ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
1d
“อย่ายอมให้เขากดหัวเราเหมือนเราไม่ใช่คน เราต้องร่วมมือร่วมใจกันเงยหน้าสู้ อย่าให้เขาทำเราได้ฝ่ายเดียว ป้าเป็นกำลังใจให้ผู้หญิงทุกคนที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่"
.
อัญชัญ: ขอส่งต่อพลังแห่ง ‘การต่อสู้โดยไม่ย่อท้อ’ ถึงผู้หญิงทุกคน
.
“#ป้าอัญชัญ” ปัจจุบันอายุ 67 ปี เธอถูกกล่าวหาว่าอัพโหลดและเผยแพร่คลิปเสียงของ “บรรพต” ดีเจผู้จัดรายการใต้ดิน ซึ่งมีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นประมาทกษัตริย์ รวมทั้งหมด 29 ครั้ง เป็นความผิด 29 กรรม ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 87 ปี แต่ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เนื่องจากรับสารภาพ คงเหลือโทษจำคุกราว 43 ปี 6 เดือน มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในข้อกล่าวหานี้เท่าที่ทราบข้อมูล
.
ในคดีนี้ป้าอัญชัญถูกคุมขังครั้งแรกในระหว่างพิจารณาคดีตั้งแต่วันที่ 30 ม.ค. 2558 ก่อนได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2561 รวมระยะเวลาถูกคุมขัง 3 ปี 9 เดือน
.
ตลอดเวลาที่ได้รับ “อิสรภาพชั่วคราว” ชีวิตของเธอพลิกผันแทบจะกลายเป็นหลังมือ ทรัพย์สินหลายอย่างถูกธนาคารยึด และขาดการชำระตามกำหนดเนื่องจากถูกคุมขัง เธอจึงต้องออกมาทำขนมขายหารายได้เลี้ยงดูตัวเอง
.
เธอเคยบอกไว้ว่า ในบั้นปลายชีวิตของผู้หญิงอย่างเธอ ฝันว่าอยากใช้ชีวิตที่ไม่ต้องเรียบหรูอะไรมากมาย ขอแค่อยู่อย่างไม่ลำบากและมีอิสระก็เพียงพอแล้ว
.
แต่สุดท้ายศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาทำให้เธอต้องถูกคุมขังเป็นครั้งที่ 2 มาตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค. 2564 จนถึงปัจจุบัน โดย ณ ต้นปี 2566 เธอยังมีกำหนดพ้นโทษในวันที่ 24 ก.ย. 2574 หรืออีกประมาณเกือบ 9 ปีข้างหน้า
.
ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2566 ทนายความได้เดินทางไปที่ทัณฑสถานหญิงกลางเพื่อเข้าเยี่ยมป้าอัญชัญอีกครั้ง เธอบอกว่าช่วงนี้เหงามาก เพราะไม่ค่อยได้รับจดหมายจากคนข้างนอกเหมือนแต่ก่อน
.
ทั้งยังเริ่มมีอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น ทำให้ป้าคิดว่าจะพยายามออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงกว่านี้
.
ป้าบอกว่าความทุกข์ทนจากการถูกดำเนินคดีและถูกคุมขังไม่ได้เลือกเกิดกับเฉพาะบางเพศ แต่ทุกเพศ ทุกวัยที่ถูกกล่าวหาด้วยมาตรา 112 ล้วนได้รับความลำบากกันทั้งนั้น
.
“มันไม่มีความยุติธรรมตามแบบสากลเลย อย่างป้าเองแค่แชร์คลิปลงเฟซบุ๊ก มันต้องมีโทษขนาดนี้เลยเหรอ ป้ารู้สึกว่าป้าไม่ได้รับความยุติธรรมเลย”
.
ป้าเล่าต่อว่า “สิ่งที่เป็นความทุกข์และลำบากที่สุด นอกจากการไม่มีอิสรภาพและต้องปฏิบัติตามกฎในเรือนจำทุกอย่างโดยที่ไม่สามารถโต้แย้งได้ ก็คือ ‘การเบียดเสียดเยียดยัด’ แย่งทรัพยากรต่างๆ กับผู้ต้องขังในเรือนจำ
.
