สิงห์วัดพระแก้ว ภาพถ่ายโดย Harrison Forman ราวทศวรรษ 1960 (ภาพจาก University of Wisconsin-Milwaukee Libraries)
“สิงห์คู่” ที่ “วัดพระแก้ว” ไทยเอามาจากเขมร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นิพนธ์ไว้ในบันทึก
ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับเขมรนั้นเปลี่ยนแปรไปตามบริบทของยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ มากมาย ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งในอดีตซึ่งบางครั้งอาจไม่ค่อยถูกหยิบยกมาพูดถึงมากนัก คือปฏิสัมพันธ์ทางวัตถุนำสิ่งของต่างๆ เข้า-ออกระหว่างกัน กรณีหนึ่งที่น่าสนใจคือ ข้อมูลที่ปรากฏใน “นิราสนครวัด” (สะกดตามเอกสารเดิม ปัจจุบันมักเรียกกันว่า นิราศนครวัด) พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่า สยามเคยนำวัตถุโบราณจากเขมรเข้ามาภายในประเทศ 2 ครั้ง
“นิราสนครวัด” เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งนิพนธ์ขึ้นเมื่อพ.ศ. 2467 ภายหลังจัดพิมพ์สำหรับเป็นของฝาก
เนื้อหาตอนหนึ่งเล่าถึงการนำสิ่งของโบราณต่างๆ มาจากเขมร 2 ครั้ง ในครั้งแรก พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เล่าว่า ได้ตรวจใน “พงศาวดาร” พบว่า ไทยเอาของสัมฤทธิ์โบราณมาจากเมืองเขมร ครั้งที่ 1 ใน “นิราสนครวัด” เล่าไว้ว่า
“…ตรวจดูในหนังสือพงศาวดารมีปรากฏว่า ไทยได้เอาของสัมฤทธิ์โบราณมาจากเมืองเขมร โดยครั้งแรกนั้น ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (สามพระยา) ภายหลังตีได้เมืองนครธม เมื่อพ.ศ. 1974 ในพงศาวดารว่า โปรดให้ขนรูปปั้นสิงห์ และสัตว์ต่างๆ อันหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ เข้ามายังพระนครศรีอยุธยาราว 40 รูป ถวายเป็นเครื่องพุทธบูชาไว้ ณ วัดมหาธาตุ รูปสิงห์สัตว์เหล่านั้นมีเรื่องต่อมาว่า อยู่ในกรุงศรีอยุธยานานถึง 138 ปีถึง พ.ศ. 2112 พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ตีได้กรุงศรีอยุธยาให้ขนเอาไปเมืองหงสาวดีทั้งหมด”
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าต่อว่ารูปสิงห์นั้นอยู่ที่นั่นอีก 30 ปี พงศาวดารพม่ากล่าวต่อว่า พ.ศ. 2142 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จยกกองทัพไปตีหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง อพยพคน ทิ้งเมืองหงสาวดี ไปอาศัยเมืองตองอู
พวกยะไข่ที่ยกไปช่วยพม่าเห็นว่าเมืองร้างก็เก็บเอาทรัพย์สินแล้วเผาปราสาทราชมนเทียรกับบ้านเรือน เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับแล้ว พวกยะไข่จึงให้ขนรูปสัตว์ที่พระเจ้าบุเรงนองได้ไปจากเมืองไทย เอาไปเมืองยะไข่ถวายเป็นพุทธบูชาไว้ ณ วัดมหามัยมุนี รูปสัมฤทธิ์อยู่ที่เมืองยะไข่อีก 180 ปี หลังจากนั้นก็ผลัดเปลี่ยนสถานที่ไปอีกหลายหน
ส่วนครั้งที่ 2 เนื้อหาใน “นิราสนครวัด” ระบุว่า
“…ไทยเอาของเครื่องสัมฤทธิ์มาจากเมืองเขมรเป็นครั้งที่ 2 มีในพงศาวดารว่าพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้รูปสิงห์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์กาไหล่ทองมาจากเมืองบันทายมาศคู่ 1 แล้วโปรดให้จำลองรูปสิงห์เขมรเหมือนอย่างนั้นเพิ่มขึ้นอีก 10 ตัว รวมเป็น 12 ตัว ถวายเป็นเครื่องพุทธบูชาไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ สิงห์คู่เดิมที่ได้มาจากเมืองเขมรนั้นตั้งอยู่ที่เชิงบันไดประตูกลางทางเข้าพระอุโบสถด้านหน้า ถ้าใครพิจารณาดูจะเห็นคราบทองที่กาไหล่ยังติดอยู่ทั้ง 2 ตัว…”
