Atukkit Sawangsuk
Yesterday at 11:30 AM ·
อย่าเอาดารามา PR เกินเหตุ
อย่าให้เกิด False Sense of Security
.....
"ผมอยู่ข้างหลังคุณ"
Yesterday at 6:55 AM ·
== สิ่งสำคัญไม่แพ้วัคซีนโควิด คือ 'ความรู้หลังฉีด ' ==
อ่านเจอในทวีตว่ามีการหยอกคนมาฉีด Sinovac เข็มแรกว่าเข็มนี้ช่วยแล้วนะ 50% อย่าลืมมาฉีดเข็มสองจะได้ครบ 100%
ถ้าคนมาฉีดไม่มีความรู้พื้นฐานเลยอาจคิดว่าแค่เข็มแรกก็มีภูมิแล้วเว้ยย เผลอใช้ชีวิตประมาท เช่น ยังระบาดหนักแต่ เอ้า ฉีดวัคซีนแล้วซัดหมูกะทะกันหน่อย ต่อเกะกันเถอะเรา ฯลฯ
เกิดติดโควิดขึ้นมา Sinovac เข็มแรกนี่ไม่ได้ช่วยอะไรเลยนะ จากการศึกษาในชิลี
แล้วถ้าคนส่วนใหญ่ไม่รู้มากพอ อาจเหมือนชิลีช่วงแรกที่ฉีด Sinovac ไปเป็นล้านๆคนแต่ยอดระบาดยังพุ่ง
================
ยิ่งฉีด(วัคซีน) แต่ยิ่งระบาด
================
ไม่ใช่เพราะวัคซีนไม่ป้องกัน
แต่เพราะชิลีหว่านฉีด Sinovac ให้คนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสูงวัยกลุ่มแรก 15 ล้านโดส ที่ครบ 2 โดส(มีภูมิ)แค่ 7 ล้านคน แปลว่าเพิ่งฉีดแค่ 36% ของคนทั้งหมดเลยยังเอาไม่อยู่
แถมกลุ่มหนุ่มสาวที่รอฉีดยังมีกิจกรรมเสี่ยงติดเลยยิ่งระบาด รวมถึงอาจไปเจอสายพันธุ์ใหม่ด้วย
ประธานสมาคมโรคติดเชื้อชิลีบอกว่า ในประเทศชิลีตอนแรกให้ความร่วมมือฉีดกันมาก พอมียอดฉีดเยอะๆ ก็เกิดภาวะ False Sense of Security
หรือแปลได้ว่า ‘หลงเข้าใจผิดคิดว่าปลอดภัยแล้ว(เช่น ฉันฉีดวัคซีนแล้ว คนฉีดหลายล้านแล้ว)’
ทำให้การใช้ชีวิตลดระดับการป้องกัน ทีนี้ก็แพร่เยอะเลย
ข้อสำคัญ Sinovac ผ่อนหนักเป็นเบาได้ก็จริง แต่ยังไม่มีการศึกษาเลยว่ามันลดการแพร่ได้ดีแค่ไหน
====
ดังนั้นหลังฉีด Sinovac ควรช่วยประชาสัมพันธ์ตรงๆ ให้ประชาชนรู้ว่า
- ฉีด Sinovac โดสเดียวไม่ช่วย จะป้องกันเมื่อครบเข็ม 2 ไปอย่างต่ำ 2 สัปดาห์ (แต่จะให้แน่ๆคือ 28 วันหลังฉีดเข็ม 2)
- Sinovac ยังไม่มีงานศึกษาบอกว่าป้องกันแพร่ได้ ดังนั้นถ้าติดโควิดหลังฉีด ก็สามารถแพร่เชื้อได้
- หรือแม้แต่ฉีด AstraZeneca การศึกษาบอกว่าฉีดเข็มเดียวก็ป้องกันได้แต่ก็ต้องรอเดือนนึงถึงออกฤทธิ์ป้องกัน แล้วถึงป้องกันได้ เข็มเดียวก็ไม่ได้ป้องกันดีนัก
- ทุกยี่ห้อ ย้ำว่าทุกยี่ห้อ ต่อให้ฉีดครบก็ติดได้ , เราเรียก vaccine breakthrough infection
- Sinovac กับ AstraZeneca ยังไม่มีตัวเลขรายงานว่าที่ฉีดครบๆแล้วโอกาสติดซ้ำมากแค่ไหน มีติดแล้วต้องนอนรพ.หรือตายกี่คน ยังไม่เห็นตัวเลขทางการชัด
- ดังนั้นห่วงตัวเอง ห่วงคนใกล้ชิด หลังฉีดวัคซีนยังต้องใช้ชีวิตระวังเท่าเดิม
จนกว่าคนในประเทศจะฉีดได้มากพอ หรือมีหลักฐานว่าวัคซีนที่ฉีดไปแล้วมีประสิทธิภาพมากในแง่ป้องกันการแพร่เชื้อ
=====================
vaccine breakthrough infection
====================
vaccine breakthrough infection คือคำใช้เรียกเมื่อฉีดวัคซีนโควิดครบแล้วแต่ยังติดโควิด
เพราะวัคซีนไม่ได้ป้องกันเราได้ 100% เพียงแต่ติดแล้วอาการอาจเบากว่าไม่ฉีด
หรือติดโควิด เพราะประสิทธิภาพของวัคซีนนั้นไม่พอรับมือ 'สายพันธุ์ใหม่'
