พี่ทหารจะเอาอย่างวังบ้างหรือไร ราชสำนัก
ร.๑๐ มี ‘คุกทวีวัฒนา’ นี่มณฑลทหารบกจะเปิดคุกใหม่ ‘แขวงทุ่งสองห้อง’
ภายในค่าย พัน.ร.มทบ.๑๑ เขตหลักสี่ “เพื่อควบคุมผู้ต้องขังคดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ”
นัยว่าเป็นคุกใหม่เนื้อที่ ๑ ไร่ ๑๒.๖๔
ตารางวา ที่ย้ายมาจาก ‘เรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี’
เขตดุสิต ซึ่งเคยใช้คุมขังผู้ต้องหาคดีหมิ่นเบื้องสูง ความผิด ม.๑๑๒
และคดีความมั่นคง หากแต่ที่ใหม่ให้รวมถึง “คดีอื่นที่เกี่ยวเนื่องโดยให้สังกัดเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร”
ด้วย
โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า “ภายในจะเป็นห้องคุมขัง
คล้ายกับเรือนจำตามหลักสากล มีห้องน้ำ และที่นอน เป็นห้องขังเดียวมีลูกกรงทาสีม่วง”
น่าสนใจตรงว่ามีที่ให้นอนด้วยน่ะ คูลลล
ต่างจากนานาประเทศในยุโรปและอเมริกา
ซึ่งตามเมืองใหญ่ๆ ทุกวันนี้เร่งสร้างอาคารที่อยู่อาศัยสงเคราะห์สำหรับคนจรจัด
เพื่อแก้ปัญหาความไม่เรียบร้อยรุงรังของชุมชนเต๊นข้างทาง แต่สยามเมืองยิ้มแดนกะลานอกจากยัดข้อหา
‘ปลุกปั่น’
แก่นักการเมืองคู่แข่ง แล้วยังสร้างคุกไว้ปิดปากด้วย
แต่ก็มีข้อควรสังเกตุว่าคุกทวีวัฒนาเท่าที่เคยเห็นเป็นข่าวนั้น
ใช้กับข้าราชบริพารส่วนใน หรือใกล้ชิดเบื้องยุคลบาทกันมาก่อน
แต่คุกทุ่งสองห้องนี่จะใช้กับประชาชนทั่วไปที่ไม่เอา
คสช.และการปกครองของคณะรัฐประหารเป็นหลัก มันมีความแตกต่างกันอยู่ตรงนั้น
ส่วนการก่อสร้างทางอุตสาหกรรมสาธารณูปโภคยกให้พวก
‘เจ้าสัว’
เอาไปแบ่งกันกิน นี่อนุสนธิจากโพสต์ของ Suphakit Nuntavorakarn ที่เอ่ยถึง
“ผลประโยชน์มหาศาลนี้ใช่มั๊ย เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ คสช. พยายามอยู่ต่อให้ได้”
เนื่องแต่เมกกะโปรเจ็คต่างๆ ที่
คสช.เริ่มไว้ยังมีลูกติดพัน ส่วนหนึ่งจะค้างคาไปถึงรัฐบาลหน้ามูลค่าไม่น้อยกว่า
๑.๘ ล้านล้านบาท “คาดว่าผู้รับเหมาหน้าเดิมจะได้รับชัยชนะจากการประมูลงานที่จะทยอยออกมาภายในปี
๒๕๖๒-๒๕๖๓
มากกว่า ๒๐ โครงการ”
หนังสือพิมพ์ในเครือนิวส์เน็ตเวิร์ค
สื่อค่าย คสช.ทั้ง ‘ฐานเศรษฐกิจ’ และ ‘คมชัดลึก’ รายงานไว้ตั้งแต่ต้นเดือนเรื่องโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง
ว่ายังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ในรัฐบาล คสช. ทั้งงานประมูลและประกวดราคาภาครัฐด้านคมนาคม
รวมมูลค่า ๑,๓๙๔,๖๕๖ ล้านบาท
โครงการเหล่านั้นได้แก่
รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมอเตอร์เวย์
เส้นทางนครปฐม-ชะอำ “ส่วนโครงการรถไฟทางคู่เฟสสอง อีกราว ๗-๘ เส้นทาง
จะบรรจุในแผนปฏิบัติการปี ๒๕๖๓ รอรัฐบาลชุดใหม่นำไปพิจารณา”
