วันพุธ, พฤษภาคม 05, 2564

จุกสิมึง เจอ แต่ละดอก อาจารย์ เจ หรือ ผศ.ดร.พัทธจิต ตั้งสินมั่นคง คณะรัฐศาสตร์ ม.วาเซดะ ญี่ปุ่น ถาม ‘ดร.อานนท์’ ทีละข้อ ชี้ เรียนถึงปริญญาเอก แต่โพสต์ไร้ทักษะการคิด

 
...
"ผศ.ดร.พัทธจิต ตั้งสินมั่นคง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ จบการศึกษาชั้นปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญาโทและปริญญาเอกด้วยคะแนนอันดับที่ 1 ของมหาวิทยาลัยวาเซดะ ซึ่งมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการอย่างสูง โดยเฉพาะ ด้านรัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ในประเทศญี่ปุ่น"

ผศ.ไทยในญี่ปุ่น ถาม 'ดร.อานนท์' ทีละข้อ ชี้ เรียนถึงป.เอก แต่โพสต์ไร้ทักษะการคิด

เด่นออนไลน์ 4 พ.ค. 2564-16:28 น.

อาจารย์ เจ หรือ ผศ.ดร.พัทธจิต ตั้งสินมั่นคง คณะรัฐศาสตร์ ม.วาเซดะ ญี่ปุ่น ถาม ‘ดร.อานนท์’ ทีละข้อ ชี้ เรียนถึงปริญญาเอก แต่โพสต์ไร้ทักษะการคิด
เมื่อวันที่ 4 พ.ค.64 โซเชียลมีเดียมีการแชร์โพสต์เฟซบุ๊กของ อาจารย์ เจ หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัทธจิต ตั้งสินมั่นคง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น ที่โพสต์สเตตัสตั้งคำถามต่อการขาดทักษะทางด้านการคิดของผู้จบปริญญาเอก ของ ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้า ที่สะท้อนออกมาผ่านโพสต์ ‘ลูกบิดประตูเย็น’ ที่กำลังเป็นกระแสของ ดร.อานนท์
โดย ผศ.ดร.พันธจิต ระบุว่า “อ่านสเตตัสนี่จบ ทำให้เราสงสัยในความหมายของการเรียนปริญญาเอก เคยเข้าใจว่า ที่สังคมให้ค่าและฟังคนที่เรียนจบ ป. เอก เพราะ การเรียนปริญญาเอกนอกเหนือจากจะเป็นบททดสอบองค์ความรู้ที่เรามีในแต่ละสาขาวิชาแล้ว แล้วยังเป็นกระบวนการที่ทุกคนน่าจะเกิด

1) critical thinking skill การตั้งคำถามและหาคำตอบอย่างมีเหตุผล 2) problem solving skill เพราะต้องแก้ปัญหาจากกระบวนการตั้งคำถามที่งอกขึ้นมาตลอดเวลา และ 3) perseverance ความอดทนไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เพราะต้องอยู่กับ self-doubt (สงสัยในตนเอง) ตลอดเวลาว่าสิ่งที่ทำอยู่มีคุณค่าจริง ๆ ไหม งานวิจัยก็ออกมาว่าคนเรียน ป. โท เอกมีอัตราเผชิญภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไป 6 เท่าตัว ไม่เข้าใจว่า คนที่เคยผ่านกระบวนการแบบนี้มา ก่อนจะพิมพ์ status นี้ออกมา ทำไมถึงไม่เกิดคำถาม

‘ผมไปทำงานเป็น adjunct assistant professor สอนนักศึกษาปริญญาเอกในโรงเรียนบริหารธุรกิจที่ Zicklin school of business, Baruch College, City University of New York.’

คำถาม 1 ถ้าคนส่วนใหญ่ในสังคมเหยียดคุณ และมองคุณเป็นพลเมืองชั้นสองจริง เค้าจะให้คุณเป็น adjunct assitant professor สอนนักเรียนปริญญาเอกได้อย่างไร?

