Angkhana Neelapaijit
5h ·
#Genocide #MassAtrocitiesCrime
#ต้องไม่มีใครตายเพราะความเกลียดชัง : 27 มกราคม 2005 สหประชาชาติได้ประกาศให้เป็น #วันรำลึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สากล เพื่อรำลึกถึงความโหดร้ายในการที่ชาวยิวเกือบ 6 ล้านคนถูกสังหารจากความเกลียดชัง และเพื่อหาทางป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) ต่อชนกลุ่มใดในอนาคตอีก
เมื่อ 3 ปีที่แล้วมีโอกาสไปศึกษาเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และอาชญากรรมร้ายแรงต่อมนุษยชาติที่ Living Museum – Auschwitz & Auschwitz Birkenue II ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าในการเรียนรู้เพื่อป้องกัน การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คนที่เคยไปที่ ตวลแสลง หรือทุ่งสังหาร ในกัมพูชา คงรู้สึกหดหู่ใจอย่างมาก แต่หากมีได้มีโอกาสได้ไป Auschwitz & Auschwitz Birkenue II จะเข้าใจมากขึ้นถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ .. สถานีปลายทางรถไฟที่ไม่มีเส้นทางกลับ .. ทุกย่างก้าวเดินที่เดินในค่ายกักกัน จะสัมผัสได้ถึงความทุกข์ทรมาน การพลัดพราก .. และความตาย
เด็กๆจะถูกแยกจากพ่อแม่ .. ในเรือนนอนเด็ก จะเห็นภาพวาดฝาผนังที่เด็กๆวาด นอกเรือนนอนผู้ใหญ่จะเห็นรอยสลักชื่อที่นักโทษที่รอ “อาบน้ำ” ในห้องรมแก๊สพิษ ที่พวกเขาสลักชื่อตัวเองไว้ระหว่างเข้าคิวรอ ... เตาเผาศพ ลานประหาร และห้องฉีดยาพิษที่มีอยู่ทั่วไปในค่าย
Living Museum ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเก็บรักษาความทรงจำ หรือการรักษาประวัติศาสตร์ ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ผู้บันทึกประวัติศาสตร์ คือผู้มีอำนาจ ที่ผ่านมาเราจึงเห็นแต่ประวัติศาสตร์ของผู้ชนะ ซึ่งโดยมากคือรัฐ ซึ่งไม่ให้ความสำคัญต่อของการรักษาความทรงจำ หรือประวัติศาสตร์ของของผู้แพ้ หรือประวัติศาสตร์เหยื่อ ไม่เคยมีการนำคนผิดมาลงโทษ จึงทำให้อาชญากรรมต่อมนุษยชาติยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ตามกฎหมายสากล #การบังคับบุคคลสูญหายก็ถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ – Crime Against Humanity ซึ่งไม่สามารถนิรโทษกรรมได้เช่นกัน)
ถ้าไม่ติด COVID19 อยากชวนเพื่อนๆที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และสันติภาพ ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มีชีวิต (Living Museum) นี้เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานต่อไป โดยเฉพาะการทำงานด้านการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้อีกในอนาคต
#AKN