ไม่บ่อยครั้งที่จะเห็น สุเทพ เทือกสุบรรณ สวมเสื้อแดงในช่วงเทศกาลตรุษจีน เดินรณรงค์ให้ประชาชนย่านเยาวราชงดไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2 ก.พ. 2557
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
31 ต.ค. 2556 เสียงนกหวีดแรกที่ดังขึ้นที่สถานีรถไฟสามเสน เพื่อต่อต้านการผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม "ฉบับสุดซอย" ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการชุมนุมบนท้องถนนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ภายใต้การบริหารจัดการของ 9 อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งต่อมาเรียกตัวเองว่า คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ทุกฉาก-ทุกช็อตที่เกิดขึ้นตลอด 204 วัน หาได้เป็นไปแบบไร้ความตั้งใจ หากแต่ผ่านการตระเตรียมมาเป็นอย่างดี เพียงแต่รอจังหวะเวลาที่เหมาะสม
"ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นเหมือน 'ฟางเส้นสุดท้าย' ที่ทำให้ทุกคนต้องกระโดดเข้ามาร่วมกับเรา" นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีตกรรมการบริหาร ปชป. และแกนนำ กปปส. กล่าวกับบีบีซีไทย
นั่นคือ 1 ใน 4 ปัจจัยที่ทำให้การชุมนุมของ กปปส.บรรลุเป้าหมายตามทัศนะของเขา
สุเทพ: "สิ่งที่ดีที่สุดภายใต้ความเป็นไปได้คือ พล.อ.ประยุทธ์"
วันเกิดครบรอบ 68 ปีกับ 4 ตำนานการเมืองของ "กำนันสุเทพ"
GETTY IMAGES
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นำ ส.ส.ปชป. ร่วมเดินขบวนไปยังรัฐสภา 7 ส.ค. 2556 เพื่อต่อต้านการผ่านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม
จากความรู้สึกอึดอัดสะสมต่อ "ระบอบทักษิณ" ของผู้คนในสังคม แกนนำ ปชป.ค่อยๆ ปูพื้นความรู้-เร้าอารมณ์มวลชนต่อเนื่องกว่า 1 ปี ผ่านเวที "ผ่าความจริง" ทั่วประเทศ 73 เวที คือ ปัจจัยที่ 2 ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบเป็นกลุ่มก้อน ผ่านบททดสอบสำคัญด้วยการทดลองชุมนุม "ข้ามคืน แต่ไม่ยืดเยื้อ" ที่สี่แยกอุรุพงษ์ (5-7 ส.ค. 2556)
"คนที่มาอยู่ข้ามคืนได้ ต้องมีใจมาร่วมชุมนุม และเราออกไปเดินด้วย (แกนนำ ปชป. นำเคลื่อนขบวนไปยังอาคารรัฐสภา เพื่อขอให้หยุดพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรม) ซึ่งทำให้ได้ประเมินกำลังทั้ง 2 ฝ่าย ได้เห็นว่าฝ่ายอำนาจรัฐจะจัดการอย่างไร ส่วนฝ่ายมวลชนก็เรียนรู้ว่าจะแสดงออกอย่างไรได้บ้าง" นายสาทิตย์ระบุ
ส่วนอีก 2 ปัจจัยคือ ปฏิกิริยาตอบโต้จากฝ่ายรัฐในลักษณะไม่ยี่หระ-มุ่งเอาให้ได้ และการยึดหลัก "สันติ อหิงสา" ในช่วงชุมนุม เพราะรู้ดีว่าความรุนแรงเป็นสิ่งที่ชนชั้นกลางหวาดกลัวที่สุด
หนึ่ง: "มวลชน 5.8 ล้านคน" ร่วม "ปิดกรุงเทพฯ"
