วันเสาร์, มีนาคม 11, 2566

ทำไมสังคมนักเคลื่อนไหว คนทำการเมืองรุ่นใหม่ๆ ถึงเต็มไปด้วย toxic culture?

https://www.facebook.com/baitongpost/posts/6071541289594316
Atukkit Sawangsuk
17h
น่าอ่านมาก โรคฝ่ายซ้าย ปัญหาของฝ่ายก้าวหน้า
เหมือนกันทั้งโลก ในอดีตก็คล้ายอย่างนี้

Prab Laoharojanaphan
1d
ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา มีบทความชิ้นหนึ่งที่เป็นกระแสมากในกลุ่มนักเคลื่อนไหวและคนทำงานภาคประชาสังคมที่สหรัฐ เป็นบทความที่เขียนโดย Maurice Mitchell แกนนำ Working Families Party ซึ่งเป็นการรวมตัวกันระหว่างกลุ่มที่เคลื่อนไหวด้านชุมชนและสหภาพแรงงาน เป็นกลุ่ม progressive ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วง 10 ปีมานี้ อยู่เบื้องหลังนักการเมืองรุ่นใหม่ในปีก Democrats จำนวนมาก
.
เป็นบทความที่ชื่อว่า “Building Resilient Organizations: Toward Joy and Durable Power in a Time of Crisis” ซึ่งชื่อดูเหมือนจะธรรมดา แต่เป็นการวิเคราะห์ทำความเข้าใจ “ปัญหาฝ่ายซ้าย” อย่างตรงไปตรงมา และนำเสนอทางออกที่ชัดเจนที่สุดในเวลานี้ (https://nonprofitquarterly.org/building-resilient.../)
.
ทำไมสังคมนักเคลื่อนไหว คนทำการเมืองรุ่นใหม่ๆ ถึงเต็มไปด้วย toxic culture? Maurice ได้อธิบายถึงเทรนด์ที่พบเห็นได้บ่อยในสังคมนักเคลื่อนไหว แต่สะท้อนความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น “Neoliberal Identity” เช่น การใช้อัตลักษณ์และประสบการณ์ส่วนตัวเพื่อให้เหตุผลว่าต้องเคลื่อนไหวอย่างไร “ฉันเป็น ... เคยเจอ ... เพราะฉะนั้นเราต้อง ... “ มักถูกใช้เป็นเทคนิคในการดีเบตถกเถียง แต่เป็นการละเลยความจริงที่ว่า ต่อให้มีอัตลักษณ์เดียวกันก็ใช่ว่าจะคิดเหมือนกันหรือมีความต้องการแบบเดียวกัน
.
“Maximalism” หรือการไม่เสนอให้สุดทางเท่ากับทรยศต่อหลักการ เป็นความขี้ขลาด เป็นการละทิ้งอุดมการณ์ แต่ maximalism ละเลยข้อเท็จจริงว่า คนที่เห็นด้วยกับเรา 100% ไม่เคยมีมากพอที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ทุกองค์กรและการเคลื่อนไหวต้องเติบโต กลยุทธ์และข้อเรียกร้องใดๆ จึงจำเป็นต้องประเมินอย่างสมเหตุสมผล แน่นอนว่าเราต้องตั้งแง่กับการเรียกร้องที่น้อยเกินไป แต่ไม่ควรกล่าวหาว่าคนที่เรียกร้องน้อยกว่าว่าขี้ขลาด ที่จริงแล้วมันอาจเป็นแค่ภาพสะท้อนให้เห็นถึงการประเมินอำนาจและกลยุทธ์ที่องค์กรนั้นๆ มองตนเอง
.
นอกจากนี้ ยังมีเรื่อง “Anti-Leadership Attitudes” การตั้งแง่กับภาวะผู้นำ การให้คุณค่าเรื่องทักษะ, ประสบการณ์ และความเป็นมืออาชีพ กลับถูกมองเป็นเรื่องของการวางอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น การต่อต้านการใช้ปัญญา (anti-intellectualism) กลับถูกสนับสนุนว่าเป็นแนวทางการทำงานที่เท่าเทียมขึ้น แต่ในความเป็นจริง การสร้างความเปลี่ยนแปลงต้องใช้ประสบการณ์ วินัย และการศึกษาหาความรู้ สิ่งเหล่านี้ใช้เวลาในการพัฒนาสะสมเพื่อให้เป็นนักเคลื่อนไหว/นักกลยุทธ์ ฯลฯ ฝีมือดี รวมทั้งเรื่อง “Anti-Institutional Sentiment” การตั้งแง่ทำงานเชิงสถาบัน/องค์กร ว่ากดขี่ล้าสมัย ซึ่งแม้จะมีองค์กรที่วางอำนาจบาตรใหญ่แต่ไร้ประสิทธิภาพอยู่จริง แต่ถึงที่สุดแล้วภาคประชาชนต้องการองค์กรที่เข้มแข็ง ในฐานะเครื่องมือทางการเมือง (political vehicles) ให้คนได้พัฒนาทักษะ ส่งต่อความรู้ และวางแผนสะสมอำนาจ
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนจาก 10 เทรนด์ที่ Maurice เสนอไว้เท่านั้น ซึ่งเขาเขียนด้วยความเข้าอกเข้าใจในฐานะนักเคลื่อนไหวคนสำคัญที่มีบทบาทสำคัญในการเติบโตของ progressive movements ที่สหรัฐในยุคนี้
.
แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร?
.
Maurice เสนอว่าแทนที่จะตอบโต้เป็นเรื่องๆ ไปอย่างไม่มีวันจบ ผู้นำการเคลื่อนไหวต้องร่วมกันสร้างองค์กรเคลื่อนไหวที่ “มีโครงสร้างที่ฟังขึ้น มีอุดมการณ์ที่สอดคล้อง มีกลยุทธ์ที่หนักแน่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์” (structurally sound, ideologically coherent, strategically grounded, and emotionally mature) พร้อมข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมจำนวนมาก (บทความเป็น essay 6,000 คำ) หนึ่งในสิ่งที่เขาเน้นย้ำ คือเราควรแยกความรุนแรงและการกดขี่ (violence & oppression) ออกจากความรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ (discomfort) ซึ่งเป็นธรรมชาติในกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์และควรได้รับการส่งเสริม องค์กรควรเน้นย้ำเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ มองหาคนที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่สามารถจัดการความขัดแย้ง ทำงานบนความแตกต่างหลากหลาย และเห็นความสำคัญของความเป็นองค์กร ในฐานะเครื่องมือทางการเมืองที่จะหลอมรวมคนได้มากขึ้น มีพลังมากขึ้น
.
Michelle Goldberg นักข่าวและคอลัมนิสต์ของ The New York Times ได้เขียนถึงบทความชิ้นนี้ว่า “ไข้ฝ่ายซ้ายกำลังจะหาย” (The Left’s Fever Is Breaking) และมีคอมเม้นพูดถึงอีกจำนวนมาก ใครสนใจสามารถดูได้ที่: https://www.nytimes.com/.../12/16/opinion/left-activism.html
---
https://nonprofitquarterly.org/building-resilient.../
.....
https://www.facebook.com/baitongpost/posts/6071541289594316