“ป้าก็แก่แล้วลูก ในนี้คนเยอะมาก คนแก่ล้มหัวร้างข้างแตกกันหลายคน บางคนอายุจะ 90 แล้ว ยังอยู่ในเรือนจำอยู่เลย ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ ซักผ้า หรือซื้อข้าวของ มันต้องแย่งกันหมดเลย ยิ่งคนที่ไม่มีญาติไม่มีคนส่งเงินมาให้ยิ่งลำบาก”
.
ผู้หญิงที่เป็นแบบอย่างของป้าอัญชัญ เธอบอกว่าต้องเป็นผู้หญิงที่แข็งแกร่ง ต่อสู้กับความอยุติธรรมโดยที่ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร เหมือนอย่าง “คุณหญิงพูนสุข พนมยงค์” ซึ่งเธอให้ความนับถืออย่างมาก
.
ป้าคิดว่า พลังที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้หญิงอย่างเราคือ ‘ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน’ และ ‘ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน’ เพื่อที่พวกเราจะได้มารวมตัวกันต่อสู้กับความอยุติธรรมในประเทศนี้ได้
.
ส่วนพลังของผู้หญิงในตัวเองที่ป้าอัญชัญอยากส่งต่อให้กับผู้หญิงทุกคน นั่นก็คือ ‘พลังในการต่อสู้โดยไม่ย่อท้อ’
.
อย่างที่รู้กันว่า เส้นทางการต่อสู้ของป้าอัญชัญนั้นยาวนานและผ่านความลำบากแสนเข็ญมามากมายหลายอย่าง แต่จนถึงวันนี้เธอยังคงพูดอย่างหนักแน่นทุกครั้งว่า ‘ยังคงสู้อยู่และจะสู้ต่อไป’
.
“อย่ายอมให้เขากดหัวเราเหมือนเราไม่ใช่คน เราต้องร่วมมือร่วมใจกันเงยหน้าสู้ อย่าให้เขาทำเราได้ฝ่ายเดียว ป้าเป็นกำลังใจให้ผู้หญิงทุกคนที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ อย่ายอมก้มหัวให้ความอยุติธรรม เราต้องสู้เพื่อวันข้างหน้าที่ดีกว่านี้ วันที่ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดินอย่างแท้จริง”
.
เชื่อว่าทุกคนสัมผัสได้ถึงพลังของความเป็นนักสู้ที่ไม่เคยท้อถอยของป้าอัญชัญได้ เธอคือแรงบันดาลใจที่ดีที่สุดของพวกเราทุกคน และหวังว่าเธอจะได้รับอิสรภาพในเร็ววันนี้
.
.
เนื่องใน #วันสตรีสากล (International Women's Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เราขอเริ่มต้นนำเสนอเรื่องราวของ ‘7 ผู้หญิง’ ที่หวังจะเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น แต่กลับถูกรัฐมองว่าเป็นภัยคุกคาม นั่นทำให้ชีวิตของพวกเธอต้องเผชิญหน้ากับความอยุติธรรมหลากหลายรูปแบบที่หากไม่ใช่ตัวพวกเธอเองก็อาจไม่มีวันเข้าใจ
.
แม้การต่อสู้ของพวกเธอจะยังไม่สิ้นสุด แต่เราหวังว่าทุกคนจะร่วมเคียงข้างและต่อสู้ไปพร้อมกับพวกเธอจนกว่าพวกเราจะถึงวันใหม่ที่ใฝ่ฝัน
.
ติดตามบทสัมภาษณ์ชุดพิเศษ "7 เรื่องราวว่าด้วยความอยุติธรรม ความหวัง และพลังของ 7 ‘ผู้หญิงนักสู้’ บนถนนสายประชาธิปไตย" ได้ตลอดทั้งเดือนมีนาคมนี้
.
.
อ่านบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/54129
.
#อัญชัญ #วันสตรีสากล
#internationalwomansday
ยืนหยุดขังประเทศไทย
12h
#ยืนหยุดขังประเทศไทย
3-9 มีนาคม 2566
.