ในคราว ปชป.ผุดเวที "ผ่าความจริง" นายสาทิตย์รับหน้าที่ "ผู้จัดการเวที" คอยกำหนดสถานที่-กำกับเนื้อหา ต่อมาเมื่อลาออกจากการเป็น ส.ส. มาตั้งเวทีขับไล่รัฐบาลบนท้องถนน เขายังสวมบทเดิม
แกนนำ กปปส.ชี้ว่าพวกเขาได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้การเมืองภาคประชาชน ด้วย "ยอดมวลชนเกินล้าน" ในวันที่ 24 พ.ย. 2556 ซึ่งมีแคมเปญ "วันมวลมหาประชาชน คนไทยใจเกินล้าน" วันที่ 9 ธ.ค. 2556 ซึ่งมีมวลชน 9 ทัพเคลื่อนพลบุกทำเนียบรัฐบาล ก่อนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะประกาศยุบสภา และวันที่ 13 ม.ค. 2557 ซึ่งมีปฏิบัติการ "ชัตดาวน์กรุงเทพฯ"
"ฝ่ายวิศวกรของเราคำนวณจากพื้นที่ตั้งเวที 5-6 จุดในวันชัตดาวน์ ประเมินว่ามีคนมาร่วมชุมนุมในกรุงเทพฯ ราว 5.8 ล้านคน ถือเป็นมวลมหาประชาชนจริงๆ" นายสาทิตย์อ้างถึงตัวเลขที่ไม่มีฝ่ายอื่นๆออกมายืนยัน
เมื่อขนาดพื้นที่ชุมนุมขยายวงเป็น 8 เวทีรอบกรุง งบบริหารจัดการช่วง "ปิดกรุงเทพฯ" จึงพุ่งไปเป็นวันละ 10 ล้านบาท ตามคำเปิดเผยของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. ต่อเดอะเนชั่น (17 ม.ค. 2557) ในจำนวนนี้เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่มวันละ 1-2 ล้านบาท เพื่อให้เป็นไปตามหลักการ "อาหารดี ดนตรีไพเราะ"
GETTY IMAGES
พื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถูกเนรมิตให้เป็น 1 ในเวทีชุมนุมหลัก และกลายเป็นภาพจำของการชุมนุม กปปส. หลังจากนั้น
"เราไปเปิดดูยุคที่คนอื่นใช้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นสถานที่ชุมนุม มันไม่สวยเลย ณัฐพล (ทีปสุวรรณ แกนนำ กปปส.) เป็นคนบอกว่าใช้อนุสาวรีย์เป็นฉากหลังสิ เราก็เลยเซ็ทอัพให้เหมือนเวทีคอนเสิร์ต แสงสีเสียงต้องดูดี เพราะมีถ่ายทอดสดทุกวัน" นายสาทิตย์กล่าว
สอง: เปิดแนวรบด้วยความบันเทิง
ท่ามกลางภาวะรบพุ่งทางการเมืองซึ่งมองไม่เห็นฉากจบ กิจกรรมที่ขาดไม่ได้กลับเป็นความบันเทิง สารพัดมหกรรมเกิดขึ้นในระหว่างการชุมนุม ซึ่งนายสาทิตย์ชี้ว่าเป็นการเปิดแนวรบด้านศิลปวัฒนธรรม ทำให้ผู้ชุมนุมมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจผ่านเสียงดนตรีบรรเลงของวงออเคสต้า เสียงขับร้องเพลงสากล ไทยสากล พื้นบ้าน เพื่อชีวิต ฯลฯ
AFP/GETTY IMAGES
"ถ้าเวทีคุณมีแต่เรื่องเครียดๆ คนจะอัดอั้น เมื่อไรจะจบๆ มีสิทธินำไปสู่ความรุนแรง เราจึงต้องผ่อนคลายด้วยเสียงเพลง เพลงที่ใช้เราเลือกแล้ว ผมเป็นคนหนึ่งที่คาดการณ์ว่าเรามีโอกาสเดินขบวนบนท้องถนน ดังนั้นต้องมีเพลงประจำ จึงเลือกเพลง 'สู้ไม่ถอย' ซึ่งในเวที 'ผ่าความจริง' ระยะหลังๆ เราเปิดเพลงนี้เป็นคาราโอเกะ มีเนื้อเพลงให้คนฝึกร้อง" ผู้จัดการเวที กปปส.กล่าว
สาม: เฉลยที่มา "ม็อบธงชาติ-มวลชนนกหวีด"
นอกจากเพลงประจำ ยังมีอุปกรณ์ประกอบการชุมนุมที่ได้ติดไม้ติดมือจากเวที "ผ่าความจริง" ก่อนกลายเป็น สัญลักษณ์ประจำ ของ กปปส.
