วิจารณ์จักรพรรดิไม่ผิดกฎหมายญี่ปุ่น
รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น ซึ่งสหรัฐอเมริกาช่วยร่างให้หลังแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เปลี่ยนสถานะของสมเด็จพระจักรพรรดิจาก "พระเจ้า" ในประเพณีความเชื่อแบบเดิมให้กลายเป็น "กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ" การวิจารณ์-ตำหนิ-ประท้วง-ต่อต้าน สมเด็จพระจักรพรรดิไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายในประเทศญี่ปุ่น การเคลื่อนไหวทำนองนี้ ไม่เคยห่างหายไปจากญี่ปุ่น นับแต่ที่ประเทศประกาศยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ 74 ปีก่อน โดยเฉพาะในจังหวัดโอกินาวา ทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งครั้งหนึ่งคือ "อาณาจักรริวกิว" แต่ต่อมาญี่ปุ่นเข้ายึดครองสมัยเมจิ เปลี่ยนชื่อ แล้วผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศในช่วงที่ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ของไทย
.
"รัฐบาลพยายามสร้างภาพว่าพระจักรพรรดิเป็นคนดี รักสันติ" เขาย้อนรำลึกถึงที่มาของการก่อตั้งเครือข่ายปัจจุบัน และเสริมว่า หลังจากที่จักรพรรดิฮิโรฮิโตะเริ่มแก่ตัวลง รัฐบาลสมัยนั้นพยายามแก้ไข ประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่ฮิโรฮิโตะทำลงไป เพื่อนำไปอ้างสร้างความชอบธรรมทางการเมือง ซึ่งเขาไม่คิดว่าจักรพรรดิเป็นคนไม่ดี แต่เพราะถูกทหารหลอก
"จักรพรรดิจริง ๆ แล้ว รักสันติภาพ แต่ถูกพวกทหารหลอกใช้... องค์กรของพวกเรา จึงพยายามสร้างความตระหนักรู้ให้นักศึกษา แก้ไขประวัติศาสตร์ที่บิดเบือนนี้"
.
ในสายตาของนักวิชาการแห่งคณะนิติศาสตร์ ม.โฮเซ ยาซุฮิโตะ อาซามิ มองปรากฏการณ์ของเครือข่ายนี้อีกด้าน โดยกล่าวกับบีบีซีไทยว่า "ดูเหมือนว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้อ่อนตัวลงจากในอดีต เพราะคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่ได้รู้สึกไม่ดีต่อจักรพรรดิเฮเซ ซึ่งต่างจากในอดีต ที่มีคนวิจารณ์พระจักรพรรดิโชวะต่อบทบาทของพระองค์ในช่วงสงคราม"
อ่านบทความเต็มได้ที่ลิงค์ข้างล่าง
https://www.bbc.com/thai/international-48079782
.