้คือ ใช้พื้นที่สาธารณะให้ไม่เกิดความอึดอัดต่อกัน แต่สบายใจที่พูดคุยกันได้
และคิดไว้ตลอดว่า ถ้ามีเลือกตั้งเมื่อไร ก็ค่อยกาความเชื่อของเราลงไป
แต่ถึงตอนนี้เห็นสภาพการณ์ก็เริ่มปลงๆ บ้างละ เพราะต่อให้ทักษิณจากโลกนี้ไป เราก็เชื่อว่าความขัดแย้งมันคงไม่จบ
ช่วงนี้กระแสโจมตีปิยบุตร แสงกนกกุล ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กำลังมาแรง อาจต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อีก ทั้งที่ยังไม่ทันได้เข้าสู่สภา
นึกออกไหม ปรีดี พนมยงค์ ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องการลอบปลงพระชนม์ นักศึกษาธรรมศาสตร์ถูกกล่าวหาเป็นคอมมิวนิสต์ คนเสื้อแดงถูกกล่าวหาล้มเจ้า
การสร้างกระแสปลุกปั่นให้คนไทยเกลียดชังกันมีมานานแล้ว และทุกวันนี้กลไกตัวนี้ก็ยังทำงานอยู่
ตอนทักษิณ ชินวัตร ลงเล่นการเมืองใหม่ๆ อุ๊งอิ๊งเป็นเด็กนักเรียนมัธยม (ไม่แน่ใจว่าอยู่ ม.ต้น หรือ ม.4 แล้ว) ยังเด็กมาก แต่ว่าสนใจสิ่งที่พ่อทำ เราจึงเห็นภาพอุ๊งอิ๊งนั่งท้ายกระบะเปียกฝนไปกับพ่อตอนหาเสียง
เคยมีนักข่าวถามว่า ลูก 3 คน ใครดูเป็นคนสนใจการเมืองที่สุด ทักษิณตอบว่า ลูกสาวคนเล็ก
ตอนอุ๊งอิ๊งสอบติดรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กลายเป็นประเด็นกว้างขวางเกี่ยวกับสอบเข้าเรียนต่อของเธอ (มีการกล่าวหาว่าเธอสอบได้เพราะข้อสอบรั่ว มีคนช่วย) เธอต้องพบกับแรงเสียดทานไม่น้อย ทั้งบรรยากาศสังคมรอบข้าง ข่าว กระทั่งถูกถามหน้าชั้นเรียน
เผลอแป๊บเดียว อุ๊งอิ๊งแต่งงานแล้ว
ส่วนทักษิณ ถ้าไม่ได้ยินข่าวพูดวันนั้น ก็คงไม่ทันฉุกคิดว่า นี่เขาอายุ 70 ปีแล้ว
ตอนเขาเป็นนายกฯ ครั้งแรกอายุ 52 ปี หลังจากนั้นผ่านไปอีก 5 ปี เขาถูกรัฐประหาร และคนไทยส่วนใหญ่เกลียดชังเขาเข้ากระดูกดำ เขาไม่มีโอกาสได้กลับมาประเทศอีก แต่ก็ยังมีอิทธิพลต่อการเมืองไทยเรื่อยมา เรื่อยมา เรื่อยมา พวกเราก็ต่อสู้ ถกเถียง ล้มตาย
เออ เนาะ เหตุการณ์ผ่านมากี่ปีแล้วนะ–13 ปี
แล้วภาพของน้องปลื้ม เด็กชายสุรบถ หลีกภัย ก็ผุดขึ้นมาไล่เลี่ยกันกับภาพอุ๊งอิ๊ง
น้องปลื้ม เราเห็นภาพเขาในสื่อตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 10 ขวบ ปลื้มเข้าเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนพร้าววิทยาคม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
คุณพ่อของเขาคงอยากให้ลูกใช้ชีวิตแบบชาวบ้าน ได้คลุกคลีกับคนธรรมดาสามัญ จะได้มองเห็นรากฐานของคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้
เผลอแป๊บเดียว นั่นแหละ ปลื้มโตเป็นหนุ่ม เติบโตมีการงาน มีครอบครัว เป็นผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่เด็กชายตัวเล็กเดินขึ้นรถตู้กับพ่อ
คือจริงๆ ฉันคงแก่มากจนเห็นภาพผ่านช่วงวัยมากขนาดนี้
ตั้งแต่พฤษภาทมิฬ 2535 – พฤษภาคม 2553 (และก่อนนี้สูญเสียรายทางระหว่างความขัดแย้งอีกจำนวนไม่น้อย)
มองเห็นเพื่อนอยู่อีกขั้วฝั่ง เราอยู่อีกขั้วฝั่ง
เวลาผ่านไป พยายามเรียนรู้ สรุปบทเรียนไป หลายปีให้หลังไม่ค่อยเขียนถึงประเด็นการเมือง เพราะรู้แล้ว ใครอยู่ฝั่งไหนก็ฝั่งนั้นแหละ คนเปลี่ยนใจเปลี่ยนขั้วอาจมีบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็มีความเชื่อ ความศรัทธา มีเหตุผล มีชุดข้อมูลของตัวเอง
เท่าที่ทำได้คือ ใช้พื้นที่สาธารณะให้ไม่เกิดความอึดอัดต่อกัน แต่สบายใจที่พูดคุยกันได้
และคิดไว้ตลอดว่า ถ้ามีเลือกตั้งเมื่อไร ก็ค่อยกาความเชื่อของเราลงไป
แต่ถึงตอนนี้เห็นสภาพการณ์ก็เริ่มปลงๆ บ้างละ เพราะต่อให้ทักษิณจากโลกนี้ไป เราก็เชื่อว่าความขัดแย้งมันคงไม่จบ
ช่วงนี้กระแสโจมตีปิยบุตร แสงกนกกุล ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กำลังมาแรง อาจต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อีก ทั้งที่ยังไม่ทันได้เข้าสู่สภา
นึกออกไหม ปรีดี พนมยงค์ ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องการลอบปลงพระชนม์ นักศึกษาธรรมศาสตร์ถูกกล่าวหาเป็นคอมมิวนิสต์ คนเสื้อแดงถูกกล่าวหาล้มเจ้า
การสร้างกระแสปลุกปั่นให้คนไทยเกลียดชังกันมีมานานแล้ว และทุกวันนี้กลไกตัวนี้ก็ยังทำงานอยู่