ไม่ว่าจะเป็นธงชาติ ซึ่งมาจากการมีผู้ตั้งประเด็นว่าสีเหลืองและสีแดงถูกใช้เป็นสัญลักษณ์การชุมนุมของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า พธม. และ นปช.ไปแล้ว ทันใดนั้นเสียงของ อดีต ส.ส.กทม. ก็ดังขึ้น "ใช้ธงชาติสิ เป็นสัญลักษณ์ที่คนหาได้ง่าย"
ส่วน "นกหวีด" เป็นแนวคิดของนายสุเทพเอง ทว่าคนที่ทำให้เป็นจริงคือนายเถกิง สมทรัพย์ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์บลูสกาย ที่จัดทำ "นกหวีดสายล่อฟ้า" จนฮิตติดตลาดไปทั่ว
AFP/GETTY IMAGES
"กำนันสุเทพบอกว่าที่นึกถึงนกหวีด เพราะสมัยก่อน เวลาครูจะเรียกรวมเด็ก จะเป่านกหวีด ก็เป็นสัญลักษณ์ที่หาง่าย ยังไม่มีใครใช้ แต่จุดเด่นคือใช้ทำได้หลายอย่าง แสดงออกว่าชอบใจ-ไม่ชอบใจ ใช้ได้หมด" นายสาทิตย์กล่าว
ส่วนคำอธิบายว่าการเป่านกหวีดขับไล่ "ระบอบทักษิณ" ถอดแนวคิดจาก "whistleblower" หรือผู้เป่านกหวีด อย่างนายราล์ฟ เนเดอร์ นักกฎหมาย นักเขียน และนักต่อสู้เพื่อสังคมชาวอเมริกัน ที่เป่านกหวีดในสภาเพื่อเตือนรัฐบาลที่เริ่มมีพฤติกรรมทุจริต เขาชี้ว่าเป็นคำอธิบายที่มาภายหลัง เพราะเลขาธิการ กปปส. ไม่เคยเปิดตำราศึกษาเรื่องนี้มาก่อน
สี่: รีแบรนด์ครั้งใหญ่จาก "เทพเทือก" สู่ "ลุงกำนัน"
ตลอด 35 ปีของการเป็นนักการเมืองอาชีพภายใต้ต้นสังกัดเดียว นายสุเทพกล่าวว่าไม่เคยคิดว่า "ต้องเกษียณการเมืองบนท้องถนน" ทว่านี่อาจเป็นความคุ้มค่า เมื่อสามารถล้างคราบไคลจากฉายาบาดใจ "เทพเทือก" ซึ่งได้จากปัญหาทุจริตแจกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 สมัยเป็น รมช.เกษตรและสหกรณ์ แล้วเปลี่ยนเป็น "ลุงกำนัน" ผู้เป็น "ขวัญใจมวลมหาประชาชน"
"กำนันสุเทพบอกว่าที่นึกถึงนกหวีด เพราะสมัยก่อน เวลาครูจะเรียกรวมเด็ก จะเป่านกหวีด ก็เป็นสัญลักษณ์ที่หาง่าย ยังไม่มีใครใช้ แต่จุดเด่นคือใช้ทำได้หลายอย่าง แสดงออกว่าชอบใจ-ไม่ชอบใจ ใช้ได้หมด" นายสาทิตย์กล่าว
ส่วนคำอธิบายว่าการเป่านกหวีดขับไล่ "ระบอบทักษิณ" ถอดแนวคิดจาก "whistleblower" หรือผู้เป่านกหวีด อย่างนายราล์ฟ เนเดอร์ นักกฎหมาย นักเขียน และนักต่อสู้เพื่อสังคมชาวอเมริกัน ที่เป่านกหวีดในสภาเพื่อเตือนรัฐบาลที่เริ่มมีพฤติกรรมทุจริต เขาชี้ว่าเป็นคำอธิบายที่มาภายหลัง เพราะเลขาธิการ กปปส. ไม่เคยเปิดตำราศึกษาเรื่องนี้มาก่อน
สี่: รีแบรนด์ครั้งใหญ่จาก "เทพเทือก" สู่ "ลุงกำนัน"