หลังจากตะวันกับแบมประกาศไม่รับสารและน้ำอีกครั้ง ในวันที่ 4 มีนาคม อาการของทั้งสองก็ทรุดลงและมีโอกาสไตวาย ในที่สุด พ่อแม่กับทนายความจึงตัดสินใจส่งตัวทั้งสองกลับเข้าโรงพยาบาลธรรมศาสตร์อีกครั้ง ขอให้แบมและตะวันปลอดภัย ในวันสตรีสากล 8 มีนาคมที่ผ่านมา คนไทยจำนวนมากจึงยกให้ตะวันและแบมเป็นผู้หญิงประจำวันสตรีสากลของปีนี้
.
ดูเหมือนหลังจากศาลยอมโอนอ่อนให้ประกันตัวและถอดกำไล EM แก่นักกิจกรรมหลายคน จะด้วยความรู้สึกเสียหน้าหรือกลัวเสียอำนาจก็ตาม ศาลกลับมามีท่าทีแข็งกร้าวและไร้เหตุผลอีกครั้ง จุดพีคที่สุดน่าจะเป็นวันที่ 7 มีนาคม
.
ภายในวันเดียว เริ่มจากศาลไม่ให้ประกันถิรนัยและชัยพร ต่อด้วยการไม่ให้ประกันทัตพงศ์ เขียวขาว แล้วก็พิพากษาจำคุกคทาธรลงโทษจำคุก 1 ปี 3 เดือน15 วัน ลงโทษคงเพชรจำคุก 10 เดือน 20 วัน เนื่องจากคงเพชรติดคุกไม่ได้ประกันตัวมาเกือบปี ทำให้เหลือโทษจำคุก 4 วัน คงเพชรจึงไม่อุทธรณ์และขอรับโทษให้ครบ ส่วนคทาธรยังขาดอีก 4 เดือน จึงขออุทธรณ์และขอประกันตัว
.
แต่ที่เป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์มากที่สุดคือ คดีปฏิทินเป็ดเหลืองที่จัดจำหน่ายในเพจเฟซบุ๊ก “ราษฎร” ศาลอาญาตลิ่งชันพิพากษาจำคุก “ต้นไม้” (สงวนชื่อจริง) เป็นเวลา 3 ปี โดยลดโทษเหลือ 2 ปี ไม่รอลงอาญา ในข้อหามาตรา 112 โดยศาลเห็นว่าเป็ดเหลืองในปฏิทินมีลักษณะคล้าย ร.10 จึงเป็นการล้อเลียนหมิ่นประมาทกษัตริย์!!!
.
นี่คงเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกไปชั่วฟ้าดินสลาย และน่าจะกลายเป็นคดีตัวอย่างที่ท้าทายหลักนิติศาสตร์ทั้งของประเทศไทยและของสากล สมควรบรรจุอยู่ในทุกหลักสูตรกฎหมายของทุกประเทศให้มีการถกเถียงกันว่า ศาลตัดสินแบบนี้ได้อย่างไรและตัดสินด้วยอะไร
.
#ยืนหยุดขัง ยังยืนกันทุกวันที่ลานอากง อ.ธงชัย วินิจจะกูลกับภรรยายังคงไปยืนด้วยอย่างสม่ำเสมอ เชียงใหม่ยืนสัปดาห์ละครั้งทุกวันเสาร์ เสาร์ที่ผ่านมามีคุณแม่เพนกวินและอาจารย์หลายคนมาร่วมยืนด้วย วันเสาร์ที่ 4 มีนาคมมีการยืนหยุดขังที่หอนาฬิกาบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ส่วนที่นครปฐม ยืนทุกวันพุธหน้ามหาวิทยาลัยศิลปากร แถมมีน้อง 4 ขามาให้กำลังใจน่ารักๆ ราวกับว่าแม้แต่น้องหมาก็รู้สึกได้ถึงความอยุติธรรมที่มนุษย์คนไทยต้องทนทุกข์กันอยู่ทุกวันนี้
.
