วันอังคาร, เมษายน 23, 2562

รายชื่อกลุ่มทุนที่ทุ่มเงินหนุนให้ระบอบเผด็จการ - ทุนการเมือง ‘พลังประชารัฐ’ ยังอู้ฟู่





การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จำกัดวงเงินค่าใช้จ่ายรวมของทั้งผู้สมัคร ส.ส. และพรรคการเมือง ไว้สูง สุดไม่เกิน 560 ล้านบาท โดยพรรคการเมืองต้องส่งผู้สมัคร 350 คน เฉลี่ยผู้สมัครส.ส. 1 คน ต้องใช้เงินในการเลือกตั้งไม่เกินคนละ 1.6 ล้านบาท

ส่งผลให้พรรคการเมืองต้องจัดระดมทุน ที่นิยมกันมักเป็นในรูปแบบการจัดโต๊ะจีน เช่น กรณีของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) จัดระดมทุน 200 โต๊ะ โต๊ะละ 3 ล้านบาท ได้ยอดบริจาคมากถึง 622 ล้านบาท

กลุ่มทุนบริจาค“พปชร.”

การเลือกตั้งครั้งล่าสุด พลังประชารัฐ กลายเป็นพรรคที่มีกลุ่มทุนสนับสนุนมากที่สุด อาทิ กลุ่มทุนที่ร่วมบริจาคโต๊ะจีน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 เป็นบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากหน่วยงานภาครัฐ อาทิ บริษัท เสรีสรรพกิจ จำกัด บริจาค 2 ล้านบาท, บริษัท แบรนด์ดิ้ง โซลูชั่น จำกัด, บริษัท อินไซท์ คอนซัลติ้ง รีเสิร์ช จำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) บีเคเค เทรดดิ้ง 2018 ประกอบธุรกิจขายส่งนํ้ามันเชื้อเพลิงบริจาค 3 ล้านบาท, บริษัท สกายไฮ จำกัด เป็นบริษัทจำหน่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสื่อสารและคมนาคม บริจาค 1 ล้านบาท, บริษัท บี.วาย.โฮลดิ้งฯ หรือชื่อเดิม บริษัท มาลาคี จำกัด, บริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริจาค 6 ล้านบาท, บริษัท อาร์ เอส เอส 2016ฯ บริจาค 3 ล้านบาท, เครือสกาย ไอซีที (SKY) บริจาค 6 ล้านบาท, บริษัท เก้าเอส เอ็นจิเนียร์ริ่ง จำกัด บริจาค 2 ล้านบาท

ขณะที่บริษัทเครือคิงเพาเวอร์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับสัมปทานการซื้อขายสินค้าปลอดภาษีในท่าอากาศยานต่างๆ บริจาค 24 ล้านบาท

เครือล็อกซเล่ย์ บริจาค 6 ล้านบาท ไม่รวมบริษัทย่อยของล็อกซเล่ย์ คือบริษัทรักษาความปลอดภัย เอเอสเอ็ม แมเนจเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นคู่สัญญากับ ทอท.บริจาคให้พลังประชารัฐอีก 3 ล้านบาท, บริษัท ที.ที.เอส. คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริจาค 3 ล้านบาท, บริษัท เอ็ม.ไอ.ซี.โซลูชั่น จำกัด บริจาค 3 ล้านบาท

รวมทั้งเครือทีพีไอ ธุรกิจด้านพลังงาน ของตระกูล “เลี่ยวไพรัตน์” ในงานระดมทุนของพลังประชารัฐ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ได้มาร่วมงานพร้อมบริจาค 6 ล้านบาท



“มิตรผล”หนุนพปชร.9ล้าน

หนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่สนับ สนุนโต๊ะจีนให้พลังประชารัฐก็คือ เครือมิตรผล บริษัทอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตนํ้าตาลภายในประเทศ ที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐเพื่อปลูกพืชผลิตนํ้าตาลหลายพื้นที่ บริจาคเงินผ่านการระดมทุน 9 ล้านบาท ซึ่ง นายอิสระ ว่องกุศลกิจ กรรมการ บริหารในเครือมิตรผล ก็เคยมีตำแหน่งเป็นสมาชิกสภานิติ บัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในยุคของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

โดยบริษัท นํ้าตาลมิตรผลฯ ที่มี “อิสระ ว่องกุศลกิจ” เป็นประธานกรรมการ เป็นกลุ่มเอกชนที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอ้อยและนํ้าตาลรายใหญ่ของประเทศ และเคยเป็น “กลุ่มทุนการเมือง” รายใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์

ทุนยักษ์ใหญ่หนุนพปชร.

นอกจากกลุ่มทุนที่บริจาคเงินสนับสนุนโต๊ะจีนให้กับพรรคพลังประชารัฐแล้ว เชื่อกันว่ากลุ่มภาคเอกชน ที่เข้ามาช่วยงานรัฐบาลในโครงการสานพลังประชารัฐ อาทิ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ, บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป, บมจ. ปตท., บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด, บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์, บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพี), บมจ.ซีพี ออลล์, บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ต่างก็ร่วมสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐด้วย

นอกจากนั้นเป็นกลุ่มทุนที่มาจากคอนเนกชันของแกนนำพรรค อาทิ กลุ่มเมโทรแมชีนเนอรี่ ของ “ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ” อดีต ส.ส.กทม. ปัจจุบันเป็นรองหัว หน้าพรรค ซึ่งเป็นแม่งานใหญ่ในการจัดโต๊ะจีนระดมทุนของพรรคพลังประชารัฐ

กลุ่ม “บางแสนโฮสเทลกรุ๊ป” ของตระกูล “คุณปลื้ม” ผ่านทาง 2 พี่น้อง สนธยา-อิทธิพล คุณปลื้ม บุตรชายนายสมชาย คุณปลื้ม หรือ “กำนันเป๊าะ” ผู้กว้างขวางภาคตะวันออก

ว่ากันว่า... แม้จะผ่านการเลือกตั้งไปแล้ว แต่ “พรรคพลังประชารัฐ” ยังมีทุนสนับสนุนอู้ฟู่เหมือนเดิม

อ่านบทความเต็มได้ที่
http://www.thansettakij.com/content/399575