Pornpen Khongkachonkiet
7h
·
“ระยะเวลาระหว่างที่ พระราชกำหนดเลื่อน พรบ ป้องกันการทรมาน 22 กพ - 18 พฤษภาคม 66 มีผล หากประชาชนหรือบุคคลใดที่ถูกรละเมิดจากการใช้อำนาจจับกุมโดยไม่ชอบและไม่สามารถเรียกร้องกล้องบันทึกการจับกุมได้เพื่อเป็นพยานหลักฐานในทางคดี หากได้รับความเสียหายอย่างไรสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่ร่วมกันใช้อำนาจโดยไม่ชอบในการออกพระราชกำหนดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้งนี้ได้ ทั้งทางแพ่งและทางอาญา”
อัยการน้ำแท้ Namtaee Meeboonsalang ให้ผลลัพธ์ของมติศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ ไว้อย่างน่าสนใจ
ใครใคร่แจ้งการจับโปรดแจ้ง
หากไม่รีบแจ้งอาจถูกฟ้องกลับ
โดยอัยการ ฝ่ายปกครอง ดีเอสไอ
เพราะอำนาจสอบสวนของพรบ.ใหม่มีหลายฝ่าย
.....
Pornpen Khongkachonkiet
5h
·
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า ประกาศดังกล่าว อธิบายให้เข้าใจง่าย คือ ศาลรัฐธรรมนูญ มีความเห็นว่าจากการที่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีมติ เลื่อนใช้ พ.ร.บ.อุ้มหาย บางมาตราออกไปนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้กฎหมายทั้งฉบับเต็มมีผลบังคับใช้ย้อนหลังไปถึงวันที่ 22 ก.พ. 2566 ซึ่งเดิมทีมีผลเลื่อนบังคับใช้อีก 4 มาตรา ในวันที่ 1 ต.ค. 2566
พรเพ็ญ ยังระบุอีกว่า หากรัฐบาลใหม่เป็นไปตามการแถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาล เชื่อมั่นว่าผู้เสียหายในอดีตอาจจะได้รับการยอมรับและเคารพ รวมถึงการเยียวยาในเรื่องความสูญเสียที่เขาเผชิญมาตลอดได้ จาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของการออกกฎหมายฉบับนี้เหมือนกัน นั่นคือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอดีตได้ด้วย เนื่องจากว่าการอุ้มหายถูกตีความเป็นมาตรฐานสากลว่าคือความผิดต่อเนื่อง
“ขอชื่นชมศาลรัฐธรรมนูญ 8 ใน 9 ที่ยืนยันหลักการและเคารพระบบรัฐสภา ซึ่งเห็นว่าเป็นแนวโน้มที่ดี ที่รัฐสภาไทย ทั้งส่วนของ ส.ว. และ ส.ส. จะเคารพหลัการนี้ด้วย และหวังว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ จะประกาศใช้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งฉบับ”
สำหรับ 4 มาตราที่มีการขยายเวลาการบังคับใช้ออกไปก่อนหน้านี้ คือ
5h
·
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า ประกาศดังกล่าว อธิบายให้เข้าใจง่าย คือ ศาลรัฐธรรมนูญ มีความเห็นว่าจากการที่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีมติ เลื่อนใช้ พ.ร.บ.อุ้มหาย บางมาตราออกไปนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้กฎหมายทั้งฉบับเต็มมีผลบังคับใช้ย้อนหลังไปถึงวันที่ 22 ก.พ. 2566 ซึ่งเดิมทีมีผลเลื่อนบังคับใช้อีก 4 มาตรา ในวันที่ 1 ต.ค. 2566
พรเพ็ญ ยังระบุอีกว่า หากรัฐบาลใหม่เป็นไปตามการแถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาล เชื่อมั่นว่าผู้เสียหายในอดีตอาจจะได้รับการยอมรับและเคารพ รวมถึงการเยียวยาในเรื่องความสูญเสียที่เขาเผชิญมาตลอดได้ จาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของการออกกฎหมายฉบับนี้เหมือนกัน นั่นคือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอดีตได้ด้วย เนื่องจากว่าการอุ้มหายถูกตีความเป็นมาตรฐานสากลว่าคือความผิดต่อเนื่อง
“ขอชื่นชมศาลรัฐธรรมนูญ 8 ใน 9 ที่ยืนยันหลักการและเคารพระบบรัฐสภา ซึ่งเห็นว่าเป็นแนวโน้มที่ดี ที่รัฐสภาไทย ทั้งส่วนของ ส.ว. และ ส.ส. จะเคารพหลัการนี้ด้วย และหวังว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ จะประกาศใช้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งฉบับ”
สำหรับ 4 มาตราที่มีการขยายเวลาการบังคับใช้ออกไปก่อนหน้านี้ คือ
- มาตรา 22 การควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุมจนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวนหรือปล่อยตัวบุคคลดังกล่าว
- มาตรา 23 การควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัว
- มาตรา 24 การเข้าถึงข้อมูลของผู้ถูกควบคุมตัว
- มาตรา 25 การไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัว กรณีอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมาย ละเมิดต่อความเป็นส่วนตัว เกิดผลร้ายต่อบุคคล หรือเป็นอุปสรรคต่อการสืบสวนสอบสวน