วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2562

สูตรคำนวณที่นั่ง ส.ส. เปลี่ยนผลการเลือกตั้งอย่างไรบ้าง?





เลือกเปรียบเทียบ 2 สูตร ระหว่าง สูตรของ กรธ. (สูตร 27 พรรค-ช่องสีเหลือง) และ สูตรที่ทั้งบรรดานักวิชาการ อดีต กกต. หลายคน ออกมายืนยันว่าเป็นสูตรที่ถูกต้องกว่า (สูตร 16 พรรค-ช่องสีเขียวมิ้นท์) จะได้ข้อเท็จจริงดังนี้
.
(1) พรรคการเมืองที่อยู่ในสภาจะแตกต่างกัน โดย สูตรของ กรธ. จะทำให้มี 27 พรรคในสภา ในขณะที่สูตรที่ตีความโดยยึดรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (4) แะล พ.ร.ป.การเลือกตั้งฯ มาตรา 128 (5) มาบังคับใช้โดยเคร่งครัดจะพบว่า มีพรรคการเมืองในสภาแค่ 16 พรรค
.
(2) หากเรานำสูตรของ กรธ. (สูตร 27 พรรค-ช่องสีเหลือง) มาคำนวณที่นั่งให้กับแต่ละพรรคที่ถูกแบ่งไปตามจุดยืนทางการเมืองที่มีต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งพอจำแนกได้อย่างน้อย 3 อย่าง ได้แก่ ฝ่ายที่สนับสนุน คสช., ฝ่ายที่ไม่สนับสนุน คสช. และ ฝ่ายที่ยังมีจุดยืนไม่ชัดเจน จะพบว่า
.
- ฝ่ายที่สนับสนุน คสช. มีจำนวน ส.ส. รวมกันได้ 125 ที่นั่ง
- ฝ่ายที่ไม่สนับสนุน คสช. มีจำนวน ส.ส. รวมกันได้ 247 ที่นั่ง
- ฝ่ายที่ยังมีจุดยืนไม่ชัดเจน มีจำนวน ส.ส. รวมกันได้ 127 ที่นั่ง
.
(3) ในขณะเดียวกัน หากเรานำอีกสูตรมาใช้ (สูตร 16 พรรค-ช่องสีเขียวมิ้นท์) คำนวณที่นั่งให้กับแต่ละพรรคที่ถูกแบ่งไปตามจุดยืนทางการเมือง จะพบว่า
.
- ฝ่ายที่สนับสนุน คสช. มีจำนวน ส.ส. รวมกันได้ 123 ที่นั่ง
- ฝ่ายที่ไม่สนับสนุน คสช. มีจำนวน ส.ส. รวมกันได้ 253 ที่นั่ง
- ฝ่ายที่ยังมีจุดยืนไม่ชัดเจน มีจำนวน ส.ส. รวมกันได้ 124 ที่นั่ง
.
(4) ความแตกต่างของจำนวนที่นั่ง ส.ส. ระหว่างสองสูตรคือ สูตร กรธ. (ช่องสีเหลือง) ทำให้ พรรคที่สนับสนุน คสช. เพิ่มขึ้น 2 ที่นั่ง และทำให้พรรคที่จุดยืนไม่ชัดเจน เพิ่มขึ้น 3 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคที่ไม่สนับสนุนคสช. มีที่นั่งลดลง 6 ที่นั่ง เมื่อเปรียบเทียบกับอีกสูตรหนึ่ง
.
(5) ผลของสูตรคำนวณที่นั่งตามแบบ กรธ. จะทำให้พรรคที่ไม่สนับสนุน คสช. มีคะแนนเสียงไม่เพียงพอต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีในกรณีที่พรรคที่สนับสนุน คสช. เป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล รวมถึงการเห็นชอบหรือยกเลิกกฎหมายที่สำคัญ

ที่มา Ilaw