ไม่มีความรู้ด้านการทหาร ไม่เคยฝึกทหารใดๆ แต่อยู่ๆได้ยศพันเอก กินเงินภาษีประชาชน เพราะนามสกุลมมหิดล (ปรสิต) pic.twitter.com/0y6B1HIW9V
— รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวง (@royalist_market) March 10, 2023
.....
ด้านการศึกษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนจิตรลดา, ระดับปริญญาตรี ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 (เหรียญทอง) ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.93 และทรงได้รับรางวัลนิสิตดีเด่นประจำปีการศึกษา 2551 ด้วยมีผลการการเรียนอันน่าพึงใจ และระดับปริญญาโท จากวิทยาลัยสมาคมการออกแบบเสื้อผ้าปารีส (École de la chambre syndicale de la couture parisienne) ประเทศฝรั่งเศส
1. แบดมินตัน
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงโปรดกีฬาแบดมินตัน โดยเริ่มเล่นกีฬาชนิดนี้ตั้งแต่ทรงศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และทรงผ่านการคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทยครั้งแรกขณะมีพระชนมายุ 17 พรรษา ได้เข้าร่วมการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 23 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 2548 และทรงคว้าเหรียญทอง ประเภททีมหญิง ได้สำเร็จ
ชัยชนะในมหกรรมกีฬาระหว่างกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ คล้ายเป็นการเจริญรอยตามในหลวง ร. 9 พระอัยกา ซึ่งทรงนำทัพนักกีฬาทีมชาติไทยคว้าเหรียญทองในการแข่งขันแล่นเรือใบในกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันคือซีเกมส์) ครั้งที่ 4 เมื่อปี 2510 โดยถือเป็นกษัตริย์พระองค์แรกและพระองค์เดียวในเอเชียที่ได้เหรียญทองเรือใบในระดับนานาชาติ
2. กีฬาขี่ม้า
นอกจากทรงแบดมินดัน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ยังสนพระทัยกีฬาอีกชนิดคือ การขี่ม้า ตั้งแต่มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา ตามแบบพระเชษฐภคินี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี โดยถือเป็นคนไทยคนแรกที่จบหลักสูตรการขี่ม้า Internationale de Moniteur d'Equitation จากโรงเรียนเลอ กาเดรอะ นัวร์ ประเทศฝรั่งเศส
พระองค์ทรงเข้าร่วมการแข่งขันขี่ม้าหลายรายการ และทรงคว้าเหรียญรางวัลมาครองได้ ดังนี้
ปี 2555 ทรงร่วมการแข่งขันรายการชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ที่ จ.ชลบุรี และทรงคว้าแชมป์ในการแข่งขันศิลปะการบังคับม้า (Dressage)
ภายหลังการแข่งขัน ไทยรัฐรายงานคำประทานสัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่า กีฬาขี่ม้าแตกต่างจากแบดมินตันคือ แบดมินตันต้องใช้ทักษะต่าง ๆ ต่อสู้กับคู่แข่ง ขณะที่ขี่ม้า มีศัตรูคนเดียวคือตัวเรา ต้องควบคุมอารมณ์ และบังคับม้าให้ได้ดีที่สุด
ปี 2560 ทรงนำทัพนักกีฬาขี่ม้าชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 29 ที่ประเทศมาเลเซีย และทรงคว้าเหรียญเงินในการแข่งขันศิลปะการบังคับม้า ประเภทบุคคล
ในระหว่างพิธีการรับเหรียญรางวัล พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ (พระอิสริยศักดิ์ในขณะนั้น) ทรงนำพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวง ร.9 มากอดเอาไว้แน่น ซึ่งภายหลังการแข่งขัน พระองค์ประทานสัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนว่า “ดีใจมาก” และ “ขอบคุณคนไทยทุกท่านที่ส่งกำลังใจ”