ตลอด 35 ปีของการเป็นนักการเมืองอาชีพภายใต้ต้นสังกัดเดียว นายสุเทพกล่าวว่าไม่เคยคิดว่า "ต้องเกษียณการเมืองบนท้องถนน" ทว่านี่อาจเป็นความคุ้มค่า เมื่อสามารถล้างคราบไคลจากฉายาบาดใจ "เทพเทือก" ซึ่งได้จากปัญหาทุจริตแจกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 สมัยเป็น รมช.เกษตรและสหกรณ์ แล้วเปลี่ยนเป็น "ลุงกำนัน" ผู้เป็น "ขวัญใจมวลมหาประชาชน"
GETTY IMAGES
แนวร่วม กปปส.ให้การต้อนรับ "ลุงกำนัน" ระหว่างเดินขบวน 5 ม.ค. 2557 เพื่อระดมเงินบริจาคสนับสนุนการชุมนุมโค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ใครจะรู้ว่าผู้มอบภาพลักษณ์ใหม่ให้นายสุเทพ คือนายสาทิตย์-ผู้ที่มวลชนเรียกว่า "ผู้ใหญ่บ้าน" นั่นเอง
"วันหนึ่งผมนั่งคุยกับปอง (อัญชะลี ไพรีรัก) บนเวที ปองถามว่า 'เราควรเรียกท่านสุเทพว่าอะไรดี เรียกท่านรองฯ ไหม' ผมบอกว่าแต่ก่อนแกเป็นกำนัน เรียกว่ากำนันสิ ปองก็เลยไปเรียก แล้วมวลชนก็เรียกตาม" เขาเล่าความหลัง และยืนยันว่า ไม่เคยคิดถึงการล้างภาพพจน์ให้ผู้นำมวลชนรายนี้
"คำว่ากำนันให้ความรู้สึกอบอุ่น เป็นกันเอง เป็นผู้นำบ้านๆ เชื่อใจได้ เป็นผู้ใหญ่ที่คอยปกป้องเรา ไม่ได้คิดไกลว่าต้องไปล้างภาพ" นายสาทิตย์ระบุ
สัมพันธ์ลึก(ไม่)ลับ สุเทพ-ประยุทธ์
แม้สร้างปรากฏการณ์ใหญ่ทางการเมือง แต่สุดท้าย กปปส.ก็ไม่ต่างจาก พธม. ที่ได้กองทัพเป็น "ตัวช่วย" ให้ลาเวที-ยุติบทบาทแกนนำการชุมนุม
ใครจะรู้ว่าผู้มอบภาพลักษณ์ใหม่ให้นายสุเทพ คือนายสาทิตย์-ผู้ที่มวลชนเรียกว่า "ผู้ใหญ่บ้าน" นั่นเอง
"วันหนึ่งผมนั่งคุยกับปอง (อัญชะลี ไพรีรัก) บนเวที ปองถามว่า 'เราควรเรียกท่านสุเทพว่าอะไรดี เรียกท่านรองฯ ไหม' ผมบอกว่าแต่ก่อนแกเป็นกำนัน เรียกว่ากำนันสิ ปองก็เลยไปเรียก แล้วมวลชนก็เรียกตาม" เขาเล่าความหลัง และยืนยันว่า ไม่เคยคิดถึงการล้างภาพพจน์ให้ผู้นำมวลชนรายนี้
"คำว่ากำนันให้ความรู้สึกอบอุ่น เป็นกันเอง เป็นผู้นำบ้านๆ เชื่อใจได้ เป็นผู้ใหญ่ที่คอยปกป้องเรา ไม่ได้คิดไกลว่าต้องไปล้างภาพ" นายสาทิตย์ระบุ
สัมพันธ์ลึก(ไม่)ลับ สุเทพ-ประยุทธ์
แม้สร้างปรากฏการณ์ใหญ่ทางการเมือง แต่สุดท้าย กปปส.ก็ไม่ต่างจาก พธม. ที่ได้กองทัพเป็น "ตัวช่วย" ให้ลาเวที-ยุติบทบาทแกนนำการชุมนุม
AFP/GETTY IMAGES
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เรียกประชุม 7 ฝ่ายเพื่อหาทางออกจากวิกฤตการเมือง ที่สโมสรทหารบก ก่อนประกาศยึดอำนาจกลางวง