อย่างไรก็ตาม ในส่วนเชิงอรรถของเนื้อหา ปรากฏว่ามีกำกับเพิ่มเติมไว้ว่า “ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ (Boisselier) ชาวฝรั่งเศส ผู้เชี่ยวชาญศิลปะขอมได้มาดูรูปสิงห์สัมฤทธิ์คู่กลางที่หน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว ลงความเห็นว่าไม่ใช่สิงห์ขอมเพราะลวดลายที่ประดับหน้าอกไม่ใช่ลวดลายขอม” เนื้อหาต่อมาตั้งข้อสังเกตว่า
“ยังมีสิงห์ศิลาอีกคู่หนึ่งในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นศิลปะขอมแบบบรรยงก์แก้ (ราว พ.ศ. 1700-1750) อาจจะเป็นสิงห์ศิลาคู่นี้ก็ได้ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงนำมาแต่เมืองเขมร”
ทั้งนี้ ปฏิสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างทั้งสองประเทศนั้น ยังปรากฏบันทึกใน “พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4” ฉบับของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค พ.ศ. 2356–2413/ค.ศ. 1813-70) ซึ่งเขียนไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีพระราชดำริว่าให้ไปรื้อปราสาทหิน “นครวัด” ของกัมพูชาที่เมืองเสียมราฐ (เสียมเรียบ) เข้ามาไว้ในกรุงเทพฯ (และเพชรบุรี)
แต่เมื่อ “พระสุพรรณพิศาล ขุนชาติวิชา ออกไปเที่ยวดูที่เมืองหลวง พระนครธมพระนครวัด กลับมากราบทูลว่า…มีแต่ปราสาทใหญ่ๆ ทั้งนั้น จะรื้อเอาเข้ามาเห็นจะไม่ได้”
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงรับสั่งให้ไปรื้อ “ปราสาทตาพรหม” พงศาวดารระบุว่า การรื้อปราสาทใช้ไพร่พล 2 พันคน (4 ผลัด ผลัดละ 500 คน) เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1867) ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้านโรดม ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อธิบายไว้ว่า
“สมัยนั้นกัมพูชาตกต่ำอ่อนแอจนกลายเป็นประเทศราชของทั้งสยามและเวียดนาม ก่อนที่จะหนีไปยอมรับการเป็นรัฐในอารักขา (PROTECTORATE) ของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867)”
อย่างไรก็ตาม การรื้อปราสาทครั้งนั้นล้มเหลว พงศาวดารอธิบายไว้ว่า เนื่องจากมีเขมรประมาณ 300 คนออกมาแต่ป่า เข้ายิงฟันพวกรื้อปราสาทล้มตายจำนวนมาก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ต้องทรงระงับโครงการรื้อปราสาทหินดังกล่าว เปลี่ยนเป็นให้ช่างจำลองปราสาทนครวัดเล็กไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามจนทุกวันนี้ ซึ่งปราสาทจำลองนั้นก็ยังอยู่มาจนถึงปัจจุบันเช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม :“เกร็ดประวัติศาสตร์-การรื้อปราสาทขอม-จำลองนครวัด” สมัยรัชกาลที่ 4
“…ตรวจดูในหนังสือพงศาวดารมีปรากฏว่า ไทยได้เอาของสัมฤทธิ์โบราณมาจากเมืองเขมร โดยครั้งแรกนั้น ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (สามพระยา) ภายหลังตีได้เมืองนครธม เมื่อพ.ศ. 1974 ในพงศาวดารว่า โปรดให้ขนรูปปั้นสิงห์ และสัตว์ต่างๆ อันหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ เข้ามายังพระนครศรีอยุธยาราว 40 รูป ถวายเป็นเครื่องพุทธบูชาไว้ ณ วัดมหาธาตุ รูปสิงห์สัตว์เหล่านั้นมีเรื่องต่อมาว่า อยู่ในกรุงศรีอยุธยานานถึง 138 ปีถึง พ.ศ. 2112 พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ตีได้กรุงศรีอยุธยาให้ขนเอาไปเมืองหงสาวดีทั้งหมด”
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าต่อว่ารูปสิงห์นั้นอยู่ที่นั่นอีก 30 ปี พงศาวดารพม่ากล่าวต่อว่า พ.ศ. 2142 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จยกกองทัพไปตีหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง อพยพคน ทิ้งเมืองหงสาวดี ไปอาศัยเมืองตองอู
