วันอังคาร, กรกฎาคม 11, 2566

ยังสร้างไม่เสร็จ..


.....

iLaw
10h
·
ปริญญา เรียกร้อง ส.ว. หยุดอ้างประชามติไม่เป็นธรรม โหวตเลือกนายกฯ ตามเสียงข้างมากของประชาชน
.
ปริญญา เทวานฤมิตกุล ระบุว่า ในระบบการเมืองปกติพรรคที่รวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ถึง 312 เสียงเช่นนี้คงไม่มีปัญหาในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งจริงๆ แล้วอาจจะดูเข้มแข็งเกินไปจนฝ่ายค้านดูอ่อนแอเสียด้วยซ้ำ แต่สถานการณ์ปัจจุบันกลับไม่สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้เพราะมรดกจากคณะรัฐประหารอย่าง ส.ว. ยังมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีอยู่ ซึ่ง ส.ว. มักอ้างว่าพวกเขาก็มาจากประชาชนเช่นเดียวกับ ส.ส. ผ่านการลงประชามติคำถามพ่วงในปี 2559
.
จุดนี้ถูกปริญญาตั้งคำถามว่า คำถามพ่วงที่ถูกถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี” นั้นไม่มีความตรงไปตรงมา เนื่องจากจงใจออกแบบคำถามให้ประชาชนสับสน ขณะเดียวกัน หากประชามติครั้งนั้นไม่ผ่านก็ไม่มีทางให้ถอยกลับไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับเดิม เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ถูกคณะรัฐประหารฉีกทิ้งไปเรียบร้อยแล้ว
.
ขณะเดียวกัน ส.ว. ก็ถูกรัฐธรรมนูญ มาตรา 114 กำหนดให้ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. เป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย ซึ่งแม้ว่า ส.ว. จะไม่ใช่ผู้แทนของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริงเพราะไม่ได้มาจากประชาชน แต่ยังสามารถฟังเสียงของประชาชนได้เช่นเดียวกันหากยอมทำตามผลการเลือกตั้ง ด้วยการลงคะแนนเสียงให้แก่พรรคการเมืองที่รวบรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
.
ตามระบบการเมืองที่เกิดขึ้น ปริญญามองว่า ส.ว. อาจจะช่วยเลือกนายกรัฐมนตรีได้หาก ส.ส. ไม่สามารถรวมเสียงกันได้อย่างชัดเจน แต่ในกรณีที่ ส.ส. รวมเสียงกันได้เข้มแข็งเช่นปัจจุบันนี้ ปริญญาคิดว่า ส.ว. จะต้องอ้างการขาดคุณสมบัติของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เข้ามาเกี่ยวข้องแน่นอน ซึ่งปริญญาระบุว่าเรื่องดังกล่าวต้องพูดคุยกันอยู่บนข้อเท็จจริง เนื่องจากคดียังไม่เป็นที่สิ้นสุด และการแถลงข่าวของ กกต. ว่า พิธาอาจมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 (กฎหมายเลือกตั้ง) มาตรา 151 นั้น ก็ไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้เข้ามาชี้แจงข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560 (พ.ร.ป.กกต.) มาตรา 43 ซึ่งระบุให้ผู้ถูกกล่าวหาต้องได้รับทราบข้อกล่าวหา ข้อเท็จจริง และสามารถเข้ามาแสดงพยานหลักฐานภายในระยะเวลาที่กำหนดตามที่ควรจะเป็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรทำให้เสร็จสิ้นก่อนวันเลือกนายกรัฐมนตรี
.
การที่ กกต. ไม่ดำเนินการเรื่องนี้ให้ถูกต้อง ปริญญามองว่าการแถลงของ กกต. เช่นนี้ทำให้พิธามีมลทินโดยที่ไม่ได้มีโอกาสได้ชี้แจงข้อเท็จจริงให้เสร็จสิ้นตามกฎหมาย เสมือนเป็นการเปิดเป็นโอกาสให้ ส.ว. สามารถนำมาใช้กล่าวอ้างในการไม่ลงคะแนนเสียงให้ในวันเลือกนายกรัฐมนตรี
.
ขณะเดียวกันการได้มาซึ่งคะแนนเสียง 65 เสียงจาก ส.ว. เพื่อเลือกแคนดิเดตจากพรรคเสียงข้างมากเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นไม่ใช่เรื่องยาก หากไม่สามารถทำได้ปริญญามองว่าจะทำให้เกิดข้อครหาเรื่อง “ใบสั่ง ส.ว.” ที่จะไม่เป็นผลดี ดังนั้นพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งมีฐานะเป็นประธานกรรมการสรรหา ส.ว. จึงควรออกมาเขียนจดหมายเปิดผนึกถึง ส.ว. ให้ “ฟรีโหวต” นายกรัฐมนตรี สร้างความชอบธรรมและลบล้างข้อครหาต่อตัวเองเสีย วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ดีกับทุกฝ่ายที่สุด
.
อ่านบนเว็บไซต์ https://ilaw.or.th/node/6567