เช่น ตอนนี้สิงคโปร์เจอ Breakthrough infections จากพนง.ทำความสะอาดสนามบินอายุ 88 ที่ฉีดวัคซีนโควิด ครบแล้ว ตรวจเจออีก 28 คนโดย 19 คนก็ฉีดวัคซีนครบแล้วเช่นกัน , ไม่มีใครอาการหนัก
นี่ขนาดฉีดแต่ Pfizer ที่การศึกษาว่าสู้สายพันธุ์ใหม่ได้ดี แต่พอเจอสายพันธุ์ใหม่ที่สู้ยาดี ก็เอาไม่ค่อยอยู่
ฉีดวัคซีน จึงยังไม่ใช่คำตอบหยุดระบาดในประเทศที่วัคซีนยังมีจำกัด ศักยภาพฉีดวัคซีนยังน้อย
======================
vaccine breakthrough infection (2)
======================
ใน US , CDC รายงาน vaccine breakthrough infection ล่าสุดเมื่อ 10 พฤษภาคมหลังฉีดไปแล้ว 115 ล้านคน (จาก Pfizer / Moderna / J&J )
พบว่าฉีดครบแล้วติดโควิด อาการหนักจนต้องเข้ารพ. 1359 คน (ประมาณ 10 ในหนึ่งล้านคนฉีด)
เสียชีวิต 223 คน (ประมาณ 0.5 ในหนึ่งล้านคนฉีด)
ส่วนใหญ่เป็นคนสูงวัย > 65 ปี (79% ของเคสที่ติดหลังฉีดครบ)
ดังนั้นต่อให้ฉีดวัคซีนที่มีตัวเลขประสิทธิภาพสูงก็ยังสามารถติดซ้ำ ติดแล้วป่วยหนัก ติดแล้วตายได้
แต่ตัวเลขจะน้อยมากๆๆๆ
==========================
แถมอีกนิดเรื่องcelebs/ดาราชวนฉีดวัคซีน
==========================
2 อาทิตย์ก่อน New York Times (NYT) เพิ่งตีพิมพ์บทความว่า
'การให้คนดัง/ดารา มาออกสื่อชวนคนไปฉีดวัคซีน #โควิด ,มันช่วยมั้ย ?"
มีหลายความเห็น เช่น นักระบาดวิทยาคนหนึ่งบอกยังไม่มีหลักฐานว่าช่วย ให้คนไปฉีดวัคซีนมากขึ้นซักเท่าไหร่ เพราะวัคซีนเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่เชื่อผู้เชี่ยวชาญ(การแพทย์)มากกว่าดารา + มักคล้อยตามอิทธิพลกลุ่มเพื่อนๆหรือพรรคพวกตัวเอง(peer group)มากกว่า
แต่การให้คนดัง/ดารา มาชวนฉีดวัคซีนโควิด อาจได้ผลในกรณีที่ประชาชนไม่ค่อยเชื่อถือรัฐบาล ไม่เชื่อถือแหล่งข่าวทางการของรัฐ
เช่น กรณีตอนเอลวิสชวนฉีดวัคซีนโปลิโอ ช่วยให้คนมาฉีดเยอะขึ้น เพราะคนรู้สึกว่าการมาฉีดนั้นมันเจ๋ง(cool) ไม่ใช่มองว่ารับผิดชอบสังคม
====
นักวิจัยอินโดฯบอกว่าคนดัง/ดาราชวนฉีดวัคซีน จะได้ผลดีถ้าประชาชนเห็นแล้วรู้สึกว่า 'คำชวนมาจากความรู้สึก/ความเชื่อของเจ้าตัวจริงๆ ไม่ใช่รู้สึกเหมือนว่ารับงานมาหรือสื่อสารแทนใคร'
แต่หลายคนยังมองเห็นดาราในแง่บันเทิง ไม่ได้มีความสัมพันธ์ในแบบที่สนิทกันแบบเพื่อนชวนอย่างจริงใจ
============
============
อันนี้ความเห็นส่วนตัว
ไม่ใช่ NYT
===========
===========
celebs/influencer ชวนฉีดวัคซีนโควิด ในช่วงวิกฤติศรัทธาต่อวัคซีนโควิด + รัฐบาล ถือว่ามีข้อดี น่าสนับสนุน
เพียงแต่จะได้ผล ถ้า
- ชวนฉีดวัคซีน ช่วยให้เห็นข้อดีของ 'การฉีด' แบบไม่โปร/อวยยี่ห้อ
- พูดจริงใจไม่เหมือนสคริปต์
- ก็เหมือนการรีวิว ทำยังไงให้คนอ่านรู้สึกว่าเป็น CR (customer review) ไม่ใช่ SR (sponsor review)
- หรือถ้าเป็น SR การยอมรับตรงๆว่า SR มันจริงใจกว่า อาจได้ผลมากกว่า
- จะดีมากถ้าไม่ใช่แค่ประชาสัมพันธ์ 'ชวนฉีด' แต่ช่วยประชาสัมพันธ์ 'ความรู้หลังฉีด' ด้วย
แต่ถ้าทำตรงกันข้ามกับข้างบน เช่น อวยยี่ห้อมากไป อวยรัฐบาล พูดตามสคริปต์ที่คนจับได้ว่าอันนี้แฮชแท็กสุดฮิตนี่หว่า
ผลลัพธ์ที่ออกมาอาจ backfire คือคนยิ่งแอนตี้ ยิ่งต่อต้าน หรือยิ่งเสื่อมศรัทธาต่อสิ่งที่พวกเขาไม่ศรัทธาอยู่เดิม