พวกยะไข่ที่ยกไปช่วยพม่าเห็นว่าเมืองร้างก็เก็บเอาทรัพย์สินแล้วเผาปราสาทราชมนเทียรกับบ้านเรือน เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับแล้ว พวกยะไข่จึงให้ขนรูปสัตว์ที่พระเจ้าบุเรงนองได้ไปจากเมืองไทย เอาไปเมืองยะไข่ถวายเป็นพุทธบูชาไว้ ณ วัดมหามัยมุนี รูปสัมฤทธิ์อยู่ที่เมืองยะไข่อีก 180 ปี หลังจากนั้นก็ผลัดเปลี่ยนสถานที่ไปอีกหลายหน
ส่วนครั้งที่ 2 เนื้อหาใน “นิราสนครวัด” ระบุว่า
“…ไทยเอาของเครื่องสัมฤทธิ์มาจากเมืองเขมรเป็นครั้งที่ 2 มีในพงศาวดารว่าพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้รูปสิงห์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์กาไหล่ทองมาจากเมืองบันทายมาศคู่ 1 แล้วโปรดให้จำลองรูปสิงห์เขมรเหมือนอย่างนั้นเพิ่มขึ้นอีก 10 ตัว รวมเป็น 12 ตัว ถวายเป็นเครื่องพุทธบูชาไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ สิงห์คู่เดิมที่ได้มาจากเมืองเขมรนั้นตั้งอยู่ที่เชิงบันไดประตูกลางทางเข้าพระอุโบสถด้านหน้า ถ้าใครพิจารณาดูจะเห็นคราบทองที่กาไหล่ยังติดอยู่ทั้ง 2 ตัว…”
อย่างไรก็ตาม ในส่วนเชิงอรรถของเนื้อหา ปรากฏว่ามีกำกับเพิ่มเติมไว้ว่า “ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ (Boisselier) ชาวฝรั่งเศส ผู้เชี่ยวชาญศิลปะขอมได้มาดูรูปสิงห์สัมฤทธิ์คู่กลางที่หน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว ลงความเห็นว่าไม่ใช่สิงห์ขอมเพราะลวดลายที่ประดับหน้าอกไม่ใช่ลวดลายขอม” เนื้อหาต่อมาตั้งข้อสังเกตว่า
“ยังมีสิงห์ศิลาอีกคู่หนึ่งในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นศิลปะขอมแบบบรรยงก์แก้ (ราว พ.ศ. 1700-1750) อาจจะเป็นสิงห์ศิลาคู่นี้ก็ได้ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงนำมาแต่เมืองเขมร”
ทั้งนี้ ปฏิสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างทั้งสองประเทศนั้น ยังปรากฏบันทึกใน “พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4” ฉบับของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค พ.ศ. 2356–2413/ค.ศ. 1813-70) ซึ่งเขียนไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีพระราชดำริว่าให้ไปรื้อปราสาทหิน “นครวัด” ของกัมพูชาที่เมืองเสียมราฐ (เสียมเรียบ) เข้ามาไว้ในกรุงเทพฯ (และเพชรบุรี)
แต่เมื่อ “พระสุพรรณพิศาล ขุนชาติวิชา ออกไปเที่ยวดูที่เมืองหลวง พระนครธมพระนครวัด กลับมากราบทูลว่า…มีแต่ปราสาทใหญ่ๆ ทั้งนั้น จะรื้อเอาเข้ามาเห็นจะไม่ได้”
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงรับสั่งให้ไปรื้อ “ปราสาทตาพรหม” พงศาวดารระบุว่า การรื้อปราสาทใช้ไพร่พล 2 พันคน (4 ผลัด ผลัดละ 500 คน) เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1867) ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้านโรดม ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อธิบายไว้ว่า
“สมัยนั้นกัมพูชาตกต่ำอ่อนแอจนกลายเป็นประเทศราชของทั้งสยามและเวียดนาม ก่อนที่จะหนีไปยอมรับการเป็นรัฐในอารักขา (PROTECTORATE) ของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867)”
อย่างไรก็ตาม การรื้อปราสาทครั้งนั้นล้มเหลว พงศาวดารอธิบายไว้ว่า เนื่องจากมีเขมรประมาณ 300 คนออกมาแต่ป่า เข้ายิงฟันพวกรื้อปราสาทล้มตายจำนวนมาก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ต้องทรงระงับโครงการรื้อปราสาทหินดังกล่าว เปลี่ยนเป็นให้ช่างจำลองปราสาทนครวัดเล็กไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามจนทุกวันนี้ ซึ่งปราสาทจำลองนั้นก็ยังอยู่มาจนถึงปัจจุบันเช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม :“เกร็ดประวัติศาสตร์-การรื้อปราสาทขอม-จำลองนครวัด” สมัยรัชกาลที่ 4
ที่มา ศิลปวัฒนธรรม