“ตอนที่ดีใจที่สุดคือตอนที่ได้กอดพระบรมฉายาลักษณ์ของเสด็จปู่ แล้วเรานำเหรียญมาวางกับท่าน เหมือนถวายให้ ซึ่งปกติเวลาที่เรามาแข่งแล้วได้เหรียญแบบนี้ พระองค์จะทรงคล้องให้ แต่มันคงจะไม่มีวันนั้นอีกแล้ว จึงเหมือนเป็นการทำให้ท่านได้รู้ มันไม่มีคำพูดใดที่จะสื่อออกมา เราคิดว่าคนไทยทุกคนเข้าใจในสิ่งที่เราทำ ความรู้สึก ณ ตอนนั้นมันสุด ๆ จนน้ำตาเกือบไหลออกมา” ไทยรัฐและประชาชาติธุรกิจรายงานคำประทานสัมภาษณ์ของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เมื่อ 22 ส.ค. 2560
ต่อมา สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลสูงสุด Best Achievement Award ให้แก่พระองค์ด้วย
ด้านการศึกษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนจิตรลดา, ระดับปริญญาตรี ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 (เหรียญทอง) ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.93 และทรงได้รับรางวัลนิสิตดีเด่นประจำปีการศึกษา 2551 ด้วยมีผลการการเรียนอันน่าพึงใจ และระดับปริญญาโท จากวิทยาลัยสมาคมการออกแบบเสื้อผ้าปารีส (École de la chambre syndicale de la couture parisienne) ประเทศฝรั่งเศส
1. แบดมินตัน
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงโปรดกีฬาแบดมินตัน โดยเริ่มเล่นกีฬาชนิดนี้ตั้งแต่ทรงศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และทรงผ่านการคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทยครั้งแรกขณะมีพระชนมายุ 17 พรรษา ได้เข้าร่วมการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 23 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 2548 และทรงคว้าเหรียญทอง ประเภททีมหญิง ได้สำเร็จ
ชัยชนะในมหกรรมกีฬาระหว่างกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ คล้ายเป็นการเจริญรอยตามในหลวง ร. 9 พระอัยกา ซึ่งทรงนำทัพนักกีฬาทีมชาติไทยคว้าเหรียญทองในการแข่งขันแล่นเรือใบในกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันคือซีเกมส์) ครั้งที่ 4 เมื่อปี 2510 โดยถือเป็นกษัตริย์พระองค์แรกและพระองค์เดียวในเอเชียที่ได้เหรียญทองเรือใบในระดับนานาชาติ
2. กีฬาขี่ม้า
นอกจากทรงแบดมินดัน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ยังสนพระทัยกีฬาอีกชนิดคือ การขี่ม้า ตั้งแต่มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา ตามแบบพระเชษฐภคินี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี โดยถือเป็นคนไทยคนแรกที่จบหลักสูตรการขี่ม้า Internationale de Moniteur d'Equitation จากโรงเรียนเลอ กาเดรอะ นัวร์ ประเทศฝรั่งเศส
พระองค์ทรงเข้าร่วมการแข่งขันขี่ม้าหลายรายการ และทรงคว้าเหรียญรางวัลมาครองได้ ดังนี้
ปี 2555 ทรงร่วมการแข่งขันรายการชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ที่ จ.ชลบุรี และทรงคว้าแชมป์ในการแข่งขันศิลปะการบังคับม้า (Dressage)
ภายหลังการแข่งขัน ไทยรัฐรายงานคำประทานสัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่า กีฬาขี่ม้าแตกต่างจากแบดมินตันคือ แบดมินตันต้องใช้ทักษะต่าง ๆ ต่อสู้กับคู่แข่ง ขณะที่ขี่ม้า มีศัตรูคนเดียวคือตัวเรา ต้องควบคุมอารมณ์ และบังคับม้าให้ได้ดีที่สุด
ปี 2560 ทรงนำทัพนักกีฬาขี่ม้าชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 29 ที่ประเทศมาเลเซีย และทรงคว้าเหรียญเงินในการแข่งขันศิลปะการบังคับม้า ประเภทบุคคล
ในระหว่างพิธีการรับเหรียญรางวัล พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ (พระอิสริยศักดิ์ในขณะนั้น) ทรงนำพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวง ร.9 มากอดเอาไว้แน่น ซึ่งภายหลังการแข่งขัน พระองค์ประทานสัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนว่า “ดีใจมาก” และ “ขอบคุณคนไทยทุกท่านที่ส่งกำลังใจ”