ส่วนรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอันเกี่ยวเนื่องกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก
–อีอีซี ทั้งที่ คสช.เร่งปิดจ๊อบเหมาไปให้กลุ่มซีพีแล้วตั้งแต่เมื่อสองสามเดือนก่อน
กำหนดเริ่มลงมือเมษายนนี้ มีอันต้องเลื่อนออกไปเป็นเดือนพฤษภาคม
“แหล่งข่าวระดับสูงของ
รฟท. รายหนึ่ง” อ้างต่อฐานเศรษฐกิจว่าสาเหตุเกิดจาก “ยังมีข้อเจรจาที่ค้างคา
และเดือน เม.ย. นี้ มีวันหยุดเทศกาลหลายวัน จึงอาจทำให้รวบรวมข้อมูลล่าช้า”
เป็นที่น่าสงสัยว่าในเดือนพฤษภาคมจะมีพระราชพิธีราชาภิเษก จะกล้าพอไม่เลื่อนต่ออีกหรือ
สำหรับการประมูลร้านค้าปลอดภาษีอากร
‘ดิวตี้ฟรี’
ที่หัวหน้า คสช.สั่งเบรคไว้ก่อนนั้น
บัดนี้การท่าอากาศยานจัดการเปิดประมูลต่อใหม่ ทั้งที่ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ
ต่อกรณีถูกทักท้วงว่าการดำเนินงานข้ามขั้นตอนของ พรบ.ร่วมทุน
ด้านรายงานจากค่ายสื่ออีกฝั่ง
กล่าวถึงโครงการ ‘ไฮสปีดอีอีซี’ ว่าถึงแม้กลุ่มซีพีจะตกร่องปล่องชิ้นไปเรียบร้อยแล้ว
ก็ยังมี ‘กั๊ก’ อีกระลอก
หลังจากที่เสนอเงื่อนไข ‘ยาก’ ๑๒
ข้อแล้วทางคณะกรรมการคัดเลือกไม่รับพิจารณา
และเมื่อวันที่
๔ เมษายน “สรุปว่ากลุ่ม ซี.พี.ยอมรับเงื่อนไขอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง
ตามที่คณะกรรมการคัดเลือกแจ้งไป โดยยอมถอน ๑๒ ข้อเสนอที่อยู่นอกเหนืออำนาจคณะกรรมการ
‘ทีโออาร์’ และมติ ครม.”
ทำให้คาดว่าจะเริ่มเซ็นสัญญากันได้ในเดือน พ.ค.นี้
แต่กระนั้นวันก่อนปรากฏว่า
“ก็ยังถอนไม่หมดทั้งพวง ยังมี ๓ ข้อเสนอที่
ซี.พี.พยายามให้คณะกรรมการคัดเลือกบันทึกเสนอบอร์ดอีอีซีและ ครม.” อยู่อีก
ได้แก่ให้รัฐบาลจ่ายค่าร่วมทุน ๑๑๗,๒๒๗ ล้านบาทตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่ ๖
อีกข้อ
ซีพีของผ่อนจ่ายค่าเช่าใช้แอร์พอร์ตลิ้งค์เป็นเวลา ๑๐ ปี
โดยเริ่มจ่ายตั้งแต่ปีที่สองเป็นต้นไป แม้จะให้ดอกเบี้ยเพิ่มเป็น ๓ เปอร์เซ็นต์
ส่วนข้อสาม ขอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนฉุกเฉินเพื่อความมั่นคงขึ้นมาหนุนโครงการ
โดยกองทุนนี้ให้ดำเนินงานร่วมกันระหว่างธนาคารไทยและธนาคารไชน่าดีเวลลอปเมนต์ของจีน
(CDB) กับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น
(เจบิก) ทั้งสองรายเป็นผู้ร่วมดำเนินการในกลุ่มรับสัมปทานของซีพี
ข่าวว่าเพราะอาการกึกกักของกลุ่มซีพีนี้ทำให้กลุ่ม
‘บีเอสอาร์’ (รวมถึงผู้ประกอบการ
‘บีทีเอส’)
ที่แพ้ประมูลไปเกิดความสงสัยเลยต้องจดหมายถามไถ่ ว่าตั้งแต่ยื่นประมูลเมื่อ ๒๑
ธันวาแล้วยังไม่เห็นติดต่อกลับมา อย่างไรเสียถ้าเจรจากับซีพีไม่สำเร็จ ขออนุญาตกลับมาเสียบ