วันอาทิตย์, เมษายน 21, 2562

"I-Tube" ก่อนจะดีใจไทยแชมป์โลก ประเทศที่มีความทุกข์ยากน้อยที่สุด 2ปีซ้อน อ่านนี่แป๊บ





สำนักข่าวBloomberg จัดให้ไทยมีความทุกข์ยากน้อยที่สุดในโลกต่อเนื่องจากปีกลาย ขณะที่เวเนซุเอลาเป็นชาติที่มีความทุกข์ยากมากที่สุดในโลก ทั้งนี้”ดัชนีความทุกข์ยาก”(Miserable Index)ใช้เครื่องชี้วัด2ตัว คืออัตราเงินเฟ้อ กับอัตราการว่างงาน ไทยมีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุด และมีอัตราการว่างงานต่ำมาก ก็เลยคว้าแชมป์ทุกข์ยากน้อยที่สุดในโลกมาครอง

https://www.bloomberg.com/news/articles/2019-04-17/the-world-s-most-miserable-economy-has-seven-figure-inflation

อย่างไรก็ดีBloomberg อ้างในรายงานว่า ทางการไทยมีวิธีคำนวณเรื่องอัตราว่างงานที่ว่านี้แบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนใครในโลก(Thailand again claimed the title of the “least miserable” economy, though the government’s unique way of tallying unemployment makes it less noteworthy than Switzerland. )

ฟังตอนแรกเหมือนจะดี แชมป์โลก2ปีซ้อนเชียวนะ แต่ตอนนี้ชักแปร่งๆอยู่





ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์

ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์ เงินเฟ้อของไทยต่ำจนน่ากังวล

ภาวะอัตราเงินเฟ้อของไทยที่อยู่ในระดับต่ำส่งสัญญาณน่ากังวลมากขึ้น เพราะหากดูในรูป 3 อัตราเงินเฟ้อของไทยอยู่ต่ำกว่ากลุ่มประเทศเกิดใหม่ในเอเซียอยู่มากและอยู่ต่ำกว่ามาเป็นระยะหนึ่งแล้ว อีกทั้งเงินเฟ้อของไทยก็ได้ปรับตัวลดลงมาอยู่ต่ำกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอีกด้วย โดยหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อไทยอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องมาจากอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงซบเซา ซึ่งหากยังไม่มีการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ ประเทศไทยอาจจะต้องเจอกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อต่ำในระยะยาวแบบญี่ปุ่นก็เป็นได้

ที่มา http://forbesthailand.com/investment-outlook-detail.php...


ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์ การว่างงานในประเทศไทย

ประเทศไทยมีอัตราการว่างงานต่ำมาก โดยอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ในปี 2557[1] แนวโน้มการว่างงานในประเทศไทยไม่เปลี่ยนไปมากวัฏจักรธุรกิจตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทั่วไป เพราะโครงสร้างสังคมของไทยทำให้ผู้ว่างงานหางานทำใหม่ได้โดยเร็ว ส่งผลให้คนไทยวัยทำงานกว่าครึ่งประเทศประกอบอาชีพที่ไม่มั่นคง (งานรับจ้างทั่วไปและการช่วยงานครอบครัวโดยไม่มีรายได้ตอบแทน)[1] คนวัยทำงานกว่าร้อยละ 60 ประกอบอาชีพอย่างไม่เป็นทางการ ทำให้ผู้ที่มีงานทำเข้าไม่ถึงการให้บริการประกันสังคมและไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่กฎหมายกำหนดไว้[1] อัตราการว่างงานที่ต่ำนี้ทำให้ตัวเลขดังกล่าวนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเศรษฐศาสตร์ของประเทศไม่ได้ เพราะปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่การจ้างงานต่ำระดับ

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่าอัตราการว่างงานในไทยอยู่ที่ร้อยละ 0.56 ในปี 2558[2] ซึ่งสวนกระแสโลกที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ต่ำลง วิกฤตเศรษฐกิจในยุโรป และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าอัตราการว่างงานในไทยที่ต่ำนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ อนึ่ง ประเทศไทยมีระบบประกันสังคมที่ไม่เข้มแข็งและน้อยคนจะสามารถเข้าถึงการประกันการว่างงาน ทำให้ผู้ทำงานไม่สามารถจะทิ้งระยะห่างหลังจากตกงานได้นาน ประเทศไทยยังเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำให้ผู้ที่ตกงานในเขตเมืองสามารถเลือกกลับไปทำไร่ทำนาได้โดยง่าย โดยผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมนี้มีมากถึงร้อยละ 40 ของแรงงาน[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ ประเทศไทยมีอัตราการเจริญพันธุ์ที่ต่ำมาก[ต้องการอ้างอิง] ทำให้มีคนรุ่นใหม่เข้ามาเริ่มทำให้ไม่มากในแต่ละปี แต่มีผู้เกษียณอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้มีแรงงานไม่เพียงพอและอัตราการว่างงานต่ำลงโดยธรรมดา

ในปี 2561 สำนักข่าวบลูมเบิร์กจัดให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีดัชนีความทุกข์ยาก (misery index) ต่ำสุดในโลกเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน โดยนำตัวเลขอัตราว่างงาน 1.3% ของไทยในปี 2560 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานไปพิจารณา[3]

ที่มา https://th.m.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8...