นายสาทิตย์แย้งทันควัน "เราไม่เคยเรียกทหารออกมายึดอำนาจเลย แต่เราประกาศตลอดว่าต้องการปฏิวัติมวลชน ด้วยการเรียก ผบ.เหล่าทัพ ข้าราชการทั้งหลายให้มายืนหลังมวลชน เพื่อตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลและนำไปสู่การเลือกตั้ง"
อย่างไรก็ตาม นายสุเทพเคยเปิดเผยในงานเลี้ยง "กินข้าวเย็นกับลุงกำนัน" ที่อาคารแปซิฟิก ซิตี้ คลับ ย่านสุขุมวิท เมื่อเดือน มิ.ย. 2557 ซึ่งบางกอกโพสต์นำมาเผยแพร่ (23 มิ.ย. 2557) ว่าได้สนทนากับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตผบ.ทบ. และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านแอปพลิเคชันไลน์
"คุณสุเทพ กับมวลมหาประชาชน กปปส. เหนื่อยมามากแล้ว จากนี้เป็นหน้าที่ของกองทัพบกในการเข้ามาดูแลแทนเอง" นายสุเทพกล่าวอ้างคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ก่อนประกาศกฎอัยการศึก วันที่ 20 พ.ค. 2557
AFP/GETTY IMAGES
สุเทพ เทือกสุบรรณ (ตรงกลาง) กับสาทิตย์ วงศ์หนองเตย (ขวา) ในช่วงโค้งสุดท้ายของการชุมนุม วันที่ 12 พ.ค. 2557
ก่อนที่อีก 2 วันต่อมา พล.อ.ประยุทธ์จะประกาศยึดอำนาจกลางสโมสรทหารบก ต่อหน้าตัวแทน 7 ฝ่ายที่มาร่วมประชุมเพื่อหาทางคลี่คลายวิกฤตการเมือง
สิ่งที่นายสุเทพบอกกับนายสาทิตย์คือ "พวกเราใจเย็นก่อน ดูสถานการณ์ก่อน ดูว่าเขาจะพาเราไปไหน" ก่อนที่ทั้งคู่จำต้องแยกรถ-แยกทางกัน เพราะถูกคุมตัวไปคนละค่ายทหาร
ความรู้สึกของเขา ณ เวลานั้นคือ "โล่งใจ" ที่มีทางออกแล้ว และสามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียได้ ก่อนถึงนัดหมายชุมนุมใหญ่ในวันที่ 26 พ.ค. 2557
"แม้ไม่ใช่ทางที่เราเลือก แต่มันเป็นทางที่จำเป็นต้องเกิด เพราะมันกำลังถึงจุดแตกหัก" นายสาทิตย์กล่าว
ก่อนที่อีก 2 วันต่อมา พล.อ.ประยุทธ์จะประกาศยึดอำนาจกลางสโมสรทหารบก ต่อหน้าตัวแทน 7 ฝ่ายที่มาร่วมประชุมเพื่อหาทางคลี่คลายวิกฤตการเมือง
สิ่งที่นายสุเทพบอกกับนายสาทิตย์คือ "พวกเราใจเย็นก่อน ดูสถานการณ์ก่อน ดูว่าเขาจะพาเราไปไหน" ก่อนที่ทั้งคู่จำต้องแยกรถ-แยกทางกัน เพราะถูกคุมตัวไปคนละค่ายทหาร
ความรู้สึกของเขา ณ เวลานั้นคือ "โล่งใจ" ที่มีทางออกแล้ว และสามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียได้ ก่อนถึงนัดหมายชุมนุมใหญ่ในวันที่ 26 พ.ค. 2557
"แม้ไม่ใช่ทางที่เราเลือก แต่มันเป็นทางที่จำเป็นต้องเกิด เพราะมันกำลังถึงจุดแตกหัก" นายสาทิตย์กล่าว
สามปีรัฐประหาร: "ความสุข" จะกลับคืนมาเมื่อไร?
