กลุ่มคนที่ถูก (ตั้งใจ) ลืม
— อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล (@AmaratJeab) January 9, 2021
หมู่บ้านของพี่น้องชาติพันธุ์ปะกาเกอะยอ ตั้งอยู่ห่างถ.เพชรเกษมเพียง 70 กม.แต่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เนต ถนนลูกรัง...เรื่องจริงที่เจ็บปวดhttps://t.co/YbEIjfz4cU#บ้านป่าหมาก pic.twitter.com/0FGEQthvnl
Amarat Chokepamitkul อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล
8h ·
[ห่างถนนเพชรเกษมเพียง 70 กม.แต่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เนต ยังช่วยผลักดันเรื่องนี้ไม่สำเร็จ]
เห็นการกระทำที่น่าสรรเสริญของ #พิมรี่พาย แล้วหวนคิดและอยากเล่าถึงพี่น้องชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านป่าหมาก อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบฯ ที่มีโอกาสไปมอบข้าวสาร 1 ตัน+อาหารแห้งในช่วงวิกฤติโควิด-19 รอบแรก (พ.ค.63)
หมู่บ้าน 150 หลังคาเรือนนี้เหมือนหมู่บ้านที่ (ตั้งใจ) ถูกลืมจากรัฐที่แท้จริง ในแง่ของสิ่งจำเป็นพื้นฐานอย่างไฟฟ้า สัญญาณโทรศัพท์
ในโลกที่เราใช้อินเตอร์เนต 4G-5G ยังมีอีกโลกหนึ่งที่ไม่มีสัญญาญโทรศัพท์และไฟฟ้า (ขับรถจากถนนเพชรเกษมเพียง 70 กิโล!
จากปี 2545 ที่รัฐบาลช่วงนั้นนำแผงโซล่าเซลล์ (ทักษิณ) มาแจก 18 ปีผ่านไป หมูบ้านนี้ก็ยังไม่มีไฟฟ้ามาถึง
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบอกเราถึงปัญหาเดิมๆ ที่ผมเคยเรียนในห้องเรียนมนุษยวิทยาตั้งแต่ปี 2548 (การไม่ได้สัญชาติ, ที่ดินทำกินโดนยึดเพราะการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ, ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่สามารถโทรหารถฉุกเฉินได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยกระทันหันที่อาจถึงแก่ชีวิต...)
ฟังแล้วก็ได้แต่สลดใจ ในขณะสถานีรถไฟฟ้าบางแห่งถูกสร้างขึ้นหน้าห้างขนาดใหญ่(Iconsiam) เพื่อขนนักท่องเที่ยวและขนเงินเข้ากระเป๋าคน 0.01% ของประเทศ แต่การลากเสาไฟฟ้าไปถึงหมู่บ้าน 150 หลังคาเรือน 700-800 คน เป็นเรื่องยุ่งยากและไม่มีทีท่าจะเกิดขึ้นในเร็ววัน
กลุ่มคนพื้นที่สูงคือคนสยามที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ดินแดนแห่งนี้มานานแล้ว ผสมผสานกันเป็นเครือญาติมาอย่างน้อยราว 2,000 ปี ตัวอย่างที่ชัดเจนคือกลุ่มคน “ไทใหญ่” ที่เป็นรากเหง้าของชาวล้านนาร่วมกับกลุ่มอื่นๆอีกมากมายผสมผสานจีนโพ้นทะเลที่ล่องสำเภามาอย่างมโหฬารตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงเทพฯ
เรายอมรับ “พี่น้อง” ชาวจีนโพ้นทะเลในปัจจุบันว่าเป็น “คนไทย” มีเจ้าสัวที่พูดภาษาไทย สำเนียง“เหน่อ” จีน แต่ “ตั้งใจลืม” พี่น้องชาวพื้นที่สูงราวกับเขามิใช่คนเท่ากับเรามาโดยตลอด
เรียบเรียงโดย : ฆนัค นาคถนอมทรัพย์ ผู้ช่วยสส.