“ตอนที่ดีใจที่สุดคือตอนที่ได้กอดพระบรมฉายาลักษณ์ของเสด็จปู่ แล้วเรานำเหรียญมาวางกับท่าน เหมือนถวายให้ ซึ่งปกติเวลาที่เรามาแข่งแล้วได้เหรียญแบบนี้ พระองค์จะทรงคล้องให้ แต่มันคงจะไม่มีวันนั้นอีกแล้ว จึงเหมือนเป็นการทำให้ท่านได้รู้ มันไม่มีคำพูดใดที่จะสื่อออกมา เราคิดว่าคนไทยทุกคนเข้าใจในสิ่งที่เราทำ ความรู้สึก ณ ตอนนั้นมันสุด ๆ จนน้ำตาเกือบไหลออกมา” ไทยรัฐและประชาชาติธุรกิจรายงานคำประทานสัมภาษณ์ของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เมื่อ 22 ส.ค. 2560
ต่อมา สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลสูงสุด Best Achievement Award ให้แก่พระองค์ด้วย
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา (พระอิสริยศักดิ์ในขณะนั้น) ทรงเข้าร่วมการแข่งขันขี่ม้าในเอเชียนเกมส์ 2014 (พ.ศ. 2557) ที่เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้
3. การออกแบบเสื้อผ้า
อีกพระปรีชาสามารถอันโดดเด่นของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ คือ การออกแบบแฟชั่น ซึ่งทรงได้รับแรงบันดาลพระทัยมาจากสมเด็จพระนางสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระอัยยิกา
แบรนด์ SIRIVANNAVARI ถือกำเนิดขึ้นในปี 2548 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงก่อตั้ง และทรงดำรงตำแหน่ง Creative Director ของแบรนด์ ปัจจุบันแบรนด์นี้โดดเด่นเรื่องการออกแบบสร้างสรรค์เสื้อผ้าสภาพสตรี ขณะที่เสื้อผ้าบุรุษอยู่ภายใต้แบรนด์ S’Home สื่อมวลชนไทยด้านแฟชันรายงานว่า แต่ละคอลเลกชั่นที่ออกมา "ได้รับเสียงชื่นชมจากวงการแฟชั่นโลก"
ต่อมาในเดือน ก.ย. 2550 พระองค์หญิงฯ ได้รับการกราบทูลเชิญฯ จากห้องเสื้อปีแยร์ บาลแม็ง (Pierre Balmain) ให้จัดแสดงผลงานการออกแบบเสื้อผ้าในงานสัปดาห์แฟชั่นปารีส (Paris Fashion Week : Spring/Summer 2008) ที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นเวทีในฝัน ของดีไซเนอร์ทั่วโลก
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงสนับสนุนการใช้ผ้าไทยอย่างจริงจัง โดยทรงออกแบบลายมัดหมี่ใช้ชื่อว่า “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” พระราชทานช่างทอผ้า เพื่อนำไปใช้สร้างรายได้และอาชีพที่ยั่งยืนให้กับชุมชนทอผ้าทั่วประเทศ
พระองค์ทรงประทานการออกแบบและตัดเย็บชุดราตรีผ้าไหมไทยให้แก่ เดมี ลีห์ เนล ปีเตอร์ มิสยูนิเวิร์ส 2017 (ปี พ.ศ. 2560) และ โศภิดา กาญจนรินทร์ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2018 (ปี พ.ศ. 2561) ได้สวมใส่ในงานการ่าไทยไนท์ของเวทีนางงามจักรวาลที่จัดประกวดภายในประเทศไทย
ชุดราตรีผ้าไหมไทยที่ทรงประทานให้ เดมี ลีห์เนล ปีเตอร์ส ได้แรงบันดาลใจมาจากฉลองพระองค์ของสมเด็จพระอัยยิกา
ในปี 2561 กระทรวงวัฒนธรรมได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการออกแบบ (แฟชั่นและเครื่องประดับ) แด่พระองค์หญิงฯ
นอกจากนี้ “เจ้าหญิงนักออกแบบ” ยังทรงเป็นพระอาจารย์สอนนิสิตปริญญาเอก คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ อีกด้วย
4. ดนตรี อักษร และภาพถ่าย
นอกจากกีฬาแล้ว สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ยังทรงสนพระทัยในเรื่องดนตรี งานประพันธ์ และภาพถ่ายด้วย
พระองค์ทรงนิพนธ์เพลงเพื่อใช้ในการแสดงแฟชั่นโชว์ โดยมีอยู่ 4 บทเพลงที่ได้นำออกแสดงในรายการ “Four Royal Orchestral Suites for His Majesty King Rama X” ที่จัดขึ้นเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในหลวง ร.10
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (Royal Bangkok Symphony Orchestra - RBSO) และรับเป็นองค์ประธานคณะกรรมการด้านดนตรี RBSO โดยตั้งพระปณิธานในการพัฒนาและผลักดันวง RBSO ให้เป็นวงออร์เคสตร้าชั้นนำในเอเชียแปซิฟิค มีความสามารถเทียบเท่าวงออร์เคสตร้าสากล