#ยืนหยุดขังประเทศไทย
#ปล่อยเพื่อนเรา
#หยุดละเมิดสิทธิการประกันตัว
#ยกเลิก112
“อย่ายอมให้เขากดหัวเราเหมือนเราไม่ใช่คน เราต้องร่วมมือร่วมใจกันเงยหน้าสู้ อย่าให้เขาทำเราได้ฝ่ายเดียว ป้าเป็นกำลังใจให้ผู้หญิงทุกคนที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่"
.
อัญชัญ: ขอส่งต่อพลังแห่ง ‘การต่อสู้โดยไม่ย่อท้อ’ ถึงผู้หญิงทุกคน
.
“#ป้าอัญชัญ” ปัจจุบันอายุ 67 ปี เธอถูกกล่าวหาว่าอัพโหลดและเผยแพร่คลิปเสียงของ “บรรพต” ดีเจผู้จัดรายการใต้ดิน ซึ่งมีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นประมาทกษัตริย์ รวมทั้งหมด 29 ครั้ง เป็นความผิด 29 กรรม ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 87 ปี แต่ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เนื่องจากรับสารภาพ คงเหลือโทษจำคุกราว 43 ปี 6 เดือน มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในข้อกล่าวหานี้เท่าที่ทราบข้อมูล
.
ในคดีนี้ป้าอัญชัญถูกคุมขังครั้งแรกในระหว่างพิจารณาคดีตั้งแต่วันที่ 30 ม.ค. 2558 ก่อนได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2561 รวมระยะเวลาถูกคุมขัง 3 ปี 9 เดือน
.
ตลอดเวลาที่ได้รับ “อิสรภาพชั่วคราว” ชีวิตของเธอพลิกผันแทบจะกลายเป็นหลังมือ ทรัพย์สินหลายอย่างถูกธนาคารยึด และขาดการชำระตามกำหนดเนื่องจากถูกคุมขัง เธอจึงต้องออกมาทำขนมขายหารายได้เลี้ยงดูตัวเอง
.
เธอเคยบอกไว้ว่า ในบั้นปลายชีวิตของผู้หญิงอย่างเธอ ฝันว่าอยากใช้ชีวิตที่ไม่ต้องเรียบหรูอะไรมากมาย ขอแค่อยู่อย่างไม่ลำบากและมีอิสระก็เพียงพอแล้ว
.
แต่สุดท้ายศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาทำให้เธอต้องถูกคุมขังเป็นครั้งที่ 2 มาตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค. 2564 จนถึงปัจจุบัน โดย ณ ต้นปี 2566 เธอยังมีกำหนดพ้นโทษในวันที่ 24 ก.ย. 2574 หรืออีกประมาณเกือบ 9 ปีข้างหน้า
.
ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2566 ทนายความได้เดินทางไปที่ทัณฑสถานหญิงกลางเพื่อเข้าเยี่ยมป้าอัญชัญอีกครั้ง เธอบอกว่าช่วงนี้เหงามาก เพราะไม่ค่อยได้รับจดหมายจากคนข้างนอกเหมือนแต่ก่อน
.
ทั้งยังเริ่มมีอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น ทำให้ป้าคิดว่าจะพยายามออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงกว่านี้
.
ป้าบอกว่าความทุกข์ทนจากการถูกดำเนินคดีและถูกคุมขังไม่ได้เลือกเกิดกับเฉพาะบางเพศ แต่ทุกเพศ ทุกวัยที่ถูกกล่าวหาด้วยมาตรา 112 ล้วนได้รับความลำบากกันทั้งนั้น
.
“มันไม่มีความยุติธรรมตามแบบสากลเลย อย่างป้าเองแค่แชร์คลิปลงเฟซบุ๊ก มันต้องมีโทษขนาดนี้เลยเหรอ ป้ารู้สึกว่าป้าไม่ได้รับความยุติธรรมเลย”
.
ป้าเล่าต่อว่า “สิ่งที่เป็นความทุกข์และลำบากที่สุด นอกจากการไม่มีอิสรภาพและต้องปฏิบัติตามกฎในเรือนจำทุกอย่างโดยที่ไม่สามารถโต้แย้งได้ ก็คือ ‘การเบียดเสียดเยียดยัด’ แย่งทรัพยากรต่างๆ กับผู้ต้องขังในเรือนจำ
.