สามปีรัฐประหาร: ทหารตบเท้านั่งรัฐวิสาหกิจบนสัญญาปฏิรูป
คดีอาญา-แพ่งติดตัว
3 ปี 5 เดือนหลังรัฐประหารครั้งล่าสุด แนวร่วม กปปส.บางส่วนอาจยังรู้สึกถึงการเป็น "เจ้าของอำนาจ" ร่วมกับรัฐบาล คสช. ขณะที่นักวิชาการหน้าเวที กปปส.บางคนประกาศตัวเป็นแกนนำตั้งพรรคการเมืองสืบทอดอำนาจให้หัวหน้า คสช.ได้กลับมาเป็นนายกฯ สมัยที่ 2
สำหรับนายสุเทพย้ำชัดเจนว่าไม่หวนคืนสู่สนามเลือกตั้งอีก ภารกิจหลักของเขาคือวิ่งพบทนายความ วิ่งขึ้น-ลงศาล ด้วยสารพัดคดีความที่ได้จากการปฏิบัติหน้าที่รองนายกฯ สั่ง "กระชับพื้นที่ชุมนุมของ นปช." ปี 2553 และเป็นผู้นำ กปปส. ปี 2556-2557 โดยมีโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต
ล่าสุดเพิ่งโดนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ฟ้องคดีแพ่ง ให้ชดใช้ค่าเสียหาย 3.1 พันล้านบาท จากการ "ปิดคูหาเลือกตั้ง" เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2557
ถือเป็นตัวเลขที่สูงกว่าเม็ดเงินที่นายสุเทพกับพวก ใช้ในปฏิบัติการโค่นล้มรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ถึง 2 เท่า
"เราหมดเงินไปเยอะมาก จนเดี๋ยวนี้ กำนันสุเทพก็ยังเป็นหนี้อยู่ 300-400 ล้านบาทนะ" นายสาทิตย์กล่าว
ooo
ปริศนา 4 ปี กปปส. เรายังไม่รู้เลยว่า ประธาน กปปส.ชื่ออะไร
..........
อ่านสกู๊ปล่าสุดของ บีบีซีไทย - BBC Thai ที่ตั้งใจออกมาในโอกาสครบรอบการจัดตั้ง “ม็อบนกหวีด” โดยสุเทพ เทือกสุบรรณ วันที่ 31 ตุลาคม 2556 ก่อนที่จะแปลงกายเป็น กปปส.ตอนปลายปี 2556
4 ปี “ม็อบนกหวีด” กับ 4 เรื่องหลังฉาก กปปส.
http://www.bbc.com/thai/thailand-41804763
อย่างที่ทราบกับดีกว่า คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) นั้นมี สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้นำ ในฐานะ เลขาธิการ กปปส.
https://th.wikipedia.org/…/%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B….
แต่คำถามที่แหลมคมมากครั้งหนึ่ง มาจากคุณป้าท่านหนึ่ง ที่ถามอ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในวงเสวนาที่ ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ว่า
อยากรู้นักว่า ประธาน กปปส. ชื่ออะไร เพราะที่ผ่านมาแกได้ยินแต่ชื่อ สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เท่านั้น
ปรากฏว่าในวงเสวนาไม่มีใครตอบได้
และผ่านมาถึง 4 ปี แล้วก็ยังไม่มีคำตอบว่า ประธาน กปปส.ชื่ออะไร
Thanapol Eawsakul
ooo
#บันทึกกรรม
สี่ปีที่แล้วของวันนี้(31 ตุลาคม 2013)
ช่องบลูสกรวย กระบอกเสียงพรรค100ศพใช้สัญญาณทีวีโกลิ้มถ่ายทอดสดการชุมนุมโค่นแม้วโค่นปูที่สถานีรถไฟสามเสน
เจ๊กเมือกนายกนกหวีดสลิ่ม ประกาศตัวเป็นผู้นำทั่วประเทศ ไม่เกี่ยวกับพรรค. แต่จะสู้ทั้งในและนอกสภา.
บอกตนเองเป็น'คนดี'ไม่ได้เผาบ้านเผาเมือง ไม่ได้สั่งฆ่าคน
เรียกร้องให้ชุมนุมทุกวัน ให้'พี่น้อง'ทั่วประเทศไปชุมนุมศาลากลางทุกจังหวัด
ไอ้เจ๊กดำนรก เลวระยำตัวนี้ยังบอกว่า
"มาที่นี่ อาหารดี ดนตรีไพเราะ"
"อย่าทำตัวเป็น'ไทยเฉย"
"สู้ สู้จนกว่าจะชนะ จนกว่ามึงหรือกูจะตายไปข้างเดียว"
(ภาพ:สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)
Sa-nguan Khumrungroj