เว็บไซต์ของ RBSO บรรยายถึงพระกรณียกิจเอาไว้ว่า ทรงวางแผนงานการจัดการแสดงคอนเสิร์ตประจำปี โปรแกรมการแสดง การคัดเลือกนักดนตรีเข้าเป็นสมาชิกของวง และทรงมีส่วนสำคัญในการคัดเลือกผู้อำนวยเพลงรับเชิญ ศิลปินที่มาแสดงร่วมกับ RBSO โดยมุ่งเน้นให้มีการถ่ายทอดประสบการณ์ให้สมาชิก RBSO นอกจากนี้ทรงทอดพระเนตรการฝึกซ้อมในบางโอกาสเสมอ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงฉายพระรูปร่วมกับสมาชิกวงรอยัลแบงค์คอกซิมโฟนีออร์เคสตร้า
ด้านงานประพันธ์ ทรงนิพนธ์หนังสือเล่มแรก “The Princess Dog Diary บันทึกคุณน้ำหอม สุนัขทรงเลี้ยงของเจ้าหญิง” อันเป็นเรื่องของสุนัขทรงเลี้ยงและม้าทรงโปรด
นอกจากนี้ยังทรงโปรดการถ่ายภาพ และเคยจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์มาแล้ว 2 ครั้ง
ปี 2555 นิทรรศการภาพถ่าย “พระเนตรผ่านเลนส์” ซึ่งทรงบันทึกเหตุการณ์ขณะเกิดมหาอุทกภัยปี 2554 ในระหว่างเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎร
ปี 2562 นิทรรศการภาพถ่าย “Little Wild” ซึ่งทรงบันทึกความงดงามของสัตว์ป่าและธรรมชาติของประเทศเคนยา
พระองค์หญิงฯ ทรงมีกล้องถ่ายภาพติดพระหัตถ์อยู่เสมอ ไม่ว่าเสด็จไปไหน
5. ภาษาต่างประเทศ
ด้วยเพราะมีพระกรณียกิจต้องเสด็จเยือนต่างประเทศอยู่เนือง ๆ ทั้งในฐานะสมาชิกราชวงศ์ และพระกรณียกิจอันเกี่ยวเนื่องกับงานที่ทรงสนพระทัยทั้งในแวดวงกีฬา การแสดงผลงานทางศิลปะ รวมถึงการประทานสัมภาษณสื่อมวลชนหลากหลายแขนง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ จึงให้ความสำคัญกับภาษาอย่างยิ่ง
เมื่อครั้งทรงเป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ จุฬาฯ ทรงประทานสัมภาษณ์แก่วารสารภาษาปริทัศน์ โดยตรัสถึงการฝึกทักษะภาษาอังกฤษว่า ได้เปรียบตรงที่ไปอยู่เมืองนอกนานเกือบ 10 ปี จากตั้งแต่ยังไม่รู้ภาษาอังกฤษเลย รู้แค่เพียง 2 คำคือ yes และ no จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เอง ช่วยเหลือตัวเอง พอกลับมาประเทศไทย พูดไทยไม่ได้เลย ได้แต่ภาษาอังกฤษ
“ได้เปรียบตรงที่สมเด็จพ่อ (ในหลวง ร.10) เก่งภาษาอังกฤษ ตรัสยาว ๆ เป็นภาษาอังกฤษกับคนอื่น ก็ใช้วิธีฟังไปเรื่อย ๆ ก็จะเข้าใจ”
วิธีการฝึกก็คือฟังบ่อย ๆ ตอนแรก ๆ ก็เดาไปก่อน ก็จะเริ่มเข้าใจและจับใจความได้ ต้องฝึกทำ mode ความจำและทำความเข้าใจ
พระองค์หญิงฯ ตรัสด้วยว่า
"ตอนเรียนที่โรงเรียนจิตรลดามีอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ 2 คน คนหนึ่งมาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อีกคนหนึ่งมาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด คนหนึ่งจะสอนให้รู้จักคิดและให้แสดงความคิด อีกคนหนึ่งสอนไวยากรณ์ และให้เขียน essay ส่ง... การเรียนภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง ควรจะเป็นแบบธรรมชาติ ให้มันเข้าไปในหัวเองและใช้ได้เอง เวลาพูด อย่ากลัวฝรั่ง ฝรั่งพูดเยอะ เพราะเป็นภาษาของเขา เขาก็ไม่ได้เก่งไปกว่าเรา ฉะนั้นจึงควรหัดฟัง พยายามออกเสียงตาม และพูด เวลาที่เราพูด ฝรั่งเขาจะไม่ถือสาเรื่อง accent ว่าเหมือนเขาไหม
“สมเด็จพ่อบอกว่าภาษาอังกฤษมีความสำคัญมาก บางทีเวลาเรียนถ้าไม่รู้จักคำ ก็จะเขียนดำไทยบ้าง บางทีก็เขียนเป็นคำอังกฤษบ้าง เช่น เขียน essay ภาษาอังกฤษ มีคำไทยแทรกบ้าง ท่านก็ไม่ว่า แต่ทรงเติมให้ ทรงเอาดินสอมา ไม่ตรัสอะไร แต่เติมให้ อะไรตกหล่นไปก็ทรงเติมให้ แล้วสอนว่าภาษาอังกฤษสำคัญ ท่านทรงช่วยตรวจงานให้ด้วย สมเด็จพ่อทรงใช้ภาษาอังกฤษด้วย และตรัสฝรั่งเศสด้วย” พระองค์หญิงฯ ทรงเล่า
ในหลวง พระราชินี พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เข้าเฝ้าฯ ในการนี้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงร่วมต้อนรับ และมีพระราชปฏิสันถารกับประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ด้วย
นอกจากภาษาอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงสื่อสารภาษาฝรั่งเศสได้ โดยระหว่างเสด็จพระราชดำเนินไปยังหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรุงปารีส เมื่อ 8 ต.ค. 2562 เพื่อทรงเป็นประธานในงานเลี้ยงรับรองเนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 333 ปี ราชทูตสยามเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสเป็นภาษาฝรั่งเศสด้วย
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า ทรงมีความผูกพันกับประเทศฝรั่งเศส โดยทรงมีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจให้พระองค์มาศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นเมืองแห่งแรงบันดาลใจทางศิลปะและวัฒนธรรมระดับโลก
6. การทหาร : จาก ร.ท. สู่ พ.อ. ใน 6 ปี
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงมีพระยศทางทหารล่าสุดเป็น พันเอกหญิง โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศทหารนี้ขณะมีพระชันษา 31 ปี
สำหรับเส้นทางการรับใช้กองทัพบก และการดำรงพระยศทางทหาร ไล่เรียงตามประกาศที่เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้
- 4 พ.ค. 2555 ได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ ร้อยโทหญิง และได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงเป็น นายทหารพิเศษประจำ กองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์ฯ และอีกคำสั่ง ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงเป็น ราชองครักษ์พิเศษ
- 4 ก.ค. 2555 ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงเป็น นายทหารพิเศษประจำ กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ฯ
- 1 ต.ค. 2555 ได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ ร้อยเอกหญิง เป็นกรณีพิเศษ
- 7 พ.ย. 2555 ได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ พันตรีหญิง เป็นกรณีพิเศษ
- 2 ก.พ. 2560 ได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ พันโทหญิง
- 21 มิ.ย. 2561 ได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ พันเอกหญิง ในฐานะพระอาจารย์หัวหน้าแผนก โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
พระปรีชาสามารถหลากหลายด้าน ที่สื่อไทยรายงาน และพระจริยวัตรของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทำให้พระองค์อยู่ในความสนใจของสื่อต่างชาติ และสื่อต่างชาติภาคภาษาไทย ได้รับการถวายการจัดอันดับในหลายหัวข้อ อาทิ
- ปี 2551 เป็นเยาวราชนิกุลที่ทรงได้รับความนิยมมากสุด อันดับที่ 16 จากทั้งหมด 20 อันดับ จัดอันดับโดยนิตยสารฟอบร์สของสหรัฐฯ
- ปี 2555 เป็นเจ้าหญิงที่โดดเด่นที่สุด อันดับที่ 7 จัดอันดับโดยเว็บไซต์ askmen
- ปี 2557 เป็น 1 ในจาก 17 ราชนิกูลรุ่นเยาว์ที่น่าจับตามอง จัดอันดับโดยบิสซิเนส อินไซเดอร์ สื่อของสหรัฐฯ
- ปี 2560 เป็นเจ้าหญิงที่มีสไตล์มากที่สุดในโลก จากการจัดอันดับ The Most Stylish Princesses In The World โดยนิตยสาร Garzia ของอังกฤษ พร้อมระบุตอนหนึ่งว่า “ถือได้ว่าพระองค์คือผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่แฟชั่นในราชวงศ์”
- ปี 2562 เป็น 1 ใน 10 สุภาพสตรีแต่งกายดีที่สุดประจำปี จัดอันดับโดย Air Mail
- ปี 2564 เป็น 1 ใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลในอุตสาหกรรมแฟชั่นในประเทศไทย จัดอันดับโดย Vogue Thailand
3 รอบ "ท่านหญิง" กับ 6 ความสนพระทัยของ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ
7 มกราคม 2023