“ป้าก็แก่แล้วลูก ในนี้คนเยอะมาก คนแก่ล้มหัวร้างข้างแตกกันหลายคน บางคนอายุจะ 90 แล้ว ยังอยู่ในเรือนจำอยู่เลย ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ ซักผ้า หรือซื้อข้าวของ มันต้องแย่งกันหมดเลย ยิ่งคนที่ไม่มีญาติไม่มีคนส่งเงินมาให้ยิ่งลำบาก”
.
ผู้หญิงที่เป็นแบบอย่างของป้าอัญชัญ เธอบอกว่าต้องเป็นผู้หญิงที่แข็งแกร่ง ต่อสู้กับความอยุติธรรมโดยที่ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร เหมือนอย่าง “คุณหญิงพูนสุข พนมยงค์” ซึ่งเธอให้ความนับถืออย่างมาก
.
ป้าคิดว่า พลังที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้หญิงอย่างเราคือ ‘ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน’ และ ‘ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน’ เพื่อที่พวกเราจะได้มารวมตัวกันต่อสู้กับความอยุติธรรมในประเทศนี้ได้
.
ส่วนพลังของผู้หญิงในตัวเองที่ป้าอัญชัญอยากส่งต่อให้กับผู้หญิงทุกคน นั่นก็คือ ‘พลังในการต่อสู้โดยไม่ย่อท้อ’
.
อย่างที่รู้กันว่า เส้นทางการต่อสู้ของป้าอัญชัญนั้นยาวนานและผ่านความลำบากแสนเข็ญมามากมายหลายอย่าง แต่จนถึงวันนี้เธอยังคงพูดอย่างหนักแน่นทุกครั้งว่า ‘ยังคงสู้อยู่และจะสู้ต่อไป’
.
“อย่ายอมให้เขากดหัวเราเหมือนเราไม่ใช่คน เราต้องร่วมมือร่วมใจกันเงยหน้าสู้ อย่าให้เขาทำเราได้ฝ่ายเดียว ป้าเป็นกำลังใจให้ผู้หญิงทุกคนที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ อย่ายอมก้มหัวให้ความอยุติธรรม เราต้องสู้เพื่อวันข้างหน้าที่ดีกว่านี้ วันที่ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดินอย่างแท้จริง”
.
เชื่อว่าทุกคนสัมผัสได้ถึงพลังของความเป็นนักสู้ที่ไม่เคยท้อถอยของป้าอัญชัญได้ เธอคือแรงบันดาลใจที่ดีที่สุดของพวกเราทุกคน และหวังว่าเธอจะได้รับอิสรภาพในเร็ววันนี้
.
.
เนื่องใน #วันสตรีสากล (International Women's Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เราขอเริ่มต้นนำเสนอเรื่องราวของ ‘7 ผู้หญิง’ ที่หวังจะเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น แต่กลับถูกรัฐมองว่าเป็นภัยคุกคาม นั่นทำให้ชีวิตของพวกเธอต้องเผชิญหน้ากับความอยุติธรรมหลากหลายรูปแบบที่หากไม่ใช่ตัวพวกเธอเองก็อาจไม่มีวันเข้าใจ
.
แม้การต่อสู้ของพวกเธอจะยังไม่สิ้นสุด แต่เราหวังว่าทุกคนจะร่วมเคียงข้างและต่อสู้ไปพร้อมกับพวกเธอจนกว่าพวกเราจะถึงวันใหม่ที่ใฝ่ฝัน
.
ติดตามบทสัมภาษณ์ชุดพิเศษ "7 เรื่องราวว่าด้วยความอยุติธรรม ความหวัง และพลังของ 7 ‘ผู้หญิงนักสู้’ บนถนนสายประชาธิปไตย" ได้ตลอดทั้งเดือนมีนาคมนี้
.
.
อ่านบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/54129
.
#อัญชัญ #วันสตรีสากล
#internationalwomansday
ยืนหยุดขังประเทศไทย
12h
#ยืนหยุดขังประเทศไทย
3-9 มีนาคม 2566
.