‘กูเป็นคนไทย จากประเทศไทย ไม่ใช่คนจีน หรอกหนา ไอ้มืดตัวดำปี๋ มันโกรธมาก ความรู้สึกคือ โห คนดำ เป็นพลเมืองชั้นสองของอเมริกา ยังเหยียดและดูถูกเรา แล้วเราเองเล่าจะเป็นพลเมืองชั้นไหนกันแน่’

คำถาม 2 เราถูกเหยียดเพราะเราเป็นคนไทย เราเป็น ‘พลเมืองชั้นสอง’ เพราะเราเป็นต่างชาติและเอเชีย หรือเพราะคนที่เหยียดคุณมีโลกทัศน์ที่คับแคบและค่านิยมที่บิดเบี้ยว?

‘พร้อมกับคำถามในใจว่า เราจะมาอยู่ทรมานเป็นพลเมืองชั้นสามชั้นสี่ในที่ๆ ไม่ใช่บ้านเกิดเมืองนอนของเราไปทำไม’

คำถาม 3 การที่คุณบอกว่าคุณเป็น “พลเมืองชั้นสอง สาม สี่ ห้า” คุณได้สิทธิรักษาพยาบาล สิทธิในการใช้ชีวิตในสหรัฐ ต่างจากพลเมืองอย่างไร? และคุณแน่ใจเหรอ ว่าคนอย่างคุณและเรา ไม่ใช่พลเมืองชั้นสามชั้นสี่ในบ้านตัวเอง?

‘วันหนึ่งอากาศหนาวมาก ผมจะเข้าบ้านเช้า เลยถอดถุงมือเพื่อให้จับลูกกุญแจไขลูกบิดได้ถนัด เอามือเปล่าจับประตูแล้วเนื่องจากหนาวเย็นจัดมาก มือเปล่าๆ เลยเกิดน้ำแข็งเกาะติดกับลูกบิดประตู ผมต้องก้มเอาลมปากร้อนๆ เป่ามือจนเอามือออกจากลูกบิด’

คำถาม 4 คุณผ่านกระบวนการทดสอบความอดทนที่ทำให้มีอัตราเผชิญภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไป 6 เท่าตัว แต่คุณยอมแพ้ให้กับลูกบิดประตูที่น้ำแข็งเกาะในอากาศหนาวเหน็บ ที่มันแก้ปัญหาได้ด้วย problem solving skill ง่าย ๆ?
‘แต่ถ้าเรายึดมั่นในการทำความดีเพื่อชาติบ้านเมือง ผมเชื่อมั่นว่าแล้วความดีจะคุ้มครองเรา อยู่ที่ไหน ทำเพื่อใครก็ไม่เท่ากับทำให้แผ่นดินเกิด’

คำถาม 5 การเรียกคนเห็นต่างว่า “ขยะ” และเรียกร้องให้คนกลุ่มนี้ถูกกำจัดก่อนจะให้ทหารอออกมาทำรัฐประหาร คือ ‘การยึดมั่นในการทำดีเพื่อชาติบ้านเมือง’?

‘ฝากให้คนชังชาติที่คิดจะไปอยู่บ้านเมืองอื่น ชาติอื่น แล้วสักวันคุณจะเข้าใจ’

คำถาม 6 คุณทราบมั้ยว่ามีคนไทยที่รักชาติมากมายที่เลือกที่จะอยู่เมืองนอก เพราะมันช่วยเป็นกระบอกเสียง ช่วยสร้าง recognition (สร้างการรับรู้และเข้าใจ) ให้ประเทศไทยได้มากกว่าการอยู่ในประเทศ?”

ทั้งนี้ ผศ.ดร.พัทธจิต ตั้งสินมั่นคง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ จบการศึกษาชั้นปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญาโทและปริญญาเอกด้วยคะแนนอันดับที่ 1 ของมหาวิทยาลัยวาเซดะ ซึ่งมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการอย่างสูง โดยเฉพาะ ด้านรัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ในประเทศญี่ปุ่น

ผศ.ดร.พัทธจิต ตั้งสินมั่นคง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น

https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6378180