วันพุธ, มีนาคม 15, 2566

ความจริงไม่มีอายุความ และวันหนึ่งความจริงจะปรากฎ

ภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์
"รู้แก่ใจใครฆ่า" บ้านในลาวถูกรื้อ ก่อนอุ้มหาย "สุรชัย พร้อมสหาย" ตายแล้ว
.....
Suchart Sawadsri
13h
ความจริงไม่มีอายุความ
และวันหนึ่งความจริงจะปรากฎ

Cross Cultural Foundation (CrCF)
18h
วันที่ 15 มี.ค. 2566 เวลา 10.00 น. ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยาของนายสุรชัย แซ่ด่าน และกัญญา ธีรวุฒิ มารดาของสยาม ธีรวุฒิ สองนักปกป้องสิทธิหญิง จะเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่ออัยการ ณ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ณ สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารถนนบรมราชชนนี ชั้น 1 แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กทม. เพื่อขอให้อัยการเข้าตรวจสอบค้นหาความจริงและสอบสวนกรณีการสูญหายของนายสุรชัย แซ่ด่าน และสยาม ธีรวุฒิ ตามที่มาพ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายพ.ศ.2565 ได้กำหนดไว้ เพื่อให้อัยการมีหน้าที่ใช้กฎหมายใหม่นี้ คุ้มครองประชาชนตามเจตนารมย์ของกฎหมาย ที่กำหนดไว้ในมาตรา 7 วรรคท้าย ว่าการกระทำให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดทางอาญาและให้ถือเป็นความผิดต่อเนื่องจนกว่าจะทราบชะตากรรมของบุคคลนั้น และมาตรา 43 ยังกำหนดให้นำความในมาตรา 7 มาใช้บังคับแก่การกระทำให้บุคคลสูญหายก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับอีกด้วย
.
การไปยื่นเรื่องร้องเรียนกรณีการสูญหายที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ของสำนักงานอัยการในครั้งนี้ก็เพื่อให้อัยการได้ดำเนินการค้นหาความจริงและสืบสวนจนกว่าจะทราบชะตากรรมของนายสุรชัยและนายสยามผู้ซึ่งถูกกระทําให้สูญหายหรือปรากฏหลักฐานอันน่าเชื่อว่าบุคคลทั้งสองนั้นถึงแก่ความตาย และทราบรายละเอียดของการกระทําความผิดและรู้ตัวผู้กระทําความผิด ตามมาตรา 31 ของพ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ พ.ศ. 2565
.
ตามหลักการของพรบ.ทรมานอุ้มหายใหม่นี้ ยังได้ระบุถึงหน้าที่ของรัฐด้วยว่าให้หน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวนรายงานให้ผู้เสียหายทราบถึงผลความคืบหน้าของคดีอย่างต่อเนื่อง และให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจติดตามผลความคืบหน้าของคดีและดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย ชดเชย เยียวยา และฟื้นฟูความเสียหายทางร่างกายและจิตใจ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมาย และสนับสนุนช่วยเหลือด้านการดำเนินคดี โดยการมีส่วนร่วมจากผู้เสียหาย ตามที่บัญญัติไว้เป็นมาตราฐานใหม่ในมาตรา 32
.
“พ.ร.บ.ทรมานอุ้มหายได้สร้างมาตรฐานในการสืบสวนสอบสวนและเยียวยาข้อร้องเรียนการอุ้มหายให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและขณะนี้มีสองหน่วยงานที่ทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนตามพ.ร.บ.ใหม่นี้เปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายใหม่นี้เป็นจริงในทางปฏิบัติ ขอชื่นชมหน่วยงานอัยการและกรมการปกครองในการทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายด้านนี้อย่างจริงจังเพื่อให้เป็นที่พึ่งให้ประชาชนได้จริง” พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าว