หลังจากตะวันกับแบมประกาศไม่รับสารและน้ำอีกครั้ง ในวันที่ 4 มีนาคม อาการของทั้งสองก็ทรุดลงและมีโอกาสไตวาย ในที่สุด พ่อแม่กับทนายความจึงตัดสินใจส่งตัวทั้งสองกลับเข้าโรงพยาบาลธรรมศาสตร์อีกครั้ง ขอให้แบมและตะวันปลอดภัย ในวันสตรีสากล 8 มีนาคมที่ผ่านมา คนไทยจำนวนมากจึงยกให้ตะวันและแบมเป็นผู้หญิงประจำวันสตรีสากลของปีนี้
.
ดูเหมือนหลังจากศาลยอมโอนอ่อนให้ประกันตัวและถอดกำไล EM แก่นักกิจกรรมหลายคน จะด้วยความรู้สึกเสียหน้าหรือกลัวเสียอำนาจก็ตาม ศาลกลับมามีท่าทีแข็งกร้าวและไร้เหตุผลอีกครั้ง จุดพีคที่สุดน่าจะเป็นวันที่ 7 มีนาคม
.
ภายในวันเดียว เริ่มจากศาลไม่ให้ประกันถิรนัยและชัยพร ต่อด้วยการไม่ให้ประกันทัตพงศ์ เขียวขาว แล้วก็พิพากษาจำคุกคทาธรลงโทษจำคุก 1 ปี 3 เดือน15 วัน ลงโทษคงเพชรจำคุก 10 เดือน 20 วัน เนื่องจากคงเพชรติดคุกไม่ได้ประกันตัวมาเกือบปี ทำให้เหลือโทษจำคุก 4 วัน คงเพชรจึงไม่อุทธรณ์และขอรับโทษให้ครบ ส่วนคทาธรยังขาดอีก 4 เดือน จึงขออุทธรณ์และขอประกันตัว
.
แต่ที่เป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์มากที่สุดคือ คดีปฏิทินเป็ดเหลืองที่จัดจำหน่ายในเพจเฟซบุ๊ก “ราษฎร” ศาลอาญาตลิ่งชันพิพากษาจำคุก “ต้นไม้” (สงวนชื่อจริง) เป็นเวลา 3 ปี โดยลดโทษเหลือ 2 ปี ไม่รอลงอาญา ในข้อหามาตรา 112 โดยศาลเห็นว่าเป็ดเหลืองในปฏิทินมีลักษณะคล้าย ร.10 จึงเป็นการล้อเลียนหมิ่นประมาทกษัตริย์!!!
.
นี่คงเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกไปชั่วฟ้าดินสลาย และน่าจะกลายเป็นคดีตัวอย่างที่ท้าทายหลักนิติศาสตร์ทั้งของประเทศไทยและของสากล สมควรบรรจุอยู่ในทุกหลักสูตรกฎหมายของทุกประเทศให้มีการถกเถียงกันว่า ศาลตัดสินแบบนี้ได้อย่างไรและตัดสินด้วยอะไร
.
#ยืนหยุดขัง ยังยืนกันทุกวันที่ลานอากง อ.ธงชัย วินิจจะกูลกับภรรยายังคงไปยืนด้วยอย่างสม่ำเสมอ เชียงใหม่ยืนสัปดาห์ละครั้งทุกวันเสาร์ เสาร์ที่ผ่านมามีคุณแม่เพนกวินและอาจารย์หลายคนมาร่วมยืนด้วย วันเสาร์ที่ 4 มีนาคมมีการยืนหยุดขังที่หอนาฬิกาบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ส่วนที่นครปฐม ยืนทุกวันพุธหน้ามหาวิทยาลัยศิลปากร แถมมีน้อง 4 ขามาให้กำลังใจน่ารักๆ ราวกับว่าแม้แต่น้องหมาก็รู้สึกได้ถึงความอยุติธรรมที่มนุษย์คนไทยต้องทนทุกข์กันอยู่ทุกวันนี้
.
#ยืนหยุดขังประเทศไทย
#ปล่อยเพื่อนเรา
#หยุดละเมิดสิทธิการประกันตัว
#ยกเลิก112